หัวข้อ: บรรทัดฐานของการภาวนา : ธรรมะยู-เทิร์น เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ มีนาคม 11, 2015, 10:26:59 pm (https://lh3.googleusercontent.com/-htz2B2FFX64/VKv5HWWFJwI/AAAAAAAAT80/gujcwf919p0/w812-h609-no/IMG_20141228_110054.jpg) บรรทัดฐานของการภาวนา : ธรรมะยู-เทิร์น โดยอิทธิโชโต ความเพียรเป็นกิจที่ต้องทำวันนี้ ใครจะรู้แม้ความตายแม้พรุ่งนี้... มุนีผู้สงบย่อมกล่าวเรียกผู้มีความเพียรอยู่เช่นนั้น ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันกลางคืนว่า ผู้เป็นอยู่แม้เพียงราตรีเดียว ก็น่าชม....ภัทเทกรัตตคาถา ความเพียรเช่นนั้น หมายถึง ความเพียรในการเจริญสติ จนเกิดสมาธิ และปัญญาในการเผากิเลสให้สิ้นไป หลวงปู่ลี กุสลธโร เจ้าอาวาสวัดเกษรศิลคุณธรรมเจดีย์ (วัดภูผาแดง) อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี ได้กล่าวว่า ความสงบนั้น ชนะหมดทั้งโลก หลวงปู่ลี ปัจจุบันท่านอายุ ๙๓ ปี ๖๕ พรรษา ท่านบวชเป็นพระเมื่อครั้งงานเผาศพหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต และเมื่ออุปสมบทแล้วได้ฉายานามว่า 'กุสลธโร' หมายความว่า 'พระผู้ทรงไว้ซึ่งความดี' ท่านเป็นลูกศิษย์ผู้ใกล้ชิดหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน แห่งวัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี (https://scontent-sin.xx.fbcdn.net/hphotos-xfa1/v/t1.0-9/425474_258421084239353_1588791562_n.jpg?oh=701462b87fad6c9e1b1fa05a0e6c5c36&oe=558886B8) สำหรับการเจริญสติภาวนา จะทำอย่างไรให้ก้าวหน้า เราก็ต้องฝึกต่อไปทุกวัน วันละเล็กวันละน้อย เมื่อสติเข้มแข็งมากขึ้น จิตใจก็จะละเอียดมากขึ้น เราก็จะควบคุมตัวเองได้ดีขึ้น ควบคุมอารมณ์ได้มากขึ้นเช่นกัน ที่สำคัญคือ อานิสงส์ในการภาวนาจะเห็นผลขึ้นเรื่อยๆ จากการปฏิบัติของเราเอง เมื่อภาวนาจนเป็นนิสัย เป็นข้อวัตรเหมือนที่พระเขาภาวนากัน จิตใจก็จะมั่นคง เมื่อจิตใจมั่นคงขึ้น เราทำการเจริญภาวนา จิตใจก็จะสงบได้ง่าย เพราะเมื่อสติมารวดเร็ว ควบคุมอารมณ์ได้ดี ใจเราก็สงบได้ง่าย ผลของการที่จิตใจสงบ จะได้เห็นได้เองว่าเป็นอย่างไร มีคุณประโยชน์อย่างไร นี่เป็นบรรทัดฐานเบื้องต้นของการภาวนา (https://scontent-sin.xx.fbcdn.net/hphotos-xfp1/v/t1.0-9/422873_258420587572736_806498975_n.jpg?oh=8ebec8d4cf12e5b864e1e66da0cf3cc3&oe=55772BFA) เหมือนเราทำงาน ตั้งแต่ฝึกงาน จนกระทั่งเชี่ยวชาญในเนื้องาน ก็เกิดความชำนาญ คือ รู้ทั้งกระบวนการ เช่นเดียวกับการภาวนา เมื่อหมั่นเจริญสติบ่อยๆ จะด้วยการอาศัยคำบริกรรมว่า พุทโธ ก็ได้ หรือมีสติอยู่กับลมหายใจเข้า-ออก ก็ได้ หรือบริกรรม พุทโธ ธัมโม สังโฆ ก็ได้ จนกว่าจะพบความสงบ เมื่อพบความสงบ จะรู้ว่าความสงบที่แท้จริงเป็นอย่างไร จากที่เราเคยเป็นคนฟุ้งซ่าน สมาธิสั้น เมื่อมีสติ สมาธิ เกิดความสงบก็จะช่วยให้ฟุ้งน้อยลง ทุกอย่างขึ้นอยู่กับความเพียร ans1 ans1 ans1 ans1 พระพุทธเจ้าตรัสว่า วันหนึ่งกับคืนหนึ่ง เราจะให้เวลากับเรื่องจิตใจแค่ไหน ก็แล้วแต่บุคคลจะบริหารจัดการเวลาของตน แต่ทางศาสนา พระพุทธเจ้าตรัสไว้เลย เวลาเรามีอยู่เท่ากันคือ กลางวัน ๓ เวลา กลางคืน ๓ เวลา รวมแล้วเป็น ๖ เวลา พระพุทธเจ้า ให้ใช้เวลากับการภาวนา ๕ ใน ๖ ส่วน ส่วนที่ ๖ คือ การพัก ภาษาชาวบ้านเราคือ นอน พระพุทธเจ้าให้พักนิดเดียว ท่านแบ่งเวลาวันหนึ่งกับคืนหนึ่ง สำหรับการภาวนาเป็นเช่นนี้ จะได้ไม่มีเวลาให้กิเลสมันแผดเผาอยู่ในใจของพระตั้งแต่สมัยพุทธกาลแล้ว และเมื่อเราภาวนาเช่นนี้จนเป็นนิสัย ทั้งวันและกลางคืนจะเป็นของเราหมดเลย แล้วเราจะเข้าใจด้วยตนเองว่า 'ความสงบนั้น ชนะหมดทั้งโลก' เป็นอย่างไร ขอบคุณบทความจาก http://www.komchadluek.net/detail/20150311/202701.html (http://www.komchadluek.net/detail/20150311/202701.html) ขอบคุณภาพจาก ปัญญสโก ภิกขุ |