หัวข้อ: บทสรุปการประชุมวิชาการระดับชาติของ มจร "๓ ปรับ ๔ เปลี่ยน จุดเทียนสามัคคีในชาติ" เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ กรกฎาคม 30, 2014, 09:41:57 am (http://www.komchadluek.net/media/img/size_photo_slide/2014/07/28/bi8h78ag6fbc9j5bjbja5.jpg) บทสรุป การประชุมวิชาการ ระดับชาติของ มจร. “พุทธบูรณาการเพื่อการพัฒนาจิตใจและสังคม” การประชุมวิชาการระดับชาติของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.) ครั้งที่ ๑ (MCU Congress I) นี้จัดขึ้นระหว่างวันที่ ๒๓-๒๔ กรกฎาคม ๒๕๕๗ ที่ผ่านมา ด้วยวัตถุประสงค์ที่จะเผยแพร่ผลงานทางวิชาการของมหาวิทยาลัยสู่สาธารณะด้วยการตีพิมพ์ทางวิชาการด้านพระพุทธศาสนาบูรณาการเข้ากับศาสตร์สมัยใหม่และจะเป็นเวทีสาธารณะเพื่อการเผยแพร่องค์ความรู้จากงานวิจัยและงานวิชาการหลากหลายสาขาที่มีการนำหลักพุทธธรรมไปประยุกต์ใช้เพื่อการพัฒนาที่เรียกว่า “พุทธบูรณาการ” ans1 ans1 ans1 ในการจัดงานครั้งนี้ มจร. คณะผู้จัดงาน จึงกำหนดให้มีการแสดงทัศนะในการประชุมกลุ่มย่อย ๓ กลุ่ม ประกอบด้วย ๑.พุทธบูรณาการเพื่อการพัฒนาจิตใจและปัญญา ๒.พุทธบูรณาการเพื่อการพัฒนาการบริหาร การเมืองและธรรมาภิบาล และ ๓.พุทธบูรณาการเพื่อเสริมสร้างความสมานฉันท์และลดความเหลื่อมล้ำในสังคม ขณะเดียวกันได้จัดให้มีกิจกรรมเพื่อความหลากหลายในการเสนอองค์ความรู้ที่เกี่ยวกับพุทธบูรณาการ ประกอบด้วย ๑.การแสดงปาฐกถา โดย พระพรหมบัณฑิต, ศ.ดร. มาเป็นองค์ปาฐก ๒.การสัมมนาทางวิชาการโดยมีลักษณะเป็นการอภิปรายร่วม (Panel Discussion) และการประชุมกลุ่มย่อย (Group Discussion) โดยได้รับความเมตตาจากนักวิชาการทั้งฝ่ายบรรพชิตและคฤหัสถ์ จากสถาบันการศึกษาและองค์กรต่างๆ และ ๓. การจัดนิทรรศการโดยนำข้อมูลจากงานวิชาการและงานวิจัยที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยได้ทำการศึกษาร่วมกับบุคลากรและนิสิตของมหาวิทยาลัยรวมทั้งจากภาคส่วนต่างๆ (http://www.komchadluek.net/media/img/size1/2014/07/28/hbcc9d68888bja6daa97k.jpg) บทสรุปการประชุมครั้งนี้มีบทความที่ผ่านการคัดเลือกเพื่อตีพิมพ์จำนวนทั้งสิ้น ๑๐๕ เรื่อง โดยมีบทความที่ผ่านการคัดเลือกให้นำเสนอในการประชุมกลุ่มย่อย จำนวน ๓๓ เรื่อง นำเสนอในรูปแบบโปสเตอร์ จำนวน ๓๑ เรื่อง และเมื่อสำเร็จการประชุมระดับชาติดังกล่าวแล้ว จะได้มีการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมครั้งนี้เพื่อเผยแพร่แก่สาธารณะต่อไป พระพรหมบัณฑิต บอกว่า การประชุมวิชาการระดับชาติ มจร. ครั้งที่ ๑ เรื่อง “พุทธบูรณาการเพื่อการพัฒนาจิตใจและสังคม” นี้ จะเป็นจุดเริ่มต้นในการนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาในรูปขององค์ความรู้ทางวิชาการไปสู่การแก้ปัญหาและพัฒนาสังคม โดยเฉพาะช่วงนี้มีการรณรงค์ให้คนไทยมีความปรองดองสมานฉันท์ หลักธรรมควรนำมาประยุกต์ให้นั้นก็คือ หลักของโยนิโสมนสิการ พร้อมกันนี้ควรนำหลักปฏิจจสมุปบาทมาพิจารณาดูซิว่า สาเหตุแห่งความขัดแย้งนั้นตัวเราเองนั้นแหลอาจเป็นสาเหตุหนึ่งก็ได้ และควรยึดหลักสาราณียธรรม 6 ประการ เท่านี้สังคมไทยก็มีความปรองดองแล้วตามปรัชญาของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยที่ว่า “จัดการศึกษาพระพุทธศาสนา บูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่ พัฒนาจิตใจและสังคม” ต่อไป :96: :96: :96: ขณะที่พระมหาหรรษา ธัมมหาโส หัวหน้าหลักสูตรสันติศึกษาปริญญาโท มจร. ได้กล่าวว่า ได้นำเสนอประเด็น "๓ ปรับ ๔ เปลี่ยน จุดเทียนสามัคคีในชาติ" "๓ ปรับ คือ ความเข้าใจ ท่าที และอารมณ์ ให้เกิดดุลยภาพนั้นก็คือ หลักของมรรค ๘ ส่วน ๔ เปลี่ยนคือจากสังคมเกลียดชังสู่สังคมอุดมรัก จากการแย่งชิงสู่การแบ่งปัน จากกติกูสู่กติการ่วมที่เป็นธรรม และจากความคิดที่คับแคบสู่การร่วมคิดที่แยบยล เชื่อแน่ว่าจะเป็นหาทางสู่การปรองดองได้" ขอบคุณภาพข่าวจาก http://www.komchadluek.net/detail/20140729/189110.html (http://www.komchadluek.net/detail/20140729/189110.html) |