หัวข้อ: เด็กวัดอาสา รักษ์ปลาหน้าวัด เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ เมษายน 19, 2015, 09:06:13 pm (http://www.dailynews.co.th/imagecache/670x490/cover/1025230.jpeg) เด็กวัดอาสา รักษ์ปลาหน้าวัด การอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำหน้าวัดหรือศาสนสถานนั้น ส่วนงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการโครงการอนุรักษ์ปลาหน้าวัดมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะวัดหรือศาสนสถานที่ติดกับแหล่งน้ำทั้งเปิดและปิด ที่วัดหงษ์ปทุมาวาส จ.ปทุมธานี นายจุมพล สงวนสิน อธิบดีกรมประมง เป็นประธานเปิดโครงการ “เด็กวัดอาสา รักษ์ปลาหน้าวัด” หลังทรัพยากรสัตว์น้ำบริเวณหน้าวัดบริเวณริมฝั่งลำน้ำเจ้าพระยามีปริมาณลดลง เนื่องจากมีการฝ่าฝืนต่อมาตรการด้านประมง ซึ่งได้กำหนดให้พื้นที่บริเวณวัดวาอารามเป็นพื้นที่ห้ามจับสัตว์น้ำเพื่อการอนุรักษ์พ่อแม่พันธุ์สัตว์น้ำให้มีโอกาสได้แพร่ขยายพันธุ์ต่อไป สังคมไทยถูกปลูกฝังจากรุ่นสู่รุ่นในการช่วยกันอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำ และหากเราจะต้องนึกถึงเขตอภัยทานก็จะเข้าใจตรงกันได้ว่าเป็นพื้นที่ห้ามจับสัตว์น้ำ แต่ในปัจจุบันเขตพื้นที่อภัยทานกลับกลายเป็นพื้นที่เป้าหมายของกลุ่มคนบางกลุ่มในการวางข่ายจับปลาจนทำให้จำนวนสัตว์น้ำในเขตอภัยทานลดน้อยลง ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์เชิงวัฒนธรรมและทำให้เกิดความเดือดร้อนต่อผู้เกี่ยวข้องในบางพื้นที่ :96: :96: :96: :96: การอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำหน้าวัดหรือศาสนสถานนั้น ส่วนงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการโครงการอนุรักษ์ปลาหน้าวัดมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะวัดหรือศาสนสถานที่ติดกับแหล่งน้ำทั้งเปิดและปิด โดยมีวัตถุประสงค์ในการกำหนดให้มีเขตพื้นที่อภัยทานหรือเขตที่รักษาพืชพันธุ์ เพื่อให้พื้นที่ดังกล่าวเป็นแหล่งต้นทุนพ่อแม่พันธุ์สัตว์น้ำเพื่อผลิตทรัพยากรประมงที่สำคัญประจำแหล่งน้ำอย่างยาวนาน โดยเฉพาะในช่วงฤดูปลามีไข่พ่อแม่พันธุ์สัตว์น้ำบางชนิดจะเคลื่อนย้ายไปผสมพันธุ์และวางไข่บริเวณต้นน้ำผลิตลูกปลาวัยอ่อนเป็นจำนวนมากคืนสู่แหล่งน้ำ ดังนั้นการรักษาแหล่งพ่อแม่พันธุ์สัตว์น้ำหรือธนาคารพ่อแม่พันธุ์ จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำให้คงความหลากหลายและคงความอุดมสมบูรณ์ ถือเป็นความมั่นคงด้านอาหารของประเทศ (http://www.dailynews.co.th/imagecache/670x490/cover/1025231.jpeg) การอนุรักษ์ปลาหน้าวัดนั้น เป็นมาตรการที่อาศัยอำนาจตามกฎหมายตามพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 มาตรา 7 มาตรา 8 ได้กำหนดให้บางพื้นที่เป็นที่ห้ามจับสัตว์น้ำ ซึ่งตามกฎหมายประมงจะเรียกพื้นที่บริเวณนั้นว่า “ที่รักษาพืชพันธุ์” การกำหนดให้เป็นที่รักษาพืชพันธุ์ได้นั้นจะต้องอยู่ในอำนาจของคณะกรรมการจังหวัดซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานในการออกคำสั่งจังหวัดประกาศกำหนดพื้นที่รักษาพืชพันธุ์ของแต่ละจังหวัด สำหรับผู้ที่ฝ่าฝืนมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท จำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือทั้งจำทั้งปรับ และมาตรา 9 วรรคแรก ซึ่งห้ามมิให้บุคคลใดทำการประมงหรือเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมประมง นอกจากนี้ยังมีมาตรการต่าง ๆ ภายใต้ความร่วมมือของคนในชุมชนในการช่วยกันควบคุมกำกับ รวมถึงการใช้กติกาของชุมชนเพื่อร่วมกันคุ้มครองปลาหน้าวัด :25: :25: :25: :25: ล่าสุดได้มีการจัดทำโครงการ “เด็กวัดอาสารักษ์ปลาหน้าวัด” ขึ้น โดยกรมประมงนำร่องวัดที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาจำนวน 60 วัด จาก 457 วัด เริ่มตั้งแต่จังหวัดกรุงเทพฯ นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี และชัยนาท โดยสร้างกลุ่มเยาวชนเด็กวัดและเยาวชนรอบ ๆ วัดให้เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำ ในรูปแบบการเฝ้าระวัง แจ้งข่าว เพื่อการแจ้งเตือนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป ต่อผู้ที่เข้ามากระทำความผิด. ขอบคุณภาพข่าวจาก www.dailynews.co.th/Content/agriculture/315036/เด็กวัดอาสา+รักษ์ปลาหน้าวัด (http://www.dailynews.co.th/Content/agriculture/315036/เด็กวัดอาสา+รักษ์ปลาหน้าวัด) |