หัวข้อ: พุทธวิธี "เสริมจริยธรรม ปฏิรูปสื่อ ลดขัดแย้ง" เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ ตุลาคม 15, 2014, 10:14:48 am (http://www.komchadluek.net/media/img/size_photo_slide/2014/10/14/a9h66jcddgfg6agg8aijc.jpg) พุทธวิธี "เสริมจริยธรรม ปฏิรูปสื่อ ลดขัดแย้ง" พุทธวิธีเสริมจริยธรรมปฏิรูปสื่อลดขัดแย้ง : สำราญ สมพงษ์ นิสิตปริญญาโทสันติศึกษา มจร รายงาน จากพัฒนาการประชาธิปไตยไทยเกี่ยวพันกับการยึดอำนาจมาโดยตลอด สาเหตุส่วนหนึ่งเกิดจากนักการเมืองเองถูกวิพากษ์วิจารณ์ทุจริตคอร์รัปชั่น ทำให้มีการเรียกร้องให้มีการปฏิรูปการเมืองหลังจากการยึดอำนาจปี ๒๕๓๕ เป็นต้นมา ส่งผลให้เกิดรัฐธรรมนูญใหม่ปี ๒๕๔๐ ที่ถูกกล่าวขานว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนอย่างแท้จริง แต่ก็ไม่วายถูกฉีกอีกด้วยการยึดอำนาจในปี ๒๕๔๙ เมื่อมีการตั้งรัฐบาลจากการยึดอำนาจ เปิดให้มีการเลือกตั้งใหม่ นักการเมืองเข้ามาบริหารก็ตกอยู่ในวงจรเดิมๆ เกิดความขัดแย้งทางความคิดการเมืองแบ่งสีแบ่งฝ่ายชัดทุกภาคส่วนของสังคมไทยแบบไม่เคยมีมาก่อน เกิดการประท้วงพัฒนาถึงขึ้นรุนแรงปะทะกันบาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนจนเกือบจะกลายเป็นสังครามกลางเมือง :96: :96: :96: :96: ส่งผลให้คณะทหารฝายใต้การนำของพล.อ.ประยุทธ์ จันท์โอชา ขณะดำรงตำแหน่ง ผบ.ทบ.ยึดอำนาจการปกครองจากน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร สมัยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๒๒ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๗ และเข้ามาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในเวลาต่อมา ตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.)ทำหน้าที่ฝ่ายบริหาร และตั้งสภาปฏิรูปแห่งชาติ(สปช.)เพื่อทำหน้าที่ดำเนิกนการวางแนวทางการปฏิรูปประเทศ ๑๑ ด้านเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ในจำนวนนั้นมีแนวทางการปฏิรูปสื่อมวลชนรวมอยู่ด้วย จากสภาพความขัดแย้งทางการเมืองและสังคมไทยที่ผ่านมา วงการสื่อมาลชนไทยในฐานะที่รายงานสถานการณ์ให้กับมวลชนได้ทราบก็เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องด้วย ทั้งในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของความขัดแย้ง เป็นสาเหตุของความขัดแย้งรวมถึงตกเป็นเครื่องมือที่ถูกนำไปใช้สร้างความขัดแย้งด้วย ดังนั้นจึงเป็นที่มาของการปฏิรูปสื่อมวลชนไทย :sign0144: :sign0144: :sign0144: :sign0144: :sign0144: ส่วนองค์กรสื่อมวลชนเองอย่างเช่นสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยก็มีการเคลื่อนไหวที่จะหาแนวทางของการปฏิรูปตัวเอง อย่างเช่นมีการประกาศเชิญชวนส่งบทความวิจัย (research article) บทความวิทยานิพนธ์ (thesis article) บทความวิชาการ (academic article) บทความปริทัศน์ (review article) และบทความวิชาชีพ (professional article) ที่มีแนวคิดเรื่อง “จริยธรรมสื่อ” (Media Ethics) (http://www.tcijthai.com/office-tcij/view.php?ids=4083 (http://www.tcijthai.com/office-tcij/view.php?ids=4083)) เพื่อเผยแพร่ในวารสารอิศราปริทัศน์ตั้งแต่วันที่ ๐๗ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๗ ที่ผ่านมา ขณะนี้ก็ปิดรับเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ขณะเดียวกันในโอกาสที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ในวาระครบรอบ 60 ปีในปี ๒๕๕๘ จึงได้มีการจัดราชดำเนินเสวนาเรื่อง “ปฏิวัติคนข่าว อภิวัฒน์สื่อ กับภารกิจปฏิรูปประเทศไทย” ขึ้นเมื่อวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๗ และจะมีการเวียนจัดระดมความเห็นไปตามสถานที่ต่างๆ ในครั้งนี้ นายสุทธิชัย หยุ่น ประธานเครือเนชั่นได้ให้ความเห็นเป็นแนวทางไว้ว่า ปัจจุบันนี้หมดยุคหมาเฝ้าบ้าน คนเฝ้าประตูแล้ว เพราะกระจกมีเต็มไปหมด ดังนั้น สื่อกระแสหลักจะต้องเป็นสื่อมืออาชีพยึดหลักจริยธรรมเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ (http://www.komchadluek.net/detail/20141012/193898.html (http://www.komchadluek.net/detail/20141012/193898.html)) ans1 ans1 ans1 ans1 อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันนี้องค์กรสื่อเองก็มีจริยธรรมที่กำหนดขึ้นให้สมาชิกในองค์กรปฏิบัติ แต่ถึงกระนั้น นายวสันต์ ภัยหลีกลี้ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติตัวแทนสื่อ ได้แสดงความเห็นในเวทีเดียวกันว่า "สื่อเวลานี้มีปัญหาในการกำกับดูแลกันเอง บางกรณีที่สื่อบางสำนักไม่พอใจการกำกับดูแลกัน แล้วก็คัดค้านตบเท้าออกไป ทำให้คุณภาพข่าวไม่พัฒนาเท่าที่ควร" อันเป็นตัวสะท้อนให้เห็นว่า หลักจริยธรรมสื่อที่มีอยู่เดิม ไม่มีประสิทธิภาพจึงทำให้สื่อมวลชนไทยตกอยู่ในสภาพเป็นตัวปัญหาและสาเหตุของปัญหาความขัดแย้งที่ผ่านมาเสียเอง และถือได้ว่าอยู่ในพื้นที่ที่ความขัดแย้งสูง ดังนั้น จึงควรที่จะมีหลักคุณธรรมอื่นที่เข้ามาเสริมหรือเป็นตัวช่วยจริยธรรมที่มีอยู่เดิมหรือไม่ ฐานะที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์ โดยมีนโยบายที่จะให้บริการสังคมโดยนำหลักธรรมในพระพุทธศาสนาเข้าไปประยุกต์ใช้หรือบูรณาการเข้ากับศาสตร์สมัยใหม่ ซึ่งได้เปิดหลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสันติศึกษา ซึ่งเป็นการศึกษาถึงวิธีในการแก้ปัญหาความขัดแย้งด้านต่างๆ และที่พิเศษไปกว่านั้นคือเป็นการศึกษาที่จะแก้ปัญหาความขัดแย้งภายในจิตของบุคคลด้วย :49: :49: :49: :49: การทำวิจัยเรื่อง "การสร้างสันติสุขในพื้นที่ที่มีความขัดแย้งสูง : ศึกษาพุทธวิธีที่เป็นฐานของการปฏิรูปสื่อมวลชนไทย" ครั้งนี้จึงมุ่งที่จะค้นคว้าหลักธรรมในพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะด้านการสื่อสาร ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ประกาศเป็นอุดมการณ์ไว้คราวประทานโอวาทปาฏิโมกข์วันมาฆบูชาคือ "สาวกของพระองค์ต้องไม่กล่าวร้ายบุคคลอื่น" หรือหลักของมรรค ๘ ประการ เช่น ข้อสัมมาวาจา น่าจะแนวทางในการปฏิรูปสื่อมวลชนไทยครั้งนี้ได้ ขอบคุณภาพและบทความจาก http://www.komchadluek.net/detail/20141014/193997.html (http://www.komchadluek.net/detail/20141014/193997.html) หัวข้อ: Re: พุทธวิธี "เสริมจริยธรรม ปฏิรูปสื่อ ลดขัดแย้ง" เริ่มหัวข้อโดย: PRAMOTE(aaaa) ที่ ตุลาคม 15, 2014, 10:22:01 am ขออนุโมทนาสาธุ
|