สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

กรรมฐาน มัชฌิมา => ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน => ข้อความที่เริ่มโดย: ธัมมะวังโส ที่ มกราคม 21, 2015, 08:47:47 am



หัวข้อ: หากท่านตั้งศรัทธา ให้ตั้งมั่น ในพระพุทธเจ้า ไม่มีคำว่า หลงทาง
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ มกราคม 21, 2015, 08:47:47 am
(https://fbcdn-sphotos-h-a.akamaihd.net/hphotos-ak-xpf1/v/t1.0-9/10394776_765762813505175_3986354884778378277_n.jpg?oh=efef943aba2c24e6cdba0469b301a45b&oe=552342CB&__gda__=1432620193_bc4e79469dab086d854c16988aefc2b4)


"ตั้งแต่เช้านี้ มาจนถึงค่ำ ฉันเดินอยู่คนเดียวท่ามกลาง เขาบนเส้นทางที่ฉันเดินไปนี้ มันเริ่มสูงชันเพิ่มขึ้น ความวังเว ความเหนื่อยล้า ที่เกิดขึ้นมีเกิดขึ้นมาหลายครั้ง ในตอนนั้น ฉันก็นึกว่า แล้วเราทำไมต้องมาเดินอยู่อย่างเดียวดาย ที่นี่นะ ทั้ง ๆ ที่ ฉันเอง มีรถผ่านขึ้นมาประปราย ระหว่างที่ฉันเดิน แต่เพราะความตั้งใจที่จะเดิน เพ่ื่อบูชา พระพุทธเจ้า วันนี้ฉันจึงตั้งใจด้วยศรัทธา ว่าจะไม่พึ่งพาหนะใด ๆ นอกจาก กายของฉันเอง แรงฉันเอง ฉันก้าวเดินขึ้นไปด้วยศรัทธา ความเหน็ดเหนื่อยที่ครอบคลุมใจเริ่มสูงขึ้น เพราะยิ่งเดินขึ้นไป ก็ยิ่งก้าวเท้าไปไม่ออก เนื่องจากสถานที่ฉันไปนั้นเป็นเส้นทางที่ขึ้นไปเรื่อย ๆ อย่างเดียว ฉันเดินอย่างนี้จนถึง บ่ายสามโมงเย็น โดยเริ่มตั้งแต่ เจ็ดนาฬิกา เป็นระยะทางทั้งหมด 22 กม. จึงถึงที่หมาย ตอนนั้น ฉันรีบไปที่จุดหมายปลายทาง คือ พระธาตุดอยตุง เมื่อฉันไปถึง และได้กราบ น้ำตาก็พลันไหลออกมาเป็นสาย ความปลื้มปีติ จุกแน่น อยู่ที่ใจ และ คอของฉัน ฉันนั่งอยู่ตรงนั้นเป็นเวลานาน พร้อมสวดมนต์ คือ พุทธคุณ ไปเรื่อย ๆ ......"

ข้อความบางส่วนจาก หนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนาการเดินทาง ของ ธัมมะวังโส ภิกขุ


หัวข้อ: Re: หากท่านตั้งศรัทธา ให้ตั้งมั่น ในพระพุทธเจ้า ไม่มีคำว่า หลงทาง
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ มกราคม 21, 2015, 08:57:31 am
  พระสุตตันตปิฎก  ขุททกนิกาย  อปทาน  [๔.  ขัตติยกัญญาวรรค]
              ๔.  สิงคาลมาตุเถริยาปทาน
 
                  [๑๐๑]   ได้เห็นพระพุทธเจ้าเป็นปกติ
                            เจริญพุทธานุสสติอยู่ไม่นาน    ก็ได้บรรลุอรหัตตผล
                  [๑๐๒]  หม่อมฉันไปเฝ้าพระพุทธเจ้าเป็นประจำ
                           เห็นพระรูปซึ่งเป็นที่เพลิดเพลินนัยนาก็ยังไม่เบื่อ
                  [๑๐๓]  หม่อมฉันไม่เบื่อพระรูปที่เกิดจากบารมีทั้งปวง
                           เป็นที่อยู่อาศัยแห่งสิริที่ประเสริฐ
                           พรั่งพร้อมด้วยความงามทุกอย่าง
                  [๑๐๔]  พระชินเจ้าทรงพอพระทัยในคุณสมบัตินั้น
                           จึงทรงตั้งหม่อมฉันผู้เป็นมารดาของสิงคาลมาณพไว้
                           ในเอตทัคคะว่า ‘เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุณีทั้งหลายฝ่ายสัทธาธิมุต’
                  [๑๐๕] ข้าแต่พระมหามุนี หม่อมฉันเป็นผู้มีความชำนาญในฤทธิ์
                           ในทิพพโสตธาตุ และในเจโตปริยญาณ
                  [๑๐๖]  รู้ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
                            ทิพยจักษุหม่อมฉันก็ชำระให้หมดจดแล้ว
                           อาสวะทั้งปวงก็สิ้นไปแล้ว
                           บัดนี้  ภพใหม่ไม่มี
                  [๑๐๗]  ข้าแต่พระมหาวีระ  อัตถปฏิสัมภิทาญาณ
                            ธัมมปฏิสัมภิทาญาณ นิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ
                           และปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ    ของหม่อมฉันที่มีอยู่
                            ล้วนเกิดขึ้นแล้วในสำนักของพระองค์
                  [๑๐๘]  กิเลสทั้งหลายหม่อมฉันก็เผาได้แล้ว
                            ภพทั้งปวงหม่อมฉันก็ถอนได้แล้ว
                            หม่อมฉันตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
                            ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ



หัวข้อ: Re: หากท่านตั้งศรัทธา ให้ตั้งมั่น ในพระพุทธเจ้า ไม่มีคำว่า หลงทาง
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ มกราคม 21, 2015, 09:10:22 am
พระสุตตันตปิฎก  ขุททกนิกาย  ปฏิสัมภิทามรรค  [๑.  มหาวรรค]
           ๑.  ญาณกถา  ๓๒.  อานันตริกสมาธิญาณนิทเทส
 
            ๓๒. อานันตริกสมาธิญาณนิทเทส
               แสดงอานันตริกสมาธิญาณ
   [๘๐]    ปัญญาในการตัดขาดอาสวะ    เพราะความบริสุทธิ์แห่งจิตที่ไม่ฟุ้งซ่านชื่อว่าอานันตริกสมาธิญาณ    เป็นอย่างไร
   คือ  ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์(มีอารมณ์เดียว)   
        ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งเนกขัมมะ  ชื่อว่าสมาธิ   
        ญาณย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่งสมาธินั้น   
        อาสวะทั้งหลายย่อมสิ้นไปด้วยญาณนั้น   
       สมถะมีก่อน    ญาณมีภายหลัง    ด้วยประการฉะนี้   
      ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย    ย่อมมีได้ด้วยญาณนั้น   
      เพราะเหตุนั้น    ท่านจึงกล่าวว่าปัญญาในการตัดขาดอาสวะเพราะความบริสุทธิ์แห่งจิตที่ไม่ฟุ้งซ่าน   
      ชื่อว่าอานันตริกสมาธิญาณ
   คำว่า  อาสวะ    อธิบายว่า    อาสวะเหล่านั้น    อะไรบ้าง
   คือ    กามาสวะ    (อาสวะคือกาม)   
          ภวาสวะ    (อาสวะคือภพ)   
          ทิฏฐาสวะ    (อาสวะคือทิฏฐิ)   
          อวิชชาสวะ (อาสวะคืออวิชชา)
   
     อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไป ณ ที่ไหน
 
    คือ    ทิฏฐาสวะทั้งสิ้นย่อมสิ้นไปด้วยโสดาปัตติมรรค 
          กามาสวะซึ่งเป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่อบาย
          ภวาสวะซึ่งเป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่อบาย   
          อวิชชาสวะซึ่งเป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่อบาย   
          ย่อมสิ้นไปด้วยโสดาปัตติมรรค   
          อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะแห่งโสดาปัตติมรรคนี้
   
           กามาสวะส่วนหยาบย่อมสิ้นไปด้วยสกทาคามิมรรค   
        ภวาสวะซึ่งตั้งอยู่ร่วมกับกามาสวะนั้น   
        อวิชชาสวะซึ่งตั้งอยู่ร่วมกับกามาสวะนั้น   
        ย่อมสิ้นไปด้วยสกทาคามิมรรค   
        อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะแห่งสกทาคามิมรรคนี้
   
          กามาสวะทั้งสิ้นย่อมสิ้นไปด้วยอนาคามิมรรค   
        ภวาสวะซึ่งตั้งอยู่ร่วมกับกามาสวะนั้น   
        อวิชชาสวะซึ่งตั้งอยู่ร่วมกับกามาสวะนั้น   
       ย่อมสิ้นไปด้วยอนาคามิมรรค   
       อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะแห่งอนาคามิมรรคนี้
         
         ภวาสวะทั้งสิ้น   
      อวิชชาสวะทั้งสิ้น   
      ย่อมสิ้นไปด้วยอรหัตตมรรค   
      อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะแห่งอรหัตตมรรคนี้
      ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งอพยาบาท    ชื่อว่าสมาธิ





หัวข้อ: Re: หากท่านตั้งศรัทธา ให้ตั้งมั่น ในพระพุทธเจ้า ไม่มีคำว่า หลงทาง
เริ่มหัวข้อโดย: Akira ที่ มกราคม 21, 2015, 10:39:36 am
กว่าจะอ่าน จบ ก็ต้อง ขออนุโมทนา กับพระอาจารย์ ด้วยคะ

 ที่ยังมอบธรรม อยู่ แม้ช่วงนี้ จะไม่มีเสียงพูด แต่ ก็ยังพิมพ์ธรรมเป็น ธรรมทาน

  st11 st12


หัวข้อ: Re: หากท่านตั้งศรัทธา ให้ตั้งมั่น ในพระพุทธเจ้า ไม่มีคำว่า หลงทาง
เริ่มหัวข้อโดย: PRAMOTE(aaaa) ที่ กุมภาพันธ์ 20, 2015, 02:00:27 am

    พุทธานุสสติ