หัวข้อ: สันติภาพ..ทางศาสนาหรือจะเป็น "ทางคู่ขนาน" เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ ตุลาคม 02, 2014, 09:49:19 am (http://www.komchadluek.net/media/img/size_photo_slide/2014/10/01/bickgid6ef9ghaif8aae9.jpg) สันติภาพ..ทางศาสนาหรือจะเป็น "ทางคู่ขนาน" พระวีระสุจับมือพระศรีลังกาต้านมุสลิมญิฮาด สันติภาพทางศาสนาหรือจะเป็นทางคู่ขนาน สำราญ สมพงษ์ รายงาน ความขัดแย้งที่พัฒนาเป็นความรุนแรงบางครั้งก่อสงครามสู้รบกันเกิดขึ้นหลายพื้นที่ทั่วโลก ส่วนหนึ่งเกิดจากศาสนาเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องทั้งเป็นตัวสาเหตุเองหรือการตกเป็นเครื่องมือ ที่เกิดขึ้นแล้วยากที่จะยุติในภูมิภาคนี้อย่างเช่นชาวพุทธเมียนมาร์เกิดการปะทะกับชาวมุสลิม หรือขัดแย้งในประเทศศรีลังกา รวมถึงพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยถึงจะมีความขัดแย้งด้านผลประโยชน์ด้านอื่นแต่ก็ยังมีประเด็นศาสนาเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ความขัดแย้งในประเทศเมียนมาร์ที่ชาวโลกกำลังจับตามองดูอยู่ขณะนี้คือการเคลื่อนไหวของพระวีระสุที่ได้รับการขนานนามว่าเป็นพระหัวรุนแรงเป็นแกนนำต่อต้านชาวมุสลิมในนามกลุ่ม 969 และกลุ่มพระในประเทศศรีลังกา ได้รับเชิญไปร่วมการประชุมของกลุ่ม โบดู บาลา เสนา หรือ บีบีเอส ที่ประเทศศรีลังกา ภายในสนามกีฬากรุงโคลัมโบ โดยประกาศจะร่วมมือกับบีบีเอสต่อต้านชาวมุสลิม ทั้งนี้เพื่อปกป้องและคุ้มครองชาวพุทธที่ถูกคุกคามในทั่วโลก ทั้งนี้โดยอ้างว่า ขณะนี้ชาวพุทธกำลังเผชิญภัยคุกคามร้ายแรงจากนักรบญิฮาด :welcome: :welcome: :welcome: :welcome: พระกิริมา วิมาลาโยธี ประธานกลุ่มโบดู บาลา เสนา กล่าวในที่ประชุมว่า หากรัฐบาลไม่ปฏิบัติตามเพื่อหยุดยั้งกลุ่มมุสลิมสุดโต่งพวกเขาจะลุกขึ้นโค่นล้มรัฐบาล เช่นเดียวกันพระกาลาโบดา เอธี กานาสาระ เลขาธิการกลุ่มบีบีเอส เรียกร้องให้พระสงฆ์ที่ร่วมประชุมกลับไปที่วัดเพื่อปลุกระดมมวลชน เขาถูกกล่าวหาว่า มีส่วนปลุกปั่นกระแสเกลียดชังชาวมุสลิมคล้ายกับพระวีรธุ แต่เขาตอบโต้ว่า ทั้งเขาและพระวีระธุเป็นพระสงฆ์ที่รักสงบไม่ใช่คนมือเปื้อนเลือด พระวีระสุเริ่มเป็นที่รู้จักตั้งแต่ปี 2544 จากการรณรงค์ให้มีการบอยคอตต์ธุรกิจของชาวมุสลิมและสนับสนุนให้ชาวพุทธซื้อของจากร้านค้าชาวพุทธด้วยกัน คนจำนวนมากเชื่อว่ามีส่วนปลุกระดมให้เกิดการปะทะกันระหว่างชาวพุทธและชาวมุสลิมชาติพันธุ์โรฮิงยาในรัฐยะไข่เมื่อเดือน มิ.ย. 2012 ทำให้ประชาชนราว 200 คนถูกสังหาร นอกจากนี้เขามีบทบาทในการนำพระสงฆ์ออกมาเดินขบวนในเมืองมัณฑะเลย์เมื่อปลายปีที่แล้วเพื่อสนับสนุนการส่งตัวชาวโรฮิงญาไปประเทศที่สาม ส่งผลให้ทำให้นิตยสารไทม์เดือนกรกฎาคมเลือกตีพิมพ์ภาพของเขาขึ้นปกโดยโปรยหัวว่า "โฉมหน้าชาวพุทธผู้สร้างความหวาดกลัว" :03: :03: :03: :03: จากการเคลื่อนไหวของพระวีระสุครั้งนี้เว็บไซต์อาหรับนิวส์ได้เผยแพร่ความกังวลของชาวมุสลิมในประเทศศรีลังกาว่า การเคลื่อนไหวของพระวีรธุและพระศรีลังกาครั้งนี้จะเป็นการสร้างความความตึงเครียดและ ความเกลียดชังระหว่างชาวพุทธกับชาวมุสลิมเพิ่มขึ้นมาอีก "รอยเล็บบนโลงศพของการอยู่ร่วมกันและความสงบสุขในหมู่ชาวมุสลิมและชุมชนชาวพุทธในประเทศศรีลังกา ได้รับผลกระทบเพราะการมาของพระวีระสุ" ผู้นำชาวมุสลิมคนหนึ่งแสดงความคิดเห็นพร้อมกับตำหนิรัฐบาลประเทศศรีลังกาที่ให้วีซ่าพระวีรธุเข้าประเทศ ask1 ans1 ask1 ans1 พฤติกรรมของพระวีระสุนั้นได้รับความเห็นชอบจากพระในประเทศเมียนมาร์ทั้งหมดหรือไม่ การประชุมผู้นำศาสนาเพื่อสันติภาพในประชาคมอาเซียน ระหว่างวันที่ 24-29 กันยายน พ.ศ.2557 ที่ผ่านมา ภายใต้ชื่อเรื่องว่า “ขันติธรรมทางศาสนา” (Religious Tolerance) ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งจัดโดยสำหนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ"พศ." ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) ภายใต้การดำเนินการของหลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสันติศึกษา มีผู้นำทางศาสนา 5 ศาสนาจาก 10 ประเทศประชาคมอาเซียนเข้าร่วมกว่า 80 รูป/คนร่วมถึงผู้แทนจากประเทศเมียนมาร์ในจำนวนนี้มีพระรวมอยู่ด้วย การประชุมครั้งนี้ก็มีการยกพฤติกรรมของพระวีระธุว่าเป็นการทำลายหลักการแห่งพระพุทธศาสนา อย่างไรก็ตามพระชาวเมียนมาร์ที่เข้าร่วมประชุมได้ชี้แจงว่าพระชาวเมียนมาร์ใช่ว่าจะเห็นด้วยกับพระวีระธุทั้งหมดส่วนใหญ่แล้วยังเห็นว่าเป็นพฤติกรรมส่วนบุคคล :s_hi: :s_hi: :s_hi: :s_hi: ขณะเดียวกันผู้นำศาสนาอิสลามจากประเทศมาเลเซียได้แสดงความเห็นเกี่ยวกับหลักการของญิฮาดด้วยว่า ตามหลักศาสนาอิสลามที่แท้จริงแล้ว ญิฮาดหมายถึงการฆ่าสิ่งที่ไม่ดีออกจากจิตใจ หาได้หมายถึงการฆ่าหรือทำร้ายผู้อื่นไม่ ดังนั้นคนดีไม่ควรที่จะอยู่นิ่งเฉยออกมาชี้แจงหลักของญิฮาดที่ถูกต้องให้สาธารณชนได้ทราบ และการประชุมครั้งนี้ยังได้มีปฏิญญาร่วมกันของผู้นำศาสนาอาเซียนที่จะส่งเสริมการทำงานร่วมกันและความร่วมมือระหว่างศาสนาต่างๆ ในทุกระดับเพื่อไม่ให้การเมือง คตินิยม ผู้มีผลประโยชน์ทางเศษฐกิจการเมือง หรือ สื่อ ใช้ศาสนาเป็นเครื่องมือแสวงหาผลประโยชน์ด้วย :32: :32: :32: :32: :32: อย่างไรก็ตามเมื่อวันที่ 30 ก.ย.2557 หลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาศาสนาเปรียบ คณะพุทธศาสตร์ มจร จัดสัมมนาทางวิชาการศาสนา เรื่อง "ศาสนาในฐานะต้นเหตุแห่งสงครามและต้นตอแห่งสันติภาพ" โดย Asst.Prof.Dr. Imtiyaz Yusuf จากมหาวิทยาลัยมหิดล และภาคบ่ายสัมมนาทางวิชาการเรื่อง "ประสบการณ์การสานเสวนาทางศาสนา: เครื่องมือแห่งศาสนศานติที่ยังต้องพัฒนา" โดย พระมหาหรรษา ธัมมหาโส ผู้ช่วยอธิการบดี และหัวหน้าหลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสันติศึกษา มจร ที่ มจร อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา ทั้งนี้ Dr.Imtiyaz Yusuf ระบุว่า ยุคนี้ไม่ค่อยจะมีสันติเพราะเราศึกษาแต่ศาสนาของตัวเองเท่านั้น และสาเหตุที่สหประชาชาติถึงไม่สามารถทำให้เกิดสันติภาพได้ เพราะมองสันติภาพระหว่างชาติแต่ไม่ได้มองในมิติแห่งศาสนา จึงทำให้ทุกศาสนาเป็นต้นตอของความรุนแรง เพราะตัวศาสนาทำให้เราเป็นผู้ก่อการร้าย ประเทศมหาอำนาจต่างคนต่างมีทิศทางของตนเอง ไม่มีความเข้าใจระหว่างกันระหว่างศาสนา ทั้งๆที่ทุกศาสนาพูดเหมือนกันว่าเราคือศาสนาแห่งสันติแต่หาไม่เจอ :49: :49: :49: :49: อย่างไรก็ตามความรุนแรงไม่ได้เกี่ยวกับศาสนาอย่างเดียวแต่เกี่ยวกับเรื่องอื่นด้วยแต่ศาสนาถูกดึงมาใช้เป็นเครื่องมือ เช่น เมียนมาร์ ศรีลังกา ไทย แต่ภาคใต้ของไทยเป็นปัญหาการเมืองเกี่ยวกับชาตินิยมไม่เกี่ยวกับศาสนาเพียงดึงศาสนามาเป็นเครื่องมือ ส่วนประเทศในตะวันออกกลางจะมีศาสนาหรือไม่ก็ตามก็มีความรุนแรงอยู่แล้ว เพราะคนมีการแก่งแย่งทรัพยากรสะสมมาเรื่อยๆ ความรุนแรงจึงไม่ได้เกิดจากศาสนาแต่เกิดจากตัวคน ดังนั้นตะวันออกกลางความรุนแรงจึงมาจากคือ การเมือง พลังงาน ทรัพยากร แต่ที่เข้าใจว่าศาสนาอิสลามมีความรุนแรงเพราะไม่เข้าใจบริบทของคนอิสลาม "เราต้องศึกษาศาสนาอื่น ถ้าไม่อยากให้ขัดแย้งต้องรู้จักกัน ศึกษากันและกัน เข้าใจกันและกัน ยอมรับกันและกัน ให้เกียรติกันและกัน และร่วมมือกันและกัน ถ้าเราไม่สร้างสันติในครอบครัว จะไม่สันติในสังคมโลก" Dr.Imtiyaz Yusuf ระบุ :25: :25: :25: :25: พระมหาหรรษา กล่าวว่า เราเรียนศาสนาเปรียบเทียบเพื่อหาจุดร่วม คือ ร่วมมือกันได้อย่างไร มิใช่เรียนไปเพื่อบอกว่าใครดีกว่ากัน จับผิดกัน พระพุทธเจ้าใช้สมาธิในการพัฒนาสมอง สันติสนทนาที่ดีที่สุด คือ ไม่ต้องมีโจทย์ สันติศึกษาเป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้ามอบไว้เป็นสมบัติของทุกคน ทุกคนต้องร่วมกันรักษาแรงบันดาลใจในการทำงานด้านสันติภาพคือแก้ปัญหาให้กับคนรอบข้างแต่ต้องอาศัยบารมี "ความรุนแรงไม่ใช่ที่ศาสนา แต่อยู่ที่คนนับถือศาสนาที่ตีความเพื่อรับใช้พวกตัวเอง มีคนถามว่าศาสนาทำให้คนแตกแยกใช่หรือไม่ถ้าเช่นนั้นเราไม่ต้องมีศาสนาได้หรือไม่ คำตอบก็คือว่า ศาสนาไม่เคยทำให้คนแตกแยกกันแต่มีผู้นับถือศาสนาตากหากเอาคำสอนไปบิดเบือนทำให้เกิดความแตกแยก และมีคนถามว่าภาพตัดคอพระจะทำยังไง คำตอบก็คือว่า เขาฆ่าเรา ดีกว่าเราฆ่าเขา เขาด่าเรา ดีกว่าเราด่าเขา เขาทำร้ายเรา ดีกว่า เราทำร้ายเขา สันติเป็นเครื่องมือให้คนที่ขัดแย้งกันมานั่งคุยกัน คนที่เข้มแข็งเท่านั้นถึงจะให้อภัยได้" หัวหน้าหลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสันติศึกษา มจร ระบุในตอนท้าย ทั้งหมดนี้พอจะสรุปได้ว่าระหว่างคนกับศาสนาใครกันแน่เป็นสาเหตุของการสร้างความแตกแแยกสร้างสงครามระหว่างมนุษยชาติด้วยกันเอง ขอบคุณบทความและภาพจาก http://www.komchadluek.net/detail/20141001/193169.html (http://www.komchadluek.net/detail/20141001/193169.html) |