หัวข้อ: สมาธิชาวบ้าน : ปัญญาธรรม (2) เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ กันยายน 08, 2014, 11:39:15 am (https://fbcdn-sphotos-g-a.akamaihd.net/hphotos-ak-xpa1/v/t1.0-9/522090_267329600015168_1287965943_n.jpg?oh=5bc280308ecdb4507f6c43005862f2b3&oe=548A2D6C&__gda__=1418691359_6b1cacb749f2785cad9230c66c75fc27) สมาธิชาวบ้าน : ปัญญาธรรม (2) ปัญญาธรรมนี้เป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้ปฏิบัติธรรม ซึ่งพอเราอบรมจิตดีแล้วปัญญาธรรมก็จะบังเกิดขึ้นเอง ถ้าเป็นคนที่มีพื้นฐานดี ปัญญาธรรมก็เกิดง่าย แต่ถ้าเป็นคนที่มีพื้นฐานไม่ค่อยดี ปัญญาธรรมก็จะเกิดช้าหน่อย ปัญญาธรรมที่ได้จากการปฏิบัตินั้นเปรียบได้กับมีด ทั่วไปแล้วมีดแต่ละเล่มจะคมไม่เท่ากัน ดังนั้นปัญญาของบางคนก็เป็นมีดที่คม บางคนก็คมน้อย บางคนก็ทื่อไปเลย ปัญญาแต่ละคนก็แหลมคมไม่เหมือนกัน ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่ที่บุญกรรมของแต่ละคนที่ทำสะสมไว้ด้วย :s_hi: :s_hi: :s_hi: :s_hi: อย่างบางครั้งภูมิปัญญาธรรมในระดับที่จะบรรลุพระนิพพานก็ง่ายคล้ายกับหญ้าปากคอก ซึ่งพอเราปฏิบัติไปจนพร้อมแล้ว และพอสภาวะนั้นมาถึงเรากลับสามารถเข้าใจได้โดยง่าย แต่ถ้าหากปฏิบัติยังไม่ถึงก็จะดูว่าซับซ้อนและเข้าใจยาก นี่เป็นเพราะภูมิปัญญาในการศึกษาธรรมของแต่ละคนนั้นแตกต่างกัน หากเป็นภูมิปัญญาของผู้ที่ศึกษาธรรมมาเยอะ ก็เปรียบได้เหมือนกับการรอน้ำมาเติมเพียงหยดเดียวก็จะเต็ม พอถึงคราวที่มีโอกาสได้ฟังธรรมในข้อที่มาเติมเต็มจึงกระจ่างและเกิดปัญญาธรรมขึ้นมาในใจโดยง่ายดาย เสมือนน้ำหยดสุดท้ายที่หยดลงมาทำให้น้ำในแก้วใบนั้นเต็มพอดี ซึ่งที่ผ่านๆ มาน้ำอาจจะไม่เคยหยดลงแก้วเลยด้วยซ้ำไป (https://fbcdn-sphotos-h-a.akamaihd.net/hphotos-ak-xfa1/v/t1.0-9/429853_262868220461306_293806764_n.jpg?oh=b77042998768b2c9e3e8c9daaf872f4f&oe=54888F38&__gda__=1418765702_43340fabb07f63a601636f41da39792f) เวลาที่เราปฏิบัติต่อเนื่องไปเรื่อยๆ จิตก็จะพัฒนาไปเหมือนการได้ส่องกระจก จากที่ปกติเคยมองเห็นแต่คนอื่นเท่านั้น ว่าคนนั้นเป็นอย่างนั้น คนนี้เป็นอย่างนี้ แต่จะไม่เคยรู้เลยว่าตัวเองเป็นยังไง เพราะไม่มีกระจกมาสะท้อนให้เห็นตัวเอง แต่พอมีกระจกให้ส่องก็ถึงเริ่มรู้เช่นว่า “อ๋อ...ไอ้ความอิจฉาริษยาของเรามันน่าเกียจอย่างนี้นี่เอง” เป็นต้น ในภาวะปกติที่เรายังมีอารมณ์ต่างๆ ในแต่ละวัน เราย่อมจะไม่สามารถมองเห็นธรรมได้ เพราะมีอารมณ์ไปปกคลุมเอาไว้ แต่เมื่อใดก็ตามที่ใจเราเริ่มได้สมาธิแล้ว ก็จะพบว่าสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับเราในแต่ละวันนั้นล้วนแล้วแต่เป็นธรรมะทั้งสิ้น ซึ่งถ้าเราปฏิบัติไปจนใจมันนิ่งแล้ว อารมณ์ต่างๆ ก็จะไม่สามารถมาปกคลุมใจเราได้อีก แล้วเราก็จะสามารถมองเห็นอาการกิเลสต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายในจิตใจของเราได้ ไม่ว่าจะเป็นความโลภ ความโกรธ ความหลง ความอาฆาตพยาบาท หรือความอิจฉาริษยา ฯลฯ ที่เกิดขึ้นกับเราในแต่ละวัน :25: :25: :25: :25: การพิจารณาความโลภ ความโกรธ ความหลง ความอิจฉาริษยา ฯลฯ ที่เกิดขึ้นกับเราในแต่ละวันนั้นถือเป็นธรรมะในขั้นโลกียธรรม ซึ่งพอเรารู้แล้วเห็นแล้วก็จะทำให้เราสามารถพ้นจากความทุกข์บนโลกได้ เพราะเราจะเท่าทันมัน ทีนี้พอทุกข์เกิดขึ้นมาเราก็จะสามารถดับความทุกข์เหล่านั้นได้เร็วขึ้นกว่าเดิม โลกจึงไม่สามารถทำร้ายเราได้เหมือนแต่ก่อน หรือถ้าจะทำร้ายเราได้ ก็ทำได้น้อยลง ส่วนคนที่ไม่ได้ฝึกจิต ไม่มีการพิจารณาธรรมดังกล่าว ใจก็จะถูกสมมติบนโลกทำร้าย พาไปสุขไปทุกข์ต่างๆ นานา ตามแต่ที่อารมณ์จะนำพาไป บางคนโดนทำร้ายหนักจนรับไม่ไหว ถึงขั้นเสียสติไปก็มี ฆ่าตัวตายไปก็มี หรือไปฆ่าคนอื่นตายก็มี ทั้งนี้ด้วยเพราะขาดปัญญาธรรมนั่นเอง. ที่มา http://www.thaipost.net/tabloid/070914/95823 (http://www.thaipost.net/tabloid/070914/95823) |