สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

เรื่องทั่วไป => ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) => ข้อความที่เริ่มโดย: raponsan ที่ กันยายน 14, 2014, 10:11:18 pm



หัวข้อ: เราอาศัยคน
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ กันยายน 14, 2014, 10:11:18 pm


(https://fbcdn-sphotos-h-a.akamaihd.net/hphotos-ak-xfa1/v/t1.0-9/429853_262868220461306_293806764_n.jpg?oh=b77042998768b2c9e3e8c9daaf872f4f&oe=54888F38&__gda__=1418765702_43340fabb07f63a601636f41da39792f)

เราอาศัยคน

เราอาศัยในร่างคนอยู่ เราต้องประพฤติตนให้ดี เหมาะกับการเป็นผู้มาอาศัยเขา รู้จักกตัญญูรู้จักคุณคน อย่าไปคิดปฏิบัติแต่สิ่งไม่ดี จะทำให้เกิดทุกข์ได้ บางคนคิดฆ่าคนที่ตนอาศัยอยู่ให้ตาย ถือว่าบาปหนัก เป็นผู้ไม่รู้จักคุณคน!

    เราจะดีหรือชั่วอยู่ที่สติปัญญา รู้จักประพฤติปฏิบัติ ธรรมะอยู่ที่จิตหรือเรา เราต้องสร้างปัญญาให้เกิดขึ้นกับตัวเราให้ได้ จึงจะเห็นทางบุญที่เป็นสุข
    เราจะเกิดปัญญาแท้ๆ ได้ จิตต้องสะอาดบริสุทธิ์ ไม่คิดยินดี ยินร้าย ให้เกิดขึ้นในจิต ความยินดีก็ทำให้จิตสั่นสะเทือน ความยินร้ายก็สะเทือนเช่นกัน เหมือนน้ำกระฉอก คือ น้ำไม่นิ่ง ย่อมไม่สามารถเห็นสิ่งที่อยู่ก้นแก้วได้
    ความสงบนิ่งเท่านั้น ปัญญาจึงจะเกิดขึ้นมาได้ เพราะความสงบทำให้เกิดสติ เมื่อมีสติได้เมื่อไร ปัญญาก็จะเกิดขึ้นมาเอง จากความสงบนั้น คือ จิตหยุดนิ่ง มองเห็นธรรมได้ง่ายขึ้น

     :49: :49: :49: :49:

    ความหวั่นไหว ความสั่นสะเทือน ทำให้จิตผิดปกติ แต่ความสงบนิ่งทำให้จิตเกิดปัญญา
    ความทุกข์ทั้งหลายเกิดจากจิตไม่สงบทั้งสิ้น ตรงกันข้ามกับความสุข ทำจิตให้สงบ คนมีจิตสงบนิ่งจึงถือว่าเป็นคนมีบุญ หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส ผิวพรรณก็ดีตาม

    อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นเรื่องของสังขาร คือ ร่างกายในตัวคนนั่นเอง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป นี่คือสังขารของร่างคน อนิจจังแปลว่าไม่เที่ยง ไม่แน่นอน ไม่คงที่ ใช้แสดงลักษณะของสังขาร คือ สิ่งที่มีรูปร่างทั้งปวงว่าเป็นเช่นนั้น เป็นเด็กแล้ว ก็เปลี่ยนเป็นหนุ่มสาว ผู้ใหญ่ คนชรา เป็นคนตายตามลำดับ
    อนิจจัง นิยมใช้พูดใช้เขียนแสดงถึงความไม่แน่นอนของสรรพสิ่งทั้งปวง มิใช่เฉพาะเรื่องของสังขารเท่านั้น พระท่านว่า ทุกอย่างเป็นอนิจจัง ปล่อยวางเสียบ้าง

     :s_hi: :s_hi: :s_hi: :s_hi:

    จิต แปลว่า ธรรมชาติ ที่นึกคิดอารมณ์ เป็นธรรมชาติที่รู้อารมณ์ ความคิด ธรรมชาติที่สั่งสมกุศลและอกุศล
    จิต โดยทั่วไปแปลว่า ใจ จัดเป็นนามธรรม เป็นเราซึ่งอาศัยอยู่ในกายคน ซึ่งเป็นรูปธรรม
    จิต โดยแท้คือ เรา ไม่มีวันดับหรือสลาย เหมือนกายคน จิตจะอยู่ต่อเนื่องจนถึงนิพพาน จิตเป็นเพียงผู้อาศัยในสังขารต่างๆ เช่น คน สัตว์ เปรต ยักษ์ เทวดา ฯลฯ จิตไปอาศัยตามแรงกรรมที่กระทำขึ้นมา ผู้สร้างกรรมดี จิตก็อาศัยในร่างที่ดี จิตสร้างกรรมไม่ดี ก็ไปอาศัยอยู่กายไม่ดี นี่แหละคือบุญและบาป สั่งให้เป็นไปตามกรรมที่กระทำนั้นในแต่ละชาติ

(https://scontent-a-sin.xx.fbcdn.net/hphotos-xaf1/v/t1.0-9/428014_262868177127977_1669804171_n.jpg?oh=4a119d7af89f11a9bbe6360456de4bd7&oe=54CB9ACB)

    คำว่า "จิตภาวนา" หมายถึง การอบรมจิต การทำสมาธิ การทำกรรมฐาน เพื่อให้จิตสงบ และให้เกิดตัวปัญญาขึ้นมาเป็นการสร้างบุญในทางพระพุทธศาสนาอย่างใน 3 อย่างคือ ทาน ศีล ภาวนา
    ความเป็นเรานั้นอยู่ที่ตัวปัญญา ทางพระพุทธศาสนาจึงเน้นเรื่องปัญญาเป็นสำคัญ!
    "ปัญญา" สามารถส่องให้เห็นทางบุญ ทางบาปได้ชัดเจน ธรรมะ คือ ธรรมชาติ ความเป็นจริง สร้างความสงบและไม่สงบแก่เรา คนมีปัญญาเท่านั้นจึงเห็นธรรมะได้ชัดเจน และไม่หันไปหาทางกิเลส คือ ความทุกข์แก่ตนนั่นเอง
    ทาน ศีล ภาวนา เป็นทางดับความโลภ โกรธ หลง ให้ขาดสิ้นไป คนเราถ้ามัวแต่โลภอย่างเดียว ทานก็ไม่มีทางเกิดขึ้นได้ หากทำทานบ่อยๆ ให้เกิดผลมองเห็นเป็นรูปธรรมได้ โลภก็จะไม่เกิดขึ้น ความพ้นทุกข์ตัวอยากตัวนี้ก็จะหมดไป

     st12 st12 st12 st12

    ทาน จึงไม่จำเป็นต้องทานใหญ่ เราทำเท่าที่เรามีกำลังจะทำได้ แต่ทำบ่อยๆ ที่มีโอกาส มันก็มากขึ้นเอง
    ทานนั้น พระพุทธองค์ตรัสไว้ "ยิ่งให้ยิ่งได้" เป็นเรื่องที่ไม่น่าเชื่อถือ แต่ก็ต้องเชื่อคำสอนของพระพุทธองค์ ทำทานไปเถอะยิ่งให้ก็ยิ่งได้ ผมได้มองเห็นชัด! ในชีวิต ผมจึงเห็นสัจธรรมในข้อนี้ มันก็เป็นเรื่องแปลกที่เกิดขึ้นเหมือนกัน

    ผมให้ยาคนป่วยมาตลอด จนในที่สุดผมมีร้านขายยาได้อย่างไร ลูกสาวผมเคยพูดเข้าหูผมว่า "พ่อไม่ได้ขายยาดีหรอก พ่อแจกยาดี" เขาพูดกระทบผม ในที่สุดเราก็มีร้านยาขึ้นมา! ทุกวันนี้ลูกสาวผมแจกยาตามผมให้กับผู้ป่วยและพระภิกษุที่มาซื้อยา การให้เป็นผล!


(https://fbcdn-sphotos-b-a.akamaihd.net/hphotos-ak-xfa1/v/t1.0-9/p417x417/423170_262868197127975_952475807_n.jpg?oh=00f31ceb5f81a73f3013432e040b176f&oe=54C83B8C&__gda__=1418634795_090827018c637150ea6bfe9531c58a1a)

    ศีล ก็ไม่ใช่เรื่องยากเกินกำลังที่เราจะปฏิบัติได้ ตอนเช้า 2-3 วันมานี้ ผมเห็นกบในกาละมังที่ตลาดขายผัก ผมนึกทันทีเมื่อผมอยู่บ้านทุ่ง ยามฝนตกปรอยๆ ก็ออกไปตีกบ ตีกบจนหงายท้องทั้งคู่ขณะที่มันขี่กัน มันหงายหลังขาสั่นให้เห็นสภาพ ตั้งแต่วันนั้นผมโยนไม้ตีกบทิ้งและไม่ฆ่ากบและกินกบอีกเลย ผมเลยซื้อกบ 10 ตัว ตัวละ 20 บาท เป็นเงิน 200 บาท ไปปล่อยในคลองมีน้ำ มีต้นกก ให้เป็นอิสระ

     ans1 ans1 ans1 ans1

    ปาณาติบาต หมายถึง การฆ่าสัตว์ การทำให้สัตว์สิ้นชีวิต "เขา" ที่อาศัยเกิดอยู่ในสัตว์นั้นอยู่ไม่ได้ เป็นการทำบาปทุจริต แสดงถึงความโหดเหี้ยมขาดเมตตาในเขา มีโทษถึงตกนรก การไม่ฆ่าสัตว์จักเป็นศีล
    ไม่หยิบเอาของที่เจ้าของเขายังไม่ได้อนุญาต ผมไม่ยอมเด็ดดอกไม้ข้างถนน ไม่เคยเก็บใบมะกรูดของบ้านอื่นที่เขายังไม่ได้อนุญาต
    ผิดลูกเมียเขา ผมก็คิดใครมาผิดลูกเมียเราจะเป็นอย่างไร นรกมี เราไม่เชื่อหรือ
    คำพูดนี่สำคัญมาก เป็นสัจบารมี อย่าเห็นว่ามีปากจะพูดอะไรก็ได้ มันขาดความเชื่อถือ ฟ้าดินก็รับรู้จากเรา (ผมได้สัมผัสมาแล้ว)
    สุราเมรัย ดื่มทำไม เมื่อรู้ว่าห้าม ทำให้ขาดสติ มีแต่คนต้องการให้มีสติขึ้นมา กลับไปทำลายสติแล้วเราจะมีธรรมกันตรงไหน


(https://scontent-a-sin.xx.fbcdn.net/hphotos-xaf1/v/t1.0-9/534351_276417285773066_15129990_n.jpg?oh=15a504a9a62f80b05173ea18b3df5470&oe=54C9F66E)

    ภาวนา คือ การนั่งสมาธิและวิปัสสนา มีผู้อ่าน "ไทยโพสต์" ท่านหนึ่งคือ คุณสะพรั่ง ปลดเกษียณแล้ว โทร.ไปถามผมว่า การนั่งสมาธินั้นจำเป็นต้องนั่งเท้าขวาทับเท้าซ้ายอย่างนี้ตลอดไปใช่ไหม? ผมก็ตอบว่า ระยะแรกๆ ก็ควรทำตามรูปแบบที่สอนๆ กันมา เมื่อได้สมาธิแล้วจะนั่งซ้ายทับขวาก็ไม่เป็นไร เพราะจิตมีสติแล้ว นั่งท่าไหนก็ได้ทั้งนั้น สมาธิมันอยู่ที่จิต ไม่ได้อยู่ที่ท่า ยืน เดิน นั่ง นอนได้ทั้งสิ้น คนมีสมาธิดีแล้ว แม้แต่นั่งดูทีวี จิตก็เกิดสมาธิเองได้เพราะความเคยชินนั่นเอง

    ที่สำคัญ ในการนั่งสมาธิต้องทำต่อเนื่องให้ได้ทุกวัน อย่าทำๆ หยุดๆ สมาธิจะไม่เกิดผล ความชำนาญในการนั่งบ่อยๆ ต่อเนื่องทุกวัน ทำให้สมาธิเกิดเอง เพราะความเคยชิน ดังนั้นผู้สำเร็จพระอรหันต์ จิตท่านต้องมีสมาธิตลอดเวลา คือ ทุกขณะจิตแน่ ปัญญาจึงเกิดทุกขณะจิตกว่าคนไม่ปฏิบัติ การกระทำไม่ดีจึงไม่เกิดกับพระอรหันต์แล้ว


(https://fbcdn-sphotos-f-a.akamaihd.net/hphotos-ak-xfa1/v/t1.0-9/428122_258420857572709_1132448845_n.jpg?oh=d842ed5e29eba3918234a1cf0cef30e9&oe=5496974B&__gda__=1419142850_9b7bdfc680161f564423c97fa50fb3e8)

    ปัญญา เป็นเรื่องสำคัญในผู้ปฏิบัติธรรม เพราะตัวปัญญาจะมองเห็นการกระทำทุกข์สุขชัดเจน และเข้าใจผลของการกระทำ ฉะนั้นผู้มีปัญญาจะไม่ทำชั่วตลอดกาล
    เราจะมีปัญญาได้ จิตจะต้องสิ้นกิเลส คือ ต้องทำให้จิตสงบได้เสียก่อน ปัญญาจึงจะเกิดขึ้นมาได้ ปัญญาเกิดจากความว่าง ความสงบเท่านั้น การปฏิบัติธรรม ต้องลิดกิ่งหนาม เบี้ยบ้ายรายทางออกก่อนให้เบาบางลง ถ้าจิตไม่สงบปัญญาก็เกิดขึ้นไม่ได้

    ปัญญาจึงมี 2 ฝ่าย คือ ปัญญาระดับชาวโลก กับปัญญาทางพุทธ ฝ่ายแรกเป็นปัญญาที่เกิดจากการศึกษาเล่าเรียน โดยการรับฟัง (สุตมยปัญญา) ปัญญาที่เกิดจากการไตร่ตรอง และคิดค้น (จินตามยปัญญา) ส่วนปัญญาทางพุทธเป็นปัญญาที่เกิดจากการภาวนาอบรมจิต (ภาวนามยปัญญา)
    ปัญญาของชาวโลกเป็นปัญญาขั้นต้นๆ เป็นปัญญาขั้นธรรมดา ใครๆ ก็สามารถสร้างขึ้นมาได้ ถือว่าเป็นปัญญาที่ยังไม่บริสุทธิ์ มีกิเลสเจือปนอยู่ เช่น ทำขึ้นมาเพราะความโลภ ความอยากดีเด่น คือ ผู้ปฏิบัติยังไม่สิ้นกิเลสนั่นเอง

     :25: :25: :25: :25:

    ปัญญาทางพุทธ คือ ต้องเกิดจากการนั่งสมาธิวิปัสสนาเท่านั้น เพื่อต้องการทำให้จิตสะอาดและบริสุทธิ์
    ปัญญาขั้นนี้ จึงถือว่าผู้ปฏิบัติได้ทำให้จิตสะอาดและบริสุทธิ์เป็นกำลังพื้นฐาน ผู้ปฏิบัติจะเห็นธรรม เห็นบุญ เห็นบาป เฉพาะตน ภาพหลายอย่างที่เกิดในธรรมจะรู้เห็นได้เฉพาะตนเท่านั้น
    ปัญญาที่เกิดในธรรมจึงเป็นปัญญาขั้นสูง คนมีปัญญาอีกระดับหนึ่งเท่านั้น จึงจะปฏิบัติธรรมนี้ได้ แต่พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า
    "เราจะพ้นทุกข์ได้ ก็เพราะความเพียรเท่านั้น"
    เมื่อเรารู้แล้วว่า คนไม่ใช่เรา แล้วจะมีสมบัติอะไรเป็นของเรา มีแต่จิต คือ เรา ที่รับกุศลและอกุศลติดเราไปเท่านั้น.
                ประวิทย์ จำปาทอง   



ที่มา http://www.thaipost.net/tabloid/140914/96133 (http://www.thaipost.net/tabloid/140914/96133)