หัวข้อ: ยายวัย 70 ปี.! ใฝ่เรียนพุทธศาสตร์ ‘มจร’ เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ กรกฎาคม 02, 2015, 09:40:18 pm (http://www.komchadluek.net/media/img/size_photo_slide/2015/07/02/cb9ka7a965ih7kb8fgeab.jpg) ยายวัย70 ปี ใฝ่เรียนคณะพุทธศาสตร์ ‘มจร’ ‘ดร.อดิศร’ ยันเป็นมหาวิทยาลัยมีคุณภาพ สำราญ สมพงษ์ นิสิตปริญญาโท สาขาสันติศึกษา มจร รายงาน เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ.2558 ในฐานะศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) ได้มีโอกาสเป็นวิทยากรร่วมกับศาสตราจารย์ ดร.วัชระ งามจิตรเจริญ อาจารย์จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ บรรยายให้ความรู้และประสบการณ์ชีวิตในโครงการกิจกรรมเสริมหลักสูตรปฐมนิเทศ ประจำปีการศึกษา 2558 ระดับปริญญาตรี เพื่อเป็นการแนะนำผู้บริหารคณาจารย์และเป็นขวัญกำลังใจแก่นิสิตชั้นปีที่ 1-4 จำนวน 137 รูปคน ของคณะพุทธศาสตร์ มจร ที่มีพระสุธีธรรมานุวัตร หรือเจ้าคุณเทียบ เป็นคณบดี ที่ มจร อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา จากจำนวนนิสิตทั้ง 137 รูปคนที่เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าวส่วนใหญ่แล้วจะเป็นพระที่มีพรรษาอาวุโสมาก จะมีพระหนุ่มเณรน้อยจำนวนน้อยหากเปรียบเทียบเมื่อ 20 ปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ยังมีฆราวาสและที่น่าสนใจก็คือว่ามีผู้สูงวัยอายุประมาณ 70 ปีรวมด้วยโดยแต่งชุดนิสิตเหมือนกับนิสิตทั่วไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัยทุกประการ ได้สอบถามทราบความว่า เนื่องจากเกษียณอายุราชการมาแล้วต้องการที่จะหาความรู้เพิ่มเติมอีกทั้งเป็นการช่วยเหลือพระพุทธศาสนาอีกทางหนึ่ง พิธีเริ่มด้วยการกล่าวเปิดของพระสุธีธรรมานุวัตรความว่า คณะพุทธศาสตร์ถือเป็นคณะเริ่มแรกของ มจร มีผู้สำเร็จการศึกษาจากคณะนี้มีชื่อเสียงมากมายทุกวงการ ผู้ที่เข้ามาเรียนนอกจากจะมีรู้ศาสตร์วิชาของคณะแล้วจะต้องสามารถบูรณาการเข้ากับศาสตร์ใหม่ได้ด้วย ทั้งนี้เพื่อสร้างความเข้าใจในหลักพระพุทธศาสนาของคนในสังคม และเมื่อเรียนจบแล้วตำแหน่งที่สามารถมีได้ทันทีโดยไม่ต้องรอให้ใครแต่งตั้งนั้นก็คือเศรษฐีกับนักปราชญ์ก็ขอให้เลือกเอา (http://www.komchadluek.net/media/img/size1/2015/07/02/g8kdb9kbiiagci7fiaab9.jpg) สำหรับเจ้าคุณเทียบเดิมนั้นเคยตำรงตำแหน่งคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มจร ขณะเดียวกันเป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดเชตุพลวิมลมังคลารามได้มีโอกาสต้อนรับนายบารัก โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาเยี่ยมชมวัดโอกาสเยือนประเทศไทยเมื่อหลายปีก่อน ต่อจากนั้นเป็นการบรรยายทั้ง ดร.วัชระและผู้เขียนโดยได้เล่าประสบการณ์ชีวิตและการทำงานที่ผ่านมานับได้ว่าความรู้ที่ได้จาก มจร เป็นฐานคิดในการดำเนินชีวิตอย่างสำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งยุคสังคมปัจจุบันที่มีความขัดแย้งแบ่งสีแบ่งฝ่าย และความรู้ด้านพุทธศาสตร์นั้นจะต้องอาศัยศาสตร์สมัยเข้ามาเป็นตัวสื่อสาร พร้อมกันนี้ผู้เขียนมีความเห็นว่า คนเรียน'มจร'ต้องมีไตรภูมิ เนื่องจากว่า ผู้ที่เข้ามาเรียนนั้นบางคนก็ไม่มีที่ไปเพราะฐานะความเป็นอยู่ยากจน บางคนอยากได้ความรู้ หรือบางคนได้ยินเกียรติศัพท์ของมหาวิทยาลัย แต่เมื่อเข้ามาเรียนแล้วต้องมีไตรภูมิคือ ภูมิรู้ ภูมิธรรม ภูมิจรรยา ซึ่งถือเป็นวิธีการ ภูมิรู้คือรู้อะไร รู้ มจร ปรัชญา อุดมการณ์ รู้ประเพณี รู้คณะ เอกลักษณ์ สำหรับเอกปรัชญานั้นเท่าที่สังเกตุผู้จบด้านนี้จะเป็นผู้ที่ประนีประนอมสูง เป็นกลาง นอกจากนั้นจะต้องรู้หมู่คณะ รู้รุ่นพี่รุ่นน้อง และต้องรู้โลก รู้ไอที ดิจิตอล เขียนข่าวเป็น บรรยายใต้ภาพเฟซบุ๊กอย่างไรให้เป็นข่าว เทศน์เป็นบรรยายเป็น (http://www.komchadluek.net/media/img/size1/2015/07/02/f678jbbbiafbigdc8ajca.jpg) ขณะที่ภูมิธรรม คือรู้ธรรม รู้โอวาทปาฏิโมกข์ อุดมการณ์ 4 หลักการ 3 วิธีการ 3 คู่ อริยสัจ 4 ปฏิจจสมุปบาท สันติภาพโลก เพราะนี้คือพระธรรมวินัยหรือพระไตรปิฏก ทั้งนี้เพราะมีเป้าหมาย คือ เป็นศิษย์ มจร ที่สมบูรณ์ โดยจะต้องมี ภูมิจรรยาคือมีธรรม เป็นผู้ปฏิบัติดี มีสัมมาคารวะ สังเคราะห์โลกบริการสังคมตามหลักพุทธจริยา 3 ประการ และในวันเดียวกันนี้สถานที่แห่งเดียวกันนี้มีการจัดงานวันครบ 54 ปี ครุศาสตร์ มหาจุฬาฯ รำลึก คณะครุศาสตร์ มจร ซึ่งรายงานโดยพระปราโมทย์ วาทโกวิโท ในฐานะศิษย์เก่า และนิสิตปริญญาโท สาขาสันติศึกษา ความว่า ช่วงเช้าเป็นการเปิดงานและบรรยายพิเศษ เรื่อง "ครูอาชีพจากอดีตสู่ปัจจุบัน" โดยพระพรหมบัณฑิต อธิการบดี มีผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ จำนวน 50 รูป/คน และมีผู้เข้าร่วมจากส่วนกลางและวิทยาเขตจำนวนทั้งสิ้น 650 รูป/คน ask1 ask1 ask1 ask1 อธิการบดี มจร กล่าวว่า "พระพุทธเจ้าเป็นครูของโลก เราเป็นสาวกต้องเป็นครู พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งการศึกษา มีไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา พระสงฆ์เป็นครูถ่ายทอดการศึกษาพระพุทธศาสนา คณะครุศาสตร์มีความจำเป็นมากในการพัฒนาครู ความสำเร็จหรือความล้มเหลวของครุศาสตร์หมายถึง ความสำเร็จหรือล้มเหลวของ มหาวิทยาลัยด้วย เป็นพลังขับเคลื่อนในมหาวิทยาลัย ครุศาสตร์ทำหน้าที่ดีที่สุดในการให้องค์ความรู้ความสำเร็จหรือความล้มเหลวก็เป็นครูของเราได้ตลอด วันนี้เรามีความฝันร่วมกัน ซึ่งครูมีมาตรฐานชัดเจน 3 ข้อ คือ... 1.ความรู้ถึงขั้นมืออาชีพ 2.ทักษะการสอนประสบการณ์ 3.คุณธรรมจริยธรรมยึดมั่นในจรรยาบรรณของครู "พร้อมกันนี้ครูในมหาจุฬาฯต้องเก่ง 4 ภาษา คือ 1.ภาษาไทย ภาษาการสื่อสาร 2.ภาษาบาลี ภาษาพระพุทธเจ้า 3.ภาษาอังกฤษ ภาษาสากล 4.ภาษาคอมพิวเตอร์ ภาษาสมัยใหม่ความรู้และทักษะไม่ห่วงแต่ห่วงมาก แต่ต้องพัฒนามากๆ คือคุณธรรมจริยธรรมครู ผลิตครูให้มีคุณธรรม จรรยาบรรณ เพราะสังคมทุกวันนี้ถามหาคุณธรรม จริยธรรม ปฏิรูปประเทศทุกวันนี้มีมาตรา 44 ออกมาเพื่อปราบคนไม่ดี" พระพรหมบัณฑิต กล่าว (http://www.komchadluek.net/media/img/size1/2015/07/02/7ehhh7gf6cbf977766acj.jpg) ช่วงบ่ายเป็นการสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง "บทบาทของคณะครุศาสตร์ต่อการผลิตครูมืออาชีพเชิงพุทธ " โดย พระราชธรรมสารสุธี รองเจ้าคณะจังหวัดและผู้อำนวยการวิทยาลัยสงฆ์ศรีษะเกษ พระมหามงคลกานต์ ฐิตธมฺโม อาจารย์คณะพุทธศาสตร์ มจร ที่จบปริญญา 15 ใบ ดร.อดิศร เพียงเกษ อาจารย์พิเศษ มจร และนางสาวลินดา ประกอบบุญ ครูหมอลำ และดำเนินรายการโดย ผศ.ดร. สมชัย ศรีนอก (ช. ศรีนอก) ans1 ans1 ans1 ans1 พระมหามงคลกานต์ กล่าวว่า "สาเหตุที่เรียนจนจบปริญญา 15 ใบนั้นพูด 2 ประเด็น คือ การเป็นนิสิตที่ดี การเป็นครูที่ดี ตั้งคำถามว่าทำไมเราถึงไปสื่อสารให้คนไปฟังไม่รู้เรื่อง เพราะเรามีเครื่องมือไม่เพียงพอ เราจึงต้องไปเรียนหลายสาขาวิชาเพราะจะได้เขาใจคนอื่น รู้เพื่อให้เรามีเสน่ห์ เราต้องเปิดตาให้รอบทิศ เปิดปุ่มให้รอบตัว ทำให้เราต้องแสวงหา เราต้องเป็นน้ำที่ไม่เต็มแก้ว เราต้องเรียนหลายๆ ศาสตร์ เพื่อเข้าใจความแตกต่างของคนในสังคม เราต้องเรียนเพื่อไปถึงตราน้ำของความรู้ ยิ่งค้นยิ่งสนุก เราต้องพัฒนาตนเองตลอด มิใช่พัฒนาอีโก้ตนเอง ที่ใครเตือนไม่ได้" "ในสังคมเรามีคนประเภท "บัวเหล่าเต่าถุย" ฉะนั้นเราในฐานะครูต้องเป็นเรื่องท้าทายมาก สิ่งที่อยากฝากคือ ให้เราเรียนภูมิปัญญาของไทยเราเพื่อบูรณาการกับพระพุทธศาสนา ให้เป็นปรัชญาไทย พุทธปรัชญา อย่าหลงตะวันตกมาก แต่จงเชื่อมั่นในพุทธศาสนาของเรา สิ่งสำคัญ คือ เราควรตีแผ่งานวิจัยของครุศาสตร์ มิใช่อยู่ในตู้อย่างเดียว การเป็นที่แท้จริงต้องมี "ราก" เราควรย้อนกลับไปบ้านของเรา มาจากไหนกลับไปทางนั้น กลับไปพัฒนาบ้านเกิด ฉะนั้นเรากตัญญูต่อบ้านเกิดเมืองนอน ไปอยู่ที่ไหนอย่าทิ้งนักธรรมบาลีเด็ดขาด และอยากให้งานวิจัยลุ่มลึกลองไปศึกษาปรัชญา สรุปว่า การเป็นสามีภรรยาสามารถเลิกกันไปได้ แต่การเป็นครูบาอาจารย์เราไม่สามารถหมดไปได้ ท่านขอบคุณ มจร. ที่ให้โอกาสได้ศึกษาพัฒนาตนเอง" พระมหามงคลกานต์ กล่าว st12 st12 st12 st12 ดร.อดิศร กล่าวว่า "มีคนถามว่า มจร เรียนอะไร วิจารณ์โดยไม่ศึกษาให้ดีก่อน แสดงว่าภายนอกยังไม่รู้จักเรา เรากำลังมองปัญหาว่า เรามีปัญหาอะไร เราอยากให้ถือครูคนเดียวของเรา คือ พระพุทธเจ้า เท่านั้น มจร ต้องเน้นพระพุทธศาสนาเป็นหลักเป็นจุดเด่น ให้เรายึดพระพุทธเจ้าเป็นพระบรมครูของเรา" "สมัยอดีตคนถามว่า จบจากไหน? ตอบเบาๆ ว่า จบจากมหาจุฬาฯกลัวใครได้ยิน แต่ทุกวันนี้ตอบอย่างสง่างามแบบเต็มปากเต็มคำ ว่า...จบจากมหาจุฬาฯ มีความภูมิใจในสถาบันแห่งนี้ ที่สง่างามมาก"ดร.อดิศร กล่าว st11 st11 st11 st11 พระราชธรรมสารสุธี กล่าวว่า นักวิชาการแบบครูมืออาชีพต้องสามารถถ่ายทอดให้ง่ายๆ มีทั้งศิลป์และศาสตร์ ครูมืออาชีพต้องมีความรู้ เพราะคนเก่งมีเยอะ แต่คนมีปัญญามีน้อย เก่งอย่างเดียวสร้างเวรเยอะ แต่สร้างเก่งและมีปัญญาด้วย นั่นคือ ครูมืออาชีพ ต้องมองไกล ลึก กว้าง และเชี่ยวชาญ รวมทั้งศิลปะในการถ่ายทอด สามารถควบคุมตนเองมีวินัยในตนเอง จึงนับได้ว่าเป็นอีกวันหนึ่งที่รู้สึกภูมิใจที่ได้มีโอกาสแทนคุณมหาจุฬาฯและคณะที่หล่อหลอมชีวิตให้เป็นอยู่ได้ทุกวันนี้ ขอบคุณภาพข่าวจาก http://www.komchadluek.net/detail/20150702/209022.html (http://www.komchadluek.net/detail/20150702/209022.html) |