หัวข้อ: อะไรคือความแตกต่าง ของ สองสิ่งที่เหมือนกัน เริ่มหัวข้อโดย: ครูนภา ที่ พฤศจิกายน 16, 2010, 11:59:04 am (http://www.oocities.com/thai_wushu/Shaolin.jpg)
จีน (http://www.mcu.ac.th/BO/Pict/news/Img3395/Dhammaduta.jpg) ไทย (http://www.isc-gspa.org/news/image/2009616182381.jpg) พม่า (http://www.jat-languagecafe.com/newsite/pic/Tokyo-Monks-Collection4.jpg) (http://www.palungdham.com/buddhism/vietnam01.jpg) พระเวียตนาม หัวข้อ: Re: อะไรคือความแตกต่าง ของ สองสิ่งที่เหมือนกัน เริ่มหัวข้อโดย: ประสิทธิ์ ที่ พฤศจิกายน 16, 2010, 05:36:38 pm (http://gotoknow.org/file/ganesh/DSC06275.jpg)
พระธิเบต (http://i92.photobucket.com/albums/l10/oratch/Arayawangso/6.jpg) (http://i92.photobucket.com/albums/l10/oratch/Arayawangso/2.jpg) พระอาจารย์อารยะวังโสได้มีดำริให้จัดตั้ง มูลนิธิฟื้นฟูพุทธศาสนาโลก(ฟพล.) ชื่อภาษาอังกฤษว่า World Buddhism Revival Foundation (WBRF) ขึ้นในประเทศไทย ซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างดำเนินการ เป้าหมายหลักคือ ให้การสนับสนุนชาวพุทธใหม่ในชมพูทวีป ให้สามารถปฏิบัติศาสนากิจได้อย่างถูกต้องมั่นคง และสามารถประดิษฐานพระพุทธศาสนาในชมพูทวีป ให้รุ่งเรืองดุจในสมัยพุทธกาล อีกครั้งหนึ่ง เรื่องราวเหตุผลความเป็นมาที่พระอาจารย์อารยะวังโส ได้ดำริจัดตั้ง มูลนิธิฟื้นฟูพุทธศาสนาโลก(ฟพล.) หัวข้อ: Re: อะไรคือความแตกต่าง ของ สองสิ่งที่เหมือนกัน เริ่มหัวข้อโดย: ประสิทธิ์ ที่ พฤศจิกายน 16, 2010, 05:43:39 pm ในเทศกาลวิสาขบูชา ปี พ.ศ. 2547
พระอาจารย์ อารยะวังโส ผู้เป็นพระอาจารย์วิปัสสนา และผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดป่าพุทธพจน์หริภุญไชย ได้ไปปักกลดบำเพ็ญเพียรอยู่เพียงรูปเดียว ที่บริเวณพระมหาวิหารโพธิคยา ที่อินเดีย ท่ามกลางอากาศที่ร้อนถึง 50 องศาเซลเซียส (http://i92.photobucket.com/albums/l10/oratch/Arayawangso/1-1.jpg) ในเวลานั้น เผอิญมีชาวพุทธใหม่ คณะใหญ่จากรัฐมหาราษฎร์ เดินทางมาสักการะ ที่สังเวชนียสถานแห่งนี้ พวกเขาได้เห็นปฏิปทาอันงดงามของพระอาจารย์อารยะวังโส ก็เกิดความเลื่อมใสเป็นอย่างยิ่ง ถึงกับมีคหปตานีผู้หนึ่ง ปวารณาถวายที่ดินของตนจำนวนประมาณ 15 ไร่ ที่อยู่ในรัฐมหาราษฎร์ (ห่างออกไปจากพุทธคยาประมาณกว่าพันกิโลเมตร) เพื่อให้พระอาจารย์อารยะวังโสสร้างวัดในพระพุทธศาสนา และยังมีชาวพุทธอินเดียอีกเป็นจำนวนมากถวายเงิน เพื่อการนั้นให้แก่ท่านด้วย (ขณะนั้นท่านไม่เคยรู้เรื่องของรัฐมหาราษฎร์เลย โดยเฉพาะว่ามีชาวพุทธอินเดียอยู่ที่นี่) นับเป็นปรากฏการณ์ที่พิเศษอย่างยิ่ง ที่ชาวพุทธอินเดียเหล่านั้นมีความเลื่อมใส เช่นนั้น ต่อพระภิกษุที่เขาไม่เคยพบเห็นมาก่อน จัดเป็นนิมิตที่ปรากฏขึ้นในเขตโพธิมณฑลสถาน ที่ตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคเจ้าอันศักดิสิทธิ์ บ่งถึงโอกาสที่จะมีการร่วมมือกันระหว่างชาวพุทธใหม่ในอินเดีย กับคณะสงฆ์ และพุทธศาสนิกชนชาวไทย ในอันที่จะฟื้นฟูพระพุทธศาสนาให้มั่นคงถาวรขึ้นใหม่ ในดินแดนชมพูทวีป ตามที่ชาวพุทธใหม่เหล่านั้นได้นิมนต์ พระอาจารย์อารยะวังโสไปเป็นผู้นำในการดำเนินการ หัวข้อ: พระสงฆ์กับกระแสบริโภคนิยม วัตถุนิยมในยุคข่าวสารข้อมูล เริ่มหัวข้อโดย: tcarisa ที่ พฤศจิกายน 16, 2010, 07:32:26 pm พระสงฆ์กับกระแสบริโภคนิยม วัตถุนิยมในยุคข่าวสารข้อมูล
พระมหาฐาปนันท์ ฐาปนานฺนโท นักศึกษาปี ๔ คณะมนุษยศาสตร์ มมร.สธ. ในยุคปัจจุบัน คนส่วนใหญ่นิยมหาความสุขจากการได้เสพ ได้ครอบครอง เหมือนสังคมที่เจริญทางด้านอุตสาหกรรม โดยถือ ว่าเป็นสิ่งที่ทันสมัย พระสงฆ์ไม่หลงไปตามกระแส จะถือว่าล้าสมัยไหม ? เป็นเรื่องจำเป็นหรือไม่ที่พระสงฆ์ต้องตามกระแสอย่าง ชาวบ้านด้วย? การมุ่งหาความสุขจากการใช้สอย การได้ครอบครอง เช่นเดียวกับสังคมที่มีความเจริญทางด้านอุตสาหกรรม หรือ การเลียน แบบการเสพ การครอบครอง ตามอย่างสังคมตะวันตกเรียกว่า บริโภคนิยม ส่วนวัตถุนิยม หมายถึงภาวะการแสวงหาความสุข โดย ใช้วัตถุเป็นสื่อกลางในการนำความสุขมาให้ โดยไม่ให้ความสำคัญต่อการสร้างความสุขให้เกิดขึ้นภายใน เช่น เห็นคนอื่นมีบางสิ่ง แล้วต้องการมีอย่างเขา โดยเข้าใจว่าการมีอย่างนั้น จะมีความสุข การมีแนวคิดอย่างนี้เป็นลักษณะแนวคิดของสังคมตะวันตกที่มุ่ง สร้างสรรค์ความเจริญทางด้านวัตถุ จากการเข้าใจว่า เมื่อความเจริญทางวัตถุบริบูรณ์แล้ว ความสุขภายในคือจิตใจจะเกิดขึ้นเอง เป็นลักษณะที่หาความสุขโดยมองว่า เมื่อความสะดวกสบายภายนอกเพียบพร้อมแล้ว ความสุขภายในจะเกิดตามมา แต่การหาความสุขจากการเป็นนักบริโภคนิยม และวัตถุนิยม ก็ยังเป็นปัญหาต่อสังคมตะวันตก สังคมที่มีความเจริญในด้าน เทคโนโลยี และด้านอุตสาหกรรม เนื่องจากเพิ่งตระหนักว่า การเป็นนักวัตถุนิยมกับการมีชีวิตที่มีความสุข เป็นคนละอย่างกัน เราจะ สังเกตเห็นว่าในสังคมตะวันตก หรือสังคมที่มีความเจริญพร้อมในด้านวัตถุ จะมีสถิติการฆ่าตัวตายสูงมาก นอกจากนั้น ก็ยังพบว่า มีคนจำนวนมาก ในสังคมเช่นนั้น กลายเป็นพวกวิปริตทางจิต เป็นพวกโรคจิต ดังนั้น จึงมีอาชีพอย่างหนึ่ง เรียกว่าจิตแพทย์เพื่อเป็น ผู้บำบัดอาการทางจิตแก่คนในสังคม ว่ากันว่าจิตแพทย์เป็นที่ต้องการขึ้นเรื่อย ๆ ในสังคมตะวันตก อีกอย่างหนึ่ง ในสังคมที่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของกระแสบริโภคนิยม และวัตถุนิยม มีปัญหาในด้านความเครียดสูงมากเพราะ ต้องดิ้นรนแสวงหาให้ได้ครอบครอง ให้ได้เสพ ออกไปทำงานแต่เช้ามืด กลับดึก เกิดภาวะจิตที่ถูกกดดัน จิตไม่ปลอดโปร่ง เพราะมี การดิ้นรนอยู่เป็นนิจ เป็นตัวกดดันภายในจิต เกิดภาวะจิตที่ร้อนรน กระสับกระส่ายไม่สงบ จะเห็นได้ว่า ปัจจุบันชาวตะวันตกหันมา ให้ความสนใจต่อการอบรมจิตมากขึ้น สำนักวิปัสสนาหรือสถานที่อบรมทางจิตมีมากขึ้น และมีแนวโน้มว่าจะมีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพราะ การอบรมจิตสามารถช่วยลดความเครียดของชาวตะวันตกได้อย่างน่าพอใจ เมื่อหันมามองประเทศไทย ปัจจุบันกระแสบริโภคนิยม วัตถุนิยม หรือกระแสฝรั่ง มีกินมีใช้อย่างไร เราต้องมีอย่างนั้น กำลัง เป็นกระแสรุนแรง หากลองสังเกต เราจะเห็นว่าปัจจุบันคนไทยมีการดิ้นรนแสวงหาให้ได้ครอบครองวัตถุรุนแรงมาก บางคนต้อง ทำงานหามรุ่งหามค่ำ บางคนไม่มีเงินเพียงพอก็ใช้วิธีผ่อนเป็นงวด ๆ และบางคนไม่มีทางเลือกอื่น ก็ใช้วิธีโจรกรรม ทำการปล้น จน เป็นข่าวปรากฏในสื่อต่าง ๆ ให้ผู้คนหวาดผวาอยู่เป็นประจำ อาจกล่าวได้ว่า สาเหตุของอาชญากรรม ส่วนหนึ่งมาจากการเป็นนักบริ โภคนิยมนักวัตถุนิยม ชนิดที่เรียกว่าหลงหน้ามืดไปตามกระแสนี้ทีเดียว นอกจากนั้น เราไม่สามารถปฏิเสธได้ว่า บริโภคนิยม และ วัตถุนิยม ก็คือ คุณค่าที่คนเราวัดกันด้วยตัววัตถุ ขณะนี้กำลังรุนแรงมากขึ้น ถ้าท่านแต่งตัวมอมแมมเข้าไปในโรงแรมระดับห้าดาว จะไม่มีใครยอมให้ท่านเข้าไปข้างในเลย แม้ท่านจะบอกว่าท่านเป็นคนดีมีศีลธรรม มีศีลห้าไม่ด่างพร้อย ในทางกลับกัน ถ้าแต่งตัว สวยหรูล้ำสมัย จะสามารถเข้าไปได้อย่างสบาย พร้อมกับการคำนับสวย ๆ จากพนักงานต้อนรับ โดยไม่ต้องสอบถามความเป็นมาว่า เป็นใคร ดี หรือเลว นี้เป็นการวัดคุณค่าของบุคคลด้วยวัตถุที่เห็นได้ชัดในปัจจุบัน และอีกอย่างหนึ่งคนที่ไม่ไปตามกระแสก็ถูกมอง ว่า เป็นคนไม่ทันสมัย และเกิดเป็นปัญหาขึ้น เราจะเห็นได้จาก กรณีปัญหาโสเภณีวัยรุ่นที่มีจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อเจาะลึกไปถึง สาเหตุการเป็นโสเภณี พวกเขายอมรับว่า เป็นโสเภณีเพื่อต้องการมี เงิน มีเพจเจอร์ มีโทรศัพท์มือถือ เหมือนเพื่อนคนอื่น ๆ ไม่ต้อง การถูกมองว่าเป็นคนล้าสมัย การมีแนวคิดในลักษณะนี้ เกิดเป็นค่านิยมที่มองคนอื่นที่ไม่มีวัตถุที่ตัวเองมีเหมือนอย่างประเทศที่ พัฒนาแล้วว่า เป็นคนล้าสมัย โดยวัดความล้าสมัย ความทันสมัยเอาที่ตัววัตถุ ไม่มองคุณค่าภายในจิตใจ นอกจากจะคุกคามในสังคมทั่วไปแล้ว กระแสบริโภคนิยม วัตถุนิยม ยังรุกราน ทำให้วงการสงฆ์ปั่นป่วนไปทั่ว ปัจจุบันมีข่าว ความประพฤติเสื่อมเสียของพระสงฆ์บ่อยมาก แต่ละกรณีล้วนทำให้วงการสงฆ์ได้รับผลกระทบไม่น้อย กรณีที่เห็นได้ชัดเจน เช่น กรณีเจ้าอาวาสวัดหนึ่ง ที่เรี่ยไรเงินจำนวนมากจากประชาชนโดยใช้วิธีทางธุรกิจ เพื่อนำมาสร้างเจดีย์ และยักยอกที่ดินเป็นกรรม สิทธิ์ของตัวเอง ทำให้คนส่วนหนึ่งเริ่มมองพระสงฆ์ว่าเป็นนักธุรกิจ เข้ามาบวชในศาสนาเพื่อหวังผลประโยชน์ ในการเลี้ยงชีพทำ ให้ประชาชนเกิดความเสื่อมศรัทธาต่อพระสงฆ์เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แม้การเป็นนักบริโภคนิยม นักวัตถุนิยม จะถือว่าเป็นเรื่องไม่แปลกสำหรับชาวบ้านธรรมดา ถ้าเป็นไปอย่างสุจริต แต่ในทาง พระสงฆ์เป็นเรื่องขัดแย้งกันมากเนื่องจาก การเป็นเพศบรรพชิต หมายถึง การสละทุกสิ่งทุกอย่าง อันเป็นความสุขทางโลก ไม่เกี่ยว ข้องกับการสะสม การได้เสพความสุขอย่างชาวบ้านมีกัน แล้วมุ่งตรงต่อการหาความสุขภายในที่ประณีต กระทั่งถึงการตัดกิเลส สิ้นทุกข์ได้สิ้นเชิง และการดำเนินชีวิตของพระสงฆ์ในสายตาชาวบ้าน หรือโดยหลักจริง ๆ พระสงฆ์ต้องดำเนินชีวิตที่สันโดษ เรียบง่าย ไม่มีพันธะ เมื่อพระสงฆ์เป็นนักบริโภคนิยม เป็นนักสะสม จึงเป็นการทวนต่อหลักการความเป็นเพศบรรพชิตของตน ดังนั้นจึงทำให้ชาวบ้านเริ่มมีความสงสัยว่าการเป็นพระสงฆ์มีจุดหมายอย่างไร กันแน่ ? ถึงกระนั้นปัจจุบันพระสงฆ์ก็มีแนวโน้มไปในทางกระแสบริโภคนิยม วัตถุนิยมมากขึ้น จะเห็นได้ว่า ตามวัดต่าง ๆ มีการบอก บุญเรี่ยไร ชาวบ้านให้ทำบุญ สร้างศาสนวัตถุมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นโบสถ์ ศาลาการเปรียญ เจดีย์โดยที่ทางวัดก็มีศาสนวัตถุเหล่านี้ เรียบร้อยแล้ว การเรี่ยไรมีตั้งแต่การขอบริจาคที่วัด จนถึงการโอนผ่านบัญชีธนาคาร และหากเราจะสังเกต จะพบว่า พระเถระระดับ ผู้ใหญ่มีตำแหน่งในการปกครองคณะสงฆ์ส่วนมาก ล้วนมีรถยนต์ยี่ห้อหรู ไว้ใช้ส่วนตัวทั้งนั้น หรือถ้าหากมีคนถวายไว้ใชัสอย ก็ไม่ จำเป็นที่ท่านเหล่านั้นต้องนำมาเป็นสมบัติส่วนตัว อีกอย่างหนึ่ง ตามสถานีวิทยุต่าง ๆ ที่พระจัดรายการ จะนิยมชักชวนญาติโยมให้ ทำบุญในการสร้างศาสนวัตถุมากกว่า การสั่งสอนหลักธรรมที่แท้จริงแก่ญาติโยม และเมื่อไม่นานมานี้ข่าวหลวงพ่อสะสมรถเบนซ์ คงจะพอทำให้ประเด็นนี้เด่นชัดขึ้น ยิ่งความเจริญทางวัตถุ ทางเทคโนโลยีรุดหน้าไปมากเพียงใด ดูเหมือนพระสงฆ์ก็มีแนวโน้ม หลงไหลไปตามกระแส บริโภคนิยม วัตถุนิยมมากขึ้น สาเหตุส่วนหนึ่งน่าจะมาจากการที่พระสงฆ์มีพื้นเพทางฐานะครอบครัวค่อนข้างยากจน และความอยากภายในตัวพระสงฆ์ เอง กล่าวได้ว่า จำนวนส่วนมากของพระสงฆ์ไทย มาจากฐานะครอบครัวที่ค่อนข้างยากจน ตามชนบท มีการนิยมให้ลูกชายบวช เรียนกันมาก เนื่องจากบิดามารดาไม่สามารถจะส่งเสียให้ลูกได้เรียนสูงขึ้นไปได้ การนำบุตรเข้ามาบวชเรียนในพระพุทธศาสนา จึง เป็นทางเลือกหนึ่งที่บิดามารดาเชื่อว่าจะเป็นโอกาสดีที่บุตรจะได้เรียนสูงขึ้น และเชื่อว่ายังเป็นการสร้างกุศลให้กับบิดามารดา อีก ด้วย เพราะเป็นการสืบต่ออายุพระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งที่เข้ามาบวช ถ้าสามารถอยู่เป็นพระในพระศาสนาต่อไปได้ แต่ยังไม่ละทิ้ง ความอยากมี อันเป็นพื้นเพเดิมของตัวเอง เมื่อโอกาสอำนวยให้ก็ทำการสนองต่อความอยากนั้น โดยไม่คำนึงถึงภาวะเพศบรรพชิต ของตนเอง เกิดเป็นกระแสฆราวาสมีอย่างไร ทันสมัยอย่างไร เราก็ต้องมีอย่างนั้นเหมือนกัน จากการที่พระสงฆ์มีแนวโน้มไปในทางเป็นนักบริโภคนิยม และนักวัตถุนิยม มีผลกระทบต่อศรัทธาที่ชาวบ้านมีให้ต่อพระ สงฆ์และการเผยแผ่พระศาสนาของพระสงฆ์เป็นอย่างมาก เพราะพระสงฆ์โดยการเลี้ยงชีวิตแล้ว ต้องอาศัยชาวบ้านในด้านปัจจัยสี่ ที่ชาวบ้านมีศรัทธานำมาถวาย พระสงฆ์เองโดยหลักแล้ว ต้องเป็นผู้นำทางด้านจิตวิญญาณแก่ชาวบ้าน และในสายตาของชาวบ้าน พระสงฆ์ไม่ควรยึดติดในสิ่งต่าง ๆ แต่เมื่อพระสงฆ์กลับเป็นเจ้าของสิ่งต่าง ๆ ที่ทันสมัย ในขณะที่แม้แต่ชาวบ้านที่ใส่บาตรเป็น ประจำ ก็ยังหาเช้ากินค่ำ หาเลี้ยงชีวิตไปวัน ๆ ไม่อาจเอื้อมถึงได้ในชีวิตนี้ จึงเกิดเป็นช่องว่างระหว่างพระสงฆ์กับชาวบ้าน ความ สัมพันธ์ระหว่างพระสงฆ์ กับชาวบ้านเริ่มลดน้อยลง จากการมองพระสงฆ์เป็นเนื้อนาบุญก็จะลดน้อยลง ในที่สุดการสงเคราะห์โดย มีศรัทธาเป็นสะพานเชื่อมก็สูญสิ้นไป การเผยแผ่ธรรมของพระสงฆ์ต้องชะงักไปด้วย เพราะชาวบ้านไม่ยอมรับ ผลจากการที่พระ สงฆ์ไม่ประพฤติอยู่ในกรอบของความเป็นพระสงฆ์ที่พอจะให้ชาวบ้านเชื่อถือได้บ้าง ความจริงถ้าหากพระสงฆ์ปฏิบัติตามหลักที่แท้จริงของพระพุทธศาสนา แล้ว พระสงฆ์จะไม่เป็นนักบริโภคนิยม นักวัตถุนิยม หลักธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนไม่ได้ส่งเสริมให้เหล่าสาวกเป็นนักบริโภค นิยม นักวัตถุนิยม ในธัมมจักกัปปวัตนสูตร พระพุทธเจ้าตรัสตำหนิพวกที่ปฏิบัติไปในทำนองที่เป็นพวกกามสุขัลลิกานุโยค คือ พวกที่ปฏิบัติไปในแนวหมกมุ่นอยู่ในกาม แสวง หาความสุขสุดโต่งไปในทางวัตถุ ซึ่งเป็นแนวปฏิบัติที่หย่อนเกินไป และตรัสไม่ให้เหล่าสาวกดำเนินไปตามแนวทางนี้ อันเป็นแนว ทางที่บรรพชิตไม่ควรปฏิบัติเป็นการประพฤติของปุถุชน ไม่ประกอบด้วยมรรค เปล่าประโยชน์ และโดยพื้นฐานพระพุทธศาสนา เกิดขึ้นจากการมองเห็นบริโภคนิยมวัตถุนิยมว่าเป็นสิ่งไร้สาระ ไม่นำมาซึ่งความสุขที่แท้จริง จะเห็นได้ว่าพระพุทธเจ้าก่อนจะทรง ออกผนวชก็ทรงบริบูรณ์ด้วยทรัพย์สมบัติที่ให้ความสำราญแก่พระองค์ได้โดยไม่ต้องลำบากตลอดชีวิต แต่เมื่อมองเห็นความไม่มี แก่นสารของสิ่งเหล่านี้ พระองค์จึงออกผนวช บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ เผยแผ่หลักธรรมแก่เหล่าเวไนยสัตว์ แม้แต่วินัยของ พระสงฆ์ก็มีหลายสิกขาบทที่พระพุทธเจ้าบัญญัติเพื่อป้องกันไม่ให้พระสงฆ์ ยินดีในแนวปฏิบัติไปในทางบริโภคนิยม วัตถุนิยม เช่น สิกขาบทที่ 20 แห่งนิสสัคคียปาจิตตีย์ว่า "ภิกษุใดถึงการซื้อและการขายมีประการต่าง ๆ เป็นนิสสัคคียปาจิตตีย์" ในสิกขาบทที่ 19 แห่งนิสสัคคียปาจิตตีย์ ว่า " ภิกษุใดถึงความแลกเปลี่ยนด้วยรูปิยะมีประการต่าง ๆ เป็นนิสสัคคียปาจิตตีย์ " เป็นต้น โดยที่สุดหากลุ ุแก่ความอยาก อยากมีวัตถุไว้ครอบครองถือเอาของสิ่งของที่คนอื่นไม่ให้มีราคามากกว่า 5 มาสกขึ้นไป ปรับอาบัติถึงขั้นขาดจาก ความเป็นภิกษุ คือ "อาบัติปาราชิก" การที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนโดยตรัสการเป็นนักบริโภคนิยม นักวัตถุนิยมว่าเป็นพวกกามสุขัลลิกานุโยค ไม่ได้หมายให้พระ สงฆ์ตัดขาดจากการดำรงชีวิตโดยไม่อาศัยวัตถุอย่างสิ้นเชิงเลย ในธัมมจักกัปปวัตนสูตร พระพุทธเจ้าทรงตำหนิการปฏิบัติไปใน แนวกามสุขัลลิกานุโยคก็จริง แต่ก็ทรงสั่งสอนสาวกให้ดำเนินตามทางสายกลางหรือมัชฌิมาปฏิปทาด้วย ซึ่งประกอบด้วยอริยมรรค มีองค์ ๘ อันจะนำไปสู่การหลุดพ้นอย่างแท้จริง คือไม่ให้หมกมุ่นอยู่กับการหาความสุขภายนอกมากเกินไป แต่ถึงอย่างไรก็ตาม พระองค์ยังตรัสย้ำให้เหล่าสาวกมักน้อยสันโดษอยู่บ่อย ๆ เนื่องจากทรงประสงค์ให้เหล่าสาวกมีชีวิตที่สันโดษเรียบง่ายพอใจใน สิ่งที่มี ให้สาวกมุ่งต่อการขจัดอกุศลออกไปเป็นหลัก ดังจะเห็นได้จากการที่พระองค์ตรัสไว้หลายแห่งเช่นตรัสว่า "ความไม่สันโดษเป็นเหตุให้เกิดของอกุศลธรรม และทำให้กุศลธรรมเสื่อมไปส่วนความสันโดษทำให้กุศลธรรมเกิดขึ้นและ ทำให้อกุศลธรรมเสื่อมไป"(องฺ เอก. 20/14/65-66) และตรัสว่า "ความมักมากเป็นเหตุให้อกุศลธรรมเกิดขึ้น ให้กุศลธรรมเสื่อมไป ส่วนความมักน้อยเป็นเหตุให้กุศลธรรมเกิดขึ้น ให้อกุศลธรรมเสื่อมไป"(องฺ เอก. 20/14/63-64) เนื่องจากการที่พระสงฆ์มักมากไม่สันโดษจะทำให้พระสงฆ์ยึดติดอยู่กับสิ่งที่ได้ครอบครองอยู่ เป็นเหตุให้ไม่พากเพียรใน การยังมรรคผลให้เกิดขึ้น หากสังเกตจะพบว่าพระพุทธเจ้าตรัสว่า " ความมักมาก" หรือตรัสว่า "สันโดษ" เท่านั้น แต่พระองค์ไม่ ่ได้ตรัสว่า ไม่ให้มีหรือไม่ให้ครอบครองอะไรอย่างสิ้นเชิงเลย แต่การมีหรือการครอบครองอะไรต้องอยู่ในขอบเขตที่เหมาะสมแก่ พระสงฆ์ที่มีได้ เพราะฉะนั้นแล้ว ในยุคที่กระแสบริโภคนิยม วัตถุนิยม เป็นกระแสรุนแรงในสังคม ผู้คนต่างแข่งขันกันเพื่อให้ได้เสพได้ ครอบครอง เกิดเป็นสังคมที่เป็นไปในแนวมือใครยาวสาวได้สาวเอา เกิดปัญหามากมายในสังคม น่าจะเป็นโอกาสที่พระสงฆ์จะเป็น ผู้นำหลักธรรมของพระพุทธเจ้ามาช่วยผ่อนคลายต่อกระแสนี้ และพระสงฆ์เองควรจะตระหนัก วางท่าทีต่อกระแสนี้ให้เหมาะสม โดยไม่ลืมหน้าที่หลักที่ตนจะต้องทำคือ การสมาทานในอธิศีลสิกขา การสมาทานในอธิจิตสิกขา การสมาทานในอธิปัญญาสิกขา พระสงฆ์จะสามารถดำรงอยู่ในท่ามกลางกระแสรุนแรงของบริโภคนิยม วัตถุนิยม อย่างไม่กระทบต่อศรัทธาที่ประชาชนม ีต่อพระสงฆ์เอง และสามารถนำหลักคำสอนของพระพุทธเจ้ามาแก้ปัญหาแก่ประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ หัวข้อ: Re: อะไรคือความแตกต่าง ของ สองสิ่งที่เหมือนกัน เริ่มหัวข้อโดย: komol ที่ พฤศจิกายน 16, 2010, 09:43:31 pm เรื่องนี้ นำเสนอชื่อเรื่อง ความแตกต่าง ของพระสงฆ์ ดีไหมครับ เข้าใจง่ายหน่อยนะครับ
:25: |