หัวข้อ: เมื่อจะกำหนดจิต ให้เป็นวิปัสสนา ในกรรมฐานนั้น จะรู้่ได้อย่างไร เริ่มหัวข้อโดย: หมวยจ้า ที่ พฤศจิกายน 21, 2010, 05:49:39 am ตอนที่จิตภาวนา กรรมฐานไปแล้ว ถ้าเราต้องการภาวนาวิปัสสนา จะกำหนดรู้ได้อย่างไรว่า
จิตของเรา สมควรที่จะภาวนาิวิปัสสนา ได้ :25: หัวข้อ: Re: เมื่อจะกำหนดจิต ให้เป็นวิปัสสนา ในกรรมฐานนั้น จะรู้่ได้อย่างไร เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ พฤศจิกายน 22, 2010, 04:03:38 pm รู้ได้ ด้วยตนเอง จากการที่จิตเรามีความสงบ การพิจารณาอาศัยจิตที่มีความสงบ เพียงอุปจาระ ก็พอเีพียง
เพราะจิตที่เป็นอัปปนานั้น ไม่ใช้ในวิปัสสนา วิปััสสนา ใช้เวทนาที่เกิดในจิตเป็นหลัก สุข ปีติ เป็นต้น ถ้าจิตไม่มีความสงบ ผู้รู้คนแรก ก็คือตัวเรานั่นเอง.... เจริญพร ;) หัวข้อ: Re: เมื่อจะกำหนดจิต ให้เป็นวิปัสสนา ในกรรมฐานนั้น จะรู้่ได้อย่างไร เริ่มหัวข้อโดย: เ็พ็ญนภา ที่ สิงหาคม 07, 2012, 10:21:41 am คือ การรู้ได้ด้วยตนเอง นี้พอจะเข้าใจคะ แต่ถ้าจิตมีสมาธิ พอจะเจริญวิปัสสนา แล้วเราจะยกอะไรให้จิตเป็นองค์วิปัสสนา คะอยากให้พระอาจารย์แนะนำต่อตรงนี้ด้วยคะ
ปกติก็จะยก เรื่องราว แบบฟุ้งซ่านไป มากำหนดอย่างนี้ทำให้หลากเรื่อง และหลุดจากวิปัสสนาคะ :s_hi: :c017: :25: หัวข้อ: Re: เมื่อจะกำหนดจิต ให้เป็นวิปัสสนา ในกรรมฐานนั้น จะรู้่ได้อย่างไร เริ่มหัวข้อโดย: ธรรมะ ปุจฉา ที่ สิงหาคม 07, 2012, 01:59:35 pm กำหนดรู้ลักษณะในธาตุดิน ซึ่งมีอยู่ ๒๑ ส่วน ดังนี้
๑. เกสา ผม ๒.โลมา ขน ๓.นะขา เล็บ ๔.ทันตา ฟัน ๕.ตะโจ หนัง ๖.มังสัง เนื้อ ๗.นะหารู เอ็น ๘.อัฏฐิ กระดูก ๙.อัฏฐิมิญชัง เยื่อในกระดูก เป็นต้น หัวข้อ: Re: เมื่อจะกำหนดจิต ให้เป็นวิปัสสนา ในกรรมฐานนั้น จะรู้่ได้อย่างไร เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ สิงหาคม 09, 2012, 10:47:01 am อันที่จริง ในแง่ ปริยัติ นั้นเราก็แยกออกมาเป็น สมถะ บ้าง วิปัสสนา บ้าง
แต่ความเป็นจริงในด้านการปฏิบัตินั้น ทั้งสองส่วนอยู้รวมกัน แยกจากกันไม่ได้ ในความเป็นจริง เพราะผู้ฝึกสมถะก็มิได้อยู่ในสมถะ เสมอไป ตามสภาวะของปุถุชชน ที่ยังต้องมีการปรุงแต่งดังนั้น จึงใช้การสำรวมจิต ที่เรียกว่าการปล่อยวางให้เกิดขึ้น บางคนใช้คำซะหรูว่า อุเบกขา แท้ที่จริงไม่เรียกว่า อุเบกขา แต่เเรียกว่า อทุกขมสุขเวทนา มากกว่า คือการทำอารมณ์ให้เป็นกลาง หรือ สภาวะปลอ่ยวาง การปล่อยวางนั้น ต้องมีการสำรวมจิต รวมทั้งความยินดีที่จะต้องปล่อยวาง ดังนั้นก็ต้องมีเหตุผลให้ จิต เพื่อให้จิตได้ปล่อยวาง เหตุผล นั้นเป็นวิปัสสนาเช่นเดียวกัน จะอ่อน จะแก่ ก้เรียกว่าวิปัสนนา ดังนั้นในกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับนั้น ก็ต้องอาศัยทั้งสองอย่าง คือ สมถะ และวปัสสนา ผู้เจริญภาวนาเข้ารวมศูนยฺ์ไว้ที่ฐานจิต เช่นนี้ได้เป็น สมถะั แต่การเข้าถึงพระลักษณะ และ พระรัศมี ด้วยคุณธาตุ นั้นเป็นวิปัสสนา เพราะต้องจดจำและเข้าถึง คำว่า เข้าถึง นี้เป็นวิปัสสนา เป็นการรู้เบื้องต้นในธาตุ ในคุณธาตุ ซึ่งเป็นพระลักษณะ และ พระรัศมี จึงมีกำหนดธาตุ ขึ้นมาในส่วนของ กายคตาสติ ผสมด้วย เริ่มตั้งแต่ เกสา ผม เป็นต้น ตั้งแต่ดิน จนไปจบ ธาตุ อากาศ ดวงตาเห็นธรรม ก็จะเกิดขึ้นเป็นไปตามลำดับ ดังนั้นถ้าไม่ไปยึดติดกับคำจนเกินควรแล้ว การฝึกกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับก็ตอบโจทย์ตรงนี้ได้ดีในการภาวนา อย่างชัดเจน ลำดับของการเข้าถึง คือ ธาตุ มนธาตุ มนายตนะธาตุ หทัยวัตถุ อุปาทายรูป เบื้องต้นเท่านี้ก่อนนะจ๊ะ เจริญพร/ เจริญธรรม ;) |