หัวข้อ: ยก 'วัดเหมอัศวาราม' เชื่อมสัมพันธ์ไทย-จีน เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ เมษายน 14, 2015, 10:03:39 pm (http://www.komchadluek.net/media/img/size_photo_slide/2015/04/14/bga5h57ca6hi9h5debc7h.jpg) พระพุทธศาสนาเชื่อมความสัมพันธ์ไทย-จีน พระมหา ดร.ขวัญชัย กิตฺติเมธี ป.ธ.๙ กลุ่ม "เพื่อชีวิตดีงาม" สำนักงานส่งเสริมคุณธรรมฯวัดสระเกศ รายงาน :96: :96: :96: :96: ผู้บริหารศาสนาระดับสูงจีนพบ'พระพรหมสิทธิ' นี่เป็นครั้งแรกที่ได้เดินทางมาประเทศไทย แม้อากาศร้อน แต่ใจเราไม่ร้อนกลับร่มเย็น เหมือนได้กลับบ้าน มีแต่ความรักกันและความอบอุ่น... คำกล่าวของ ฯพณฯ วัง จั้ว อัน(WANG ZUO’AN) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศาสนา ผู้บริหารสูงสุดด้านศาสนาแห่งชาติ สาธารณรัฐประชาชนจีน พร้อมด้วยคณะผู้บริหารการศาสนาแห่งชาติได้เดินทางมาเยือนประเทศไทย เพื่อศึกษาการบริหารคณะสงฆ์และแลกเปลี่ยนแนวคิดด้านศาสนากับคณะสงฆ์ไทย โดยมี "พระพรหมสิทธิ" (ธงชัย สุขญาโณ) รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดสระเกศ กรรมการมหาเถรสมาคม (มส.) ประธานสำนักงานกำกับดูแลพระธรรมทูตไปต่างประเทศ, นายกฤษศญพงษ์ ศิริ อธิบดีกรมการศาสนา(ศน.) และนายชยพล พงษ์สีดา รองผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ(พศ.) ให้การต้อนรับ เพื่อเชื่อมสัมพันธ์ศาสนาจีน-ไทย เมื่อวันที่ ๘ เมษายน ๒๕๕๘ เวลา ๑๓.๓๐ น.ที่ผ่านมา การเดินทางเพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างศาสนาของ ฯพณฯ วัง จั้ว อันในครั้งนี้เริ่มต้นจากอินเดีย เนปาล และไทยถือว่าเป็นประเทศที่ ๓ โดยท่านได้กล่าวถึงประเทศไทยว่า ประเทศไทยถือว่าเป็นประเทศที่สำคัญอย่างยิ่งทางด้านพระพุทธศาสนา ประเทศไทยถือว่าเป็นจุดศูนย์กลางของพระพุทธศาสนาของโลกก็ว่าได้ และความสัมพันธ์กันระหว่างจีนไทยนั้นก็มีมาอย่างยาวนาน และปฏิเสธไม่ได้เลยว่ามีพระพุทธศาสนาเป็นส่วนสำคัญในการผสานทางวัฒนธรรมร่วมกัน ที่จริงการพยายามเสริมสร้างความสัมพันธ์ทางด้านศาสนา เริ่มมีมาตั้งแต่ในสมัยเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) อดีตประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช โดยในครั้งนั้นประธานสงฆ์จีนพร้อมด้วยผู้บริหารด้านศาสนาระดับสูงของจีนได้เดินทางมาประเทศไทย และได้มีการตกลงที่จะให้มีความร่วมมือกันในการแลกเปลี่ยนบุคลากรด้านศาสนา ต่อมาพระพรหมสิทธิได้สืบต่อแนวคิดดังกล่าวให้เป็นรูปธรรม โดยประสานให้มีความร่วมมือ ในการจัดตั้ง "ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาเถรวาท-มหายาน" ขึ้นที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และจะมีการแลกเปลี่ยนบุคลกรด้านศาสนาในโอกาสต่อไป จากการปรึกษาหารือ ผู้บริหารสูงสุดด้านศาสนาของรัฐบาลจีน ได้กล่าวถึงการสนับสนุนต่อศาสนามากขึ้น ซึ่งขณะนี้ทางรัฐบาลจีนกำลังผ่อนปรนด้านศาสนา อันมีสาเหตุมาจากประชาชนชาวจีน มีความตื่นตัวด้านศาสนามาก รัฐบาลจีนจึงเปิดโอกาสให้ประชาชนมีอิสระในการปฏิบัติกิจทางด้านศาสนา และส่งเสริมให้มีกิจกรรมด้านศาสนามากขึ้น จะเห็นได้จากการที่รัฐบาล สนับสนุนให้มีการจัดประชุมพระพุทธศาสนานานาชาติ ณ เมืองอู๋ซี มณฑลเจียงซู ที่ผ่านมา เพื่อส่งเสริมให้พระสงฆ์จีน ได้แสดงออกถึงบทบาท และศักยภาพในระดับนานาชาติ นอกจากนั้น รัฐจีนยังมีการปรับปรุงวัดและศาสนสถาน เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก สิ่งที่เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว คือ ที่เมืองลั่วหยาง มณฑลเหอหนานของประเทศจีนก็มีการสร้างวัดไทยนิกายเถรวาทขึ้นเป็นแห่งแรก โดยมีชื่อว่า "วัดเหมอัศวาราม" หรือวัดม้าทอง โดยวัดแห่งนี้ตั้งอยู่บนเนื้อที่ของวัดไป๋หม่าซื่อ หรือที่ชาวบ้านเรียกว่าวัดม้าขาว อันเป็นวัดสำคัญและเป็นวัดในพระพุทธศาสนาแห่งแกรของจีนที่มีอายุยาวนานเกือบ ๒,๐๐๐ ปี หนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งได้รายงานคำพูดของอาจารย์ยิ่นเล่อ เจ้าอาวาสวัดม้าขาวว่า “ความสัมพันธ์ไทย-จีนเป็นเหมือนพี่กับน้อง คนไทยชอบไปที่เมืองจีน คนจีนก็ชอบไปที่เมืองไทย ด้านกายภาพมีประเทศเป็นข้อกางกั้น แต่ในทางใจแล้วเราไม่มีประเทศขวางกั้น เพราะเรานับถือพระพุทธศาสนาเหมือนกัน” ทั้งหมดนี้คือความพยายามที่จะสานความสัมพันธ์ผ่านทางคณะสงฆ์ทั้งเถรวาทและมหายานว่าแม้จะต่างกันในแง่การปฏิบัติตน แต่ก็ยังคงไว้ซึ่งหลักธรรมเดียวกัน นั่นคือ หลักธรรมว่าด้วยความสามัคคีของพุทธศาสนิกชนที่ไม่ได้แยกเขาแยกเรา มีเพียงแต่หวังความสุขสงบแห่งสังคมเป็นสำคัญ :25: :25: :25: :25: ความสัมพันธ์ไม่ว่าในประเทศหรือระหว่างประเทศเริ่มต้นที่ความเสียสละ ในตอนหนึ่งระหว่างการเข้าพบ พระพรหมสิทธิได้กล่าวว่า ถือเป็นเกียรติที่มีโอกาสต้อนรับนายวัง จั้ว อันและคณะสงฆ์จากเมืองจีน ขณะที่นายวัง จั้ว อันกล่าวว่า การมาพบในครั้งนี้อาจไม่ใช่เกียรติแก่ตัวท่านเอง แต่เป็นการให้เกียรติต่อศาสนา และศาสนานี้เองจะสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และถ้าพิจารณาจากแง่ความสัมพันธ์ของคนกับคน จนกลายเป็นสังคม เป็นประเทศ และจากประเทศสัมพันธ์ต่อกันกับประเทศอื่นๆ นั้นเริ่มต้นจากการเห็นอกเห็นใจกัน พร้อมเสียสละความสุขส่วนตัวเพื่อประโยชน์แก่สังคม ซึ่งแนวคิดดังกล่าวจะพบได้จากคำสอนทางศาสนาและลัทธิต่างๆ ในอดีตที่ผ่านมา ยวาหรลาล เนร์รูเขียนถึงโศลกหนึ่งเป็นภาษาสันสกฤตบทในหนังสือชื่อ "โฉมหน้าประวัติศาสตร์สากล" ว่า "ควรจะเสียสละประโยชน์สุขส่วนบุคคล เพื่อชุมชน และชุมชนควรจะเสียสละเพื่อประเทศชาติ" และอีกบทคัดลอกมาจากคัมภีร์ภควตาปุราณะ (Bhagavata) ว่า "ข้าพเจ้าไม่ปรารถนาที่จะได้บัลลังก์ถึงธรรมอันสูงสุด ที่ประกอบด้วยคุณสมบัติ ความสมบูรณ์ทั้ง ๘ ประการ และไม่พึงปรารถนานิพพานการสิ้นภพชาติ ขอแต่เพียงให้ข้าพเจ้ารับเอาความเศร้าโศก ความทุกข์ทรมาน ความเดือดร้อนของสรรพสัตว์ทั้งปวง ผู้ที่ต้องประสบกับความยากจนทนทุกข์ทรมาน ให้ข้าพเจ้าสามารถเข้าไปร่วมอยู่ในหมู่ของพวกเขาเหล่านั้น เพื่อที่ข้าพเจ้าจะได้สามารถช่วยพวกเขาให้พ้นไปจากความอดอยากยากจนทนทุกข์ทรมานและโศกเศร้าทั้งมวล" ขงจื้อปราชญ์ชาวจีนก็พูดในลักษณะเดียวกันว่า "ปราชญ์ไม่หลบลี้หนีหน้าไปไหน หันมาเอาใจใส่เรื่องบ้านเมือง ช่วยกันชี้แจงแสดงวิธีการปกครองที่ดี และกันไม่ได้ให้คนชั่วและคนไม่มีความรู้มาบริหารประเทศ" พระพุทธศาสนาดูจะมีวิธีและปฏิบัติชัดเจนที่สุดโดยสังเกตได้ถึงการเกิดขึ้นของ "คณะสงฆ์" แม้แต่ฝรั่งเองก็ยอมรับว่าปัจจุบันสถาบันที่ยั่งยืนที่สุดในโลก ก็คือ "สังฆะ" หรือสังคมสงฆ์ในพระพุทธศาสนา และยังไม่มีสถาบันใด องค์กรใด ที่ยั่งยืนเท่าสงฆ์ สองพันห้าร้อยกว่าปีแล้วก็ยังอยู่ได้ สาเหตุสำคัญที่ทำให้สงฆ์อยู่ได้เนื่องจากความเสียสละไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนแต่เพียงอย่างเดียว ดังที่พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) ได้อธิบายลักษณะดังกล่าวนี้ไว้ว่า หลักวินัยถือสงฆ์เป็นใหญ่ แม้แต่พระอรหันต์ก็เคารพสงฆ์ เวลามีเรื่องของส่วนรวมเกิดขึ้นแล้วก็ต้องมาเข้าร่วม อย่างกรณีพระอรหันต์เข้านิโรธสมาบัติ ถ้าสงฆ์เรียกเมื่อไร ต้องออกทันที การใดที่เป็นเรื่องของสุข ทุกข์ หรือเกี่ยวกับความเจริญความเสื่อมเสียของส่วนรวม จะต้องเอาใจใส่เป็นผู้นำ ดังมีคราวหนึ่งเมื่อพระพุทธเจ้าวางวินัยให้สงฆ์สวดปาฎิโมกข์ทุกกึ่งเดือน พระมหากัปปินะซึ่งเป็นพระอรหันต์ผู้ใหญ่รูปหนึ่งพิจารณาว่าเราเป็นผู้บริสุทธิ์แล้วจะต้องไปตรวจสอบวินัยอะไรกัน พระพุทธเจ้าเสด็จไปหาท่านด้วยพระองค์เองเลยแล้วตรัสว่า เธอเป็นพระอรหันต์นี่แหละ ต้องเป็นผู้นำ ถ้าเธอไม่ทำแล้วใครจะทำ ฉะนั้น พระอรหันต์จึงถือประโยชน์สุขของส่วนรวมเป็นสำคัญ ถ้ามีอะไรเป็นเรื่องกระทบกระเทือนเกิดขึ้นแก่ส่วนรวม พระอรหันต์ก็จะเป็นผู้นำทันที เป็น พระมหากัสสปะริเริ่มชวนพระอรหนัต์ทั้งหลายทำสังคายนา แนวคิดเรื่องความเสียสละที่พระพุทธศาสนาและลัทธิอื่นๆ ได้กล่าวไว้จึงกลายเป็นสาเหตุที่ทุกคนในโลกควรตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าวเสีย เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ยังยืนได้ต่อไป ans1 ans1 ans1 ans1 ก้าวต่อไปของความสัมพันธ์ไทย-จีน ระหว่างการหารือพระพรหมสิทธิได้สอบถามถึงกรณีที่ประเทศจีนห้ามพระสงฆ์ไทยเข้าประเทศจีนที่ปรากฎอยู่ผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย ฯพณฯ วัง จั้ว อันได้กล่าวว่า น่าจะเป็นการเข้าใจผิดมากกว่า เพราะรัฐบาลจีนในปัจจุบันให้อิสระต่อการนับถือศาสนาอย่างมาก นอกจากนั้นยังให้การสนับสนุนกิจการด้านศาสนาโดยเฉพาะการมาเยือนครั้งนี้เพื่อสร้างความสัมพันธ์กับไทยในเรื่องพระพุทธศาสนามหายานในจีน-เถรวาทในไทย และเมื่อย้อนหลังไปในอดีต เคยมีพระผู้ใหญ่ฝ่ายมหายานได้กล่าวเมื่อประมาณ ๓๐ ปีมาแล้วว่า พระพุทธศาสนาเหมือนต้นไม้ใหญ่และมีสองกิ่งใหญ่ๆ กิ่งหนึ่งเป็นเถรวาท กิ่งหนึ่งเป็นมหายาน แต่เป็นต้นไม้ต้นเดียวกัน คือ "พระพุทธศาสนา" และต่อมาในงานวันวิสาขาบูชานานาชาติ ที่จัดขึ้นที่ประเทศไทย โดยที่ประชุมได้ออกแถลงการณ์ให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาโลก เมื่อพุทธศักราช ๒๕๔๘ ใน เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) ได้กล่าวแก่ชาวพุทธทั่วโลกถึงความเป็นอันเดียวกันของผู้นับถือพระพุทธศาสนาไม่ว่าจะเป็นนิกายไหนก็ตามว่า "ขอให้ท่านทั้งหลายได้มีพลังทุกส่วนในการที่จะนำพระพุทธศาสนาขึ้นไปสู่ความเป็นดวงประทีปแห่งโลก และสามารถดับทุกข์ร้อนได้กลับไปยังประเทศของท่านด้วยความสวัสดี และด้วยความชื่นใจว่าที่ประเทศไทยนี้เอง ท่านทั้งหลายได้มีพี่น้องเกิดขึ้นแล้วจากประเทศต่างๆ ถึง ๑๔๐ ประเทศ" ก้าวต่อไปนี้จึงนับเป็นก้าวสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่จะมอบความสว่างไสวให้แก่สังคม เป็นที่พึ่งสำหรับผู้แสวงหาความสุขสงบ และที่สำคัญเหนืออื่นใดทำให้สหายได้พบกับสาย มิตรได้เจอกับมิตร และครอบครัวได้กลับมาพร้อมหน้ากันอีกครั้ง เป็นเหมือนการกลับมาบ้าน ที่มีแต่ความรักกันและความอบอุ่นให้แก่กัน ตามคำกล่าวของนายวัง จั้ว อัน ขอบคุณภาพข่าวจาก http://www.komchadluek.net/detail/20150414/204699.html (http://www.komchadluek.net/detail/20150414/204699.html) |