หัวข้อ: นักวิทยาศาสตร์รุมค้าน จีนตัด 700 ยอดเขา สร้างพื้นราบ ทำเมืองใหม่ เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ มิถุนายน 15, 2014, 09:52:38 am (http://mpics.manager.co.th/pics/Images/557000006763501.JPEG) รถขุดเจาะเรียงรายเป็นทิวแถว เพื่อขุดยอดเขาในพิธีวางศิลาฤกษ์ โครงการบุกเบิกเขตพัฒนาใหม่ (Lanzhou New Area project) ในเมืองหลันโจว มณฑลกันซู่ (ภาพ: Imaginechina/Corbis ) นักวิทยาศาสตร์รุมค้าน จีนตัด 700 ยอดเขา สร้างพื้นราบ ทำเมืองใหม่ เอเจนซี- นักวิทยาศาสตร์จีนออกมาย้ำ โปรเจคการตัดยอดเขากว่า 700 แห่งของทางการจีน เพื่อเพิ่มพื้นที่ราบ สร้างเมืองใหม่ ต้องพิจารณาให้รอบคอบอีกหลายด้าน นักวิชาการจีน ตีพิมพ์ผลงานในวารสารวิชาการ “เนเจอร์” (Nature) เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ชี้ โครงการตัดยอดเขามากกว่า 700 แห่ง และเกลี่ยเซาะซากหิน ดินทราย ทั้งหมดลงถมในหุบเขา เพื่อเพิ่มพื้นที่ราบให้เมืองหลันโจว อีกประมาณ 250 ตารางกิโลเมตร ยังต้องพิจารณาปัจจัยความพร้อมอีกหลายด้าน ทั้งด้านสิ่งแวดล้อม เรื่องทางเทคนิค และปัจจัยด้านเศรษฐกิจ :29: :29: :29: หลี่ เพ่ยเย่ว์, เฉียน ฮุ่ย, อู๋ เจี้ยนหวา จากวิทยาลัยวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมและวิศวกรรม มหาวิทยาลัยฉางอัน ระบุ “การเพิ่มพื้นที่ในลักษณะนั้น ยังขาดแคลนการศึกษาทำแบบจำลองเรื่องต้นทุนและประโยชน์ที่ได้จากพื้นที่ที่เพิ่มขึ้น ปัญหาจากการขาดแคลนความเชี่ยวชาญและขาดเทคนิคหลายอย่างทำให้โครงการล่าช้าและเพิ่มต้นทุนให้สูงขึ้น ในขณะที่โครงการก็ยังไม่ได้ศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมอย่างรอบคอบ" ในทางกลับกัน เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นคาดว่า โครงการดังกล่าวจะสร้างเม็ดเงินได้หลายพันล้านหยวน จากการขาย หรือให้เช่าที่ดินใหม่ที่สร้างขึ้น รวมทั้งสามารถช่วยเก็บรักษาที่ดินทางเกษตรกรรมในส่วนอื่นของประเทศได้ เพราะมิฉะนั้น ที่ดินเหล่านั้นก็จะถูกใช้เพื่อการพัฒนา :49: :49: :49: นอกจากนี้ ยังคาดหวังกันด้วยว่า โครงการนี้จะช่วยเพิ่มจีดีพี (ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ) ของภูมิภาคให้สูงถึง 4.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ (หรือราวๆ 129,000 ล้านบาท) ภายในปี 2573 ในขณะที่ จากการศึกษาผลกระทบพบว่า การกัดเซาะหน้าดินเพิ่มปริมาณตะกอนในแหล่งน้ำของท้องถิ่น ยกตัวอย่างเช่น ใน สือเยี่ยน มณฑลหูเป่ย การตัดเนินเขาลูกเล็กๆ ลงเติมพื้นที่ในหุบเขา ทำให้เกิดปัญหาดินถล่ม น้ำท่วม และปรับเปลี่ยนเส้นทางน้ำ สิ่งเหล่านี้กระทบกับเมืองเป็นอย่างมาก เพราะตั้งอยู่ใกล้ต้นน้ำของ โครงการผันน้ำจากตอนใต้สู่ตอนเหนือ (South-North Water Transfer project) อันเป็นความพยายามของรัฐบาลจีนในการผันน้ำเข้าคลองสู่ปักกิ่ง :96: :96: :96: อย่างไรก็ตาม ในตอนนี้ ก็มีการระงับโครงการบุกเบิกเขตพัฒนาใหม่ (Lanzhou New Area ) ในหลันโจว มณฑลกันซู่ ไว้ชั่วคราวแล้ว เพราะเกิดมลพิษทางอากาศจากการขุดเจาะ สอดคล้องกับคำเตือนของนักวิชาการที่ออกมาระบุก่อนหน้านี้ว่า หลานโจวเป็นหนึ่งในเมืองที่มีมลพิษมากที่สุดของจีน และขาดแคลนทรัพยากรน้ำ ซึ่งการเพิ่มพื้นที่ของเมืองนี้จะยิ่งทำให้เกิดการขาดแคลนทรัพยากรเพิ่มขึ้น สุดท้าย แม้ว่าการตัดยอดเขาในลักษณะนี้ จะเคยเกิดขึ้นมาแล้ว อาทิ เมื่อเดือนเม.ย. 2555 ในเหยียนอัน มณฑลส่านซี โดยสามารถสร้างพื้นที่เพิ่มถึง 78.5 ตารางกิโลเมตร เพิ่มขนาดเมืองให้เป็นสองเท่า และ นอกจากนี้ ในสหรัฐอเมริกา ก็เคยมีการตัดเขาในเขตเหมืองแร่ทางตะวันออกของประเทศ แต่ก็ยังไม่เคยมีที่ใดในโลก ที่ดำเนินโครงการขนาดใหญ่เท่าที่จีนทำอยู่ตอนนี้ ดังนั้นจีนจึงจะเป็นต้องศึกษาเรื่องดังกล่าวอย่างรัดกุมในทุกด้าน “หากไม่ก่อประโยชน์ รัฐบาลก็ไม่ควรเดินหน้าต่อไป” นักวิชาการทั้งสามคน เรียกร้อง ขอบคุณภาพข่าวจาก http://www.manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9570000065414 (http://www.manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9570000065414) |