สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

กรรมฐาน มัชฌิมา => เกี่ยวกับ วัด พระสงฆ์ พระธาตุ พระเครื่อง => ข้อความที่เริ่มโดย: raponsan ที่ สิงหาคม 14, 2014, 08:41:05 am



หัวข้อ: "พระเบญจภาคี" ๕ พุทธคุณ อมตะ ครอบจักรวาล
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ สิงหาคม 14, 2014, 08:41:05 am

(http://www.komchadluek.net/media/img/size_photo_slide/2014/08/04/ic76aaib5f5akaek86daj.jpg)

"พระเบญจภาคี" ๕ พุทธคุณ อมตะ ครอบจักรวาล
พระเบญจภาคี ๕ พุทธคุณ อมตะ ครอบจักรวาล : เรื่องและภาพ ไตรเทพ ไกรงู

"พ.อ.(พิเศษ) ประจน กิตติประวัติ" อดีตนายทหารประจำกองบัญชาการทหารสูงสุดหรือ "ตรียัมปวาย" ได้จัดทำเนียบชุด "พระเครื่องเบญจภาคี" ขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๔๙๕ โดยเมื่อแรกเริ่มยังคงเป็นเพียง "ไตรภาคี" คือ มีเพียง ๓ องค์เท่านั้น ประกอบด้วย 'พระสมเด็จ' วัดระฆังโฆสิตาราม เป็นองค์ประธาน ซ้ายขวาเป็นพระนางพญา จ.พิษณุโลก และพระรอด จ.ลำพูน หลังจากนั้นจึงได้ผนวก 'พระกำแพงซุ้มกอ' กำแพงเพชร และ 'พระผงสุพรรณ' สุพรรณบุรี เข้าเป็นชุด เบญจภาคี สุดยอดปรารถนาของนักสะสมพระเครื่องทั้งหลาย จากค่านิยมกันในหลักพันบาท และทะยานเข้าสู่หลักหลายสิบล้านในปัจจุบันนี้

พระเบญจภาคี จัดว่าเป็นสุดยอดพระเครื่องของเมืองไทย ที่เป็นที่นิยมมาของวงการพระเครื่องและและครองความนิยมและสุดยอดปรารถนาของเหล่านักเลงพระ ซึ่งเป็นสุดยอดพระของแต่ละยุคสมัย และเป็นสุดยอดของพุทธคุณ ผู้ใดได้ครอบครองเป็นเจ้าของก็เชื่อได้ว่าคนผู้นั้นเปี่ยมด้วยวาสนา บารมี ด้วยราคาเช่าหานั้นมีมูลค่าสูงมากถือเป็นอันดับหนึ่งใครมีไว้มักจะหวงแหนมาก จะขอชมยากกลัวถูกโจรกรรม จึงมักไม่ให้ใครชม ประกอบด้วย
     ๑.พระสมเด็จวัดระฆัง ที่สร้างโดยท่านเจ้าพระคุณสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) พฺรหฺมรังษี เป็นตัวแทนยุค รัตนโกสินทร์
     ๒.พระซุ้ม ก หรือกำแพงเม็ดขนุน ทุกกรุใน จ.กำแพงเพชร เป็นตัวแทนยุคสุโขทัย
     ๓.พระนางพญา กรุวัดนางพญา จ.พิษณุโลก เป็นตัวแทนยุคอยุธยา-พระพิษณุโลกสองแคว
     ๔.พระผงสุพรรณ กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.สุพรรณบุรี เป็นตัวแทนยุค อู่ทอง-สุพรรณภูมิ และ
     ๕.พระรอด กรุวัดมหาวัน จ.ลำพูน เป็นตัวแทนยุคลพบุรี

 :25: :25: :25:
             
สำหรับตำนานแห่งพุทธคุณของพระชุดเบญจภาคีนั้น มีคติความเชื่อว่า

    ๑. พระสมเด็จวัดระฆัง จัดได้ว่าเป็นสุดยอดพระเครื่องตลอดกาล หรือ "จักรพรรดิแห่งพระเครื่อง" พุทธคุณครอบจักรวาล เน้นบุญฤทธิ์ หนุนดวงชะตา เมตตามหานิยม แคล้วคลาดภัยพิบัติ คงกระพัน โชคลาภ ใครมีบารมีได้ไว้จะรุ่งเรืองไม่มีวันตกต่ำ
    ๒. พระนางพญา พุทธคุณเป็นพระสร้างความเด่นด้านเมตตากรุณาและเป็นสวัสดิมงคล เน้นทางอิทธิฤทธิ์แกร่งกล้า คงกระพันชาตรี มิหวั่นเกรงคมศัสตราวุธ แคล้วคลาด ชนะศัตรู มีบารมี ผู้คนเกรงใจ
    ๓. พระซุ้ม ก หรือกำแพงเม็ดขนุน พุทธคุณเน้นทางโภคทรัพย์ เป็นมหาอำนาจวาสนาบารมี เป็นใหญ่กว่าคนทั้งปวง ไม่มีวันจน
    ๔. พระผงสุพรรณ พุทธคุณเน้นด้านเมตตาบารมี การเป็นผู้นำ น่าเกรงขาม คงกระพัน การมีโชค โภคทรัพย์ ความมีเสน่ห์ ขจัดทุกข์ ความสงบ หนักแน่น
    ๕. พระรอด พุทธคุณเน้นเมตตามหานิยม อยู่ยงคงกระพัน อุดมด้วยโภคทรัพย์ ร่ำรวยทรัพย์ เด่นทางแคล้วคลาด คุ้มภัย

 :96: :96: :96:

นอกจากนี้แล้วยังมีอุปเท่ห์ของพระแต่ละองค์ที่น่าสนใจ เช่น พระพระกำแพงซุ้มกอ เป็นพระพุทธคุณนั้นไม่ต้องพูดถึง เพราะพระกำแพงซุ้มกอ มีครบเครื่องไม่ว่าเรื่องเมตตามหานิยม แคล้วคลาด ตลอดจนเรื่องโชคลาภ จนมีคำพูดที่พูดติดปากกันมาแต่โบราณกาลว่า “มีกูแล้วไม่จน” ประกอบกับพระกำแพงซุ้มกอ ถูกจัดอยู่หนึ่งในห้าของชุดเบญจภาคี ความต้องการของนักนิยมพระเครื่องจึงมีความต้องการสูงเพราะทุกคนต้องการแต่พระกำแพงซุ้มกอทั้งนั้น ราคาเช่าหาจึงแพงมาก และหาได้ยากมากด้วย ถ้าไปในที่ต่างๆ อยากกินน้ำ หาน้ำไม่ได้ ท่านให้อาราธนาพระใส่ไว้ในปาก หายอยากน้ำแล ถ้าเอาพระไว้บนศีรษะแล้ว ปืนแลหน้าไม้ยิงมาเป็นห่าฝนก็ไม่ถูกตัวเรา เป็นต้น

ในขณะที่พุทธคุณของพระผงสุพรรณ กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.สุพรรณบุรี เป็นที่เลื่องชื่อลือชาตั้งแต่โบร่ำโบราณ ซึ่งปรากฏในจารึกลานทองที่ได้จากกรุและถูกคัดลอกออกเป็น ๖ สำเนา กล่าวถึงกรรมวิธีการสร้าง และ "อุปเท่ห์" อันหมายถึงวิธีการอาราธนาองค์พระเพื่อให้ท่านช่วยเหลือในสถานการณ์ต่างๆ เช่น แม้อันตรายสักเท่าใดก็ดีให้นิมนต์พระใส่ไว้บนศีรษะหรืออาราธนาผูกไว้ที่คอ อันตรายทั้งปวงหายสิ้น แล ถ้าจะเข้าการรณรงค์สงคราม ให้เอาพระสรงน้ำมันหอม เสกด้วยนวหรคุณ แล้วเอาน้ำมันหอมมาใส่ผม ไปได้สำเร็จความปรารถนาแล

ขอบคุณรูปภาพพระชุดเบญจภาคี จาก "WWW.SOONPRARATCHADA.COM"


(http://www.komchadluek.net/media/img/size1/2014/08/04/7k7kg5cf8idfcffadf6ii.jpg)

เก่าและเก๊มากที่สุด

พระรอด สุดยอดแห่งพระพิมพ์ของล้านนา หนึ่งใน "พระชุดเบญจภาคี" อันลือชื่อของไทยที่มีอายุมากที่สุด ลักษณะเป็นพระเนื้อดินเผา ศิลปะทวารวดี-ศรีวิชัย แบ่งพิมพ์ออกเป็น พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง พิมพ์เล็ก พิมพ์ต้อ และพิมพ์ตื้น บางตำราก็ว่ามีอีกหนึ่งพิมพ์ คือ พิมพ์บ่วงเงินบ่วงทอง แต่หาดูได้ยากยิ่ง มีพุทธคุณเป็นเลิศด้านแคล้วคลาด รวมทั้งอยู่ยงคงกระพัน เมตตามหานิยม อุดมด้วยโภคทรัพย์ เรียกว่าครบเครื่องทีเดียว

ตามตำนานกล่าวไว้ว่า "พระรอด" สร้างในสมัยทวาราวดีเมื่อนับพันปีมาแล้ว สมัยที่พระนางจามเทวี ปกครองเมืองหริภุญชัย พระนางทรงสถาปนาพระอารามชื่อ จตุรพุทธ ปราการ (วัดมหาวัน) ขึ้น จึงดำริให้สร้างพระเจดีย์ไปพร้อมกัน พร้อมทั้งบรรจุ "พระรอด" ไว้ โดยพระสุมณานารทะฤๅษี เป็นผู้สร้าง

เอกลักษณ์สำคัญของ "พระรอด" คือ เป็นพระกรุเก่าแก่ที่มีการค้นพบเฉพาะที่วัดมหาวัน จ.ลำพูน เท่านั้น และแรกเริ่ม "พระรอด" คงบรรจุอยู่ในพระเจดีย์โบราณแต่ต่อมาพระเจดีย์ได้โค่นล้มลง พระรอดจึงตกอยู่ในดินกระจัดกระจายทั่วไป จึงมีการแตกกรุของ "พระรอด" ในหลายครั้ง

 :25: :25: :25:

ครั้งแรก เมื่อ พ.ศ.๒๔๓๕-๒๔๔๕ สมัยเจ้าหลวงเหมพินธุไพจิตร ได้ปฏิสังขรณ์องค์เจดีย์ขึ้นใหม่ ทำให้พบพระรอดจำนวนมากภายใต้ซากเจดีย์เก่า ประมาณ พ.ศ.๒๕๑ สมัยเจ้าหลวงอินทิยงยศ เห็นว่ามีต้นโพธิ์ขึ้นแทรกบริเวณฐานพระเจดีย์วัดมหาวัน และมีรากชอนลึกจนทำให้พระเจดีย์มีรอยร้าวหลายแห่ง จึงให้ช่างรื้อฐานและปฏิสังขรณ์ใหม่ ก็พบพระรอดจำนวน ๑ กระเช้า จึงนำแจกจ่ายบรรดาญาติวงศ์เจ้าลำพูน ในปี พ.ศ.๒๔๙๗ มีการปฏิสังขรณ์วิหาร เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พบพระรอดไม่กี่องค์ แต่พบพระคง พระบาง พระสาม พระสิบสอง และพระรอดหลวง

พ.ศ.๒๔๙๘ ปฏิสังขรณ์กุฏิเจ้าอาวาสในสมัยนั้น ในการขุดเพื่อลงรากฐานก่อสร้าง พบพระรอดกว่า ๒๐๐ องค์ แทบทุกองค์เป็นพระที่งามและเนื้อจัด มีหลายพิมพ์ทรง และหลังปีพ.ศ.๒๕๐๐ก็ยังมีการขุดหาพระรอดโดยรอบบริเวณวัดมหาวันอยู่

สำหรับ "พระรอด" ที่นับได้ว่าเป็นองค์สำคัญในชุดเบญจภาคี คือ "พระรอด พิมพ์ใหญ่" ซึ่งมีพุทธลักษณะและพุทธศิลปะที่งดงาม และนับเป็นพิมพ์ที่มีการทำเทียมสูงสุด


(http://www.komchadluek.net/media/img/size1/2014/08/04/cfi65df6a7gkh96kga56c.jpg)

วัดนางพญา-วัดราชบูรณะ

พระนางพญามีต้นกำเนิดที่ “วัดนางพญา” ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากวัดพระศรีรัตนมหาธาตุเมืองพิษณุโลกนัก ในอดีตวัดนางพญาเคยมีพื้นที่ติดต่อกับวัดราชบูรณะ เป็นวัดพี่วัดน้อง ใช้อุโบสถหลังเดียวกัน แต่ภายหลังเมื่อมีการตัดถนนพิษณุโลก-หล่มสัก วัดทั้งสองจึงแยกกันอยู่คนละฝั่งถนน และเชื่อกันว่าผู้ที่สร้างพระนางพญาขึ้นก็คือพระวิสุทธิกษัตรี มเหสีของสมเด็จพระมหาธรรมราชา กษัตริย์ในสมัยอยุธยานั่นเอง
 
เมื่อ พ.ศ.๒๔๔๔ รัชกาลที่ ๕ จะเสด็จประพาสเมืองพิษณุโลกเพื่อทอดพระเนตรการหล่อพระพุทธชินราชจำลอง จึงสร้างปะรำพิธีรับเสด็จที่วัดนางพญา เมื่อคนงานขุดหลุมจึงพบพระเครื่องจำนวนมาก ซึ่งเรียกกันต่อมาว่า “พระนางพญา” และไม่เพียงที่วัดนางพญาเท่านั้นที่พบพระนางพญา แต่ที่วัดราชบูรณะและตามกรุต่างๆ ก็พบพระนางพญาด้วยเช่นกัน
 
 st12 st12 st12

ปัจจุบันคนที่มาเมืองพิษณุโลกมักจะมากราบพระพุทธชินราชที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเพียงวัดเดียว แต่หากมีโอกาสได้เดินชมวัดนางพญา และวัดราชบูรณะ จะพบว่ามีสิ่งที่น่าสนใจอยู่อีกมาก โดยภายในวัดนางพญาจะมีอุโบสถและวิหารหลังเดียวกัน ภายในประดิษฐานพระพุทธชินราชจำลอง ด้านหลังวิหารมีเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง ๒ องค์ ตั้งอยู่คู่กัน

ส่วนวัดราชบูรณะมีสิ่งก่อสร้างสำคัญคือ อุโบสถ วิหารหลวง และเจดีย์หลวง อุโบสถและวิหารเป็นทรงโรงศิลปะสมัยสุโขทัย พระประธานในอุโบสถและวิหารหลวงมีรูปแบบศิลปะสุโขทัยตอนปลาย ส่วนเจดีย์หลวงตั้งอยู่บนฐานก่ออิฐถือปูน
ขนาดใหญ่ มีเจดีย์ทรงลังกาตั้งอยู่บนลานประทักษิณ ถือเป็นเจดีย์ที่ใหญ่และสูงที่สุดในจังหวัดพิษณุโลก

ขอบคุณภาพและบทความจาก
http://www.komchadluek.net/detail/20140805/189548.html (http://www.komchadluek.net/detail/20140805/189548.html)