หัวข้อ: ถึงเวลาจัดระเบียบ "โดรน" บนน่านฟ้าไทย เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ ธันวาคม 19, 2014, 08:06:54 am (http://www.posttoday.com/media/content/2014/12/18/E96B0DE45EA243CDA14AE67C53ABDB8E.jpg) ถึงเวลาจัดระเบียบ "โดรน" บนน่านฟ้าไทย เรื่อง...อินทรชัย พาณิชกุล "ใครๆก็บินได้" นี่คือ สถานการณ์ล่าสุดบนน่านฟ้าไทย หลังการมาถึงของอากาศยานไร้คนขับ หรือที่รู้จักกันในชื่อ “โดรน” (Drone) ไล่ตั้งแต่สื่อมวลชน ช่างภาพ วัยรุ่นผู้นิยมกีฬาเอ็กซ์ตรีม ผู้กำกับภาพยนตร์ นักสำรวจ จนถึงประชาชนทั่วไปที่หลงใหลเครื่องบินบังคับวิทยุ ล้วนหันมาให้ความสนใจกันอย่างแพร่หลาย ด้วยความหวังที่จะบินขึ้นไปถ่ายภาพมุมสูงอย่างที่ไม่มีใครเคยทำได้มาก่อน จนลอยละล่องเต็มท้องฟ้า กระนั้น เหตุผลด้านความปลอดภัยกำลังเป็นคำถามสำคัญจากหลายประเทศทั่วโลกว่า ถึงเวลาหรือยังที่จะมีการออกกฎหมายควบคุมการใช้โดรนอย่างจริงจังเสียที :96: :96: :96: :96: :96: ยุคทองของโดรน ที่ผ่านมา เราอาจเคยได้ยินว่ามีการใช้โดรนเฉพาะในวงการทหารหรือเชิงพาณิชย์เท่านั้น แต่เดี๋ยวนี้สิ่งประดิษฐ์ล้ำสมัยดังกล่าวได้ขยายวงกว้างจนเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของมนุษย์ไปแล้ว ไม่ว่าจะขนส่งยารักษาโรคและสิ่งยังชีพในภาวะฉุกเฉิน ถ่ายภาพรายงานข่าวเหตุการณ์ชุมนุมมหกรรมแสดงคอนเสิร์ต แข่งขันกีฬา สำรวจสัตว์ป่า ชื่นชมความงามมุมสูงของโบราณสถานและแหล่งท่องเที่ยว ถ่ายทำหนัง-ละคร แม้กระทั่งบินเล่นเป็นงานอดิเรกยามว่าง ถึงขนาดมีรายงานข่าวว่า โดรนเป็นของขวัญวันคริสต์มาสที่ขายดีที่สุดของอังกฤษในปีนี้เลยทีเดียว โดยเฉพาะเมืองไทยก็ถือได้ว่ากำลังพีคสุดๆไม่แพ้กัน “นอกจากคนในแวดวงอาร์ซี (Radio control:RC ) ที่ชื่นชอบอากาศยานบังคับวิทยุ เกินกว่าครึ่งมาจากวงการช่างภาพ สื่อมวลชน นักกีฬาแนวเอ็กซ์ตรีม นักสำรวจ นักท่องเที่ยว เพราะใช้งานง่ายราคาจับต้องได้ ไม่ต้องฝึกฝนจนเชี่ยวชาญถึงจะบินขึ้นได้เหมือนอากาศยานประเภทอื่นๆ ราคาแบ่งเป็น 2 เกรด 1.Toy อยู่ที่หลักพันต้นๆ บินขำๆเหมือนของเล่นทั่วไป 2.Hobby ประเภทนี้ไว้ใช้งานจริงจัง ตัวเครื่องมีขนาดใหญ่ติดอุปกรณ์ครบชุด ราคาตั้งแต่หมื่นบาทไปจนถึง 6 แสนบาท :49: :49: :49: :49: :49: ความแตกต่างของสองกลุ่มนี้คือ คนที่เล่นอาร์ซีอยู่แล้วค่อนข้างจะมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกลไกการบังคับ การบินขึ้นลง เดินหน้าถอยหลัง การเลี้ยว คลื่นความถี่ ส่วนมือใหม่มักจะถามคำถามเบสิก เช่น บินได้ไกลไหม บินได้นานไหม สูงแค่ไหน บังคับยากไหม พูดง่ายๆไม่รู้อะไรเลย” ธีรวัฒน์ ปฏิสนธิ์ เจ้าของธุรกิจจำหน่ายสินค้าอาร์ซี และบริการรับถ่ายภาพทางอากาศ เล่าให้ฟัง นรวิทย์ บุญลีวัฒนา ช่างภาพอิสระ เผยว่าเสน่ห์ของการใช้โดรนถ่ายภาพทางอากาศอยู่ตรงภาพที่บันทึกได้จากมุมสูงนั้นช่างแปลกใหม่และงดงามอลังการ “ตอนนี้แทบทุกวงการต้องการภาพแนว Bird's eye view ถ่ายหนังถ่ายละคร มิวสิกวิดีโอเซอร์เวย์สถานที่ต่างๆเช่น โรงงานขนาดใหญ่ แหล่งท่องเที่ยว แม้แต่คู่บ่าวสาวที่มาติดต่อใช้บริการถ่ายพรีเวดดิ้งก็ยังมี ช่างภาพหลายคนควักเงินเป็นแสนลงทุนซื้อโดรนมาใช้งาน เรทราคาในการรับงานมีตั้งแต่กล้อง GoPro คิวละ 2 หมื่นบาทขึ้นไปจนถึงโดรนใหญ่ติดกล้องดีเอสแอลอาร์คิวละเป็นแสน ... เชื่อไหมว่าบางคนเพิ่งซื้อมาได้แค่วันเดียวก็ประกาศรับถ่ายภาพทางกาศแล้ว” วันที่ท้องฟ้าปลอดโปร่งเป็นฤกษ์งามยามดีที่จะเห็นนักเล่นนำโดรนออกมาใช้งานตามสนามอาร์ซีหลายแห่งในเขตกรุงเทพและปริมณฑล ตามสวนสาธารณะ สนามกีฬา ลานโล่ง หรือตรงไหนสะดวกก็เอาขึ้นกันตรงนั้นเลย โดยไม่คำนึงถึงสภาพพื้นที่ ซึ่งหารู้ไม่ว่าเข้าข่ายเสี่ยงอันตรายเป็นอย่างยิ่ง (http://www.posttoday.com/media/content/2014/12/18/9B24B8E8C87F454081C3C4DEB578A2CC.jpg) เรื่องวุ่นๆเหนือน่านฟ้า บางโอกาส บางสถานที่ การนำโดรนขึ้นใช้งานอาจสร้างปัญหาตามมาอย่างคาดไม่ถึง เมื่อเร็วๆนี้ มีรายข่าวจากประเทศอังกฤษว่า*เครื่องบินที่กำลังร่อนลงยังสนามบินฮีทโธรว์ กรุงลอนดอน เกือบชนกับกับวัตถุชิ้นหนึ่งที่ลอยอยู่เหนือพื้นราว 700 ฟุต (ประมาณ 230 เมตร) ซึ่งอยู่ในเส้นทางการร่อนลงของเครื่อง เหตุการณ์นี้ที่ถือว่าฉิวเฉียดที่สุดแล้ว ส่วนที่สหรัฐอเมริกามีการแจ้งเหตุโดรนเฉียดชนเข้ากับเครื่องบินพาณิชย์มากถึง 25 ครั้ง ผู้สันทัดกรณีมองว่าหากโดรนถูกดูดเข้าไปในเครื่องยนต์ ผลร้ายคงไม่ต่างจากนกตัวใหญ่ที่ถูกแรงดูดเข้าไปทำให้ใบพัดได้รับความเสียหายเครื่องบินอาจเสียการควบคุมและตกในที่สุด ยังไม่นับการนำโดรนขึ้นบินเหนือเขตหวงห้าม เช่น สนามบิน สถานที่ราชการ เขตพระราชวัง เหนือฝูงชนจำนวนมาก เช่น กลางที่ชุมนุม งานคอนเสิร์ต สนามกีฬา รวมถึงการใช้โดรนในทางที่มิชอบถ้ำมอง ข่มขู่แบล็คเมล์ผู้อื่น หรือก่อเหตุอาชญากรรม :s_hi: :s_hi: :s_hi: :s_hi: :s_hi: นรวิทย์ บอกว่าการบังคับโดรนไม่ใช่เรื่องง่าย ก่อนจะขึ้นบินจะต้องมีการเช็คสภาพอุปกรณ์อย่างละเอียด วางแผนเรื่องมุมมองภาพ ระยะความสูง ระยะเวลาการบิน โอกาสตกก็มีสูงจากลมแรงขัดข้องทางเทคนิค หรือการบังคับของผู้ใช้เอง “บางคนพอมีพื้นฐานบ้าง บางคนไม่ได้ร่ำเรียนหรือฝึกอบรมเรื่องการบินเป็นกิจลักษณะ อาศัยคำแนะนำจากคนขายนิดๆหน่อยๆแล้วลองฝึกบินด้วยตัวเอง ถ้าบินในสนามอาร์ซียังไม่เท่าไหร่ เพราะเขามีข้อบังคับ มีคนคอยตักเตือน แต่ถ้าบินเองในที่สาธารณะก็น่าเป็นห่วง บางที่เขาห้ามบินเลยนะ เช่น สวนหลวงร.9 สถานที่ราชการ วัดวาอารามบางแห่ง เรือนจำ โดยเฉพาะใกล้สนามบินนี่ห้ามเด็ดขาด ส่วนใหญ่เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยจะเดินมาห้าม ไม่เคยมีใครเคยโดนตำรวจจับนะ” :29: :29: :29: :29: :29: ดุสิต เสมาเงิน ช่างภาพสารคดีชื่อดัง กล่าวว่า สังคมไทยน่าจะรู้จักโดรนเป็นครั้งแรกจากภาพเหตุการณ์การชุมนุมของคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ถนนราชดำเนิน “หลังจากนั้นไม่นานก็เริ่มมีคนนำโดรนขึ้นมาบินเยอะ มั่วไปหมดทั้งมืออาชีพทั้งมือสมัครเล่น หลายครั้งเกิดปัญหาเสียการทรงตัว หรือแบตเตอรี่หมดต้องรีบลงจอดแต่ไม่ทัน ตกลงมาในที่ที่ไม่ควรตก เคยมีคนเจอโดรนหล่นใส่เย็บถึง 60 เข็ม ทุกวันนี้เวลาเห็นโดรนลอยเหนือคนเยอะๆ ผมไม่สบายใจเลย ผมตั้งกฎเหล็กส่วนตัวไว้เลยว่า ถ้าต้องถ่ายภาพเหนือฝูงชน ต้องมั่นใจกับอุปกรณ์จริงๆ เช็คแล้วเช็คอีก และจะใช้ระยะเวลาในการบินให้น้อยที่สุด ได้ภาพปุ๊บลงเลย จะไม่บินซ้ำซาก ไม่เปลี่ยนมุมใหม่เพราะยิ่งอยู่นานโอกาสตกยิ่งสูงตามไปด้วย ทุกครั้งที่บินมีความเสี่ยง โดยเฉพาะถ้าบินเหนือคน มันสามารถทำให้เกิดการบาดเจ็บรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้” (http://www.posttoday.com/media/content/2014/12/18/3DDF4CC21E1D44FD8C0708CB6580B10F.jpg) จัดระเบียบครั้งใหญ่ ณ เวลานี้ หลายประเทศทั่วโลกต่างตื่นตัวในการหามาตรการแก้ปัญหาการใช้โดรนในทางที่ผิด รวมทั้งป้องกันอุบัติเหตุรุนแรงที่อาจเกิดขึ้น สำนักข่าวบีบีซี รายงานว่าประเทศอังกฤษ องค์การการบินพลเรือนหรือซีเอเอ มีกฎข้อบังคับห้ามบินเกินระดับสายตาของผู้ควบคุมหรือ 500 เมตรในแนวนอน และไม่เกิน 122 เมตรในแนวตั้ง ถ้าโดรนมีกล้องติดจะต้องบินอย่างน้อย 50 เมตร ให้ห่างจากคน ยานพาหนะ อาคารหรือสิ่งก่อสร้างและห้ามส่งโดรนบินภายในรัศมี 150 เมตรของบริเวณที่มีคนชุมนุมกันจำนวนมาก เช่น ในการแข่งขันกีฬาหรือเทศกาลดนตรี นอกจากนี้ยังหลายฝ่ายเสนอว่าผู้ซื้อโดรนต้องกรอกข้อมูลส่วนตัวให้กับทางร้านค้า ถ้าหากมีการจับโดรนได้ในกรณีละเมิดกฎ ผู้ที่ใช้ก็จะถูกจับด้วย ขณะที่ในสหรัฐอเมริกา องค์การการบินพลเรือนของสหรัฐ หรือเอฟเอเอ ห้ามโดรนที่ใช้ในเชิงพาณิชย์รวมทั้งโดรนแบบสำหรับเล่นบินสูงเกิน 122 เมตร ถ้าต้องการใช้โดรนบินใกล้กับสนามบินภายในรัศมี 8 กิโลเมตรจากสนามบิน จะต้องขออนุญาตจากหอบังคับการบินและโดรนต้องไม่หนักเกิน 25 กิโลกรัม กลับมาที่เมืองไทย แม้สมัยก่อนในแวดวงเครื่องบินวิทยุบังคับจะถูกจำกัดให้บินกันแต่ที่สนามบินเล็กเท่านั้น ไม่อนุญาตให้ทำการบินนอกสถานที่ ยกเว้นมีการขออนุญาตตามพรบ.การเดินอากาศ พ.ศ.2497 ทว่าด้วยความนิยมที่เพิ่มสูงขึ้น และการไม่บังคับใช้กฎหมายจริงจัง ส่งผลให้น่านฟ้าไทยจึงเต็มไปด้วยอากาศยานไร้คนขับ ans1 ans1 ans1 ans1 ans1 “ผมเห็นด้วยสุดตัวกับการมีกฎกติกาที่ชัดเจนมาควบคุม ไม่งั้นอิสระกันเกินไป คิดจะบินที่ไหนก็บิน” นรวิทย์บอกด้วยน้ำเสียงหนักแน่น ดุสิต มองว่าการใช้งานโดรนต้องมีความรับผิดชอบมากกว่าแค่ถือกล้องถ่ายภาพ “การเขียนกฎกติกาจะช่วยสกรีนคนที่จะมาใช้งานอุปกรณ์เหล่านี้ได้ ควรจะมีกฎแยกแยะว่าอันไหนเป็น Hobby อันไหนเป็น Professional Use ลงทะเบียนให้ชัดเจนเลย เพื่อให้ตรวจสอบตรวจทานได้” ธีรวัฒน์ บอกว่าที่ผ่านมา แม้ไม่มีกฏหมายบังคับใช้จริงจัง คนในวงการจะใช้วิธีช่วยกันเป็นหูเป็นตาดูแลตักเตือนกันเองมากกว่า “ยอมรับว่าตอนนี้มันไร้ระเบียบเกินกว่าจะกำกับดูแลกันเอง ถึงเวลาแล้วที่จะต้องมีกฎกติกาข้อบังคับมาควบคุมให้ชัดเจน ลุ่ดทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง กองทัพอากาศ สมาคมกีฬาทางอากาศและการบินแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์(FAI) กลุ่มคนเล่นอาร์ซี เริ่มมีการพูดคุยหารือกันแล้วถึงการแก้ไขกฎหมายฉบับเก่าว่าอะไรทำได้หรือไม่ได้ แค่ไหน อย่างไร ไม่เฉพาะโดรน แต่ครอบคลุมถึงอาร์ซีทุกประเภท” ทั้งหมดนี้คือ ความคืบหน้าล่าสุดในแวดวงอากาศยานไร้คนขับของน่านฟ้าไทยที่ทุกฝ่ายกำลังจับตามองมาอย่างไม่กะพริบ ขอบคุณภาพและบทความจาก www.posttoday.com/วิเคราะห์/รายงานพิเศษ/336412/ถึงเวลาจัดระเบียบ-โดรน-บนน่านฟ้าไทย (http://www.posttoday.com/วิเคราะห์/รายงานพิเศษ/336412/ถึงเวลาจัดระเบียบ-โดรน-บนน่านฟ้าไทย) หัวข้อ: Re: ถึงเวลาจัดระเบียบ "โดรน" บนน่านฟ้าไทย เริ่มหัวข้อโดย: PRAMOTE(aaaa) ที่ ธันวาคม 19, 2014, 11:02:12 pm เท่าที่เห็นกล้องถ่ายบินได้กําลังมาแรง แต่ก็ต้องมีกฏควบคุมในด้านความปลอดภัยบ้างก็ดี
|