สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

กรรมฐาน มัชฌิมา => ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน => ข้อความที่เริ่มโดย: หมวยจ้า ที่ พฤศจิกายน 21, 2010, 05:40:07 am



หัวข้อ: ควรทำอย่างไรดี เมื่อกลับจากการปฏิบัติภาวนา โดยที่ไม่ผิดกับสังคม
เริ่มหัวข้อโดย: หมวยจ้า ที่ พฤศจิกายน 21, 2010, 05:40:07 am
หมวยจ้า ได้ไปเข้าอบรมธรรมที่วัดราชสิทธารามมา หลายเดือนช่วงนั้น กรรมฐาน ก้าวหน้ามาก

แต่พอกลับมาอยู่ที่พักของตนเองนั้น ก็ชอบที่จะสวดมนต์ นั่งสมาธิ เดินจงกรม แต่คนที่อยู่รอบข้างเรา

ทั้งหมดกลับมองว่าเราเป็นคนบ้า .... เลยทำให้ หมวยจ้า ไม่ได้ภาวนาแบบนั้นต่อ ซึ่งมีผลให้สมาธิ

อ่อนลงอย่างเห็นได้ชัด คงเหลือแต่นั่งกรรมฐาน ก่อนนอน และหลังตื่นนอน

อยากทราบว่า พระอาจารย์จะแนะนำให้หมวยจ้า ปฏิบัติอย่างไร เพื่อไม่ให้ขัดกับสังคมที่เราอยู่ คะ
 :25:


หัวข้อ: Re: ควรทำอย่างไรดี เมื่อกลับจากการปฏิบัติภาวนา โดยที่ไม่ผิดกับสังคม
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ พฤศจิกายน 22, 2010, 04:16:10 pm
รู้เหตุ รู้ผล รู้ตน รู้ประมาณ รู้กาล รู้สังคม รู้บุรุษบุคคล อันนี้เป็นสัปปุริสธรรม

เมื่อเราภาวนาได้ เพราะทำอย่างนี้ ก็ไม่มีเหตุที่เราจะต้องหยุดภาวนา เพราะอย่างนี้

ต้องชั่งใจ ระหว่าง สังคมที่ไม่เอากับเรา หรือ เราจะดำเนินวิถีแห่งธรรม อยู่ที่เราต้องชั่งใจ

โดยเฉพาะเมื่อเราปฏิบัติภาวนาได้ นั่นคือคำตอบ...


ปัญหา ในสังคมทุกวันนี้ สงเสริมให้คนอยู่ในสังสารวัฏ หรือ สงเสิรมให้คนออกจาก สังสารวัฏ

โปรดทำความเข้าใจ

การนั่งกรรมฐาน ที่บ้าน ไม่ใช่เป็นเรื่องแปลก การสวดมนต์ ไม่ใช่เป็นเรื่องแปลก สำหรับคนดี มีศีลธรรม

ไม่น่าจะเป็นเรื่องที่ต้องละอาย

การเที่ยวเธอ น่าจะเป็นเรื่องแปลก การดื่มสุรา ผิดศีล น่าจะเป็นเรื่องแปลก สำหรับคนดี มีศีลธรรม

เพราะัเป็นที่ต้องละอาย

ที่ทราบว่า หมวยจ้า ก็ปฏิบัติก้าวหน้าอยู่แล้ว

อนุโมทนา สาธุ
 ;)


หัวข้อ: ต้องชั่งใจ ระหว่าง สังคมที่ไม่เอากับเรา หรือ เราจะดำเนินวิถีแห่งธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: ธรรมะ ปุจฉา ที่ สิงหาคม 16, 2012, 12:45:53 pm
ส่วนตัวแล้วมีความคิดเห็นว่า  เราทำแล้วได้เรา แต่ทางอ้อมก็ได้สังคมด้วย อย่างน้อย ในสังคมนี้ก็มีเราคนหนึ่งละ

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗
ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต

ขัคควิสาณสูตรที่ ๓
             [๒๙๖]    บุคคลวางอาชญาในสัตว์ทั้งปวงแล้ว ไม่เบียดเบียนบรรดา
                          สัตว์เหล่านั้นแม้ผู้ใดผู้หนึ่งให้ลำบาก ไม่พึงปรารถนาบุตร
                          จะพึงปรารถนาสหายแต่ที่ไหน พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือน
                          นอแรด ฉะนั้น ความเยื่อใยย่อมมีแก่บุคคลผู้เกี่ยวข้องกัน
                          ทุกข์นี้ย่อมเกิดขึ้นตามความเยื่อใย บุคคลเล็งเห็นโทษอัน
                          เกิดแต่ความเยื่อใย พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด
                          ฉะนั้น บุคคลอนุเคราะห์มิตรสหายเป็นผู้มีจิตปฏิพัทธ์แล้ว
                          ชื่อว่าย่อมยังประโยชน์ให้เสื่อม บุคคลเห็นภัย คือ การยัง
                          ประโยชน์ให้เสื่อมในการเชยชิดนี้ พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือน
                          นอแรด ฉะนั้น บุคคลข้องอยู่แล้ว ด้วยความเยื่อใย
                          ในบุตรและภริยา เหมือนไม้ไผ่กอใหญ่เกี่ยวก่ายกัน ฉะนั้น
                          บุคคลไม่ข้องอยู่เหมือนหน่อไม้ พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือน
                          นอแรด ฉะนั้น เนื้อในป่าที่บุคคลไม่ผูกไว้แล้ว ย่อมไป
                          หากินตามความปรารถนา ฉันใด นรชนผู้รู้แจ้ง เพ่งความ
                          ประพฤติตามความพอใจของตน พึงเที่ยวไปแต่ผู้เดียว
                          เหมือนนอแรด ฉะนั้น การปรึกษาในที่อยู่ ที่ยืน ในการไป
                          ในการเที่ยวย่อมมีในท่ามกลางแห่งสหาย บุคคลเพ่งความ
                          ประพฤติตามความพอใจ ที่พวกบุรุษชั่วไม่เพ่งเล็งแล้ว
                          พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น การเล่น
                          การยินดี ย่อมมีในท่ามกลางแห่งสหาย อนึ่ง ความรัก
                          ที่ยิ่งใหญ่ย่อมมีในบุตรทั้งหลาย บุคคลเมื่อเกลียดชังความ
                          พลัดพรากจากสัตว์และสังขารอันเป็นที่รัก พึงเที่ยวไป
                          ผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น บุคคลย่อมเป็นอยู่ตามสบาย
                          ในทิศทั้งสี่และไม่เดือดร้อน ยินดีด้วยปัจจัยตามมีตามได้
                          ครอบงำเสียซึ่งอันตราย ไม่หวาดเสียว พึงเป็นผู้เที่ยวไป
                          ผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น แม้บรรพชิตบางพวก
                          ก็สงเคราะห์ได้ยาก อนึ่ง คฤหัสถ์ผู้อยู่ครองเรือนสงเคราะห์
                          ได้ยาก บุคคลเป็นผู้มีความขวนขวายน้อยในบุตรของผู้อื่น พึง
                          เที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น นักปราชญ์ละเหตุ
                          อันเป็นเครื่องปรากฏแห่งคฤหัสถ์ ดุจต้นทองหลางมีใบ
                          ร่วงหล่น ตัดเครื่องผูกแห่งคฤหัสถ์ได้แล้ว พึงเที่ยวไป
                          ผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น ถ้าว่าบุคคลพึงได้สหาย
                          ผู้มีปัญญาเครื่องรักษาตน ผู้เที่ยวไปร่วมกันได้ มีปรกติ
                          อยู่ด้วยกรรมดี เป็นนักปราชญ์ไซร้ พึงครอบงำอันตราย
                          ทั้งปวง เป็นผู้มีใจชื่นชม มีสติ เที่ยวไปกับสหายนั้น
                          หากว่าบุคคลไม่พึงได้สหายผู้มีปัญญาเครื่องรักษาตน ผู้เที่ยว
                          ไปร่วมกันได้ มีปรกติอยู่ด้วยกรรมดี เป็นนักปราชญ์ไซร้
                          พึงเที่ยวไปแต่ผู้เดียว ดุจพระราชาทรงละแว่นแคว้นอัน
                          พระองค์ทรงชนะแล้วเสด็จไปแต่ผู้เดียว ดุจช้างชื่อมาตังคะ
                          ละโขลงเที่ยวอยู่ในป่าแต่ผู้เดียว  ฉะนั้น เราย่อมสรรเสริญ
                          สหายผู้ถึงพร้อมด้วยศีลขันธ์เป็นต้น พึงคบสหายผู้ประเสริฐ
                          สุด ผู้เสมอกัน กุลบุตรไม่ได้สหายผู้ประเสริฐสุดและผู้
                          เสมอกันเหล่านี้แล้ว พึงเป็นผู้บริโภคโภชนะไม่มีโทษ
                          เที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น บุคคลแลดู
                          กำไลทองทั้งสองอันงามผุดผ่อง ที่บุตรแห่งนายช่างทองให้
                          สำเร็จด้วยดีแล้ว กระทบกันอยู่ในข้อมือ พึงเที่ยวไป
                          ผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น การที่เราจะพึงพูดจากับ
                          พระกุมารที่สอง หรือการข้องอยู่ด้วยอำนาจแห่งความเยื่อใย
                          พึงมีได้อย่างนี้ บุคคลเล็งเห็นภัยนี้ในอนาคต พึงเที่ยวไป
                          ผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น ก็กามทั้งหลายงามวิจิตร
                          มีรสอร่อย เป็นที่รื่นรมย์ใจ ย่อมย่ำยีจิตด้วยรูปแปลกๆ
                          บุคคลเห็นโทษในกามคุณทั้งหลายแล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียว
                          เหมือนนอแรด ฉะนั้น บุคคลเห็นภัย คือ จัญไร ผี
                          อุปัทวะ โรค ลูกศร และความน่ากลัวนี้ ในกามคุณ
                          ทั้งหลายแล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น
                          บุคคลพึงครอบงำอันตรายเหล่านี้แม้ทั้งปวง คือ หนาว ร้อน
                          หิว ระหาย ลม แดด เหลือบและสัตว์เสือกคลานแล้ว
                          พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น บุคคลพึงเป็นผู้
                          เที่ยวไปผู้เดียวเช่นกับนอแรด เปรียบเหมือนช้างใหญ่ผู้เกิด
                          ในตระกูลปทุม มีศีลขันธ์เกิดขึ้นแล้ว ละโขลงอยู่ในป่าตาม
                          อภิรมย์ ฉะนั้น (พระปัจเจกพุทธเจ้าได้กล่าวกึ่งคาถาว่า)
                          บุคคลพึงใคร่ครวญถ้อยคำของพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์พระ-
                          อาทิตย์ว่า การที่บุคคลผู้ยินดีแล้วด้วยการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ
                          จะพึงบรรลุวิมุตติอันมีในสมัยนั้น ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้
                          (พระกุมารได้กล่าวกึ่งคาถาที่พระปัจเจกพุทธเจ้านามว่าอาทิจจ
                          พันธุกล่าวแล้วให้บริบูรณ์ว่า) พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือน
                          นอแรด ฉะนั้น เราล่วงพ้นทิฐิอันเป็นข้าศึกได้แล้ว  ถึง
                          ความเป็นผู้เที่ยง ได้มรรคแล้ว เป็นผู้มีญาณเกิดขึ้นแล้ว อัน
                          ผู้อื่นไม่พึงแนะนำพึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น
                          บุคคลผู้ไม่โลภ ไม่หลอกลวง ไม่มีความกระหาย ไม่ลบหลู่
                          มีโมหะดุจน้ำฝาดอันกำจัดเสียแล้ว ไม่มีความอยาก ครอบงำ
                          โลกทั้งปวงได้แล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด
                          ฉะนั้น กุลบุตรพึงเว้นสหายผู้ลามกไม่พึงเสพด้วยตนเอง
                          ซึ่งสหายผู้ชี้บอกความฉิบหายมิใช่ประโยชน์ ผู้ตั้งอยู่ในกรรม
                          อันไม่เสมอ ผู้ข้องอยู่ ผู้ประมาท พึงเที่ยวไปผู้เดียว
                          เหมือนนอแรด ฉะนั้น บุคคลพึงคบมิตรผู้เป็นพหูสูตร
                          ทรงธรรม ผู้ยิ่งด้วยคุณธรรม มีปฏิภาณ บุคคลรู้จักประโยชน์
                          ทั้งหลาย กำจัดความสงสัยได้แล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียว
                          เหมือนนอแรด ฉะนั้น บุคคลไม่พอใจการเล่น ความยินดี
                          และกามสุขในโลกแล้ว ไม่เพ่งเล็งอยู่ เว้นจากฐานะแห่ง
                          การประดับ มีปรกติกล่าวคำสัตย์ พึงเที่ยวไปผู้เดียว
                          เหมือนนอแรด ฉะนั้น บุคคลละบุตร ภริยา บิดา
                          มารดา ทรัพย์ ข้าวเปลือก พวกพ้อง และกามซึ่งตั้งอยู่
                          ตามส่วนแล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น
                          บัณฑิตทราบว่า ความเกี่ยวข้องในเวลาบริโภคเบญจกามคุณนี้
                          มีสุขน้อย มีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก ดุจหัวฝี ดังนี้แล้ว
                          พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น บุคคลพึงทำลาย
                          สังโยชน์ทั้งหลายเสีย เหมือนปลาทำลายข่าย เหมือนไฟ
                          ไม่หวนกลับมาสู่ที่ไหม้แล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือน
                          นอแรด ฉะนั้น บุคคลผู้มีจักษุทอดลงแล้ว ไม่คะนองเท้า มี
                          อินทรีย์อันคุ้มครองแล้ว มีใจอันรักษาแล้ว ผู้อันกิเลสไม่รั่วรด
                          แล้ว และอันไฟ คือกิเลสไม่แผดเผาอยู่ พึงเที่ยวไป
                          ผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น บุคคลละเพศแห่งคฤหัสถ์
                          ดุจต้นทองหลางมีใบร่วงหล่นแล้ว นุ่งห่มผ้ากาสายะ ออก
                          บวชเป็นบรรพชิต พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด
                          ฉะนั้น ภิกษุไม่กระทำความยินดีในรสทั้งหลาย ไม่โลเล
                          ไม่เลี้ยงคนอื่น มีปรกติเที่ยวบิณฑบาตตามลำดับตรอก ผู้มี
                          จิตไม่ผูกพันในตระกูล พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด
                          ฉะนั้น บุคคลละธรรมเป็นเครื่องกั้นจิต ๕ อย่าง บรรเทา
                          อุปกิเลสทั้งปวงแล้ว ผู้อันทิฐิไม่อาศัย ตัดโทษคือความ
                          เยื่อใยได้แล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น
                          บุคคลละสุข ทุกข์ โสมนัสและโทมนัสในกาลก่อนได้
                          ได้อุเบกขาและสมถะอันบริสุทธิ์แล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียว
                          เหมือนนอแรด ฉะนั้น บุคคลปรารภความเพียรเพื่อบรรลุ
                          ปรมัตถประโยชน์ มีจิตไม่หดหู่ มีความประพฤติไม่
                          เกียจคร้าน มีความบากบั่นมั่น ถึงพร้อมแล้วด้วยกำลังกาย
                          และกำลังญาณ พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น
                          บุคคลไม่ละการหลีกเร้นและฌาน มีปรกติประพฤติธรรม
                          อันสมควรเป็นนิตย์ในธรรมทั้งหลาย พิจารณาเห็นโทษใน
                          ภพทั้งหลาย พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น
                          บุคคลผู้ปรารถนาความสิ้นตัณหา พึงเป็นผู้ไม่ประมาท ไม่
                          เป็นคนบ้าคนใบ้ มีการสดับ มีสติ มีธรรมอันกำหนด
                          รู้แล้ว เป็นผู้เที่ยง มีความเพียร พึงเที่ยวไปผู้เดียว
                          เหมือนนอแรด ฉะนั้น บุคคลไม่สะดุ้งในธรรมมีความ
                          ไม่เที่ยงเป็นต้น เหมือนราชสีห์ไม่สะดุ้งในเสียง ไม่ข้องอยู่
                          ในธรรมมีขันธ์และอายตนะเป็นต้น เหมือนลมไม่ข้องอยู่
                          ในข่าย ไม่ติดอยู่ด้วยความยินดีและความโลภ เหมือน
                          ดอกปทุมไม่ติดอยู่ด้วยน้ำ พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด
                          ฉะนั้น บุคคลพึงเสพเสนาสนะอันสงัด เป็นผู้เที่ยวไป
                          ผู้เดียวเช่นกับนอแรด เหมือนราชสีห์มีเขี้ยวเป็นกำลัง ข่มขี่
                          ครอบงำหมู่เนื้อเที่ยวไป ฉะนั้น บุคคลเสพอยู่ซึ่งเมตตา
                          วิมุติ กรุณาวิมุติ มุทิตาวิมุติ และอุเบกขาวิมุติ ในกาล
                          อันควร  ไม่ยินร้ายด้วยโลกทั้งปวง พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือน
                          นอแรด ฉะนั้น บุคคลละราคะ โทสะ และโมหะแล้ว
                          ทำลายสังโยชน์ทั้งหลายแล้ว ไม่สะดุ้งในเวลาสิ้นชีวิต พึง
                          เที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น มนุษย์ทั้งหลาย
                          ผู้ไม่สะอาด มีปัญญามุ่งประโยชน์ตน ย่อมคบหาสมาคม
                          เพราะมีเหตุเป็นประโยชน์ ผู้ไม่มีเหตุมาเป็นมิตร หาได้ยาก
                          ในทุกวันนี้ บุคคลพึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด ฉะนั้น ฯ
จบขัคควิสาณสูตรที่ ๓

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ บรรทัดที่ ๖๙๗๑ - ๗๑๐๑. หน้าที่ ๓๐๖ - ๓๑๑. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=25&A=6971&Z=7101&pagebreak=0 (http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=25&A=6971&Z=7101&pagebreak=0)             
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=296 (http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=296)             
สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ http://84000.org/tipitaka/read/? (http://84000.org/tipitaka/read/?)
สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่_๒๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_25 (http://84000.org/tipitaka/read/?index_25)

(จากคุณ Akira ที่:http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=3280.msg11604#msg11604)


หัวข้อ: Re: ควรทำอย่างไรดี เมื่อกลับจากการปฏิบัติภาวนา โดยที่ไม่ผิดกับสังคม
เริ่มหัวข้อโดย: Admax ที่ สิงหาคม 16, 2012, 01:26:23 pm
จริงๆแล้วเป้นเรื่องธรรมดาที่เขาจะมองเช่นนั้น แม้ผมเองเวลาปฏิบัติหรือนั่งๆอยู่เจริญจิตไปมองเห็นยกมือสาธุขึ้นระลึกถึงพระพุทธเจ้า เขาก็ว่าผมบ้า ผมก็อาย แต่พอคิดในแง่ปัญญาทางโลกแล้ว ก็มองเห็นว่า

อืมนะ คนพวกนี้นี่ เขาไม่เห็นเหมือนเรา บางคนอายุมากกว่าเราเสียอีก ยังไม่อาจจะออกจากปัญหาได้เลย ยังไม่เห็นสภาพหรือสิ่งที่ควรเป็นในทั้งสภาพที่เป็นคน สัตว์ สิ่งของ ครอบครัว ความรัก เพราะยังไม่แจ้งในโลก เมื่อเขาเหล่านั้นเกิดปัญหาก็ยังต้องมาปรึกษาเราที่เขาว่าบ้า แล้วพอชี้ด้วยเหตุและผมให้เขาเห็นตาม คนพวกนี้ก็พยายามใช้ชีวิตด้วยความไม่ประมาทตามเรา สรุปใครโง่และบ้ากว่ากัน

เมื่อคิดได้เช่นนี้แล้ว เราจะเห็นด้วยปัญญาที่สูงขึ้นว่า ที่เราเห็นความเป็นไปแจ้งในโลกแม้ทางบัญญัติ จนเจนใน นามรูป ผลประโยชน์ไม่ได้เกิดแค่เราคนเดียว คนรอบข้างก็ได้รับด้วย ผมก้ทำไปเรื่อยๆจนทุกวันนี้ที่ทำงาน หรือ ที่ไหนๆที่รู้จักผมเขาก้ไม่กล้าพูดกล่าวเช่นนี้อีก เพราะเราชี้ให้เขาเห็นจริงได้ด้วยเหตุและผล

การอยู่ในสังคมพร้อมกับการปฏิบัติไปด้วยนั้นผมใช้วิธีดังนี้ครับ

1. เมื่อว่างก็เจริญสติ สมาธิ พรหมวิหาร๔ ศีล ทาน ไปไม่ขาด
2. เมื่อคนมองหรือพูดว่าผมทำบ้าอะไร ผมก็บอกเขาไปว่าอบรมจิตให้ไม่ฟุ้งซ่าน ให้มันสงบผ่องใส เพื่อการที่เราจะได้ไม่ คิด พูด ทำ เพื่อทำร้ายเบียดเบียนใคร
3. เมื่อคนเขามากล่าวว่าเห็นทำๆอยู่ก็ไม่เห็นผมจะมีอะไรดีขึ้น ผมก็จะบอกว่าผมไม่ติดข้องใจกับคำติฉินนินทา สรรเสริญ หรือ คำกล่าวใดๆที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองและคนอื่นมากขึ้น
4. เมื่อมีคนมากล่าวว่าทำแล้วไม่เห็นจะแก้ปัญหาอะไรได้เลย ผมก็กล่าวว่า ผมเจริญเห็นถึงเหตุของทุกข์หรือปัญหานั้นๆแล้ว ผมดับที่เหตุนั้นแล้ว ผมจึงไม่ร้อนใจ อัดอั้น อึดอัด คับแตค้น โศรกเศร้า ร่ำไรรำพัน คับแค้นกายใจอีก เหมือนเช่น ผมฟังที่เขากล่าวว่าผมนั้น ผมก็แค่รับรู้เสียงพูดมาทางหู เมื่อรับรู้ปรุงแต่งเข้าใจความหมาย หากเสพย์รับรู้อารมณ์ว่าเขาชมผม ผมก็พอใจยินดี เมื่อพอใจยินดี จิตผมก็ก็ประหม่า หลงตน โดยที่ไม่รู้ว่าคำชมนั้นชมจากใจหรือแกล้งประชด พอรับรู้ว่าเขาด่าก็เกิดความไม่พอใจยินดี อัดอั้น คับแค้น โกรธเคือง ขัดใจ หมองมัวใจ ซึ่งหากผมติดข้องใจในเสียงที่ผมรับรู้มาทางหูแล้วเสพย์เสวยอารมณ์ใดๆทั้งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ทั้ง 2 อย่างนี้ต่างก็ส่งผลออกมาคือทุกข์ที่กายที่ใจผม ส่วนคนพูดเขาก็เฉยๆไม่รู้สึกอะไร ผมจึงดับที่ความติดข้องใจในเสียงที่รับรู้นั้นๆเสีย แม้เช่นนี้ผมก็เรียกว่าดับปัญหาที่เหตุของทุกข์ที่เขากำลังพยายามคลุกคลามผมอยู่
5. เมื่อเขาเกิดปัญหาทุกข์ใจใดๆ เราให้คำปรึกษาบอกให้เขา สงบใจ และ เห็นทางออกได้ ทั้งในภาษาทางโลก และ ทางธรรม ความขุ่นเคือง ขัดข้อง มัวหมองใจของเค้าที่มีต่อการปฏิบัติของเราก็จะหายไป (ซึ่งในข้อนี้คุณต้องเรียนรู้ที่จะหาเหตุของทุกข์ด้วยตนเอง โดยที่ไม่ไปนั่งอ่านนั่งฟังแล้วมาปฏิบัติตรึกนึกตาม เพราะมันจะทำให้เราเห้นตามตำราเท่านั้นไม่ได้เห็นลึกตามจริง แล้วเห็นถึงปัจจัยการสืบต่อดำเนินไปจนถึงผลที่เป้นทุกข์ เห็นทางออกตามจริงที่ถูกทางในอริยะมรรค จิตต้องประกอบด้วย ความไม่ คิด พูด ทำเพื่อการเบียดเบียนทำร้ายใคร มีพรหมวิหาร๔ และ ทาน เป็นหลัก ถึงจะบอกกล่าวแนะแนวทางให้คนทางโลกเห็นตามได้ครับ)

ซึ่งตัวผมเองก็ไม่ได้รู้อะไรมากแค่เศษฝุ่นที่จะรู้ของพระอาจารย์ธัมมะวังโส และ ท่านอื่นๆได้รู้ปฏิบัติที่อยู่ในเวบนี้ หากไม่เกิดประโยชน์หรือเกิดล่วงเกินอันใดก็ขออภัยและอดโทษให้แก่ผมไว้ ณ ที่นี้ด้วยครับ

สุดท้าย ด้วยคุณแห่งพระพุทธเจ้า พระธรรม และ พระสงฆ์ บุญใดที่ผมสร้างปฏิบัติมา เผยแพร่พระพุทธศาสนาให้แก่ผู้ไม่รู้ธรรมให้มองเห็นทางธรรมและปฏิบัติในธรรมมาขอให้ส่งผลให้คุณได้พบทางออกที่ดี ได้ถึงที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ไม่มีความติดข้องใจใดๆ ไม่มีใครตำหนิติเตียนในการปฏิบัติธรรมคุณอีก ขอให้มีปกติสุขเป้นนิจครับ สาธุ สาธุ สาธุ