สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

พระไตรปิฏก => พระธรรมตามพระไตรปิฏก => ข้อความที่เริ่มโดย: raponsan ที่ พฤษภาคม 04, 2015, 08:20:34 am



หัวข้อ: มหาปัญญา ปัญญาของพระสารีบุตร พระเถระผู้ไหว้สามเณรอายุ ๗ ขวบ
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ พฤษภาคม 04, 2015, 08:20:34 am
(http://www.trueplookpanya.com/userfiles/4521.jpg)

มหาปัญญา ปัญญาของพระสารีบุตร พระเถระผู้ไหว้สามเณรอายุ ๗ ขวบ
อรรถกถา สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เทวปุตตสังยุต นานาติตถิยวรรคที่ ๓ สุสิมสูตรที่ ๙

    (ยกมาแสดงบางส่วน)..สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดังนี้ว่า
    ดูก่อนอานนท์ โดยเหตุใดแล ภิกษุย่อม...
         เป็นผู้ฉลาดในธาตุ ๑
         เป็นผู้ฉลาดในอายตนะ ๑
         เป็นผู้ฉลาดในปฏิจจสมุปบาท ๑
         เป็นผู้ฉลาดในฐานะและอฐานะ ๑.
    ดูก่อนอานนท์ ด้วยเหตุเพียงนั้นแล ภิกษุนั้นควรเรียกว่า ภิกษุบัณฑิต ดังนี้.

    ในบทว่า มหาปญฺโญ เป็นต้น ความว่า ประกอบด้วยมหาปัญญา เป็นต้น. ความมีปัญญามาก เป็นต้น
    ในบทว่า มหาปญฺโญ เป็นต้น นั้นต่างกันดังนี้.

    มหาปัญญาเป็นไฉน
    ชื่อว่า มหาปัญญา เพราะกำหนดถือศีลขันธ์อย่างใหญ่.
    ชื่อว่า มหาปัญญา เพราะกำหนดถือสมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ วิมุตติขันธ์ วิมุตติญาณทัสสนขันธ์อย่างใหญ่.
    ชื่อว่า มหาปัญญา เพราะกำหนดถือฐานะและอฐานะอย่างใหญ่ วิหารสมาบัติอย่างใหญ่ อริยสัจอย่างใหญ่ สติปัฏฐาน สัมมัปปธาน อิทธิบาทอย่างใหญ่ อินทรีย์และโพชฌงค์อย่างใหญ่ อริยมรรคอย่างใหญ่ สามัญญผลอย่างใหญ่ อภิญญาอย่างใหญ่ ปรมัตถนิพพานอย่างใหญ่.


(http://travel.mthai.com/wp-content/uploads/2014/10/150518_535139263164350_1439165374_n.jpg)

    ก็มหาปัญญานั้นปรากฏแก่พระเถระ เมื่อพระศาสดาเสด็จลงจากเทวโลก ประทับยืน ณ ประตูสังกัสสนคร ตรัสถามปัญหา ชื่อว่า ปุถุชนปัญจกะ แล้วทูลถวายวิสัชนาปัญหานั้น.

    ปุถุปัญญาเป็นไฉน.
    ชื่อว่าปุถุปัญญา เพราะญาณเป็นไปในขันธ์ต่างๆ แน่นหนา... เป็นไปในธาตุต่างๆ แน่นหนา... ในอรรถต่างๆ แน่นหนา... ในปฏิจจสมุปบาทต่างๆ แน่นหนา... ในความหน่วงสุญญตาต่างๆ แน่นหนา... ในอรรถธรรมนิรุกติปฏิภาณแน่นหนา... ในสีลขันธ์ต่างๆ แน่นหนา... ในสมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ วิมุตติขันธ์ วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ต่างๆ แน่นหนา... ในฐานะและอฐานะต่างๆ แน่นหนา... ในวิหารสมาบัติต่างๆ แน่นหนา... ในอริยสัจต่างๆ แน่นหนา... ในสติปัฏฐาน สัมมัปปธาน อิทธิบาท อินทรีย์ พละ โพชฌงค์ต่างๆ แน่นหนา... ในอริยมรรค สามัญญผล อภิญญาต่างๆ แน่นหนา.. ญาณเป็นไปในปรมัตถนิพพาน ล่วงธรรมที่ทั่วไปแก่ชนต่างๆ แน่นหนา.

    ชื่อว่า หาสปัญญาเป็นไฉน
    ชื่อว่า หาสปัญญา เพราะบางคนในโลกนี้ มีความร่าเริง แช่มชื่น ยินดี ปราโมทย์ บำเพ็ญศีล บำเพ็ญอินทรียสังวร บำเพ็ญโภชเนมัตตัญญุตา ชาคริยานุโยค สีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ วิมุตติขันธ์ วิมุตติญาณทัสสนขันธ์.
    ชื่อว่า หาสปัญญา เพราะเป็นผู้มากด้วยความร่าเริง ปราโมทย์ แทงตลอดฐานะและอฐานะ.
    ชื่อว่า หาสปัญญา เพราะเป็นผู้มากด้วยความร่าเริง บำเพ็ญวิหารสมาบัติ.
    ชื่อว่า หาสปัญญา เพราะเป็นผู้มากด้วยความร่าเริง แทงตลอดอริยสัจ.
    ชื่อว่า หาสปัญญา เพราะอบรมสติปัฏฐาน สัมมัปปธาน อิทธิบาท อินทรีย์ พละ โพชฌงค์ อริยมรรค.
    ชื่อว่า หาสปัญญา เพราะเป็นผู้มากด้วยความร่าเริง กระทำให้แจ้งสามัญญผล แทงตลอดอภิญญา.
    ชื่อว่า หาสปัญญา เพราะเป็นผู้มากด้วยความร่าเริง มากด้วยความแช่มชื่น ยินดีปราโมทย์ กระทำให้แจ้งปรมัตถนิพพาน.               
    ชื่อว่า หาสปัญญา ก็เพราะพระเถระ ครั้งเป็นดาบสชื่อนารท กระทำความปรารถนาเป็นพระอัครสาวก แทบเบื้องพระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าอโนมทัสสี นับตั้งแต่ครั้งนั้นมา ก็เป็นผู้มากด้วยความร่าเริง กระทำการบำเพ็ญศีลเป็นต้น.

    ชวนปัญญาเป็นไฉน
    ชื่อว่า ชวนปัญญา ก็เพราะปัญญาพิจารณาเห็นรูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน ทั้งไกล ทั้งใกล้ รูปทั้งหมดโดยเป็นของไม่เที่ยง แล่นไปเร็ว.
    ชื่อว่า ชวนปัญญา ก็เพราะปัญญาพิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นทุกข์ แล่นไปเร็ว โดยความเป็นอนัตตา แล่นไปเร็ว.
    ชื่อว่า ชวนปัญญา ก็เพราะพิจารณาเห็นเวทนา ฯลฯ วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่งทั้งที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน วิญญาณทั้งหมด โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา แล่นไปเร็ว.
    ชื่อว่า ชวนปัญญา ก็เพราะพิจารณาจักษุ ฯลฯ ชรามรณะทั้งที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา แล่นไปเร็ว.
    ชื่อว่า ชวนปัญญา ก็เพราะพิจารณาใคร่ครวญแจ่มชัดจะแจ้งว่า รูปทั้งที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน.
    ชื่อว่าไม่เที่ยง เพราะอรรถสิ้นไป.
    ชื่อว่าทุกข์ เพราะอรรถว่าน่ากลัว.
    ชื่อว่าอนัตตา เพราะหาแก่นสารมิได้ แล่นไปเร็วในพระนิพพานเป็นส่วนดับแห่งรูป.

    ชื่อว่า ชวนปัญญา ก็เพราะพิจารณาใคร่ครวญแจ่มชัดจะแจ้งว่า เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จักษุ ฯลฯ ชรามรณะทั้งที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน
    ชื่อว่าไม่เที่ยงเพราะอรรถว่าสิ้นไป ฯลฯ แล่นไปเร็วในพระนิพพาน เป็นส่วนดับแห่งชรามรณะ.
    ชื่อว่า ชวนปัญญา ก็เพราะพิจารณาใคร่ครวญแจ่มชัดจะแจ้งว่า รูปทั้งที่เป็นอดีตอนาคตปัจจุบัน ฯลฯ วิญญาณ จักษุ ฯลฯ ชรามรณะ ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีอันสิ้นไป เสื่อมไป ดับไปเป็นธรรมดา แล่นไปเร็วในพระนิพพานเป็นส่วนดับแห่งชรามรณะ.


(http://www.cb.ac.th/omene/wp-content/uploads/sites/43/2014/06/60.jpg)

    ติกขปัญญาเป็นไฉน.
    ชื่อว่า ติกขปัญญา เพราะตัดกิเลสทั้งหลายได้เร็ว.
    ชื่อว่า ติกขปัญญา เพราะไม่พักไว้ซึ่งกามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตกที่เกิดขึ้น ไม่พักอกุศลบาปธรรมที่เกิดขึ้นอีก ไม่พัก ละ บรรเทา ทำให้สิ้น ทำให้ไม่มีซึ่งราคะโทสะโมหะ โกธะ อุปนาหะ มักขะ ปลาสะ อิสสา มัจฉริยะ มายา สาไถย ถัมภะ สารัมภะ มานะ อติมานะ มทะ ปมาทะที่เกิดขึ้นแล้ว กิเลสทุจริตทั้งหมด อภิสังขารทั้งหมด กรรมที่ให้ถึงสังสารภพทั้งหมด.
     ชื่อว่า ติกขปัญญา เพราะปัญญาที่บรรลุ กระทำให้แจ้งสัมผัสมรรค ๔ สามัญญผล ๔ ปฏิสัมภิทา ๔ อภิญญา ๖ ณ ที่นั่งแห่งเดียว.

     เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้ากำลังทรงแสดงเวทนาปริคคหสูตรแก่ทีฆนขปริพาชก หลานชาย พระเถระยืนถวายงานพัด ก็ตัดกิเลสได้ทั้งหมด
     ชื่อว่า มีปัญญาแหลม ตั้งแต่แทงตลอดสาวกบารมีญาณ.
     ด้วยเหตุนั้น พระอานนทเถระจึงทูลว่า ติกฺขปญฺโญ ภนฺเต อายสฺมา สารีปุตฺโต พระเจ้าข้า ท่านพระสารีบุตรมีปัญญาแหลมดังนี้.

     นิพเพธิกปัญญาเป็นไฉน.
     ชื่อว่า นิพเพธิกปัญญา เพราะบางคนในโลกนี้มากด้วยความหวาดสะดุ้งเอือมระอาไม่ยินดีนัก เบือนหน้าหนีไม่ไยดีในสังขารทั้งปวง เจาะทำลายกองโลภะที่ไม่เคยเจาะไม่เคยทำลาย ในสังขารทั้งปวง.
     ชื่อว่า นิพเพธิกปัญญา เพราะเจาะทำลายกองโทสะกองโมหะ โกธะ อุปนาหะ ฯลฯ ที่ไม่เคยเจาะไม่เคยทำลายกรรมที่ให้ถึงภพทั้งหมด.


(http://www.dhammathai.org/nithan/data/imagedb/37.jpg)

     บทว่า อปฺปิจฺโฉ ได้แก่ เป็นผู้ประกอบด้วยลักษณะอย่างนี้ว่า ปกปิดคุณที่มีอยู่ รู้จักประมาณในการรับ นี่เป็นลักษณะของผู้มีความมักน้อย.
     บทว่า สนฺตุฏฺโฐ ได้แก่ เป็นผู้ประกอบด้วยสันโดษ ๓ ในปัจจัย ๔ คือ
            ยถาลาภสันโดษ
            ยถาพลสันโดษ
            ยถาสารุปปสันโดษ.

             ans1 ans1 ans1 ans1

    บทว่า ปวิวิตฺโต ได้แก่ ผู้ได้วิเวก ๓ เหล่านี้ คือ
           กายวิเวก ของผู้มีกายตั้งอยู่ในความสงัด ผู้ยินดีในเนกขัมมะ
           จิตตวิเวก ของผู้มีจิตบริสุทธิ์ ผู้ถึงความผ่องแผ้วอย่างยิ่ง และ
           อุปธิวิเวก ของเหล่าบุคคลผู้ไร้อุปธิ ผู้ถึงวิสังขาร.

    บทว่า อสํสฏฺโฐ ได้แก่ ผู้เว้นจากการคลุกคลี ๕ อย่างเหล่านี้ คือ
           คลุกคลีด้วยการฟัง
           คลุกคลีด้วยการเห็น
           คลุกคลีด้วยการสนทนา
           คลุกคลีด้วยการบริโภค
           คลุกคลีด้วยกาย.
     การคลุกคลี ๕ อย่างนี้ย่อมเกิดกับบุคคล ๘ จำพวก คือ
           พระราชา
           อมาตย์ของพระราชา
           เดียรถีย์ สาวกของเดียรถีย์
           อุบาสก อุบาสิกา ภิกษุ ภิกษุณี
     ความคลุกคลีแม้ทั้งหมดนั้นไม่มีแก่พระเถระ เหตุนั้น พระเถระจึงว่าผู้ไม่คลุกคลี.


(http://www.trueplookpanya.com/userfiles/1420.jpg)

     บทว่า อารทฺธวิริโย ได้แก่ เป็นผู้ประคองความเพียร มีความเพียรบริบูรณ์ในข้อนั้น ภิกษุผู้ปรารถความเพียร ย่อมไม่ยอมให้กิเลสที่เกิดขณะเดินติดมาถึงขณะยืน ไม่ยอมให้กิเลสที่เกิดขณะยืน ติดมาถึงขณะนั่ง ไม่ยอมให้กิเลสที่เกิดขณะนั่ง ติดมาถึงขณะนอน. กิเลสเกิดในที่นั้นๆ ก็ข่มไว้ได้ในที่นั้นๆ นั่นแหละ.
    ก็พระเถระมิได้เหยียดหลังบนเตียงมาถึง ๔๔ ปี.
    พระอานนทเถระหมายถึงข้อนั้นจึงทูลว่า อารทฺธวิริโย ผู้ปรารภความเพียร.

    บทว่า วตฺตา ได้แก่ เป็นผู้กล่าวกำจัดโทษ.
    พระเถระเห็นความประพฤติทรามของเหล่าภิกษุ ก็ไม่ผัดเพี้ยนว่า ค่อยพูดกันวันนี้ พูดกันวันพรุ่งนี้.
    อธิบายว่า ท่านสั่งสอนพร่ำสอนในที่นั้นๆ เลย.

     st12 st12 st12 st12

    บทว่า วจนกฺขโม ได้แก่ ย่อมทนฟังคำของผู้อื่น.
    จริงอยู่ ภิกษุรูปหนึ่งชอบสอนผู้อื่น แต่ตัวเองถูกผู้อื่นสอนเข้า ก็โกรธ.
    ส่วนพระเถระให้โอวาทแก่ผู้อื่นด้วย ตัวเองแม้ถูกโอวาท ก็ยอมรับด้วยเศียรเกล้า.

    เล่ากันมาว่า วันหนึ่ง สามเณรอายุ ๗ ขวบเรียนพระสารีบุตรเถระว่า ท่านสารีบุตรขอรับ ชายผ้านุ่งของท่านห้อยลงมาแน่ะ.
    พระเถระไม่พูดอะไรเลย ไป ณ ที่เหมาะแห่งหนึ่ง นุ่งเรียบร้อยแล้วก็มา ยืนประนมมือพูดว่า เท่านี้เหมาะไหม อาจารย์.
    พระเถระกล่าวว่า ผู้บวชในวันนั้น เป็นคนดี อายุ ๗ ขวบโดยกำเนิด ถึงผู้นั้นพึงสั่งสอนเรา เราก็ยอมรับด้วยกระหม่อมดังนี้.

    บทว่า โจทโก ได้แก่ สั่งสอนตามแบบธรรมเนียมว่า ธรรมดาว่าภิกษุ เห็นวิติกกมโทษ ในเมื่อเรื่องเกิดขึ้นแล้วก็ตาม ยังไม่เกิดขึ้นก็ตาม พึงนุ่งอย่างนี้ พึงห่มอย่างนี้ เดินอย่างนี้ ยืนอย่างนี้ นั่งอย่างนี้ เคี้ยวอย่างนี้ ฉันอย่างนี้.

     st11 st11 st11 st11

    บทว่า ปาปครหี ได้แก่ ไม่เห็นแก่คนชั่ว ไม่ฟังคำคนชั่วเหล่านั้น ไม่ยอมอยู่ในจักรวาลเดียวกับคนชั่วเหล่านั้น.
    พระอานนทเถระทูลว่า พระเจ้าข้า ท่านพระสารีบุตรตำหนิบาปด้วยเหตุ ๒ ประการ คือ ตำหนิคนชั่วอย่างนี้บ้างว่า
    มา เม กทาจิ ปาปิจฺโฉ  กุสีโต หีนวีริโย อปฺปสฺสุโต อนาทาโน สมนฺตา กตฺถจิ อหุ
    ในกาลไหนๆ ขอเพื่อนสพรหมจารีของเรา อย่าเป็นผู้มีความปรารถนาลามก เกียจคร้าน หย่อนความเพียร มีสุตะน้อย ไม่ยึดถือรอบด้าน ไม่มีในที่ไหนๆ เลย.

    ตำหนิธรรมฝ่ายชั่วอย่างนี้บ้างว่า ธรรมดาว่าสมณะไม่พึงตกอยู่ในอำนาจราคะ ในอำนาจโทสะและโมหะ ราคะโทสะโมหะที่เกิดขึ้นแล้ว พึงละเสีย ดังนี้.


ที่มา http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=303&p=1 (http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=303&p=1)
อ่าน เนื้อความในพระไตรปิฎกได้ที่
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=2026&Z=2090 (http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=2026&Z=2090)
ขอบคุณภาพจาก http://www.trueplookpanya.com/ (http://www.trueplookpanya.com/) ,  http://travel.mthai.com/ (http://travel.mthai.com/) http://www.cb.ac.th/ (http://www.cb.ac.th/) , http://www.dhammathai.org/ (http://www.dhammathai.org/)


หัวข้อ: Re: มหาปัญญา ปัญญาของพระสารีบุตร พระเถระผู้ไหว้สามเณรอายุ ๗ ขวบ
เริ่มหัวข้อโดย: kobyamkala ที่ พฤษภาคม 04, 2015, 09:37:13 am
 st11 st12 st12


หัวข้อ: Re: มหาปัญญา ปัญญาของพระสารีบุตร พระเถระผู้ไหว้สามเณรอายุ ๗ ขวบ
เริ่มหัวข้อโดย: sakol ที่ พฤษภาคม 04, 2015, 05:25:14 pm
 st11 st12 st12
   แด่ท่าน ผู้ปิดทองหลังพระ


หัวข้อ: Re: มหาปัญญา ปัญญาของพระสารีบุตร พระเถระผู้ไหว้สามเณรอายุ ๗ ขวบ
เริ่มหัวข้อโดย: PRAMOTE(aaaa) ที่ พฤษภาคม 04, 2015, 07:49:03 pm

     พระอาจารย์ที่คือสามเณรราหุล  ท่านเป็น ต้นกำเนิด กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ กรรมฐานพระศาสดา

           และท่านเป็นพุทธชิโนรส บารมีอันมากมายนั้นสั่งสมมาแต่ไกลโพ้นชาติ

    เอนกอนันต์ พระอาจารสารีบุตร ประสบแตะมีดโกน   ครั้งที่หนึ่ง พระอาจารย์ราหุลบรรลุ..........

   แตะมีดโกน  ครั้งที่สอง พระอาจารย์ราหุลบรรลุ.........แตะมีดโกนครั้งที่สาม........บรรลุ

                      และคงไม่มี เสมอเหมือนมาเปรียบอีกด้วยพุทธชิโนรสที่พระอาจารย์ราหุล องค์พุทธบุตรแห่งพระตถาคตเจ้า

                           จึงกำเนิดมีแห่งต้น กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ  ในกาลนั้น เป็นต้นมา..........จนถึงกาลนี้

                                       ขออนุโมทนาสาธุ   ในบารมีแห่งพระอาจารย์ ราหุล และครูบาอาจารย์ กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ทุกพระองค์



หัวข้อ: Re: มหาปัญญา ปัญญาของพระสารีบุตร พระเถระผู้ไหว้สามเณรอายุ ๗ ขวบ
เริ่มหัวข้อโดย: komol ที่ พฤษภาคม 05, 2015, 12:20:22 am

     พระอาจารย์ที่คือสามเณรราหุล  ท่านเป็น ต้นกำเนิด กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ กรรมฐานพระศาสดา

           และท่านเป็นพุทธชิโนรส บารมีอันมากมายนั้นสั่งสมมาแต่ไกลโพ้นชาติ

    เอนกอนันต์ พระอาจารสารีบุตร ประสบแตะมีดโกน   ครั้งที่หนึ่ง พระอาจารย์ราหุลบรรลุ..........

   แตะมีดโกน  ครั้งที่สอง พระอาจารย์ราหุลบรรลุ.........แตะมีดโกนครั้งที่สาม........บรรลุ

                      และคงไม่มี เสมอเหมือนมาเปรียบอีกด้วยพุทธชิโนรสที่พระอาจารย์ราหุล องค์พุทธบุตรแห่งพระตถาคตเจ้า

                           จึงกำเนิดมีแห่งต้น กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ  ในกาลนั้น เป็นต้นมา..........จนถึงกาลนี้

                                       ขออนุโมทนาสาธุ   ในบารมีแห่งพระอาจารย์ ราหุล และครูบาอาจารย์ กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ทุกพระองค์

พระราหุล บรรพชา 7 ขวบ องค์แรก แต่ไม่ได้บรรลุอะไร นะครับ
 ที่เป็นสามเณรแล้ว บรรลุด้วยการปลงผม คือ พระสิวลี ครับ

  :character0029: :25:


หัวข้อ: Re: มหาปัญญา ปัญญาของพระสารีบุตร พระเถระผู้ไหว้สามเณรอายุ ๗ ขวบ
เริ่มหัวข้อโดย: PRAMOTE(aaaa) ที่ พฤษภาคม 05, 2015, 07:14:42 pm

     ขออนุโมทนาสาธุ  ในท่านที่มาบอกผม

               แปลว่าผมจำผิดองค์ครับ ก็ต้องยอมรับว่าจำผิด


                   สรุปว่า....เป็นพระสีวลี    ขออนุโมทนาสาธุ