หัวข้อ: มีอะไรซ่อนอยู่ใน "ผายลม" เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ กันยายน 28, 2014, 10:55:58 am (http://www.khaosod.co.th/online/2014/09/14117307651411730839l.jpg) มีอะไรซ่อนอยู่ใน "ผายลม" นอกจากความรักแล้ว อะไรเอ่ย จับต้องไม่ได้ แต่รับรู้ถึงการมีอยู่ได้ เฉลย...การผายลมค่ะ สัปดาห์นี้เราจะมาคุยถึงกิจวัตรประจำวันที่เราทุกคนต้องทำกันอย่างหลบ ๆ ซ่อน ๆ แต่ไม่ว่าจะหลบหรือจะซ่อนยังไง บางครั้งมันก็มักจะมีเสียงเล็ดหรือกลิ่นลอดออกมาทุกที การ "ผายลม" หรือตด เป็น Verb หรือกิริยาที่มนุษย์ทุกคนต้องทำกันค่ะเป็นเรื่องธรรมชาติ ไม่ผิดกฎหมาย ไม่คอขาดบาดตาย แค่โดนจับได้แล้วรู้สึกอาย (มาก) เท่านั้นเอง ปกติร่างกายคนเราจะสร้างลมตดกันวันละประมาณครึ่งลิตรถึงลิตรครึ่งต่อวัน หรือเฉลี่ยประมาณ 14 ปู๊ดต่อวัน อาจมากถึง 20-25 ครั้งต่อวันก็ยังได้ ans1 ans1 ans1 ans1 การที่ผายลมหรือเรอ มักเกิดจากการที่มีลม หรือแก๊สมากเกินในระบบทางเดินอาหารซึ่งแก๊สนั้นอาจเกิดจากการที่เรากลืนลมเข้าไป บางทีอาจจะกลืนโดยที่เราไม่รู้ตัว เช่น การเคี้ยวหมากฝรั่ง การสูบบุหรี่ การดื่มน้ำเร็ว ๆ หรือการดื่มน้ำอัดลม หรืออาจเกิดจากการรับประทานอาหาร ซึ่งอาหารที่สามารถผลิตแก๊สได้มาก เช่น ถั่วทั้งหลายอาหารจำพวกแป้ง เช่น จากมันฝรั่ง ข้าวโพดก็สามารถสร้างแก๊สได้มาก ยกเว้นข้าวซึ่งเป็นอาหารจำพวกแป้งที่ไม่ผลิตแก๊ส น้ำอัดลม เบียร์ ไวน์แดง ผลไม้อย่างลูกพรุน แอปเปิล กล้วย หัวหอมก็ผลิตแก๊สได้มากเช่นกัน และผลิตภัณฑ์จากนม โดยเฉพาะในคนที่มีภาวะพร่องเอนไซม์แล็กเตส ที่ไม่สามารถย่อยนมได้กลุ่มนี้ทานนมทีไรท้องเสียทุกที นอกจากท้องเสียแล้วยังผายลมกระจาย ทั้งเรอ ทั้งท้องอืด แต่ในบางคนก็อาจมีอาการแค่ผายลมมากอย่างเดียวก็มีดังนั้น ถ้าคุณสังเกตว่าคุณผายลมมากผิดปกติ หรือมันรบกวนชีวิตประจำวันของคุณ ลองหลีกเลี่ยงอาหารที่สร้างแก๊ส อย่างที่กล่าวข้างต้นไปดูนะคะ :96: :96: :96: :96: และถ้าคิดว่าน่าจะเกิดจากผลิตภัณฑ์จากนม ลองงดผลิตภัณฑ์จากนมดูซัก 10-14 วัน แล้วดูว่าอาการดีขึ้นรึเปล่า ควรจะพบแพทย์เมื่อการผายลมที่มากผิดปกติ หรือร่วมกับมีอาการท้องผูกสลับท้องเสีย อุจจาระปนเลือด ปวดท้อง คลื่นไส้อาเจียน เห็นไหมค่ะ ผายลมเป็นเรื่องปกติ แต่ก็อาจจะเป็นเรื่องที่ผิดปกติก็ได้ ลองสังเกตผายลมของคุณเอง (และคนใกล้ชิด) รอบข้างดูนะคะ ว่ามีความผิดปกติหรือมีอาการร่วมที่ผิดปกติหรือเปล่า สวัสดีค่ะ ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ คอลัมน์ คุยกับหมอพิณ โดย พ.ญ.พิณนภางค์ ศรีพหล ข้อมูลจาก emedicine ภาพจาก rev967 ที่มา http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRReE1UY3pNRGMyTlE9PQ==§ionid= (http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRReE1UY3pNRGMyTlE9PQ==§ionid=) |