หัวข้อ: ถก 'จริยธรรมสื่อออนไลน์' เตือนอย่าฉาบฉวย เรียกยอดไลค์อย่างเดียว เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ กันยายน 26, 2014, 08:48:53 am (http://www.thairath.co.th/media/EyWwB5WU57MYnKOuFHOrFB4t3i96NL27mgHxwBfH0n0YWq5wLLp3ry.jpg) ถก 'จริยธรรมสื่อออนไลน์' เตือนอย่าฉาบฉวย เรียกยอดไลค์อย่างเดียว เปิดเวทีเสวนา จริยธรรม ความเป็นมืออาชีพสื่อในยุคสังคมออนไลน์ ถกทิศทางสื่อสำนักข่าวกับโลกโซเชียลฯ ไลค์ แชร์ คอมเมนต์ เรียกกระแส จะเอายอดวิวเอาโฆษณา และร้องหาจริยธรรม... เมื่อวันที่ 25 ก.ย. สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ เปิดเวทีเสวนาเรื่องจริยธรรม-ความเป็นมืออาชีพของสื่อในยุคสังคมออนไลน์ ณ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย นางสาวสุธิดา มาไลยพันธ์ุ อุปนายกสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ กล่าวว่า ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาจะสังเกตได้ว่า เว็บไซต์สำนักข่าวในประเทศไทยมีการแข่งขันกันสูงมากในสื่อผ่านทางโซเชียลมีเดียต่างๆ อาทิ การเรียกยอดไลค์ในแฟนเพจเฟซบุ๊ก มีการทำข่าวชาวบ้านหรือข่าวที่เรียกความสนใจมากขึ้น ซึ่งก่อให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนมากขึ้นตามมาเช่นกัน ผศ.ดร.วรัชญ์ ครุจิต ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายสื่อสารองค์การ และอาจารย์คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ กล่าวว่า ประเด็นของจริยธรรมในสื่อสำนักข่าวออนไลน์นั้นยังไม่ได้มีการพูดถึงตรงๆ หรือเกิดขึ้นเสียด้วยซ้ำ ซึ่งเราก็ยึดตาม Code of Ethic เดิมของนักข่าวปกติ ออฟไลน์ ซึ่งนักข่าวควรจะมีจรรยาบรรณที่สำคัญในวิชาชีพอย่างน้อย 4 ข้อ 1. ค้นหาความจริง 2. การนำเสนอข่าวที่อาจสร้างผลกระทบกับทั้งตัวสื่อมวลชนเอง ที่สำคัญต้องตระหนักว่ากำลังทำข่าวแล้วกำลังไปละเมิดสิทธิของบุคคล 3. มีความเป็นอิสระ โดยไม่มีผลประโยชน์ซ่อนเร้น 4. ต้องมีความรับผิดชอบกับสิ่งที่ทำไป โปร่งใส ตรวจสอบได้ หากเกิดความผิดพลาดขึ้น ต้องนำเสนอข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง ประกาศขอโทษทันที (http://www.thairath.co.th/media/NjpUs24nCQKx5e1DGjlNHPnvyeIe1U5s9PUjjUzCSqn.jpg) ผศ.ดร.วรัชญ์ ครุจิต ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายสื่อสารองค์การ และอาจารย์คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ข้อแนะนำ กรณีความผิดพลาดในข่าวออนไลน์มีมากขึ้นเช่นกัน ข้อแนะนำอาจต้องมีระเบียบ กฎหมายที่เป็นรูปธรรม มีการอบรมนักข่าวให้ใส่ใจมากขึ้น มีเครื่องมือกลไกในการดูแลจริยธรรมการนำเสนอในพื้นที่ออนไลน์มากยิ่งขึ้นด้วย ช่วงแรกนี้อาจต้องเป็นการทำงานร่วมกันของหน่วยงานวิชาชีพและรัฐก่อน เรื่องของจริยธรรมและสามัญสำนัก นักข่าวออนไลน์และเว็บไซต์ข่าวออนไลน์มีบทบาทมากขึ้นด้วย ความน่าเชื่อถือเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างเว็บไซต์ต้องแยกตัวออกจากเว็บไซต์ที่ไม่ดีให้ได้ (http://www.thairath.co.th/media/NjpUs24nCQKx5e1DGjlNHPnvyeIe1U0dK3jEbupgX5E.jpg) นายปกรณ์ สันติสุนทรกุล เป็นผู้ร่วมก่อตั้งเว็บไซต์ เด็กดีดอทคอม นายปกรณ์ สันติสุนทรกุล เป็นผู้ร่วมก่อตั้งเว็บไซต์ เด็กดีดอทคอม กล่าวว่า ในฐานะที่เป็นผู้ประกอบการเว็บไซต์ออนไลน์โดยตรง พบว่าเมื่อ 4-5 ปีก่อนนั้นการแข่งขันของเว็บไซต์ออนไลน์และโซเชียลฯ ไม่ได้รุนแรงเทียบเท่าในปัจจุบัน ซึ่งส่วนตัวมองว่า ตอนนี้เป็นช่วงเวลาของการปรับตัวให้เข้ารูปเข้ารอย ปัจจุบันเทคโนโลยีการเข้าถึงเปลี่ยนไป โซเชียลมีเดียมีบทบาทมากยิ่งขึ้น ทำให้คนเข้ามาใช้เว็บไซต์โดยตรงน้อยลง แต่จะเข้าเช็กผ่านทางเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ กูเกิลแทน เมื่อไม่มีคนเข้าก็เป็นเรื่องของความอยู่รอดเชิงธุรกิจประกอบเข้ามา จึงเป็นความคาดหวังในเรื่องของเรตติ้งความนิยม ลำดับเว็บ ผลที่ตามมาคือ สปอนเซอร์หรือผู้สนับสนุนนั่นเอง จึงสังเกตได้ว่า มีเว็บไซต์หลายแห่งที่พยายามสร้างข่าวแล้วแปะลิงก์ลงในโซเชียลฯ แล้วให้คนคลิกกลับเข้ามาที่เว็บให้ได้มากๆ แต่ไม่ได้คำนึงถึงเนื้อหาดีหรือไม่ หรือตระหนักน้อยลง ที่สำคัญปัจจุบันการแข่งขันรุนแรง เว็บไซต์ของสำนักข่าวเข้ามาช่วงชิงพื้นที่อันดับ และเว็บไซต์วาไรตี้จึงถูกดันตกลงไปพอสมควร :41: :41: :41: :41: ข้อแนะนำในอนาคต ซึ่งการเกิความผิดพลาดจากการนำเสนอนั้น คือมีการให้ความรู้ มีบุคคลทำหน้าให้ความรู้สนับสนุนทั้ง 2 ฝ่าย คือทั้งผู้อ่านและสื่อมวลชนเองด้วย ที่สำคัญผู้สนับสนุนต้องเข้มงวดขึ้น ในการเลือกจะลงโฆษณาในเว็บไซต์ วันหนึ่งเว็บไซต์ที่นำเสนอเน้นแต่จะเอายอดไลค์ แชร์ระยะสั้น แต่ตัวแบรนด์ก็จะเสียตามไปด้วย (http://www.thairath.co.th/media/NjpUs24nCQKx5e1DGjlNHPnvyeIe1UxwGxS1URqRr0Z.jpg) นายศิวัฒน์ เชาวรียวงษ์ นายกสมาคมโฆษณาดิจิตอลไทย (DAAT) นายศิวัฒน์ เชาวรียวงษ์ นายกสมาคมโฆษณาดิจิตอลไทย (DAAT) กล่าวว่า การโฆษณาในเว็บไซต์มีอยู่ 2 กลุ่ม 1. คือลงโฆษณาเข้าสามารถกดเข้าสู่เว็บไซต์ลูกค้าที่โฆษณาได้เลย เช่น คลิกไปสมัครบัตรเครดิต กู้เงิน ให้สินเชื่อ มุมมองของคนลงโฆษณาไม่สนใจเนื้อหา (content) สนใจคลิกแบนเนอร์โฆษณาสู่เว็บไซต์เลย 2. ลงโฆษณาในเว็บไซต์ สนใจแบรนด์สินค้า ภาพลักษณ์ของสินค้า ลงเว็บไซต์สอดคล้องกันทำให้แบรนด์มีภาพลักษณ์ที่ดีขึ้น หากสังเกต 20 อันดับเว็บไซต์ของไทย จะพบว่ามีทั้งเว็บไซต์เนื้อหาที่ดีและไม่ดี ทำให้คนมาเลือกลงโฆษณามีความแตกต่างกันด้วย ความท้าทายและความกดดันหนึ่งของเว็บไซต์เชิงคอนเทนต์ คือการมีกูเกิลและเฟซบุ๊ก กลุ่มโซเชียลมีเดียมาเบียดบังเวลา ประเด็นสำคัญที่จะแข่งอย่างไร ข้อแรกการแข่งกับเฟซบุ๊ก นั่นไม่สามารถทำได้อยู่แล้ว ต่อมาถ้าจะเน้นแต่แทรฟฟิก ไม่เน้นคอนเทนต์เนื้อหา เรียกได้ว่า กำลังทำเว็บเนื้อหาดีเป็นเว็บไม่มีคุณภาพ ถือว่าช่วงนี้เป็นช่วงเปลี่ยนผ่าน วันใดวันหนึ่งข้างหน้า แทรฟฟิกของเว็บไซต์อย่างเดียวไม่พอ จะได้เงินระยะสั้นเท่านั้น ระยะยาวไม่น่ารอด ต้องวัดที่เนื้อหากันประกอบด้วย :49: :49: :49: :49: "ขอเรียกร้องประเด็นการเสนอข่าวที่มีความรุนแรง เช่น แชร์คลิปคนตาย ตั้งแต่ก่อนตาย กำลังตาย และตายลง เป็นสิ่งที่เลยความเป็นมนุษย์ไปไกลมาก เรื่องนี้ถือว่าไม่มีประโยชน์ต่อใครเลย" นายศิวัฒน์ กล่าว (http://www.thairath.co.th/media/NjpUs24nCQKx5e1DGjlNHPnvyeIe1U2cL3AybvSoN8Y.jpg) นายวริษฐ์ ลิ้มทองกุล เว็บไซต์ เมเนเจอร์ออนไลน์ ด้านนายวริษฐ์ ลิ้มทองกุล เว็บไซต์ เมเนเจอร์ออนไลน์ กล่าวว่า การเข้ามีบทบาทในขณะนี้ของโซเชียลมีเดีย และออนไลน์นั้น เป็นสิ่งที่ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะเมืองไทย เกิดขึ้นทั่วโลก ส่วนตัววิเคราะห์ว่า เมื่อ 10 ปีที่แล้วออนไลน์ไม่ใช่สื่อกระแสหลัก ปีนี้อาจเป็นจุดเปลี่ยน โซเชียลมีเดียเข้ามากระทบวงการข้อมูลข่าวสาร มีประเด็นท้าทายเพิ่มขึ้นมาของสื่อสารมวลชนในประเด็นว่า "ต้องดูก่อนว่า จุดไหนเป็นข่าวหรือไม่ใช่ข่าว" ทำข่าวเพื่อให้คนมาไลค์ แชร์ หรือทำข่าวให้สังคมดีขึ้น ความยากอีกประการคือ ทำเว็บไซต์ข่าวปัจจุบันคือ ทำข่าวที่คนอยากรู้หรือทำข่าวที่คนต้องรู้ ความเป็นข่าวในที่นี่คือ ความเป็นต้นตอ แหล่งข่าว (Originality) ทุกวันนี้ข่าวเกินขึ้นเร็วมาก และแวดวงออนไลน์เองก็เปลี่ยนไปมากเช่นกัน. ขอบคุณภาพข่าวจาก http://www.thairath.co.th/content/452711 (http://www.thairath.co.th/content/452711) |