หัวข้อ: โคราชพึ่งพระ.! เป็นแนวร่วม สร้างปรองดอง เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ กันยายน 23, 2014, 09:28:19 am (http://www.komchadluek.net/media/img/size_photo_slide/2014/09/22/b6b66ia8jahkc8cbaghce.jpg) โคราชพึ่งพระ.! เป็นแนวร่วม สร้างปรองดอง โคราชพึ่งพระ!เป็นแนวร่วมสร้างปรองดอง เหตุมีต้นทุนสูงในสังคมไทย ขณะที่มท.1แจงปรองดองคืบหน้าไปมาก ที่ห้องประชุมวัดสะแก ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครราชสีมา เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 22 กันยายน พระราชวิมลโมลี เจ้าคณะจังหวัดนครราชสีมา ฐานะประธานฝ่ายสงฆ์ พร้อมนายธงชัย ลืออดุลย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ฐานะผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (ผอ.รมน. ) จังหวัดนครราชสีมา พล.ต โชติวัฒน์ ภูมิภัทรสวัสดิ์ รอง ผอ.รมน.จ.นครราชสีมา และนายประสงค์ จักรคำ ผู้อำนวยการสำนักงานพุทธศาสนาจังหวัดนครราชสีมา ร่วมทำพิธีเปิดการอบรมโครงการการส่งเสริมความปรองดองของประชาชนภายใต้การปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และความมั่นคงของบ้านเมือง โดยมีพระสังฆาธิการ และพระวิทยากรแกนนำสายธรรมยุตในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 379 รูป ร่วมกิจกรรมรับฟังการบรรยายเรื่องการเสริมสร้างอุดมการณ์รักชาติ ศาสนา และเทิดทูนพระมหากษัตริย์ เพื่อให้เกิดความภาคภูมิในความเป็นไทย และจงรักภักดีต่อสถาบัน อันนำไปสู่ความรัก ความหวงแหนในแผ่นดินเกิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยั่งยืน :96: :96: :96: :96: นายประสงค์ กล่าวว่า มติมหาเถรสมาคมต้องการให้พุทธศาสนิกชน เป็นผู้ประพฤติดี ประพฤติชอบ รู้รักสามัคคีให้อภัย มีคุณธรรม รู้จักเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ สามารถอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางสร้างความปรองดองของ คสช. มุ่งเน้นให้ประเทศชาติ เกิดความร่มเย็นเป็นสุข “โดยพระสงฆ์ จะมีต้นทุนสูงในสังคมไทย ซึ่งทุกคนให้ความเชื่อถือ ทาง จ.นครราชสีมา จึงแนวคิดริเริ่มโครงการ ให้พระสงฆ์ นำหลักธรรมคำสอน ประยุกต์เข้ากับเนื้อหาหลักสูตรความมั่งคงเบื้องต้น ไปอบรมสั่งสอนขัดเกลาจิตใจพุทธศาสนิกชน และรณรงค์ให้ชาวบ้านรักษาศีล 5 ให้ได้ร้อยละ 50 ของจำนวนคนในหมู่บ้าน ให้เป็นผู้ประพฤติดี ประพฤติชอบ รู้รักสามัคคีให้อภัย มีคุณธรรม รู้จักเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ สามารถอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข ”นายประสงค์ กล่าว ask1 ans1 ask1 ans1 มท.1แจงปรองดองคืบหน้าไปมาก ที่กรมโยธาธิการและผังเมือง พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย กล่าวถึงแนวทางสร้างความปรองดองว่า มีความคืบหน้าไปมาก ในส่วนของ มท.ได้ให้แนวคิดไปกับผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดแล้ว หลักใหญ่ที่ทุกคนเห็นเหมือนกันคือประเทศไทยต้องอยู่กันด้วยความสงบ ต้องอยู่ร่วมกัน ไม่ใช้ความรุนแรงมาแก้ปัญหา “ต้องอยู่ร่วมกันอย่างสันติ การเอาพวกเอาสีมาต่อรองกันไม่สามารถทำให้ประเทศเดินต่อไปได้” พล.อ.อนุพงษ์ กล่าว เมื่อถามถึงการประเมินผลงาน มท.ทุก 1 เดือน รมว.มหาดไทย กล่าวว่า เป็นการประเมินเพื่อกระตุ้นการทำงานของข้าราชการมากกว่า เพื่อให้เป็นตัวชี้วัดว่าข้าราชการต้องไปเร่งทำงานด้านใดบ้าง แต่ไม่ใช่การประเมินว่าสอบผ่านหรือไม่ผ่าน แต่ถ้าพบว่า มีการเพิกเฉยต่อการทำงานก็อาจมีมาตรการทางวินัย แต่การประเมินจะไม่ออกมาเป็นเปอร์เซ็นต์เพื่อวัดว่า สอบผ่านหรือไม่ผ่าน :96: :96: :96: :96: นอกจากนี้ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย ยังกล่าวถึงความพร้อมในการยื่นบัญชีทรัพย์สินต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ป.ป.ช.ของคณะรัฐมนตรีว่าจะต้องส่งตามเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด โดยทุกวันนี้ประเทศไทยคาดหวังว่า ต้องการ ให้ข้าราชการระดับสูงมีความโปร่งใส ปราศจากทุจริต ดังนั้นเมื่อกฎหมายบังคับใช้ยื่นก็ต้องยื่น ทุกคนต้องพร้อม จึงไม่ต้องมาถามว่าพร้อมหรือไม่ ask1 ans1 ask1 ans1 แนะคสช.ทบทวนจำกัดกรอบแสดงความเห็นนักวิชาการ นายโคทม อารียา ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาสันติวิธีและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวถึงกรณีที่มีคณาจารย์จากสถาบันต่างๆ รวม 60 คนได้ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ยุติการคุกคามนักวิชาการและนักศึกษา รวมถึงเสรีภาพทางวิชาการ ว่า ประเด็นเสรีภาพนั้นในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557 ได้ให้ความคุ้มครองไว้ โดยระบุในมาตรา 4 ว่าด้วยภายใต้บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพและความเสมอภาค บรรดาที่ชนชาวไทยเคยได้รับการคุ้มครองตามประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและตามพันธกรณีระหว่างประเทศที่ประเทศไทยมีอยู่แล้ว ย่อมได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญนี้ ดังนั้นทางหน่วยงานความมั่นคงควรมีการทบทวนการใช้อำนาจหรือกำลังปิดกั้นเสรีภาพของนักวิชาการหรือการแสดงความเห็นที่ถือเป็นเสรีภาพขั้นพื้นฐาน อย่างไรก็ตามตนมองด้วยว่าการปฏิบัติหน้าที่ของฝ่ายความมั่นคงต่อประเด็นการจัดเวทีเสวนาทางวิชาการควรขีดกรอบหรือจำกัดคำนิยามของคำว่าการกระทำที่กระทบต่อความมั่นใหม่ ไม่ใช่ยึดประเด็นที่ตัวบุคคลหรือกลุ่มบุคคลซึ่งเคยเคลื่อนไหวต่อต้านการรัฐประหารมาเป็นตัวตั้ง แล้วพิจารณาว่าหากเป็นกลุ่มบุคคลดังกล่าวการแสดงความคิดเห็นใดๆ ถือว่าไม่ถูกต้องไปหมด :96: :96: :96: :96: “ช่วงที่ประเทศไทยเข้าสู่การปฏิรูปสิ่งสำคัญคือการเปิดพื้นที่พูดคุย แต่หากไปจำกัดการแสดงความเห็น ว่าก่อนจะจัดเวทีเสวนาใดๆ ให้ทำหนังสือขออนุญาตจากคสช.ก่อน ถือว่าเป็นสิ่งประหลาดและอาจถูกมองได้ว่าเลือกรับฟังเฉพาะความเห็นที่ต้องการจะฟังเท่านั้น ทั้งที่ความสำคัญของการปฏิรูปก็คืออย่าไปตีกรอบความคิด หากตีกรอบแล้วอาจะทำให้การปฏิรูปนั้นเป็นไปไม่ได้ นอกจากนั้นแล้วผมมองว่าฝ่ายวิชาการต้องระวังต่อการแสดงความเห็นที่ฝ่ายมั่นคงกังวลว่าจะสร้างความไม่เรียบร้อย ขณะที่ฝ่ายที่เป็นผู้ประกาศกฎอัยการศึกต้องตระหนักว่าการใช้อำนาจ หรือกำลังจะทำให้การปฏิรูปไม่ยั่งยืนได้ แต่หากทั้ง 2 ฝ่ายทำความเข้าใจกันได้เชื่อว่าจะเกิดการเดินหน้าไปได้ ” นายโคทม กล่าว ขณะที่นิสิตปริญญาโทสาขาสันติศึกษา สถานบันหนึ่ง แสดงความเห็นว่า อย่างไรก็ตามสิ่งที่เป็นกังวลก็คือว่าภายใต้ความต้องการที่จะแสดงความเห็นทางวิชาการนั้นควรมีความรับผิดชอบต่อผลกระทบที่จะเกิดขึ้นหรือไม่ ask1 ask1 ans1 ans1 แนะจัดกลุ่มลับระดมความเห็นเสนอแนวทางปฏิรูปหลังคสช.เพ่งเล็ง นายบุญสม อัครธรรมกุล ผู้ช่วยอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ฐานะฝ่ายเลขานุการคณะทำงานการปฏิรูปด้านการเมือง ตามมติของที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) กล่าวว่า การประชุมของคณะทำงานฯรอบที่ 2 ได้กำหนดไว้ในวันที่ 26 ก.ย.โดยไม่ต้องขออนุญาตจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เนื่องจากการประชุมดังกล่าวเป็นสิ่งที่คสช.ได้ขอให้ทปอ.พิจารณาและเสนอแนะแนวทางปฏิรูปด้านต่าง ๆ ส่วนกรณีที่วงเสวนาวิชาการที่จัดโดยคณาจารย์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 18 ก.ย. ถูกฝ่ายความมั่นคงขอให้ยกเลิกและพบการควบคุมตัวผู้จัดการเสวนาและนักศึกษาไปปรับความเข้าใจนั้นถือว่าไม่เป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการประชุมของนักวิชาการตามมติของทปอ.แต่อย่างใด นายบุญสม กล่าวถึงการปิดกั้นเสรีภาพการแสดงความเห็นของนักวิชาการของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ถูกวิจารณ์ว่าอาจจะส่งผลกระทบต่อการเสนอแนวทางปฏิรูปประเทศในอนาคต ว่า การเสนอความเห็นต่อแนวทางการปฏิรูปนั้นสามารถทำได้โดยการระดมความเห็นกลุ่มเล็ก จากนั้นก็นำเสนอข้อเสนอที่ได้ไปยังผู้ที่เกี่ยวข้องต่อไป อย่างไรก็ตามการจัดกลุ่มเพื่อระดมความเห็นต้องไม่ใช่การจัดเวทีที่คสช.เพ่งเล็งหรือให้คำนิยามไว้ว่าเป็นลักษณะของการโฆษณาชวนเชื่อ ทั้งนี้การจัดเสวนาของคณาจารย์ภายในสถาบันยังถือว่าทำได้ภายใต้เสรีภาพของบุคคล :96: :96: :96: :96: นายวรัชญ์ ครุจิต ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายสื่อสารองค์การ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) กล่าวถึงการจัดงานแถลงผลการศึกษาด้านเศรษฐกิจตามนิด้าโมเดล ปฏิรูปประเทศไทย วันที่ 25 ก.ย. นี้ยังคงจัดเป็นปกติและไม่ต้องขออนุญาตจากคสช.แต่อย่างใด เพราะเวทีของนิด้าถือเป็นเวทีที่ให้ข้อเสนอแนะแนวทางปฏิรูปประเทศ ไม่ใช่เวทีเพื่อวิพากษ์วิจารณ์นโยบายของรัฐบาลชุดปัจจุบัน ส่วนกรณีที่คสช.ได้ระงับการจัดเวทีเสวนาของนักวิชาการ พร้อมกำหนดให้ขออนุญาตก่อนจัดงานนั้นเข้าใจว่าเป็นไปภายใต้การประกาศใช้พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พ.ศ.2457 แต่หากเป็นภายใต้สถานการณ์ปกติเสรีภาพทางวิชาการต้องยึดเป็นสิ่งสำคัญเพราะถือว่ามีส่วนสำคัญต่อการพัฒนาและปฏิรูปประเทศ ขอบคุณภาพข่าวจาก http://www.komchadluek.net/detail/20140922/192609.html (http://www.komchadluek.net/detail/20140922/192609.html) |