สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

เรื่องทั่วไป => forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน => ข้อความที่เริ่มโดย: raponsan ที่ สิงหาคม 21, 2014, 10:13:13 am



หัวข้อ: แนะใช้ 'เสวนาศาสนา' แก้ขัดแย้ง กรณีลดศีลพระ
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ สิงหาคม 21, 2014, 10:13:13 am

(http://www.komchadluek.net/media/img/size_photo_slide/2014/08/20/e9hdafg9jd5ha5ea78c5b.jpg)

แนะใช้ 'เสวนาศาสนา' แก้ขัดแย้ง กรณีลดศีลพระ
แนะใช้'เสวนาศาสนา'ระงับอธิกรณ์ทางเลือก แก้ขัดแย้งกรณีลดศีลพระเหลือ150ข้อ : สำราญ สมพงษ์รายงาน

จากกรณีมีผู้ร้องเรียนถึงศูนย์ฮอตไลน์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ(พศ.) และยังคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.)เกี่ยวกับกรณีพระอธิการคึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล  เจ้าอาวาสวัดนาป่าพง จังหวัดปทุมธานี  ตัดศีลปาฏิโมกข์ของพระสงฆ์เหลือเพียง 150 ข้อ จากเดิม 227 ข้อ และผอ.พศ.เสนอต่อที่ประชุมมหาเถรสมาคม(มส.)ให้พิจารณาวันที่ 20 ส.ค.2557นี้ หลังจากพระสังฆาธิการผู้ปกครองดำเนินการตามสายงานปกครองแล้ว

นับได้ว่าเป็นความขัดแย้งที่เกิดขึ้นกับคณะสงฆ์และสังคมชาวไทย มีการวิพากษ์วิจารณ์ว่าจะเกิดความขัดแย้งในวงการคณะสงฆ์อย่างเช่นกรณีวัดธรรมกายและสันติอโศกหรือไม่ หากพระอธิการคึกฤทธิ์จะยังคงยึดตามแนวทางเดิมแม้นว่ามส.จะมีคำวินิจฉัยออกมาอย่างไรก็ตาม

:sign0144: :sign0144: :sign0144: :sign0144:

ทำให้เกิดคำถามตามมาอีกว่า แล้ววิธีการแก้ปัญหาความขัดแย้งตามแนวทางของคณะสงฆ์ดำเนินการอยู่นี้จะเพียงพอต่อการแก้ปัญหาหรือไม่ จำเป็นหรือไม่ที่จะมีวิธีการอื่นเสริมอาจจะเรียกว่า "วิธีการระงับอธิกรณ์ทางเลือก" อย่างเช่นทางโลกก็จะมีกระบวนการยุติธรรมทางเลือกและสมานฉันท์เป็นต้น จะเหมาะสมหรือไม่ในยุคที่คสช.ต้องการสร้างความปรองดองให้เกิดขึ้นกับคนในชาติทั้งวงการสงฆ์และฆราวาส

ชั้นนี้ขอนำเสนอแนวทางแก้ปัญหาความขัดแย้งในวงการศาสนาแนวทางหนึ่งคือการเสวนาทางศาสนาหรือ "Regional Interfaith Dialogue" ซึ่งดูเหมือนอาจจะไม่ค่อยคุ้นเคยมากนักในวงการพระพุทธศาสนาส่วนใหญ่หรือทราบก็ยังอยู่ในวงจำกัดทั้งๆที่แนวความคิดนี้เกิดขึ้นมานานแล้ว

"การเสวนาทางศาสนา"นี้ ดร.ปาริชาด สุวรรณบุบผา อาจารย์ประจำภาควิชามนุษยศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เคยให้ความกระจ่างในบทความเรื่อง "การเสวนาทางศาสนา : เอกภาพท่ามกลางความหลากหลาย" (ตำแหน่งช่วงเขียนบทความ) เมื่อหลายปีที่ผ่านมาโดยเฉพาะในช่วงที่เกิดความขัดแย้งกรณีวัดธรรมกาย

 :96: :96: :96: :96:

ดร.ปาริชาดได้เสนอโดยสรุปว่า การเสวนาทางศาสนาจะสำเร็จต้องตั้งอยู่บนหลักของพหุนิยมทางศาสนายอมรับ "ความหลากหลาย" ของศาสนาที่มีมากกว่าหนึ่ง ไม่ตัดสินว่าเชื่อของตนนั้นถูกต้องที่สุด และสมบูรณ์ที่สุด (absolutism) โดยมีวิธีการอยู่ 3 แบบคือ
        1. การเสวนาในระดับความเชื่อตามคัมภีร์ (Dialogue of Study)
        2. การเสวนาโดยเน้นประสบการณ์ทางศาสนาและการปฏิบัติ (Dialogue of Prayer)
        3. การเสวนาเพื่อชีวิตโดยเน้นการแก้ปัญหา (Dialogue of Life)

แต่การเสวนาแบบสุดท้ายน่าจะเป็นวิธีที่เหมาะสมที่จะนำมาใช้ในสถานการณ์ปัจจุบัน  โดยเป็นการเสวนาโดยเน้นการแก้ปัญหาที่ทุกคนไม่ว่าจะเป็นศาสนิกชนของศาสนาใดก็ตามกำลังเผชิญอยู่  อาจจะมีการจัดกิจกรรมร่วมกันทั้งพระสงฆ์ ชาวพุทธ คริสเตียน มุสลิม และผู้ไม่นับถือศาสนา ในการเดินพระสงฆ์จะหยุดรับอาหารบิณฑบาต ฉัน สวดมนต์ ทำสามธิ สมาชิกในกิจกรรมนี้ก็จะมีส่วนร่วมตั้งแต่สังเกต ร่วมอยู่ในกิจกรรม ร่วมพูดคุย ฟัง ซักถาม ซึ่งอาจมีข้อธรรมรวมอยู่ด้วย

 :s_hi: :s_hi: :s_hi: :s_hi:

กิจกรรมในลักษณะนี้จัดว่า เป็นการเสวนาทางศาสนาที่รวมการนำคำสอน การปฏิบัติศาสนพิธี และการร่วมกันลงมือปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหาที่คนส่วนใหญ่กำลังเผชิญอยู่ การเสวนานี้จะบรรลุจุดประสงค์ อย่างน้อยก็ได้แก่ ความเข้าใจ และความร่วมมือซึ่งกันและกันระหว่างศาสนา สามารถนำความแตกต่างทางคำสอนมาร่วมทำประโยชน์ให้มนุษย์โลกได้มากที่สุด

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าการเสวนาแบบที่หนึ่งก็ยังเป็นรูปแบบของการเสวนาสำคัญ เพราะในการเสวนาแบบที่สอง และสามนั้น ลงมือปฏิบัติแต่ก็ต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจของการเสวนาแบบแรกมาเป็นพื้นฐานในการปฏิบัติอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

"การเสวนาทางศาสนา"นี้ เป็นเนื้อหาประกอบในหลักสูตรสันติศึกษาในสถานศึกษาทั่วๆรวมถึงมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) ล่าสุด "มจร"และ"พศ."ได้รับนโยบายจากคสช.ให้มาหาแนวทางในการแก้ปัญหาความขัดแย้งของคนในชาติในมติทางศาสนา ได้มีการประชุมคณะกรรมการเตรียมการประชุมผู้นำศาสนาอาเซียนในช่วงเดือนกันยายน เมื่อวันที่ 18 ส.ค.ที่ผ่านมา มีผลสรุปที่จะนำแนงทางนี้มาใช้เพื่อสร้างเป็นต้นแบบในการแก้ปัญหาความขัดแย้งของพลเมืองประชาคมอาเซียน

 :25: :25: :25: :25:

พระมหาหรรษา ธัมมหาโส ผู้ช่วยอธิการบดี  หัวหน้าหลักสูตรปริญญาโท สันติศึกษา "มจร" ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการเตรียมการจัดงานได้สรุปผลการประชุมเตรียมการดังกล่าวถึงวัตถุประสงค์ในการจัดงานนี้ประกอบด้วย
      (1) เพื่อสร้างเวทีให้ผู้นำศาสนาต่างๆ ในประชาคมอาเซียน ได้นำเสนอองค์ความรู้ และหลักการสำคัญเกี่ยวกับขันติธรรมทางศาสนาตามที่ปรากฏในคัมภีร์ และความเชื่อของแต่ละศาสนา
      (2) เพื่อให้ผู้นำศาสนาในประชาคมอาเซียนได้ร่วมกันถอดบทเรียนเกี่ยวกับการอยู่ร่วมกันอย่างมีขันติธรรมในประชาคมอาเซียนของแต่ละศาสนิกชนในประชาคมอาเซียน
      (3) เพื่อเสริมสร้างเครือข่ายระหว่างผู้นำศาสนาในประชาคมอาเซียน ซึ่งจะเอื้อต่อการเรียนรู้การอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างหลากหลาย ทางด้านศาสนาสังคมและวัฒนธรรมอย่างมีขันติธรรม และอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข
     (4) เพื่อกำหนดแนวทางการปฏิบัติเพื่อผลักดันให้ประเทศไทย เป็นศูนย์กลางพุทธศาสนาระดับโลกในอนาคต โดยผ่านการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างองค์กรทางพุทธศาสนาและศาสนาอื่นๆ ทั่วภูมิภาค

 ans1 ans1 ans1 ans1

สำหรับการประชุมโต๊ะกลมผู้นำศาสนาเพื่อสันติภาพในประชาอาเซียนครั้งนี้ จะประกอบด้วยผู้นำศาสนาจากทุกศาสนาในประชาคมอาเซียน 10 ประเทศ จำนวน 70 รูป/คน และจะมีนิสิตพร้อมทั้งบุคคลทั่วไปจำนวนทั้งสิ้น 300  รูป/คน กิจกรรมต่างๆ จะประกอบด้วยการศึกษาดูงานพื้นที่กุฎีจีนในเขตพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และกรุงเทพมหานคร ซึ่งกลุ่มคนที่มีความเชื่อที่แตกต่างระหว่างศาสนาและวัฒนธรรมสามารถอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข

การปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “ขันติธรรมทางศาสนา” โดยพระพรหมบัณฑิต, ศ.ดร และเลขาธิการอาเซียน การเสวนาทางวิชาการ เรื่อง “บทบาทของผู้นำศาสนากับการสร้างขันติธรรมในประชาคมอาเซียน” ระหว่างผู้นำจาก 5 ศาสนาหลัก การประชุมโต๊ะกลมเพื่อถอดบทเรียนของแต่ละประเทศเกี่ยวกับการอยู่ร่วมกันอย่างมีขันติธรรมของศาสนิกต่างๆ วันสุดท้ายจะเป็นการลงนามความร่วมมือระหว่างผู้นำศาสนาต่อประเด็นการกำหนดกิจกรรม และสร้างเครือข่ายเพื่อเสริมสร้างการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขต่อไป ซึ่งผู้สนใจในสามารถติดต่อสอบถาม หรือดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 035 248098  หรือ โครงการปริญญาโทสาขาสันติศึกษา www.li.mcu (http://www.li.mcu)..ac.th

พระมหาหรรษาระบุด้วยว่า การเสวนาทางศาสนาหรือ "Regional Interfaith Dialogue" นี้ไม่ใช่เรื่องใหม่แม้นในวงการพระพุทธศาสนาก็เคยใช้วิธีการนี้มาก่อนแล้วในอดีตอย่างเช่นเรื่องมิลินทปัญหาที่พระนาคเสนสนทนากับพระยามิลินท์ที่เป็นคนต่างศาสนาด้วยการเคารพและให้เกียรติกัน

เมื่อเกิดความขัดแย้งในสังคมคณะสงฆ์แม้นว่าจะผ่านกระบวนการตัดสินแล้วก็ตามสิ่งที่ต้องพิจารณาตามมาก็คือว่าจะลดความขัดแย้งอยู่ร่วมกันอย่าง"สันติสุข"อย่างไร เพราะการตัดสินบางกรณีก็เป็นสาเหตุสร้างความขัดแย้งทีวีความรุนแรงตามมา


ขอบคุณภาพและบทความจาก
http://www.komchadluek.net/detail/20140820/190498.html (http://www.komchadluek.net/detail/20140820/190498.html)


หัวข้อ: Re: แนะใช้ 'เสวนาศาสนา' แก้ขัดแย้ง กรณีลดศีลพระ
เริ่มหัวข้อโดย: DANAPOL ที่ สิงหาคม 21, 2014, 10:55:35 am
พยายาม ทำอะไร กันอยู่ ?

  พระสงฆ์ทั่วประเทศไทย ทั้ง ธรรมยุต และ มหานิกาย ล้วนสวด อุโบสถศีล 227 ข้อมาช้านานแล้ว

  ส่วนวัดที่สวดแค่ 150 ข้อ มีเพียงวัดเดียว คือ วัดท่านคึกฤทธิ์


  ถามว่า ทำไม ไม่ปฏิบัติตาม คณะสงฆ์ หมู่ใหญ่ ทั้ง ๆ ที่ พระระดับชั้นพรหม ชั้นราช ขั้นเทพ ออกมาระบุ แล้ว ว่าแปลผิด ทำไมต้องระงับ อธิกรณ์ ทำไม เพราะถ้าวัดนี่ คือ เพียง 1 วัด จากวัดทั่วประเทศ

  ทางแก้ ก็เลิก ชักนำ วิธีการสวด 150 ออกซะ ก็เท่านั้น มันก็จบแล้ว นี่คงยัง ดื้อด้าน อ้างนั่น อ้างนี่ อยู่ ทำไม ต้องการแยกการสวดเพื่ออะไร แล้ว จะได้ประโยชน์ จากการสวด 150 ข้อ เร็ว หรือ ช้า กฏ ปาฏิโมกข์ เขามีอยู่แล้ว ถ้าติดขัดธุระสำคัญ เขาก็สวดสรุป ไม่ถึง 5 นาที ก็จบ

   ที่กำลังพูดกันตอนนี้ เหมือนกับว่า กำเสนอ ออฟชั่น อะไรบางอย่าง

   เช่น เวลาสวด พระอภิธรรม ให้สวด 3 คัมภีร์ นะ ไม่ต้องสวด 7 คัมภีร์ ประมาณนี้แหละ สิ่งที่ขึ้นมา แล้วมันมีผลอะไร กับ ชนะว่าต้องสวด 150 ให้ได้ ทั้งที่ ๆ จริง แล้ว การทำเกิน นั้นดีกว่า ทำขาด มากมาย แต่ปัญหา มันไม่ได้อยู่ที่ส่วนเกิน มันอยู่ที่พระปาฏิโมกข์ ที่สืบแบบแผนกันมานั้น มีสวดกันดีอยู่แล้ว ตั้งแต่ครั้่งพุทธกาล ถึง ปัจจุบัน ในระบบ เถรวาท นะ

   จะต้องระงับ อธิกรณ์ เพื่ออะไร ไม่ทราบ ในเมื่อ มีวัดที่ทำวัดเดียว เท่านั้น และพยายามทำอย่างนี้ให้เกิดประโยชน์ อะไร เหมือนกำลัง ชักนำชาวพุทธให้ตีกัน ด้วย พุทธวัจน์ แท้ที่จริงจุดประสงค์การเผยแผ่ พุทธวัจน์ นี้มีเพื่ออะไร ?

    สักวันหนึ่ง ก็ต้องถึงเวลาว่า ให้นักเรียนสอบนักธรรม เอา วิชาพุทธภาษิต ออนลีใช่ไหม แล้ว ก็ตัด พุทธประวัติ อุโบสถ พิธีกรรม ประเพณี แล้ว ก็สร้างยุคใหม่ ขึ้นมาเรียกว่า ยุคแห่งพุทธ ที่ไม่มีพิธีกรรม

   สมัยครั้งพุทธกาล พระพุทธเจ้า ไม่ได้ห้าม พิธีการ ไม่ให้ มี เหมือนต่อายุ ให้ อายุวัฒนะกุมาร ก็ให้พระจัดพระไปสวดพระปริต เป็นกำแพงเจ็ดวง เป็นต้น หรือ ให้พระอานนท์ เอาน้ำมนต์ไปช่วยชาวเมือง อย่างนี้

   กรรม เวร ผูก ไป ผูก มา ข้าพเจ้า ไม่ขอร่วมกับคนทำร้าย พระพุทธศาสนา แน่นอน

   เท่านี้ข้าพเจ้า ก็ติดภพ ติดชาติ มากแล้ว จะให้ข้าพเจ้า ต้องเพิ่ม ภพ ชาติ อีก ด้วยการทำลายพระไตรปิฏก อีกด้วย เห็นที ไม่เอาด้วย โชคดี ที่เว็บแห่งนี้ มีครูอาจารย์ อธิบาย ให้เข้าใจกระจ่าง ในเรื่องที่จำเป็น ต่อการภาวนา

   :s_hi: :s_hi: :s_hi: ลาก่อน สำนักพุทธวัจน์ ข้าพเจ้า ขอตั้งมั่นในพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ทั้งสามประการ นี้ บุญนี้ขอช่วยส่งเสริม ข้าพเจ้า อย่าได้มืด อย่าได้บอด อย่าได้ขาดครูอาจารย์ที่มาสัมมาทิฏฐิ ที่เป็นพระอริยะ เลย

  สาธุ  st12 st12 st12 st12


หัวข้อ: Re: แนะใช้ 'เสวนาศาสนา' แก้ขัดแย้ง กรณีลดศีลพระ
เริ่มหัวข้อโดย: kindman ที่ สิงหาคม 21, 2014, 08:00:18 pm
เอาพอทราบข่าว ก็พอ ครับ สำหรับเว็บนี้ ขอเป็นเรื่องการภาวนา ดีกว่า นะครับ

  :49: