หัวข้อ: สุภาษิต วันนี้ คร้า .... อยากรู้ต้องคลิ๊กอ่าน คร้า.... เริ่มหัวข้อโดย: หมวยจ้า ที่ ตุลาคม 29, 2010, 07:39:08 am มะกอกสามตะกร้าปาไม่ถูก : สำนวนนี้หมายถึงคนที่พูดเก่ง หรือตลบแตลงเก่ง พูดกลับกลอกได้รอบตัว หรือพูดจนจับคำไม่ทัน เป็นที่ไม่น่าเชื่อถือและไว้ใจ เปรียบเหมือนกับว่าเป็นคนหลบหลีกได้คล่อง ถึงจะเอามะกอกใส่เต็มตะกร้า ๓ - ๔ ตะกร้ามาขว้างปาก็ไม่ถูก ทำนองเดียวกับที่ว่า " จับไม่ได้ไล่ไม่ทัน "
มะนาวกลมกลี้ยง บ่มีคนกลึง : สำนวนนี้ มักใช้ควบคู่กับ " หนามแหลม บ่มีคนเสี่ยม มะนาวกลมเกลี้ยง บ่มีคนกลึง " หรือบางทีก็พูว่า หนามแหลมไม่มีคนเสี้ยม มะนาวกลมเกลี้ยงไม่มีคนกลึง " แปลว่า คนที่มีสติปัญญาหรือมีความสามารถเก่งกาจนั้น อาจเป็นผู้ที่ไม่ต้องมีใครสอนเลยก็ได้ โดยเกิดขึ้นเองในตัว หรือหมายถึง คนที่มีตระกูลดีหรือบรรพบุรุษดีมาแล้ว ตนเองก็ย่อมจะมีแววดีติดตามมาด้วย โดยไม่ต้องมีใครสอน. มะพร้าวห้าวมาขายสวน : สำนวนนี้ เป็นคำเปรียบเปรยคนที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือโง่เขลา เช่น เอาอะไรมาแสดงอวดกับคนที่เขารู้ดีอยู่แล้ว หรือเรียกว่าทำไปโดยไม่คิดว่าเขาจะรู้ดีกว่าตน เปรียบเหมือนเอามะพร้าวห้าวหรือมะพร้าวแก่ไปขายกับชาวสวนที่มีมะพร้าวอยู่แล้ว ความหมายอย่างเดียวกับคำว่า " ห้าแต้ม ". มือไม่พายเอาเท้าราน้ำ : เป็นสำนวนที่หมายถึง คนที่ไม่ช่วยเขาทำงานแล้ว ยังไปทำตัวให้เป็นที่กีดขวางเกะกะแก่งานของเขาอีกด้วย เพราะเมื่อเอาเท้าหรือตีนไปราน้ำเวลานั่งเรือที่เขาพายอยู่ด้วยนั้น ก็ย่อมจะทำให้เท้าไปต้านน้ำไว้ ทำให้เรือแล่นช้าลงอีก. ไม่ได้ด้วยเลห์เอาด้วยกล ไม่ได้ด้วยมนต์ เอาด้วยคาถา : เป็นสำนวนที่หมายความว่า ทำด้วยวิธีหนึ่งไม่สำเร็จ ก็พยายามจะทำอีกวิธีหนึ่ง หรือหาวิธีอื่น ๆ ที่คิดว่าจะทำให้ได้มาทำ เป็นความหมายในทำนองที่ว่า เป็นการใช้อุบายเพื่อเอาชนะอีกฝ่ายหนึ่งให้ได้. ไม่พ้นชวด ฉลู ขาล เถาะ : สำนวนนี้ เราอาจจะไม่คอยได้ยินในสมัยนี้นัก เพราะเป็นสำนวนเก่าแก่ของคนในสมัยก่อน ๆ ใช้พูดกัน มีความหมายว่า " ไปไม่รอด " หรือไปไม่ได้ตลอด หรือไปให้ไกลแสนไกลแค่ไหนก็จะต้องหมุนเวียนกลับมาอีก เปรียบเหมือนปี ๑๒ นักกษัตร ที่หมุนเวียนอยู่เรื่อยไปภายใน ชวด ฉลู ถึง กุล สำนวนนี้มักใช้ประชดคนที่ทำใจแข็งโดยไม่สมเหตุผล. ไม่มีมูลฝอยหมาไม่ขี้ : หมายความว่า อะไรก็ตามที่เกิดขึ้น มักจะต้องมีเหตุหรือมีเค้ามูลมาก่อน ไม่ได้เกิดขึ้นลอย ๆ. ไม่รู้จักเสือ เอาเรือเข้ามาจอด ไม่รู้จักมอดเอาไม้เข้ามาแหย่ : ทั้งสองสำนวนนี้ แปลว่า การทำอะไรที่แสดงความเซ่อเขลาของตนโดยไม่พิจารณาเสียก่อนมักมุ่งหมายไปในทำนองที่ว่า ไปต่อสู้หรือแข่งขันกับคนที่เขาชำนาญกว่าหรือเก่งกว่า โดยไม่รู้ว่าเป็นใคร เช่นหลงไปเล่นการพนันกับนักพนันที่เก่งและชำนาญเข้าโดยไม่รู้จัก เปรียบได้กับเอาเรือเข้าไปจอดในป่าที่มีเสือดุ ๆ หรือเอาไม้เข้าไปแหย่ให้มอดกัดกินเล่นสบาย. ไม่เห็นน้ำตัดกระบอก ไม่เห็นกระรอกโก่งหน้าไม้ : หมายถึง การด่วนทำอะไรล่วงหน้าไปก่อน โดยที่ยังไม่รู้ว่า การณ์ข้างหน้าจะมีหวังแน่นอนหรือเปล่า เพราะไม่มีเค้าว่าจะปรากฏภายหน้าให้เห็นเลยเรียกว่า เป็นการคาดคะเนล่วงหน้าไว้ก่อน แล้วก็รีบจัดเตรียมไว้ โดยถ้าหากผิดคาดไปก็เสียเปล่า. ไม้ซีกงัดไม้ซุง : สำนวนนี้ หมายถึง คนผู้น้อยหรือผู้มีฐานะต่ำไปคัดค้าน หรือไปก่อความกับผู้มีอำนาจสูงกว่า หรือมีฐานะดีกว่า ก็ย่อมจะเป็นผู้แพ้หรือทำไม่สำเร็จ มีแต่จะได้รับอันตรายอีกด้วย เพราะไม้ซีกเล็กกว่าไม้ซุง เมื่อเอาไปงัดไม้ซุงจะให้พลิกขึ้น ก็รังแต่ไม้ซีกจะหักเปล่า. ไม้ล้มจึงข้าม คนล้มอย่าข้าม : ความหมายของสำนวนนี้ อธิบายไว้แล้วใน " คนล้มอย่าข้าม ". ที่มา FWD mail คร้า... |