สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

เรื่องทั่วไป => forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน => ข้อความที่เริ่มโดย: raponsan ที่ กุมภาพันธ์ 26, 2015, 10:22:06 pm



หัวข้อ: คำถามจากพระเถระ อะไรคือปฏิรูปศาสนา
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ กุมภาพันธ์ 26, 2015, 10:22:06 pm

(http://www.matichon.co.th/news-photo/matichon/2015/02/p0102260258p1.jpg)

คำถามจากพระเถระ อะไรคือปฏิรูปศาสนา

กำลังกลายเป็นที่วิตกของสังคมไทย ถึงความขัดแย้งทางพระพุทธศาสนาที่ส่อเค้าจะขยายเป็นวงกว้าง

เมื่อคณะกรรมการปฏิรูปแนวทางและมาตรการปกป้องพิทักษ์กิจการพระพุทธศาสนา สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) เปิดประเด็นว่า พระเทพญาณมหามุนี (ไชยบูลย์ ธมฺมชโย) หรือพระธัมมชโย เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย เป็นปาราชิก ขาดจากความเป็นภิกษุตามพระลิขิตสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก พร้อมจี้ให้มหาเถรสมาคม (มส.) เร่งดำเนินการตามพระลิขิต

ตามด้วยความเคลื่อนไหวของพระพุทธะอิสระ เจ้าอาวาสวัดอ้อน้อย จ.นครปฐม ที่ยื่นหนังสือถึง นายไพบูลย์ นิติตะวัน สปช.ในฐานะคณะกรรมการปฏิรูปแนวทางฯให้ตรวจสอบทรัพย์สินและเส้นทางเงินของกรรมการ มส.ทุกรูป

ส่งผลให้เกิดการเคลื่อนไหวตอบโต้กันระหว่างคณะสงฆ์ที่ออกมาปกป้องมหาเถรสมาคมกับคณะกรรมการปฏิรูปฯที่มีพระพุทธะอิสระเป็นแนวร่วมสำคัญ

 :25: :25: :25: :25:

ซึ่งข้อวิตกถึงความขัดแย้งนี้ไม่เพียงแต่พุทธศาสนิกชนที่เป็นห่วงแต่บรรดาพระชั้นผู้ใหญ่ต่างเป็นห่วงไม่แพ้กัน

โดยเฉพาะพระราชวิมลโมลี เจ้าคณะจังหวัดนครราชสีมา บอกว่า คณะสงฆ์จังหวัดนครราชสีมารู้สึกเป็นห่วงสถานการณ์ความขัดแย้งนี้ เพราะการที่ สปช.แต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูปแนวทางและมาตรการป้องกันกิจการพระพุทธศาสนาขึ้นมา โดยที่ไม่มีคณะสงฆ์เข้าไปมีส่วนร่วม ถือว่าไม่เหมาะสม เหมือนการให้ฆราวาสเขียนกฎหมายควบคุมพระสงฆ์ โดยเฉพาะจากข้อมูลรายชื่อคณะกรรมการชุดนี้ ส่วนใหญ่ล้วนแต่เคยมีปัญหากับคณะสงฆ์มาแล้วทั้งนั้น เช่นนายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ซึ่งเป็นไม้เบื่อไม้เมากับพระสงฆ์มาโดยตลอด

"การที่พระพุทธะอิสระได้เข้าไปยื่นหนังสือกับคณะกรรมการเพื่อให้ตรวจสอบมหาเถรสมาคม พระชั้นผู้ใหญ่ เจ้าคณะจังหวัด รวมทั้งมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้ง 2 แห่งนั้น มีเหตุผลอะไร และจะตรวจสอบเรื่องอะไร เพราะการจะตรวจสอบ หรือสอบสวนใคร หรือหน่วยงานใด ต้องมีมูลความผิดมาก่อน ไม่ใช่อยู่เฉยๆ จะมาตรวจสอบกันอย่างนี้ ยิ่งจะทำให้เกิดความขัดแย้งต่อสังคมมากขึ้น เพราะปกติแล้วทางคณะสงฆ์ก็มีกระบวนการ ขั้นตอนการตรวจสอบร่วมกับหน่วยงานภาครัฐอย่างเป็นระบบอยู่แล้ว" พระราชวิมลโมลีกล่าว

 :96: :96: :96: :96:

ดังนั้น จึงเห็นว่าควรจะยุบคณะกรรมการชุดนี้เสีย เพื่อยุติความขัดแย้งไม่ให้บานปลายไปกว่านี้ ส่วนปฏิกิริยาของพระสงฆ์ในจังหวัดนครราชสีมาก็มอบหมายให้เจ้าคณะอำเภอ เจ้าคณะตำบล ควบคุมดูแลพระสงฆ์ในสังกัดไม่ให้มีความเคลื่อนไหวใดๆ ทั้งสิ้น ก็เป็นไปด้วยความสงบเรียบร้อยดี

ขณะที่ พระเทพวินยาภรณ์ เจ้าอาวาสวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จ.นครศรีธรรมราช ในฐานะเจ้าคณะภาค 16-17 บอกว่า ศาสนาจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะกฎระเบียบต่างๆ เพื่อจะได้กำหนดให้ชัดเจนในกรอบ รวมถึงการปฏิบัติตัวของสงฆ์อย่างถูกต้อง การที่จะต้องเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบนั้นจะต้องให้มีตัวแทนของพระสงฆ์ ผู้ชำนาญการพิเศษทางด้านศาสนา หรือนักวิชาการที่เชี่ยวชาญเข้ามาร่วมพิจารณาด้วย ไม่ใช่พิจารณาออกมาแล้วพระสงฆ์ไม่ยอมรับ เดี๋ยวจะเกิดความวุ่นวายกันอีก

 st12 st12 st12 st12

"ส่วนตัวแล้วอาตมาเห็นว่า ต้องออกกฎระเบียบออกมาให้ชัดเจน เพื่อพระสงฆ์จะได้ปฏิบัติตัวถูกตามกรอบของกฎพระวินัยของสงฆ์ จะเปลี่ยนแปลงไม่ได้ โลกเปลี่ยนแปลงไปมาก ทุกอย่างก็ต้องเปลี่ยนแปลง ดังนั้น จะปฏิรูปหรือคิดอะไรที่เกี่ยวกับกฎหมายต้องให้พระสงฆ์ หรือตัวแทนเข้าไปมีส่วนคิดพิจารณาด้วย เพื่อให้มีกฎหมายมาคุ้มครอง ควบคุม" พระเทพวินยาภรณ์ระบุ

พระครูธีระสุตพจน์ หรือ พระมหาสง่า ธีรสังวโร ผู้อำนวยการสำนักงานมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.) วิทยาเขตเชียงใหม่ วัดสวนดอกพระอารามหลวง ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ให้ความเห็นถึงประเด็นที่พระพุทธะอิสระยื่นให้คณะกรรมการปฏิรูปแนวทางฯตรวจสอบทรัพย์สินและเส้นทางการเงินของมหาเถรสมาคมทุกรูปว่ามีทั้งข้อดีและข้อเสียข้อดีเพื่อให้มีการตรวจสอบโปร่งใส ป้องกันทุจริต หรือยักยอกทรัพย์สินของวัดเป็นของตนเอง เพื่อให้ทุกฝ่ายสบายใจ และปกป้องพระพุทธศาสนาทางหนึ่ง

 st11 st11 st11 st11

"ข้อเสีย คือ วัดและมหาวิทยาลัยสงฆ์ เป็นนิติบุคคล มีกรรมการวัด หรือผู้บริหารมหาวิทยาลัยสงฆ์ดูแลอยู่แล้ว เป็นองค์กรที่อบรมสั่งสอนจริยธรรมคุณธรรม ทำความดี ละเว้นความชั่ว จึงมีความบริสุทธิ์ โปร่งใสเป็นพื้นฐาน บางแห่งจดทะเบียนเป็นมูลนิธิ ที่ไม่ได้แสวงหาผลประโยชน์ หรือกำไร ไม่เกี่ยวข้องการเมือง ดังนั้น จึงมีคณะกรรมการกำกับดูแล มีผู้สอบบัญชี พร้อมรายงานประจำปี และสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ตรวจสอบการใช้งบประมาณทุกปีอยู่แล้ว หากตั้งฆราวาสตรวจสอบเป็นการทำหน้าที่ซ้ำซ้อนและสิ้นเปลืองงบประมาณมากขึ้น" พระครูธีระสุตพจน์กล่าว

พระครูธีระสุตพจน์กล่าวว่า มหาวิทยาลัยสงฆ์ทั่วประเทศไม่กังวลการปฏิรูปศาสนา หรือตรวจสอบกิจการพระสงฆ์ แต่ถามว่าผู้มาทำหน้าที่ดังกล่าวถูกต้องหรือไม่ ใช้อะไรเป็นเครื่องตัดสินว่า พระสงฆ์และวัดดีเลวอย่างไร มาตรฐานอยู่ตรงไหน ดังนั้น อยากให้ตั้งสติ พิจารณาทบทวนตนเอง เพราะแนวทางปฏิรูปเกินความพอดี ยึดตนเองเป็นที่ตั้ง ไม่เดินสายกลาง หรือเดินตามคำสั่งใคร เป็นการทำลายพระพุทธศาสนาโดยไม่รู้ตัว

 :s_hi: :s_hi: :s_hi: :s_hi:

พระราชธรรมสารสุธี รองเจ้าคณะจังหวัดศรีสะเกษ และเจ้าอาวาสวัดมหาพุทธาราม อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ ให้ความเห็นว่า ศาสนาพุทธไม่ได้วุ่นวาย แต่คนต่างหากที่เข้าไปวุ่นวาย ควรจะมองว่าใครมีหน้าที่อะไรก็ควรที่จะทำตามหน้าที่ของตนเอง พระควรทำหน้าที่ของพระแล้วนำเอามาเกื้อกูลกัน อย่าคิดว่าอะไรดีไม่ดี ให้มองอย่าง

กลางๆ วิธีที่ดีคือต้องฟังความเห็นของทุกฝ่าย ต้องฟังพระสงฆ์ด้วยว่าพูดอย่างไร เพราะว่ามีแต่คนอื่นพูดแทน หากพระพูดมากจะถูกมองว่า ไม่มีความอดทน หากไม่พูดเลยก็จะมองว่าพระละเลยขาดความรับผิดชอบ

 ans1 ans1 ans1 ans1

"ศาสนาพุทธไม่ได้แตกแยก แต่การแตกแยกอยู่ที่คนต่างหาก การทำให้แตกแยกจะอยู่ที่ทิฐิของคนต่างหาก การเมืองมีสิทธิเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับศาสนาได้ เพราะทำให้ศาสนาเกิดความมั่นคง หน้าที่ของบ้านเมืองคืออุปถัมภ์คุ้มครองพระพุทธศาสนา การจะยุติปัญหาทั้งหมดในขณะนี้ได้ ทุกคนจะต้องปล่อยวางในทุกเรื่อง ยึดกฎเกณฑ์ที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระธรรมวินัยจะต้องถือปฏิบัติอย่างเข้มงวด เชื่อว่าหากทำอะไรโดยยึดตามกฎเกณฑ์ที่ตั้งไว้ เรื่องต่างๆ จะต้องยุติลงได้อย่างแน่นอน" พระราชธธรรมสารสุธีกล่าว

ขณะที่ พระครูสิริปริยัตยานุศาสถ์ เลขานุการพระเทพโกศล เจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ ให้ความเห็นว่า ไม่เห็นด้วยการปฏิรูปศาสนาตามแนวทาง สปช. เพราะมีพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ดูแลกันอยู่แล้ว หากอยากชำระพระสงฆ์และวงการศาสนา ควรยึดหลักพระธรรมวินัย ที่สอนให้รู้จักความละอาย เกรงกลัวบาป สำนึกตนเอง รู้จักชั่วดี วิเคราะห์แยกแยะด้วยเหตุผล ให้พระสงฆ์ชำระกันเอง เป็นแนวทางดีที่สุด

 :32: :32: :32: :32:

"พระสงฆ์ไม่สบายใจที่นักวิชาการและพระสงฆ์บางรูปจะมาปฏิรูปศาสนาและกิจการสงฆ์ เพราะมีความคิดสุดโต่ง ไม่ยึดหลักพระธรรมวินัย เอาศาสนาเป็นเครื่องมือการเมือง ทำลายล้าง จาบจ้วง มส.และพระชั้นผู้ใหญ่ ที่เปรียบเสมือนเป็นผู้บังคับบัญชาพระสงฆ์ทั่วประเทศ บางรายไม่ได้นับถือศาสนาพุทธ ไม่เคยทำบุญตักบาตร ปฏิบัติธรรม แล้วจะมากำกับดูแลศาสนาและกิจการสงฆ์ได้อย่างไร อย่าเอาศาสนาเป็นเครื่องมือการเมืองเลย เพราะศรัทธาต้องคู่กับปัญญา อย่าจ้องทำลายล้าง สิ่งที่กระทำอยู่นั้น ถือว่ามีเจตนาไม่บริสุทธิ์ สร้างความแตกแยก" พระครูสิริปริยัตยานุศาสถ์กล่าว

ก่อนทิ้งท้ายว่า ที่ผ่านมาวัดและกิจการสงฆ์ได้บำรุงพระพุทธศาสนาอย่างต่อเนื่อง สนองนโยบายรัฐบาล อาทิ หมู่บ้านรักษาศีล 5 บวชพระสงฆ์เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลเนื่องในโอกาสสำคัญ บวชสามเณรภาคฤดูร้อน อบรมเผยแผ่ธรรมสัญจร ส่งเสริมสนับสนุนการศึกษา สั่งสอนให้ ลด ละ เลิก อบายมุขทุกประเภท อาทิ ยาเสพติด สุรา การพนัน สถานเริงรมย์ สังคมอยู่ด้วยความสุข แล้วรัฐบาลและคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จะให้ สปช.และคนอื่นมาสร้างปัญหาทำไม

ถ้าไม่ยกย่อง ไม่เคารพ ก็อย่าเหยียบย่ำกันเลย !!


ที่มา : มติชนรายวัน ฉบับวันที่ 26 ก.พ.2558
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1424922077 (http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1424922077)