หัวข้อ: ไทย-กัมพูชาร่วม ปลดทุกข์ประชา บนกองขยะ เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ สิงหาคม 02, 2014, 10:22:55 am (http://www.komchadluek.net/media/img/size_photo_slide/2014/08/01/efa5aaihfb6jga56gbiag.jpg) ไทย-กัมพูชาร่วม ปลดทุกข์ประชา บนกองขยะ กองขยะสู่กองธรรม! พี่น้องไทย-กัมพูชาร่วมปลดทุกข์ประชา : สำราญ สมพงษ์(FB-Samran Sompong)รายงาน จากผลงานการบริการสังคมของพระชาวกัมพูชานาม พระสุเธีย สุวณฺณเถโร (ยนต์) เฟซบุ๊ก Sothea Yon ที่มีความรู้จบปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) ประเทศไทย เคยเป็นอาจารย์สอนระดับปริญญาตรีที่ มจร วิทยาเขตอุบลราชธานี สอนภาษาเขมรที่วิทยาลัยเทคโนโลยีอาชีวศึกษาอุบลราชธานี และเป็นวิทยากรวิจารณ์งานนิสิตระดับปริญญาตรีคณะศิลปศาสตร์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีเป็นประจำ หลังจากนั้นได้เดินทางกลับไปพัฒนาประเทศบ้านเกิด :49: :49: :49: ที่ปรากฏสู่สาธารณะเริ่มจากจุดที่เชิญชวนเพื่อนในเฟซบุ๊กช่วยกันเชิญชวนกดไลค์(LIKE) เป็นการทำบุญปีใหม่ด้วยสร้างบ้านหลังใหม่ให้คนยากจน ทำกิจกรรมชักชวนญาติโยมเข้าวัดฟังธรรมรักษาศีลดึงเยาวชนบวชเป็นสามเณรและแม่ชีตามเทศกาลต่างๆอย่างเช่นวันวิสาขบูชาโลกเป็นต้น มุ่งอนุเคราะห์แก่ผู้ยากจนด้อยโอกาส ล่าสุดเข้าไปโปรดญาติโยมที่มีอาชีพเก็บขยะดำรงชีพที่หมู่บ้านออลลัวงปี ตำบลตรอเปียงธม อำเภอบาคอง จังหวัดเสียมเรียบ แห่งกัมพูชา ห่างจากปราสาทนครวัดเพียง 30 กิโลเมตรเท่านั้น มีประชาชนประมาณ 300 คน ร่วมทั้งเด็กที่ประกอบอาชีพด้วยการเก็บขยะ ซึ่งหารายได้ประมาณ 60 บาทต่อวัน และบางวันหาได้ต่ำกว่า 30 บาท นอกจากนี้พระสุเธียยังคลินิกสุขภาพเคลื่อนที่ฟรีให้บริการกับผู้ยากไร้และประชาชนทั่วไปผู้ป่วยมาตรวจไม่ต่ำกว่า 70 คนทุกวัน (http://www.komchadluek.net/media/img/size1/2014/08/01/abeehh5abak9daib9j5jg.) จากกิจกรรมดังกล่าวได้แผ่กระจายออกไปในวงกว้างเพราะด้วยความสามารถของพระสุเธียที่สามารถสื่อสารได้ทั้งภาษาเขมร อังกฤษ และไทย ผ่านทางสื่อออนไลน์ต่างๆ ส่งผลให้มีผู้ทราบข่าวและสนใจในกิจกรรมในจำนวนนั้นมีอาจารย์ดร.ศักดิ์ ประสานดี ผู้อำนวยการหลักสูตรศิลปศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาผู้ประกอบการสังคม สถาบันอาศรมศิลป์ ในฐานะรุ่นพี่ศิษย์เก่า มจร รวมอยู่ด้วย จึงได้มีการติดต่อที่จะยื่นมือเข้าไปช่วยเหลือและทำกิจกรรมร่วมกัน ประกอบกับอาศรมศิลป์ได้มีโครงการเกี่ยวกับการพัฒนาสังคมที่ประเทศกัมพูชาอยู่แล้ว สำหรับอาศรมศิลป์เป็นสถานการศึกษาภายใต้การสนับสนุนของนายมีชัย วีระไวทยะ อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ผู้ก่อตั้งสมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน ที่เปิดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี หลักสูตรผู้ประกอบการสังคม การเรียนเน้นการปฏิบัติกรรม การสร้างอาชีพ การศึกษาชุมชน เน้นลงมือทำจริงตั้งแต่เทอมแรกถึงเทอมสุดท้าย ซึ่งหลักสูตรประกอบการสังคมนี้ถือว่าเป็นหลักสูตรแรกของไทย หลักสูตรเรียนฟรีหลักสูตรแรกของไทย (http://www.komchadluek.net/media/img/size1/2014/08/01/dahb6j6gfi99khd8kb9ik.) ล่าสุดอาจารย์ดร.ศักดิ์และคณะได้เดินทางไปที่จังหวัดเสียมเรียบพบกับพระสุเธียได้ปรึกษาหารือกัน โดยพระสุเธียได้แจ้งผลการประชุมให้ทราบว่า "เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 เวลาบ่ายสี่โมง ณ วัดพระอินทรโกสีย์ ตำบลสลฺลกราม อำเภอเสียมเรียบ จังหวัดเสียมเรียบ ประเทศกัมพูชา การประชุมรอบแรกประกอบด้วยพระสุเธีย สุวิณฺณเถโร (ยนต์) (Sothea Yon) ชาวกัมพูชา ผศ.ดร.ศักดิ์ ประสานดี ไทย ผอ.หลักสูตรศิลปศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาผู้ประกอบการสังคม ของสถาบันอาศรมศิลป์ อาจารย์วิลาศ ไทย ประธานองค์การพีดีไอ (Population Development International Cambodia=PDI)อาจารย์คี สุเฮง (Ky Sokheng) รองคณะบดีคณะศึกษาศาสตร์และภาษามหาวิทยาลัย Build Bright University = BBU นายเทียว จันทรเสรี (Tiev Chan Serey) ประธานดำเนินงานโครงการของพีดีไอ นายลือ สุเพา (Lu Sopov) เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานของพีดีไอ น.ส.คีรี โรส (Kiry Ros) ตัวแทนของ Social Service Delivery Mechanism (SSDM) และพระมหาซุ้ม พิสิฐ ตัวแทนของโรงเรียนปริยัติ (http://www.komchadluek.net/media/img/size1/2014/08/01/e9eb898hbgeb5bgfakfbg.) การประชุมครั้งนี้เป็นกันเองมากที่สุด ไม่มากพิธีแต่ได้สาระมากที่เดียว โดยอาจารย์วิลาศได้กล่าวถึงบทบาทของพีดีไอที่มีต่อสังคม แล้วมองความสัมพันธ์ไทยกับกัมพูชาในด้านการศึกษาและการพัฒนา โดยคาดหวังโรงเรียนเป็นตัวเชื่อม ส่วนรศ.ดร.ศักดิ์ ประสานดี ได้กล่าวถึงเจตจำนงของสถาบันอาศรมศิลป์ที่มีต่อชาวกัมพูชาโดยจะมอบทุนการศึกษา การจัดตั้งสถาบันแห่งนี้ในจังหวัดเสียมเรียบ โดยวัตถุประสงค์หลัก ๆ คือ 1.การพัฒนาตัวเอง (self – development) 2.การประกอบการสังคม (Social Enterprise) 3.การศึกษาชมชุน (Community Studies) พร้อมนั้นได้กล่าวถึงการจัดสัมมนา เรื่อง “ผู้ประกอบการสังคม” ในจังหวัดเสียมเรียบ ในอีกไม่ช้านี้ :96: :96: :96: ส่วนอาจารย์คี สุเฮง แห่ง BBU ได้แสดงความสนใจในโครงการนี้ เนื่องจากมีส่วนหนึ่งคล้ายกับนโยบายของมหาวิทยาลัย พร้อมด้วยคำถามอีกจำนวนหนึ่งที่เกี่ยวข้องการจัดหลักสูตรของผู้ประสบการณ์สังคม การจัดสัมมนา และการจัดทำทัศนะศึกษาในประเทศไทย เนื่องจากมีนิสิตมีความสนใจด้านการเกษตร พระสุเธีย สุวณฺณเถโร (ยนต์) ในนามเป็นตัวเชื่อมของหน่วยงานทั้งนี้ได้กล่าวชื่นชมและทำความเข้าใจให้หน่วยงานทั้งนี้ได้เข้าใจถึงการบริการสังคมโดยไม่มีเงื่อนไข และเป็นก้าวแรกของความสัมพันธ์เข้าสู่ประตู่อาเซียน (http://www.komchadluek.net/media/img/size1/2014/08/01/bg789dia8kcbae69fagec.) พระสุเธียได้กล่าวชื่นชมพีดีไอที่มากด้วยโครงการเพื่อสังคมในประเทศกัมพูชา เนื่องด้วยพระสุเธียเคยได้ร่วมงานมาระยะหนึ่ง และมีส่วนหนึ่งเข้าค่ายหลักผู้ประกอบการสังคม แต่อย่างไร ก็ตาม พระสุเธียได้พยายามให้มองในเชิงพุทธออมไปด้วย โดยเฉพาะการประกอบการต้องประกอบด้วยหลักเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเทียบเคียงกับเศรษฐกิจครอบครัว หรือ เป็น Family Economic หรือ Substantial Economic การพูดคุยครั้งนี้ ได้สร้างรอยยิ้ม และความเป็นเพื่อนของหน่วยงานทั้งนี้ ด้วยคาดหวังจะมีการนัดปรึกษาหารือกันบ่อยครั้ง เพื่อให้ดำเนินการนี้เป็นไปอย่างราบเรียบมากที่สุด และบรรลุผลตามเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้" ทั้งนี้อาจารย์ดร.ศักดิ์ได้แจ้งว่า หลังจากนั้นได้เดินทางไปประชุมที่สำนักงานมีชัยพัฒนาอินเตอร์เนชันแนล กับอาจารย์จากมหาวิทยาลัย build bright ที่มหาวิทยาลัย pannasastra ทั้งหมดนี้จะทำความร่วมมือกันในการจัดการเรียน ผู้ประกอบการสังคม และการมาเยี่ยมสถาบันอาศรมศิลป์ เพื่อให้ทุนมาเรียนฟรีต่อไป ขอบคุณภาพและบทความจาก http://www.komchadluek.net/detail/20140801/189345.html (http://www.komchadluek.net/detail/20140801/189345.html) |