สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

เรื่องทั่วไป => forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน => ข้อความที่เริ่มโดย: raponsan ที่ กรกฎาคม 23, 2015, 09:39:35 am



หัวข้อ: ใช้วิจารณญาณ 'เสพข่าวออนไลน์'
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ กรกฎาคม 23, 2015, 09:39:35 am


(http://www.komchadluek.net/media/img/size_photo_slide/2015/07/21/f6fak9gagb5cg8bk76565.jpg)

เล่าสู่กันฟัง : ใช้วิจารณญาณ 'เสพข่าวออนไลน์'
โดย...บัญญัติ คำนูญวัฒน์

ปรากฏการณ์ใช้สื่อใหม่ของคนไทย กำลังสะท้อนพฤติกรรมและวิจารณญาณ “เสพข่าวออนไลน์” อย่างเห็นได้ชัด ส่วนหนึ่งเป็นประโยชน์ แต่ในขณะเดียวกัน การเสพข่าวโดยที่ไม่ได้ใช้วิจารณญาณบางครั้งก็กลายเป็นโทษได้เหมือนกัน และในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา มีข่าวความเคลื่อนไหวออนไลน์ที่ทำให้เกิดข้อกังขาและถูกตั้งคำถามจากสังคมว่าจริงหรือมั่ว...ชัวร์หรือไม่? อะไรจริง อะไรเท็จ กันแน่?
 
อย่างไรก็ตาม กว่าจะพิสูจน์ได้ว่าเรื่องนั้นชัวร์หรือมั่วนิ่มกันแน่ ข้อความหรือภาพก็ได้ถูกแชร์ไปไหนต่อไหนแล้ว ตัวอย่างเช่น 
 
 :96: :96: :96: :96: :96:

ข่าว “ที่ประชุมสหภาพยุโรปลงมติคว่ำบาตรประเทศไทยอย่างเป็นทางการ” ซึ่งอ่านครั้งแรกก็รู้สึกเป็นห่วงเศรษฐกิจของประเทศมาก จนเมื่อกระทรวงการต่างประเทศออกมามีหนังสือชี้แจงว่าไม่เป็นความจริงก็ค่อยโล่งอก หลังจากนั้นไม่กี่วันองค์การนาซาถ่ายทอดสดการสำรวจดาวพลูโต แล้วเปิดโอกาสให้ผู้คนร่วมแสดงความคิดเห็นผ่านกระทู้ในยูทูบได้ทั่วโลก แต่กลับมีมือดีจากเมืองไทยไปโพสต์ด้วยข้อความเกรียนๆ ว่า “ดาวพลูโตจะมีกัญชาป่าววะ” เป็นต้น
 
แม้บางท่านอาจฟังดูขำๆ แต่ก็มีไม่น้อยที่ไม่ขำด้วย พร้อมแสดงความเห็นในเชิงตำหนิอย่างรุนแรงว่าทำให้ต่างชาติเขาดูถูกคนไทยว่าเล่นไม่รู้กาลเทศะถือเป็นเรื่องที่ใหญ่โตสำคัญระดับโลกที่ทำเอาฝรั่งมังค่ามึนตึ้บจนพูดไม่ออก ก็เลยคิดว่าหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง น่าจะกลับมาทบทวนมาตรการเกี่ยวกับเรื่องการแชร์ความคิดเห็นหรือภาพที่เป็นอันตรายต่อประเทศ ต่อสังคม ต่อหน่วยงาน หรือต่อบุคคล กันให้จริงๆ จังๆ มากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ได้แล้ว
 
 :29: :29: :29: :29: :29:

มีการศึกษาพฤติกรรมการใช้สื่อออนไลน์ของคนไทยอย่างจริงจัง ต่อเนื่องมาเกือบ 10 ปี ของโครงการมีเดียมอนิเตอร์ พบว่าปัจจุบันคนไทยอยู่กับอินเทอร์เน็ตวันละกว่า 7.2 ชั่วโมง และถ้าดูจากสถิติเครือข่ายสังคมออนไลน์ จากสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) คนไทยใช้งานเฟซบุ๊กมากเป็นอันดับ 9 ของโลก ซึ่งโครงการสำรวจพฤติกรรมพบว่า ตอนนี้คนไทยมีสังคมออนไลน์เป็นเครือข่ายที่มักจะมีพฤติกรรมและค่านิยมร่วมกัน จนทำให้เกิดการส่งต่อแชร์ความคิดเห็นเดียวกันทั้งโลกออนไลน์และชีวิตจริง
 
เรียกปรากฏการณ์นี้ว่า เน็ตเวิร์กโซเชียลมูฟเม้นท์ เป็นจิตวิทยาทางสังคมที่ผลักดันทัศนคติทั้งของตนเอง สังคม การเมืองและเศรษฐกิจ ข้อดีก็คือสามารถสร้างเนื้อหา การยอมรับ สร้างตัวตนของตัวเอง สามารถหาเงินและชื่อเสียงได้จากตัวตนและเนื้อหาที่สร้างขึ้น ทำให้ชุมชนที่คิดเหมือนกันแสดงตัวตนบนพื้นที่สาธารณะได้ ขณะเดียวกันก็มีข้อเสีย เช่น อาจทำให้เกิดการเลียนแบบผิดๆ สร้างความเข้าใจแบบผิดๆ แยกแยะแบบผิดๆ เป็นต้น
 
 :s_hi: :s_hi: :s_hi: :s_hi: :s_hi:

เรื่องที่นำมาเล่าสู่กันฟัง...สำหรับผมแล้วคำสอนพุทธศาสนาร่วมสมัยอย่างหลักกาลามสูตร 10 ประการ น่าจะเป็นหลักเตือนใจให้สติ ในปรากฏการณ์สื่อใหม่ได้ดี ก่อนเชื่อหรือแชร์ ต้องมีวิจารณญาณ
    อย่าเพิ่งเชื่อ เพราะฟังตามๆ กันมา,
    อย่าเพิ่งเชื่อ เพราะเป็นของเก่าเล่าสืบๆ กันมา,
    อย่าเพิ่งเชื่อเพราะเล่าลือ,
    อย่าเพิ่งเชื่อเพราะอ้างตำรา,
    อย่าเพิ่งเชื่อเพราะตรรก,
    อย่าเพิ่งเชื่อเพราะคาดคะเนอนุมาน,
    อย่าเพิ่งเชื่อเพราะคิดตรองตามเหตุผล,
    อย่าเพิ่งเชื่อเพราะเป็นทฤษฎี,
    อย่าเพิ่งเชื่อเพราะน่าจะเป็นไปได้ และ
    อย่าเพิ่งเชื่อเพราะเป็นครูเรา
จึงนับว่าหลัก “กาลามสูตร” ตั้งแต่ 2500 ปี สามารถนำมาใช้กับสังคมไทยยุคออนไลน์อย่างปัจจุบันและอนาคตได้เป็นอย่างดี

ขอบคุณบทความและภาพจาก
http://www.komchadluek.net/detail/20150722/210159.html (http://www.komchadluek.net/detail/20150722/210159.html)


หัวข้อ: พวกหัวหมอ ที่รอดตัว ใช้ บทบัญญัติ ให้เป็นประโยชน์แก่ตน
เริ่มหัวข้อโดย: bajang ที่ กรกฎาคม 23, 2015, 09:42:53 am
พวกหัวหมอ ที่กลับถูกเป็นผิด กลับผิดเป็นถูก
มันก็อีแบบนี้แหละ ...... ......

บ๊ะ นึกแล้ว ไม่ผิด ต้องเอาหลัก กาลามสูตร มาพูดอย่าง พวกสวนโมก จริง ๆ ซึ่งคุณ modtanoy และ คุณ nirvanar55 ก็เคยนำมาใช้ในทีบอร์ดนี้ ทุกวันนี้ ก็ยังได้อยู่ อย่างขัดแย้ง เสมอมา

เฮ้อ......


อย่าเชื่อ ...........อย่าเชื่อ.......อย่าเชื่อ.......( ปะแด่ว แป่ว แป่ว )

  :58: :58: :58: