หัวข้อ: พระพม่าหัวรุนแรงระบุ จะร่วมมือกลุ่มสงฆ์ศรีลังกา ต่อสู้ภัยคุกคามญิฮาด เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ กันยายน 30, 2014, 09:50:44 am (http://mpics.manager.co.th/pics/Images/557000011535601.JPEG) พระวิระธู พระสงฆ์หัวรุนแรงชาวพม่า (กลาง) นั่งอยู่ท่ามกลางพระภิกษุที่เข้าร่วมการประชุม ซึ่งจัดขึ้นโดยกองกำลังภิกษุ (BBS) ในกรุงโคลัมโบ ศรีลังกา วันที่ 28 ก.ย.--Associated Press/Erang Jayawardena. พระพม่าหัวรุนแรงระบุ จะร่วมมือกลุ่มสงฆ์ศรีลังกา ต่อสู้ภัยคุกคามญิฮาด เอเอฟพี - พระสงฆ์พม่าประกาศวันนี้ (28) ว่า กำลังติดต่อกับกลุ่มพระหัวรุนแรงในศรีลังกา โดยอ้างว่าศาสนาพุทธกำลังตกอยู่ในอันตรายจากภัยคุกคามสงครามศาสนาของชาวมุสลิม พระวิระธู จากเมืองมัญฑะเลย์ของพม่า ได้กล่าวในที่ประชุมกองกำลังภิกษุ (BBS) กรุงโคลัมโบว่า พวกเขาจะทำงานร่วมกันเพื่อปกป้องศาสนาพุทธ BBS ถูกกล่าวหาว่า ยุยงปลุกปั่นสร้างความเกลียดชังโจมตีชาวมุสลิม และชาวคริสต์ในศรีลังกา ประเทศที่คนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ “เพื่อปกป้องและป้องกันชาวพุทธทั่วโลกจากการถูกคุกคาม กลุ่มเคลื่อนไหว 969 ของเราจะร่วมมือกับ BBS” พระวิระธู กล่าวที่สนามกีฬาความจุ 5,000 ที่นั่ง ที่เต็มไปด้วยพระสงฆ์ และผู้สนับสนุน :96: :96: :96: :96: พระวิระธู กล่าวว่า มุสลิมหัวรุนแรงพยายามที่จะขัดขวางการเดินทางมาศรีลังกาที่มีความเชื่อมโยงทางศาสนา และวัฒนธรรมใกล้ชิดกันกับพม่า และยังได้กล่าวขอบคุณประธานาธิบดีมหินทะ ราชปักษา ที่อนุญาตออกวีซ่าเดินทางแม้จะมีความพยายามขัดขวางการเดินทางจากบรรดามุสลิมหัวรุนแรงก็ตาม “ชาวพุทธกำลังเผชิญกับภัยคุกคามร้ายแรงจากกลุ่มญิฮาด ความอดทนของชาวพุทธถูกมองว่าเป็นจุดอ่อน วัดพุทธถูกทำลาย มีการทำญิฮาดกับพระสงฆ์ องค์กรสื่อพร้อมกับอำนาจโลกกำลังใช้เทคโนโลยีรณรงค์ต่อต้านชาวพุทธ” พระวิระธู กล่าว กลุ่ม BBS ถูกกล่าวหาว่ามีความเชื่อมโยงกับการโจมตีต่อต้านชาวมุสลิม และคริสเตียนที่เป็นคนกลุ่มน้อยในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา แม้กลุ่มได้ปฏิเสธความเกี่ยวข้องดังกล่าว แต่สมาชิกกลุ่มบางรายกลับพบปรากฏตัวอยู่ในวิดีโอที่โพสต์ลงบนเว็บไซต์สังคมออนไลน์ขณะที่มีส่วนร่วมในความรุนแรงกับสถานที่ทางศาสนาของชนกลุ่มน้อยรวมทั้งกิจการร้านค้าต่างๆ :32: :32: :32: :32: ด้านรัฐบาลศรีลังกาได้ปฏิเสธข้อกล่าวหาว่าให้การสนับสนุน BBS ศรีลังกา ประสบกับเหตุรุนแรงทางศาสนาครั้งเลวร้ายที่สุดในรอบหลายทศวรรษเมื่อเดือน มิ.ย. ที่เหตุจลาจลปะทุขึ้นในเมืองอลุธกามา และเมืองเวรูวาลา จนทำให้มีผู้เสียชีวิต 4 คน BBS ถูกกล่าวหาว่า ปลุกปั่นการโจมตีดังกล่าว แต่กลุ่มได้ปฏิเสธข้อกล่าวหานี้ สภามุสลิมศรีลังกาได้เตือนทางการว่า การอนุญาตให้พระวิระธูเดินทางมาศรีลังกาจะเป็นภัยคุกคามความสงบสุขในประเทศ ภิกษุผู้นำกลุ่ม BBS ที่ถูกเปรียบได้กับพระวิระธู ที่ถูกกล่าวหาว่ากระพือความตึงเครียดระหว่างชาวพุทธ และมุสลิมในพม่า กล่าวว่า ทั้งคู่เป็นสงฆ์สันติที่ไร้เลือดเปื้อนมือ การปะทะกันในพม่าระหว่างชาวพุทธ และมุสลิมทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 250 คน และไร้ที่อยู่อีกนับหมื่นคน นับตั้งแต่การต่อสู้ปะทุขึ้นในรัฐยะไข่ในปี 2555. ขอบคุณภาพข่าวจาก http://www.manager.co.th/IndoChina/ViewNews.aspx?NewsID=9570000111645 (http://www.manager.co.th/IndoChina/ViewNews.aspx?NewsID=9570000111645) หัวข้อ: พระพม่ามองพฤติกรรม 'พระวีระธุ' เป็นเรื่องส่วนบุคคล เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ กันยายน 30, 2014, 10:01:02 am (http://www.komchadluek.net/media/img/size_photo_slide/2014/09/29/ka8akgbfkbdk85687ajac.jpg) พระวีระธุจับมือพระศรีลังกาสู้นักรบญิฮาด พระวีระธุจับมือพระศรีลังกาสู้นักรบญิฮาด ผู้นำศาสนาอิสลามจากเมเลย์แจงหลัก 'ญิฮาด' คือฆ่าความไม่ดีออกจากจิตใจ พระพม่ามองพฤติกรรม 'พระวีระธุ' เป็นเรื่องส่วนบุคคล29 ก.ย.2557 พระวีระธุที่มีแนวคิดสุดโต่งและถูกกล่าวหาว่ายุยงปลุกปั่นใช้ความรุนแรงกับชนกลุ่มน้อยชาวมุสลิมในประเทศเมียนมาร์ ได้รับเชิญเข้าร่วมการประชุมของกลุ่ม โบดู บาลา เสนา หรือ บีบีเอส ซึ่งเป็นกลุ่มพระสงฆ์ในศรีลังกาภายในสนามกีฬาในกรุงโคลัมโบ เมืองหลวงของศรีลังกาเมื่อวันอาทิตย์ เขาประกาศต่อที่ประชุมที่มีเหล่าคณะสงฆ์เข้าร่วมฟังว่า กลุ่ม 969 ของเขาซึ่งเป็นกลุ่มต่อต้านมุสลิมจะร่วมมือกับบีบีเอส เพื่อปกป้องและคุ้มครองชาวพุทธที่ถูกคุกคามในทั่วโลก แต่การเยือนของเขาถูกต่อต้านจากกลุ่มชาวมุสลิมที่ไม่ต้องการให้รัฐบาลอนุญาตให้เขาเข้าประเทศ เพราะกลัวว่าจะยิ่งทำให้ความขัดแย้งภายในประเทศรุนแรงขึ้น เพราะกลุ่มของเขามักก่อเหตุรุนแรงกับชนกลุ่มน้อยมุสลิมโรฮิงญาในเมียนมาร์ :96: :96: :96: :96: ขณะที่พระวีระธุกล่าวขอบคุณประธานาธิบดีมหินทรา ราชปักสี ที่อนุญาตออกวีซ่าให้เขาแม้กลุ่มมุสลิมสุดโต่งพยายามขัดขวางการเยือนของเขาก็ตาม พร้อมกันนี้เขาบอกด้วยว่า ชาวพุทธกำลังเผชิญภัยคุกคามร้ายแรงจากนักรบญิฮาด แต่ไม่ได้ให้รายละเอียด นอกจากบอกว่า ความอดทนของชาวพุทธเป็นจุดอ่อน วัดพุทธถูกทำลาย และนักรบญิฮาดทำร้ายพระสงฆ์ ส่วนกิริมา วิมาลาโยธี ประธานกลุ่มโบดู บาลา เสนา กล่าวในที่ประชุมว่า ศรีลังกาเป็นประเทศของชาวพุทธสิงหลและเขาจะเสนอนโยบายของกลุ่มต่อประธานาธิบ นอกจากนี้กาลาโบดา เอธี กานาสาระ เลขาธิการกลุ่มบีบีเอส เรียกร้องให้พระสงฆ์ที่ร่วมประชุม กลับไปที่วัดเพื่อปลุกระดมมวลชน เขาถูกกล่าวหาว่า มีส่วนปลุกปั่นกระแสเกลียดชังชาวมุสลิม คล้ายกับพระวีระธุ แต่เขาตอบโต้ว่า ทั้งเขาและพระวีระธุเป็นพระสงฆ์ที่รักสงบ ไม่มีเลือดเปื้อนมือ :41: :41: :41: :41: ขณะที่บีบีเอสถูกกล่าวหาว่าก่อเหตุรุนแรงกับชนกลุ่มน้อยมุสลิมและคริสต์ในช่วง 2 ปีนี้ และแม้ทางกลุ่มปฏิเสธว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง กลับมีภาพวิดีโอของสมาชิกบางคนขณะลงมือก่อเหตุปรากฏในโซเชียล มิเดีย ส่วนพระวีรธุเริ่มเป็นที่รู้จักตั้งแต่ปี 2544 จากการรณรงค์ให้มีการบอยคอตต์ธุรกิจของชาวมุสลิม และสนับสนุนให้ชาวพุทธซื้อของจากร้านค้าชาวพุทธด้วยกัน คนจำนวนมากเชื่อว่า คำสอนของเขาที่เผยแพร่ความเกลียดชังต่อมุสลิม มีส่วนปลุกระดมให้เกิดการปะทะกันระหว่างชาวพุทธและชาวมุสลิมชาติพันธุ์โรฮิงยาในรัฐยะไข่เมื่อเดือน มิ.ย. 2012 ทำให้ประชาชนราว 200 คนถูกสังหาร และมากกว่า 100,000 คนไม่มีที่อยู่อาศัย นอกจากนี้เขามีบทบาทในการนำพระสงฆ์ออกมาเดินขบวนในเมืองมัณฑะเลย์เมื่อปลายปีที่แล้วเพื่อสนับสนุนการส่งตัวชาวโรฮิงญาไปประเทศที่สาม บทบาทของพระวีระธุ ทำให้นิตยสารไทม์เดือนกรกฎาคมเลือกตีพิมพ์ภาพของเขาขึ้นปกโดยโปรยหัวว่า "โฉมหน้าชาวพุทธผู้สร้างความหวาดกลัว (http://www.komchadluek.net/media/img/size1/2014/09/29/6cff77ai5if5b8chfg77j.jpg) ผู้นำศาสนาอิสลามจากเมเลย์แจงหลัก"ญิฮาด" ขณะเดียวกันที่ประเทศไทย โดยสำหนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ"พศ." ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) ภายใต้การดำเนินการของหลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสันติศึกษา ผู้นำศาสนาเพื่อสันติภาพในประชาคมอาเซียน ระหว่างวันที่ 24-29 กันยายนนี้ ภายใต้ชื่อเรื่องว่า “ขันติธรรมทางศาสนา” (Religious Tolerance) ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยการประชุมดังกล่าวมีผู้นำทางศาสนา 5 ศาสนาจาก 10 ประเทศประชาคมอาเซียนเข้าร่วมกว่า 80 รูป/คนร่วมถึงผู้แทนจากประเทศเมียนมาร์ด้วย โดยมีวัตถุประสงค์ในการจัดงานนี้ประกอบด้วย (1) เพื่อสร้างเวทีให้ผู้นำศาสนาต่างๆ ในประชาคมอาเซียน ได้นำเสนอองค์ความรู้ และหลักการสำคัญเกี่ยวกับขันติธรรมทางศาสนาตามที่ปรากฏในคัมภีร์ และความเชื่อของแต่ละศาสนา (2) เพื่อให้ผู้นำศาสนาในประชาคมอาเซียนได้ร่วมกันถอดบทเรียนเกี่ยวกับการอยู่ร่วมกันอย่างมีขันติธรรมในประชาคมอาเซียนของแต่ละศาสนิกชนในประชาคมอาเซียน (3) เพื่อเสริมสร้างเครือข่ายระหว่างผู้นำศาสนาในประชาคมอาเซียน ซึ่งจะเอื้อต่อการเรียนรู้การอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างหลากหลาย ทางด้านศาสนาสังคมและวัฒนธรรมอย่างมีขันติธรรม และอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข (4) เพื่อกำหนดแนวทางการปฏิบัติเพื่อผลักดันให้ประเทศไทย เป็นศูนย์กลางพุทธศาสนาระดับโลกในอนาคต โดยผ่านการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างองค์กรทางพุทธศาสนาและศาสนาอื่นๆ ทั่วภูมิภาค ans1 ans1 ans1 ans1 ans1 ในการประชุมโต๊ะกลมผู้นำศาสนาเพื่อสันติภาพในประชาอาเซียนเมื่อวันที่ 27 ก.ย. ผู้นำศาสนาอิสลามจากประเทศมาเลเซียได้แสดงความเห็นเกี่ยวกับหลักการของญิฮาดด้วยว่า ตามหลักศาสนาอิสลามที่แท้จริงแล้ว ญิฮาด หมายถึงการฆ่าสิ่งที่ไม่ดีออกจากจิตใจ หาได้หมายถึงการฆ่าหรือทำร้ายผู้อื่นไม่ ดังนั้นคนดีไม่ควรที่จะอยู่นิ่งเฉยออกมาชี้แจงหลักของญิฮาดที่ถูกต้องให้สาธารณชนได้ทราบ ขณะเดียวกันจากการได้ได้เข้าไปสอบถามผู้นำศาสนาอิสาลามจากประเทศอื่นๆ ต่างก็มีความเห็นตรงกัน รวมถึงพระเมียนมาร์เกี่ยวกับพฤติกรรมของพระวีระธุหลายรูปก็ไม่เห็นด้วยกับการกระทำนั้นโดยเห็นว่าเป็นการกระทำส่วนบุคคล :sign0144: :sign0144: :sign0144: :sign0144: พร้อมกันนี้ผู้นำศาสนาในประชาคมอาเซียนดังกล่าวได้เห็นชอบในปฏิญญาที่เป็นข้อตกลงร่วมกัน ดังนี้คือ 1.ส่งเสริมขันติทางศาสนาตามประกาศของยูเนสโก ปี 1995 2.จะดำเนินการเสวนาต่อไปและเสริมสร้างเครือข่ายของผู้นำศาสนา ส่งเสริมกันและกัน 3.เพื่อให้ประชาคมอาเซียนมีความรู้ในศาสนาของตนเองและศาสนาอื่นๆ 4.เพื่อดำเนินแบบต่อเนื่องไม่เหน็ดเหนื่อยเพื่อสันติภาพ เข้าใจถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ 5.จะกระทำให้เกิดความคุ้นเคยระหว่างกันเพื่อความเป็นเอกภาพของผู้นำศาสนา 6.เพื่อส่งเสริมการอยู่ร่วมกันด้วยความสามัคคี ไม่ให้ศาสนาตกเป็นเครื่องมือของนักการเมืองและสื่อมวลชน ขอบคุณภาพข่าวจาก http://www.komchadluek.net/detail/20140929/193069.html (http://www.komchadluek.net/detail/20140929/193069.html) |