สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

กรรมฐาน มัชฌิมา => ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน => ข้อความที่เริ่มโดย: ธัมมะวังโส ที่ พฤศจิกายน 08, 2010, 08:28:45 am



หัวข้อ: คำถามจากเมล เรื่อง การจางคลายจากกิเลส มีหลักการอย่างไร
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ พฤศจิกายน 08, 2010, 08:28:45 am
อ่านพระสูตร กันก่อน เพราะหลายท่าน คิดว่า กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ไม่มีในพระไตรปิฏก

จากเมล ส่วนใหญ่ที่เข้ามาถามกัน เอาเป็นว่ามี ตอบรวมในนี้ ให้อ่านพระสูตรกันก่อน เดี๋ยวค่อยอธิบายกัน

ตอนหลังนะจ๊ะ กับคำถามเรื่อง การจางคลายจากกิเลส มีหลักการอย่างไร จึงรู้่ว่าจางคลาย

[๕๘๘] วิราคะเป็นมรรค วิมุติเป็นผล วิราคะเป็นมรรคอย่างไร ฯ
    ในขณะโสดาปัตติมรรค สัมมาทิฐิด้วยอรรถว่าเห็น ย่อมคลายจากมิจฉาทิฐิ จากกิเลสอันเป็นไปตามมิจฉาทิฐินั้น จากขันธ์ และจากสรรพนิมิตภายนอกวิราคะ (มรรค) มีวิราคะ (นิพพาน) เป็นอารมณ์ มีวิราคะเป็นโคจร เข้ามาประชุมในวิราคะ ตั้งอยู่ในวิราคะ ประดิษฐานอยู่ในวิราคะ วิราคะในคำว่าวิราโค นี้มี ๒ คือ

          นิพพานเป็นวิราคะ ๑
          ธรรมทั้งปวงที่เกิดเพราะสัมมาทิฐิมีนิพพานเป็นอารมณ์เป็นวิราคะ ๑

   เพราะฉะนั้น มรรคจึงเป็นวิราคะ องค์ ๗ ที่เป็นสหชาติ ย่อมถึงความเป็นวิราคะ เพราะฉะนั้น วิราคะจึงเป็นมรรคพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสาวก ย่อมถึงนิพพานอันเป็นทิศที่ไม่เคยไปด้วยมรรคนี้ เพราะฉะนั้น อริยมรรคอันมีองค์ ๘ นี้เท่านั้น จึงล้ำเลิศเป็นประธาน สูงสุด และประเสริฐกว่ามรรคของสมณพราหมณ์เป็นอันมากผู้ถือลัทธิอื่น เพราะฉะนั้น อัฏฐังคิกมรรคจึงประเสริฐกว่ามรรคทั้งหลาย ฯ
    สัมมาสังกัปปะด้วยอรรถว่าดำริ ย่อมคลายจากมิจฉาสังกัปปะ สัมมาวาจาด้วยอรรถว่ากำหนด ย่อมคลายจากมิจฉาวาจา สัมมากัมมันตะด้วยอรรถว่าตั้งขึ้นด้วยดี ย่อมคลายจากมิจฉากัมมันตะ สัมมาอาชีวะด้วยอรรถว่าชำระอาชีวะให้ผ่องแผ้ว ย่อมคลายจากมิจฉาอาชีวะ สัมมาวายามะด้วยอรรถว่าประคองไว้ ย่อมคลายจากมิจฉาวายามะ สัมมาสติด้วยอรรถว่าตั้งมั่น ย่อมคลายจากมิจฉาสติสัมมาสมาธิด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมคลายจากมิจฉาสมาธิ จากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสังกัปปะเป็นต้นนั้น จากขันธ์และสรรพนิมิตภายนอก วิราคะมีวิราคะเป็นอารมณ์ มีวิราคะเป็นโคจร เข้ามาประชุมในวิราคะ ตั้งอยู่ในวิราคะ ประดิษฐานอยู่ในวิราคะ วิราคะในคำว่าวิราโค นี้มี ๒ คือ นิพพาน เป็นวิราคะ ๑ธรรมทั้งปวงที่เกิดเพราะสัมมาสังกัปปะเป็นต้นนั้น มีนิพพานเป็นอารมณ์เป็นวิราคะ ๑ เพราะฉะนั้น วิราคะจึงเป็นมรรค องค์ ๗ ที่เป็นสหชาติ ย่อมถึงความเป็นวิราคะ เพราะฉะนั้น มรรคจึงเป็นวิราคะ พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าและพระสาวกย่อมไปถึงนิพพานอันเป็นทิศที่ไม่เคยไปด้วยมรรคนี้ เพราะฉะนั้นอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เท่านั้น จึงล้ำเลิศ เป็นประธาน สูงสุดและประเสริฐกว่ามรรคของสมณพราหมณ์เป็นอันมาก ผู้ถือลัทธิอื่น เพราะฉะนั้น อัฏฐังคิกมรรคจึงประเสริฐกว่ามรรคทั้งหลาย ฯ

    [๕๘๙] ในขณะสกทาคามิมรรค สัมมาทิฐิด้วยอรรถว่าเห็น ฯลฯสัมมาสมาธิด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมคลายจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัยส่วนหยาบๆคลายจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสมาธินั้นจากขันธ์ และจากสรรพนิมิตภายนอก วิราคะมีวิราคะเป็นอารมณ์ ฯลฯเพราะฉะนั้น อัฏฐังคิกมรรคจึงประเสริฐกว่ามรรคทั้งหลาย ฯ

    [๕๙๐] ในขณะอนาคามิมรรค สัมมาทิฐิด้วยอรรถว่าเห็น ฯลฯ สัมมาสมาธิด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมคลายจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนละเอียดๆคลายจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสมาธินั้น จากขันธ์ และจากสรรพนิมิตภายนอก วิราคะมีวิราคะเป็นอารมณ์ฯลฯ เพราะฉะนั้น อัฏฐังคิกมรรคจึงประเสริฐกว่ามรรคทั้งหลาย ฯ

    [๕๙๑] ในขณะอรหัตมรรค สัมมาทิฐิด้วยอรรถว่าเห็น ฯลฯ สัมมาสมาธิด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมคลายจากรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะอวิชชา มานานุสัย ภวราคานุสัย อวิชชานุสัย คลายจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสมาธินั้น จากขันธ์และจากสรรพนิมิตภายนอก วิราคะ มีวิราคะเป็นอารมณ์ มีวิราคะเป็นโคจร เข้ามาประชุมในวิราคะ ตั้งอยู่ในวิราคะ ประดิษฐานอยู่ในวิราคะ วิราคะในคำว่า วิราโค นี้มี ๒ คือ นิพพานเป็นวิราคะ ๑ ธรรมทั้งปวงที่เกิดเพราะสัมมาสมาธิมีนิพพานเป็นอารมณ์ เป็นวิราคะ ๑ เพราะฉะนั้นมรรคจึงเป็นวิราคะ องค์ ๗ ที่เป็นสหชาติย่อมถึงความเป็นวิราคะ เพราะฉะนั้นวิราคะจึงเป็นมรรค พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสาวก ย่อมถึงนิพพานอันเป็นทิศที่ไม่เคยไปด้วยมรรคนี้ เพราะฉะนั้น อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เท่านั้น จึงล้ำเลิศ เป็นประธาน สูงสุด และประเสริฐกว่ามรรคของสมณพราหมณ์เป็นอันมากผู้ถือลัทธิอื่น เพราะฉะนั้น อัฏฐังคิกมรรคจึงประเสริฐกว่ามรรคทั้งหลาย ฯ
 
  [๕๙๒] สัมมาทิฐิเป็นวิราคะเพราะความเห็น
         สัมมาสังกัปปะเป็นวิราคะเพราะความดำริ
         สัมมาวาจาเป็นวิราคะเพราะความกำหนด
         สัมมากัมมันตะเป็นวิราคะเพราะความตั้งขึ้นไว้ชอบ
         สัมมาอาชีวะเป็นวิราคะเพราะชำระอาชีวะให้ผ่องแผ้ว
         สัมมาวายามะเป็นวิราคะเพราะประคองไว้
         สัมมาสติเป็นวิราคะเพราะตั้งมั่น
         สัมมาสมาธิเป็นวิราคะเพราะไม่ฟุ้งซ่าน
        สติสัมโพชฌงค์เป็นวิราคะเพราะตั้งมั่น
        ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์เป็นวิราคะเพราะเลือกเฟ้น
        วิริยสัมโพชฌงค์เป็นวิราคะเพราะประคองไว้
        ปีติสัมโพชฌงค์เป็นวิราคะเพราะแผ่ซ่านไป
        ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์เป็นวิราคะเพราะความสงบ
        สมาธิสัมโพชฌงค์เป็นวิราคะเพราะความไม่ฟุ้งซ่าน
        อุเบกขาสัมโพชฌงค์เป็นวิราคะเพราะความพิจารณาหาทาง
        สัทธาพละเป็นวิราคะเพราะความไม่หวั่นไหวไปในความไม่มีศรัทธา
        วิริยพละเป็นวิราคะเพราะความไม่หวั่นไหวไปในความเกียจคร้าน
        สติพละเป็นวิราคะเพราะความไม่หวั่นไหวไปในความประมาท
        สมาธิพละเป็นวิราคะเพราะความไม่หวั่นไหวไปในอุทธัจจะ
        ปัญญาพละเป็นวิราคะเพราะความไม่หวั่นไหวไปในอวิชชา
        สัทธินทรีย์เป็นวิราคะ เพราะความน้อมใจเชื่อ
        วิริยินทรีย์เป็นวิราคะเพราะความประคองไว้
        สตินทรีย์เป็นวิราคะเพราะความตั้งมั่น
        สมาธินทรีย์เป็นวิราคะเพราะความไม่ ฟุ้งซ่าน
        ปัญญินทรีย์เป็นวิราคะเพราะความเห็น
        อินทรีย์เป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเป็นใหญ่พละเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหว
        โพชฌงค์เป็นวิราคะเพราะอรรถว่านำออกไป
        มรรคเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเป็นเหตุ
        สติปัฏฐานเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าตั้งมั่น
        สัมมัปปธานเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเริ่มตั้งไว้
        อิทธิบาทเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าให้สำเร็จ
        สัจจะเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเป็นของถ่องแท้สมถะเป็นวิราคะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน
        วิปัสสนาเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าพิจารณาเห็น
        สมถวิปัสสนาเป็นวิราคะเพราะอรรถว่ามีกิจเป็นอันเดียวกัน
        ธรรมที่คู่กันเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าไม่ล่วงเกินกัน
        สีลวิสุทธิเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าสำรวมจิตตวิสุทธิเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน
        ทิฐิวิสุทธิเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเห็น
        วิโมกข์เป็นวิราคะเพราะอรรถว่าพ้นวิเศษ
        วิชชาเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าแทงตลอด
        วิมุติเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าสละ
        ขยญาณเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าตัดขาด
        ฉันทะเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเป็นมูล
        มนสิการเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเป็นสมุฏฐาน
        ผัสสะเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเป็นที่รวม
        เวทนาเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเป็นที่ประชุมลง
        สมาธิเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเป็นประธาน
       สติเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเป็นใหญ่
       ปัญญาเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเป็นธรรมที่ยิ่งกว่าธรรมนั้นๆ
       วิมุติเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเป็นสารธรรม
       สัมมาทิฐิเป็นมรรคเพราะความเห็น
       สัมมาสังกัปปะเป็นมรรคเพราะความดำริ ฯลฯ
       นิพพานอันหยั่งลงในอมตะเป็นมรรคเพราะอรรถว่าเป็นที่สุด วิราคะเป็นมรรคอย่างนี้ ฯ
    [๕๙๓] วิมุติเป็นผลอย่างไร ในขณะโสดาปัตติผล สัมมาทิฐิด้วยอรรถว่าเห็น พ้นจากมิจฉาทิฐิ พ้นจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาทิฐินั้น จากขันธ์และจากสรรพนิมิตภายนอก วิมุติมีวิมุติเป็นอารมณ์ มีวิมุติเป็นโคจร เข้ามาประชุมในวิมุติ ตั้งอยู่ในวิมุติ ประดิษฐานอยู่ในวิมุติ วิมุติในคำว่า วิมุตฺตินี้มี ๒ คือ นิพพาน เป็นวิมุติ ๑ ธรรมทั้งปวงที่เกิดเพราะสัมมาทิฐิมีนิพพานเป็นอารมณ์ เป็นวิมุติ ๑ เพราะฉะนั้น วิมุติจึงเป็นผล สัมมาสังกัปปะด้วยอรรถ
ว่าดำริ พ้นจากมิจฉาสังกัปปะ ฯลฯ สัมมาวาจาด้วยอรรถว่ากำหนดพ้นจากมิจฉาวาจา ฯลฯสัมมากัมมันตะด้วยอรรถว่าตั้งไว้ด้วยดี พ้นจากมิจฉากัมมันตะฯลฯ สัมมาอาชีวะด้วยอรรถว่าชำระอาชีพให้ผ่องแผ้ว พ้นจากมิจฉาอาชีวะ ฯลฯสัมมาวายามะด้วยอรรถว่าประคองไว้ พ้นจากมิจฉาวายามะฯลฯ สัมมาสติด้วยอรรถว่าตั้งมั่น พ้นจากมิจฉาสติ ฯลฯ สัมมาสมาธิด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน พ้นจากมิจฉาสมาธิ พ้นจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสังกัปปะเป็นต้นนั้น จากขันธ์และจากสรรพนิมิตรภายนอก วิมุติมีวิมุติเป็นอารมณ์ มีวิมุติเป็นโคจร ประชุมเข้าในวิมุติ ตั้งอยู่ในวิมุติ ประดิษฐานอยู่ในวิมุติ วิมุติในคำว่า วิมุตฺติ นี้มี ๒คือ นิพพานเป็นวิมุติ ๑ ธรรมทั้งปวงที่เกิดเพราะมีนิพพานเป็นอารมณ์เป็นวิมุติ๑ เพราะฉะนั้น วิมุติจึงเป็นผล ฯ


หัวข้อ: Re: คำถามจากเมล เรื่อง การจางคลายจากกิเลส มีหลักการอย่างไร
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ พฤศจิกายน 08, 2010, 08:29:01 am
    [๕๙๔] ในขณะสกทาคามิผล สัมมาทิฐิด้วยอรรถว่าเห็น ฯลฯ  สัมมาสมาธิด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมพ้นจากกามราคสังโยชน์  กามราคานุสัยปฏิฆานุสัย  ส่วนหยาบๆพ้นจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาทิฐิเป็นต้นนั้นจากขันธ์และจากสรรพนิ มิตรภายนอก ... เพราะฉะนั้น วิมุติจึงเป็นผล ฯ
     [๕๙๕] ในขณะอนาคามิผล สัมมาทิฐิด้วยอรรถว่าเห็น ฯลฯ  สัมมาสมาธิด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมพ้นจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์  กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย  ส่วนละเอียดๆพ้นจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาทิฐิเป็นต้นนั้น จากขันธ์  และจากสรรพนิมิตรภายนอก ... เพราะฉะนั้น วิมุติจึงเป็นผล ฯ
     [๕๙๖] ในขณะอรหัตผล สัมมาทิฐิด้วยอรรถว่าเห็น ฯลฯ  สัมมาสมาธิด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมพ้นจากรูปราคะ อรูปราคะ มานะ  อุทธัจจะ อวิชชามานานุสัย  ภวราคานุสัยอวิชชานุสัยพ้นจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาทิฐิเป็นต้นนั้นจาก ขันธ์และจากสรรพนิมิตรภายนอกวิมุติมีวิมุติเป็นอารมณ์  มีวิมุติเป็นโคจรประชุมเข้าในวิมุติ ตั้งอยู่ในวิมุติ  ประดิษฐานอยู่ในวิมุติ วิมุติในคำว่า วิมุตฺตินี้มี ๒ คือ นิพพานเป็นวิมุติ  ๑ ธรรมทั้งปวงที่เกิดเพราะมีนิพพานเป็นอารมณ์เป็นวิมุติ ๑ เพราะฉะนั้น  วิมุติจึงเป็นผล ฯ
     [๕๙๗] สัมมาทิฐิเป็นวิมุติเพราะความเห็น ฯลฯ  สัมมาสมาธิเป็นวิมุติเพราะความไม่ฟุ้งซ่าน สติสัมโพชฌงค์เป็นวิมุติ  เพราะความตั้งไว้มั่น ฯลฯอุเบกขาสัมโพชฌงค์เป็นวิมุติเพราะความพิจารณาหาทาง  สัทธาพละเป็นวิมุติเพราะความไม่หวั่นไหวไปในความไม่มีศรัทธา ฯลฯ  ปัญญาพละเป็นวิมุติเพราะความไม่หวั่นไหวไปในอวิชชา  สัทธินทรีย์เป็นวิมุติเพราะความน้อมใจเชื่อฯลฯ  ปัญญินทรีย์เป็นวิมุติเพราะความเห็น  อินทรีย์เป็นวิมุติเพราะอรรถว่าเป็นใหญ่พละเป็นวิมุติเพราะอรรถว่าไม่หวั่น ไหว โพชฌงค์เป็นวิมุติเพราะอรรถว่าเป็นเครื่องนำออก มรรคเป็นวิมุติ  เพราะอรรถว่าเป็นเหตุ สติปัฏฐานเป็นวิมุติเพราะอรรถว่าตั้งมั่น  สัมมัปปธานเป็นวิมุติเพราะอรรถว่าเริ่งตั้งไว้  อิทธิบาทเป็นวิมุติเพราะอรรถว่าให้สำเร็จ  สัจจะเป็นวิมุติเพราะอรรถว่าเป็นของถ่องแท้  สมถะเป็นวิมุติเพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน  วิปัสสนาเป็นวิมุติเพราะอรรถว่าพิจารณาเห็น  สมถวิปัสสนาเป็นวิมุติเพราะอรรถว่ามีกิจเป็นอันเดียวกัน  ธรรมที่เป็นคู่กันเป็นวิมุติเพราะอรรถว่าไม่ล่วงเกินกัน  สีลวิสุทธิเป็นวิมุติเพราะอรรถว่าสำรวม  จิตตวิสุทธิเป็นวิมุติเพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน  ทิฐิวิสุทธิเป็นวิมุติเพราะอรรถว่าเห็น วิโมกข์เป็นวิมุติเพราะอรรถว่าพ้น  วิชชาเป็นวิมุติเพราะอรรถว่าแทงตลอด วิมุติเป็นวิมุติเพราะอรรถว่าสละ  ญาณในความไม่เกิดขึ้นเป็นวิมุติ  เพราะอรรถว่าระงับฉันทะเป็นวิมุติเพราะอรรถว่าเป็นมูล มนสิการ  เป็นวิมุติเพราะอรรถว่าเป็นสมุฏฐาน ผัสสะเป็นวิมุติเพราะอรรถว่าเป็นที่รวม  เวทนาเป็นวิมุติเพราะอรรถว่าเป็นที่ประชุม  สมาธิเป็นวิมุติเพราะอรรถว่าเป็นประธาน สติเป็นวิมุติเพราะอรรถว่าเป็นใหญ่  ปัญญาเป็นวิมุติเพราะอรรถว่าเป็นธรรมยิ่งกว่าธรรมนั้นๆ  วิมุติเป็นวิมุติเพราะอรรถว่าเป็นสารธรรมนิพพานอันหยั่งลงในอมตะเป็นวิมุติ เพราะอรรถว่าเป็นที่สุด วิมุติเป็นผลอย่างนี้ วิราคะ เป็นมรรค วิมุติเป็นผล  ด้วยประการฉะนี้ ฯ
 จบวิราคกถา ฯ


หัวข้อ: Re: คำถามจากเมล เรื่อง การจางคลายจากกิเลส มีหลักการอย่างไร
เริ่มหัวข้อโดย: axe ที่ พฤศจิกายน 17, 2010, 06:30:59 am
อ้างถึง
ในขณะโสดาปัตติมรรค สัมมาทิฐิด้วยอรรถว่าเห็น ย่อมคลายจากมิจฉาทิฐิ จากกิเลสอันเป็นไปตามมิจฉาทิฐินั้น จากขันธ์ และจากสรรพนิมิตภายนอกวิราคะ (มรรค) มีวิราคะ (นิพพาน) เป็นอารมณ์ มีวิราคะเป็นโคจร เข้ามาประชุมในวิราคะ ตั้งอยู่ในวิราคะ ประดิษฐานอยู่ในวิราคะ วิราคะในคำว่าวิราโค นี้มี ๒ คือ

          นิพพานเป็นวิราคะ ๑
          ธรรมทั้งปวงที่เกิดเพราะสัมมาทิฐิมีนิพพานเป็นอารมณ์เป็นวิราคะ ๑



หัวข้อ: กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ที่มีมาีในพระไตรปิฏก
เริ่มหัวข้อโดย: ธรรมะ ปุจฉา ที่ มิถุนายน 29, 2011, 04:31:39 am
เพิ่งรู้ครับว่า กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ มีในพระไตรปิฏก   :25: