หัวข้อ: เสนอโครงสร้างปริยัติสามัญใหม่ เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ กรกฎาคม 15, 2015, 07:44:23 pm (http://www.dailynews.co.th/images/1108405?s=750x500) เสนอโครงสร้างปริยัติสามัญใหม่ คณะทำงานจัดทำร่างพ.ร.บ.โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เผย เสนอปรับโครงสร้างบริหาร ใช้สำนักงานการศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรมฯ แทนสำนักงานกลุ่มโรงเรียนฯ ขึ้นตรงนายกรัฐมนตรี ภายใต้กำกับดูแลของมส.-พศ. วันนี้(14ก.ค.)พระครูสุนทรพิมลศีล ประธานกลุ่มโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษากลุ่มที่ 5 ในฐานะประธานศูนย์ประสานงานกลางกลุ่มโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาแห่งประเทศไทย และคณะทำงานเพื่อจัดทำร่าง พ.ร.บ.โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กล่าวว่า จากการประชุมคณะทำงานเพื่อจัดทำร่างพ.ร.บ.โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ในคณะกรรมาธิการการศึกษาและการกีฬา สภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) ครั้งที่ 5/2558 ที่สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา 2 ที่ประชุมได้สรุปจำนวนมาตราในร่างพ.ร.บ.โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา พ.ศ....แล้ว โดยให้มี 33 มาตรา ซึ่งถือว่ามีความคืบหน้าไปมากเหลือเพียงเรื่องของโครงสร้างการบริหารการศึกษาในภาพรวม ที่ที่ประชุมเห็นว่า โครงสร้างการบริหารโรงเรียนต้องยึดหน่วยงานหลักคือ มหาเถรสมาคม(มส.) และสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ(พศ.) เป็นตัวตั้ง โดยให้เปลี่ยนจากสำนักงานกลุ่ม เป็น สำนักงานการศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา เหมือนกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.)โดยไม่เป็นนิติบุคคลเพื่อไม่ให้ซ้ำซ้อนกับตัวกฎหมายแม่ :25: :25: :25: :25: พระครูสุนทรพิมลศีล กล่าวต่อไปว่า สำหรับการกำกับดูแลของสำนักงานการศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรมฯ จะอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ มส. และ พศ. มีคณะกรรมการการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาเป็นผู้กำหนดนโยบายการศึกษา เหมือนโครงสร้างเดิมแต่จะมีสำนักงานการศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรมฯ ขึ้นตรงกับนายกรัฐมนตรีด้วย ส่วนกลุ่มโรงเรียนก็จะเปลี่ยนเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระปริยัติธรรมฯ เขตพื้นที่ต่าง ๆ แทน สำหรับโครงสร้างบริหารการศึกษาคณะกรรมการกฤษฎีการับที่จะไปดำเนินการและจะนำกลับมาเสนอในการประชุมวันที่ 27 ก.ค.นี้ “เรื่องบุคลากรทางการศึกษา โดยเฉพาะครูจะนำโครงสร้างการจัดสวัสดิการและรูปแบบการบริหารของ โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์มาศึกษาแทน พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ เนื่องจากโรงเรียนมีโครงสร้างที่เล็กกว่ามหาวิทยาลัย ซึ่งการใช้แนวทางของโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ จะได้รูปแบบการบริหารบุคลากรที่ใกล้เคียงกันมากที่สุด ทั้งนี้คณะทำงานและพระเถรผู้ใหญ่ เห็นว่า ควรปรับเนื้อหาร่าง พ.ร.บ.โรงเรียนพระปริยัติธรรมฯให้นิ่งและชัดเจนที่สุดก่อนนำเสนอ มส.พิจารณา โดยจากเดิมที่กำหนดไว้ในเดือนกรกฎาคมนี้ อาจต้องเลื่อนเป็นช่วงหลังวันเข้าพรรษาไปแล้ว พร้อมกับเลื่อนการทำประชาพิจารณ์ออกไปด้วย และเมื่อร่างพ.ร.บ.นิ่งและได้ข้อสรุปแล้วก็จะส่งให้ผู้บริหารโรงเรียนทั้ง 408 แห่งรับทราบต่อไป”ประธานศูนย์ประสานงานกลางกลุ่มโรงเรียนฯกล่าว ขอบคุณภาพข่าวจาก : http://www.dailynews.co.th/education/334865 (http://www.dailynews.co.th/education/334865) |