สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

เรื่องทั่วไป => forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน => ข้อความที่เริ่มโดย: raponsan ที่ ตุลาคม 30, 2014, 09:58:00 pm



หัวข้อ: บุญพระธาตุหลวงปีนี้มีข้อห้ามยุบยับและห้ามเมา เดินเซจะถูก "นำตัวไปพักผ่อน"
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ ตุลาคม 30, 2014, 09:58:00 pm
(http://mpics.manager.co.th/pics/Images/557000012865701.JPEG)
บุญนมัสการพระธาตุหลวง มีทั้งกลางวันและกลางคืนยันสว่างทุกคืน งานจะเข้าสู่ช่วงไฮไล้ท์วันที่ 4-6 พ.ย.
งานประจำปีที่ชาวลาวต่างรอคอย กำลังจะเปิดฉากขึ้นอย่างเป็นทางการวันศุกร์ 31 ต.ค.นี้
และ มีข้อห้ามไม่ให้ประพฤติปฏิบัติอยู่จำนวนหนึ่ง ทั้งสำหรับบรรดาพ่อค้าแม่ขายและคนทั่วไปด้วย.
ภาพ: ลาวพัดทะนา.

บุญพระธาตุหลวงปีนี้มีข้อห้ามยุบยับและห้ามเมา เดินเซจะถูก "นำตัวไปพักผ่อน"

ASTVผู้จัดการออนไลน์ -- งานนมัสการพระธาตุหลวง ที่เรียกกันทั่วไปว่า "บุญพระธาตุหลวง" ประจำปี 2557 กำลังจะเริ่มขึ้นอย่างเป็นทางการในวันศุกร์ 31 ต.ค.นี้ เชื่อว่าชาวไทยจำนวนไม่น้อย เช่นเดียวกับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติทั่วไป หลั่งไหลเข้าสู่เมืองหลวงของลาวในช่วงงานที่จะดำเนินไปเป็นเวลา 7 วัน 7 คืนเต็ม และปีนี้ลาวได้ประกาศจัดอย่างเป็นพิเศษ เนื่องในโอกาสครบรอบ 448 ปี การก่อตั้งพระธาตุคู่บ้านคู่เมือง ทางการนครเวียงจันทน์ได้ประกาศ "ข้อห้าม" ออกมาหลายเรื่อง ทั้งห้ามพ่อค้าแม่ขายและห้ามบุคคลทั่วไปด้วย ซึ่งผู้ฝ่าฝืนจะถูกดำเนินการตามกฎหมาย
       
       หนังสือพิมพ์ลาวพัดนาซึ่งเป็นสื่อออนไลน์ของสมาคมนักข่าวแห่งชาติ รายงานว่าแม้ทางการจะไม่ได้ห้ามดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ แต่ผู้ไปเที่ยวชม หรือไปร่วมงานบุญจะต้อง "ไม่ดื่มสิ่งของมึนเมาเกินขอบเขต หากผู้ใดละเมิดจักถูกเจ้าหน้าที่กล่าวตักเตือนหรือนำตัวไปพักผ่อน" นอกจากนั้นก็ยังห้ามการทะเลาะวิวาท จนถึงขั้นทำร้ายร่างกายกันในทุกกรณีด้วย นายสายทอง แก้วดวงดี รองเจ้าครองนครเวียงจันทน์ได้ออกเตือนเกี่ยวกับเรื่องนี้

        :49: :49: :49: :49: :49:

       ทางการเมืองหลวงได้ห้ามจำหน่ายหรือนำอาวุธทุกประเภทเข้าไปในงาน รวมทั้งดาบ ง้าว มีด ธนู-หน้าไม้ กระสุนต่างๆ สนับมือ และ อื่นๆ เว้นแต่เจ้าหน้าที่ที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น นอกจากนั้นยังห้ามจำหน่ายและนำยาเสพติด สารพิษ สารเคมีที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาททุกชนิดเข้าไปในงาน ห้ามจุดประทัด และห้ามนำเข้าไปในงานอย่างเด็ดขาด
       
       ทางการยังห้ามนำเอาผลิตภัณฑ์ที่ทำปลอมหรือลอกเลียนแบบไปวางจำหน่ายในงาน มาตรการเดียวกันนี้ได้ประกาศใช้ในช่วงเทศกาลแข่งเรือที่ผ่านมา โดยเน้นไปที่เครื่องแต่งกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผ้านุ่งสตรี ซึ่งให้จำหน่ายได้เฉพาะผ้าซิ่นลาวแท้ๆ ที่ถูกต้องตามขนบธรรมเนียมประเพณีของชาติ และยังห้ามจำหน่ายสินค้าเครื่องนุ่งห่มที่นำเข้า เพื่อสนับสนุนผลิตภัณฑ์ที่ผลิตในลาว

        :25: :25: :25: :25: :25: :25:

       คำสั่งยังได้ห้ามนำจำหน่าย หรือนำเอาผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมที่ลามกอนาจร และเสื่อมทราม เข้าไปในงาน ห้ามเล่นการพนันทุกชนิด และ บรรดานักแสดงตามจุดต่างๆ ภายในงานจะต้องแต่งกายสุภาพเรียบร้อยตามประเพณีนิยมของชาวลาวอีกด้วย
       
       ตามรายงานของสื่อทางการ งานบุญนมัสการพระธาตุหลวงปีนี้แบ่งออกเป็น 2 ส่วนเหมือนเดิม คือ งานแสดงและจำหน่ายสินค้าหลักๆ จะอยู่ที่ศูนย์ประชุมและแสดงนิทรรศการลาวไอเท็คในย่านชานเมือง ส่วนในบริเวณลานกว้างของพระธาตุหลวง จะเป็นการค้าขายทั่วไปในระดับ "ตลาดนัด" และ เมื่อต้นสัปดาห์นี้ บูธจำหน่ายสินค้าถูกจองจนหมดแล้ว

        st12 st12 st12 st12 st12

       งานแสดงศิลปวัฒนธรรมต่างๆ จะเริ่มตั้งแต่วันที่ 31 ต.ค.เป็นต้นไป ส่วนงานทำบุญนมัสการจะเริ่มในวันที่ 4 พ.ย. จนกระทั่งไปสิ้นสุดลงในวันที่ 6 ซึ่งชาวเวียงจันทน์นับหมื่นๆ คนจะไปร่วมทำบุญตักรบาตภายในบริเวณพระธาตุหลวง ตั้งแต่เวลา 7 โมงเช้าเป็นต้นไป สำหรับปีนี้เป็นพิเศษ คือ ทางการจัดให้เป็นการตักบาตรโดยเดินรอบๆ องค์พระธาตุ ที่มีอาณาบริเวณกว้างขวาง ภาคบ่ายวันเดียวกันจะมีพิธีแห่ปราสาทขี้ผึ้ง ซึ่งทุกๆ ปีจะมีผู้เข้าร่วมขบวนยาวเหยียด รวมทั้งขบวนละเล่นพื้นเมืองต่างๆ ด้วย สำนักข่าวสารปะเทดลาวรายงานก่อนหน้านี้
       
       พระธาตุหลวงเวียงจันทน์มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน มีทั้งบันทึกเป็นศิลาจารึก กับอีกส่วนหนึ่งเป็นตำนาณเล่าขาน นักประวัติศาสตร์ลาวได้อ้างบันทึกของนักการทูตว่า เมื่อปี 2184 ซึ่งตรงกับสมัยกรุงศรีอยุธนยาตอนปลาย ทูตการค้าชาวฮอลันดาได้ไปยังนครเวียงจันทน์ และบันทึกเอาไว้ว่า พระธาตุหลวง "เป็นพระธาตุใหญ่ที่สวยงามที่สุด ประดับประดาด้วยแผ่นทองและมียอดปลายเป็นทองคำที่วิจิตรงดงาม" พระเจ้าสุลิยวงสาทำมิกกะลาด พระเจ้าแผ่นดินแห่งล้านช้าง-เวียงจันทน์ทรงเป็นประธานในงานบุญประจำปี และทรงใช้บริเวณลานพระธาตุหลวงเป็นสถานที่ต้อนรับคณะทูตชาวฮอลันดา

        st11 st11 st11 st11 st11 st11

       กรุงเวียงจันทน์รุ่งเรืองต่อมาอีกกว่า 170 ปี ก่อนอาณาจักรสยามจะส่งกองทัพเข้ารุกราน จนสามารถยึดครองได้ในปี พ.ศ.2362 ซึ่งตรงกับปลายรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 2 เมืองศูนย์กลางของราชอาณาจักรล้านช้าง-เวียงจันทน์ได้กลายเป็นเมืองร้าง พระธาตุหลวงถูกปล่อยร้างต่อมาอีก 80 ปี "มองดูหมองเศร้า หลายส่วนขององค์พระธาตุได้หักพังลง" และ โจรขโมยบุกเข้างัดแงะทำลายจนเสียหาย นำเอาสิ่งของล้ำค่าทั้งเงินและทองไปจนหมด
       
       จนกระทั่งปี พ.ศ.2443 ซึ่งตรงกับปลายรัชสมัยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์พระธาตุหลวงเป็นครั้งแรก มีการก่อสร้างยอดพระธาตุขึ้นใหม่ ตามบัญชาของข้าหลวงใหญ่ฝรั่งเศสประจำลาว แต่พระธาตุหลวงออกมาเป็นรูปทรงศิลปะตะวันตก และประชาชนลาวไม่พึงพอใจ สื่อของทางการกล่าว

        :96: :96: :96: :96: :96: :96:

       อีก 30 ปีต่อมา ในปี พ.ศ.2473 จึงได้มีการบูรณะก่อสร้างใหม่อีกครั้งหนึ่งโดยนายช่างชาวฝรั่งเศส คาวนี้ชาวลาวได้เสนอให้เปลี่ยนแปลงยอดพระธาตุเสียใหม่เท่าที่จะทำได้ เพื่อให้เป็นไปตามศิลปวัฒนธรรมของชนชาติ แต่องค์ประกอบสำคัญอื่นๆ สามารถบูรณะให้กลับคืนเหมือนของเดิมได้ทั้งหมด เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองชองลาวสืบต่อมา.


ขอบคุณภาพข่าวจาก
http://www.manager.co.th/IndoChina/ViewNews.aspx?NewsID=9570000125024 (http://www.manager.co.th/IndoChina/ViewNews.aspx?NewsID=9570000125024)