หัวข้อ: การเดินทาง ของศาสนา ในอาเซียน เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ กรกฎาคม 27, 2015, 09:22:35 pm (http://www.komchadluek.net/media/img/size1/2015/05/20//kg75h6bkkfdf7iaa6fbb9.gif) การเดินทาง ของศาสนา ในอาเซียน อาณาจักรในเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ซึมซับรับเอาคติความเชื่อทาง ศาสนาจากอารยธรรมอินเดียและจีนมาประยุกต์ใช้และผสมผสานเข้ากับความ เชื่อที่มีแต่เดิม ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ในเส้นทางการค้าโบราณที่มี ความคึกคักสูงมากเส้นทางหนึ่งของโลก ระหว่างอารยธรรมอันเก่าแก่อย่าง อินเดียและจีน ในระยะต่อมา ภูมิภาคนี้ ยังเป็นแหล่งส่งออกสินค้าสำคัญอย่างเครื่องเทศ ที่ดึงดูดพ่อค้าทั้งจากตะวัน ออกกลางและยุโรปจำนวนมากให้ เดินเรือข้ามมหาสมุทรเข้ามาในดินแดนแห่งนี้อย่างต่อเนื่อง เกิดการผสมผสาน ทางวัฒนธรรมขึ้นโดยเฉพาะด้านศาสนากลายเป็นความหลากหลายที่เป็น เอกลักษณ์ของภูมิภาคมาจนถึงทุกวันนี้ อาณาจักรในเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ซึมซับรับเอาคติความเชื่อทาง ศาสนาจากอารยธรรมอินเดียและจีนมาประยุกต์ใช้และผสมผสานเข้ากับความ เชื่อที่มีแต่เดิม พร้อม ๆ กับการ ปฏิสัมพันธ์ติดต่อค้าขายกับอาณาจักรที่มีอารยธรรมเก่าแก่อย่างอินเดียเมื่อราว 2,000 ปีที่ผ่านมา :96: :96: :96: :96: :96: :96: จากหลักฐานทางโบราณคดี สันนิษฐานได้ว่า ศาสนาแรกที่ถูกเผยแพร่ และกลายเป็นศาสนาหลักของ อาณาจักรหลายแห่งในภูมิภาคนี้คือ ศาสนาพราหมณ์ โดยเชื่อกันว่า พราหมณ์ กลุ่มแรก ๆ น่าจะเดินทางจากอินเดียเข้าสู่ดินแดนที่เป็นประเทศกัมพูชาในปัจจุบันและตอนล่างของคาบสมุทรมลายู ตลอดจนบริเวณหมู่เกาะแถบนั้น ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งราว 2,000 ปี ที่แล้ว หรือช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 1 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ชุมชนต่าง ๆ ใน ดินแดนแถบนี้เริ่มขยายตัวและก่อรูป กลายเป็นอาณาจักรโบราณขึ้น เช่น อาณาจักรฟูนันทางตอนล่างของแม่น้ำ โขง อาณาจักรเจนละ อาณาจักรขอม รวมทั้งอาณาจักรย่อย ๆ ของชาว กาลิมันตันตะวันออก ชวา และบาหลี เป็นต้น ในราชสำนักของอาณาจักร เหล่านี้ พราหมณ์จะมีอิทธิพลมาก ในหลายบทบาท ซึ่งล้วนแต่เกี่ยวโยงกับ การเป็นผู้เข้าถึงองค์ความรู้ในฐานะ “ปุโรหิต” หรือหัวหน้านักบวช ที่ทำ หน้าที่ประกอบพิธีกรรมและให้คำ แนะนำด้านการปกครอง ศาสนาพราหมณ์ในเอเชียตะวัน ออกเฉียงใต้รุ่งเรืองถึงจุดสูงสุดราว คริสต์ศตวรรษที่ 7-8 และเริ่มเสื่อม ความนิยมลงเนื่องจากพระมหา- กษัตริย์ในดินแดนแถบนี้หลายพระองค์เปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธ อย่างไร ก็ตาม แม้ศาสนาพราหมณ์จะไม่ได้ เป็นศาสนาหลัก แต่ความเชื่อและ พิธีกรรมยังคงปรากฏให้เห็นจนถึง ปัจจุบัน โดยผสมผสานอย่างกลมกลืนกับศาสนาพุทธ :25: :25: :25: :25: :25: ศาสนาพุทธเริ่มแพร่หลายใน ภูมิภาคนี้ บริเวณภาคพื้นสมุทร ซึ่งเชื่อว่า เป็นเส้นทางผ่านในการแสวงบุญระหว่างจีนและอินเดีย จนรุ่งเรืองถึงจุดสูงสุดราวคริสต์-ศตวรรษที่ 8-9 หรือภายหลังจาก ที่พระมหากษัตริย์หลายพระองค์ได้ หันมานับถือศาสนาพุทธแล้ว โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง อาณาจักรใหญ่ ๆ เช่น ทวารวดีในดินแดนของประเทศไทย ปัจจุบัน อาณาจักรของราชวงศ์ไศเลนทร์ บนเกาะชวาที่มีการสร้างบุโรพุธโธ เป็นต้น ศาสนาพุทธที่นับถือกัน ส่วนใหญ่มักเป็นนิกายเถรวาทหรือ หินยาน ยกเว้นอาณาจักรโบราณใน เวียดนามเท่านั้นที่นับถือนิกายมหายาน เพราะได้รับอิทธิพลจากจีนมากกว่าอินเดีย นับตั้งแต่นั้นมา ศาสนาพุทธได้ตั้งมั่น เป็นศาสนาหลักของผู้คนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งในเมียนมาร์ ไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนามจนถึงปัจจุบัน ต่างจากบริเวณภาคพื้นสมุทรที่มี การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ทางความเชื่อเป็นครั้งที่สาม อันเนื่องมาจากการ เข้ามาของศาสนาอิสลาม st12 st12 st12 st12 st12 st12 ศาสนาอิสลามเริ่มแพร่หลายใน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เมื่อประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 13-14 ซึ่งเป็นช่วง เวลาที่อาณาจักรต่าง ๆ ของชาวมุสลิม ในตะวันออกกลางเจริญรุ่งเรืองเป็น อันมาก กองเรือพาณิชย์ของชาวมุสลิม ได้เดินทางเข้ามาในภูมิภาคนี้กันอย่างคึกคัก โดยเฉพาะบริเวณคาบสมุทร มลายูไปจนถึงตอนใต้ของหมู่เกาะ ฟิลิปปินส์ในช่วงแรกศาสนาอิสลามได้เข้ามา ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้บริเวณ ตอนเหนือของเกาะสุมาตรา (บริเวณ อาเจะห์ในปัจจุบัน) แต่ยังไม่เฟื่องฟู มากนัก จนกระทั่งต่อมา เมื่อกษัตริย์ แห่งมะละกาซึ่งเป็นเมืองท่าและ ทรงอิทธิพลทั้งทางการเมืองและ วัฒนธรรม ได้เปลี่ยนการนับถือศาสนา จากศาสนาพราหมณ์มาเป็นศาสนา อิสลามในปี ค.ศ. 1414 ศาสนา อิสลามจึงได้ลงหลักปักฐานใน ดินแดนแถบนี้อย่างแท้จริง เพราะ ผู้นำส่วนใหญ่ของอาณาจักรในบริเวณคาบสมุทรและหมู่เกาะก็หันมานับถือ ศาสนาอิสลามด้วยเช่นกัน เชื่อกันว่า สาเหตุที่ทำให้ผู้ปกครองของ อาณาจักรดังกล่าวหันมานับถือศาสนาอิสลามในเวลาไม่นานนัก คือ ความ ต้องการค้าขายกับพ่อค้าชาวมุสลิม นอกภูมิภาค ซึ่งนอกจากจะเจริญรุ่งเรือง แล้ว ยังมีอิทธิพลสูงมากในเครือข่าย การค้าทางเรือ แผ่ขยายตัวจากยุโรป ตอนล่างมาจนถึงเกาะโมลุกกะของ อินโดนีเซียปัจจุบัน จึงถือได้ว่า นับจาก กลางคริสต์ศตวรรษที่ 15 เป็นต้นมา ศาสนาอิสลามได้เป็นที่นับถือ และหลอมรวมเข้ากับวิถีชีวิตของคน ส่วนใหญ่ ตั้งแต่คาบสมุทรมลายู อินโดนีเซีย (ยกเว้นกาะบาหลี) ไปจน ถึงตอนล่างของหมู่เกาะฟิลิปปินส์ ask1 ask1 ask1 ask1 ask1 ต่อมา ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 เรือสินค้าของชาวยุโรปได้ทอดสมอ ตามเมืองท่าสำคัญในเอเชียตะวัน ออกเฉียงใต้ กองเรือดังกล่าว ไม่เพียงแต่ เป็นพาหนะของพ่อค้าที่มุ่งมาหาสินค้าอย่างเครื่องเทศเท่านั้น หากแต่ได้ นำศาสนาคริสต์ที่ผู้คนส่วนใหญ่ใน หมู่เกาะฟิลิปปินส์หันมานับถือใน เวลาต่อมาเข้ามาด้วยเช่นกัน เหล่ามิชชันนารีชาวยุโรปโดยเฉพาะโปรตุเกสและสเปน ได้เดินทางมา พร้อมกับกองเรือสินค้าและได้เผยแพร่ศาสนาคริสต์ไปทั่วภูมิภาคทั้งบนภาคพื้นทวีปและภาคพื้นสมุทร อย่างไร ก็ตาม ในช่วงเวลาดังกล่าว ศาสนา พุทธ (ซึ่งผสมผสานกับศาสนาพราหมณ์) ได้เป็นสิ่งยึดเหนี่ยวทางจิตใจและ เป็นส่วนสำคัญของวิถีชีวิตผู้คน บนแผ่นดินใหญ่ของภูมิภาคแล้ว เช่นเดียวกับที่ศาสนาอิสลามไม่อาจ แยกออกจากวิถีชีวิตและวัฒนธรรม ของผู้คนส่วนใหญ่ในบริเวณภาคพื้น สมุทร (แม้ว่าในปี ค.ศ.1511 โปรตุเกส จะพิชิตมะละกาซึ่งเป็นเมืองท่าและ อาณาจักรที่ทรงอิทธิพลทั้งทางการ เมืองและวัฒนธรรมได้ก็ตาม) ด้วยเหตุนี้เอง การเผยแพร่ศาสนา คริสต์โดยมิชชันนารีในยุคนี้จึงไม่ค่อยประสบความสำเร็จนัก ans1 ans1 ans1 ans1 ans1 ans1 อย่างไรก็ตาม ราวคริสต์ศตวรรษ ที่ 17 ด้วยความพยายามอย่างต่อเนื่อง และการสนับสนุนจากรัฐบาลสเปนที่ปกครองฟิลิปปินส์ในฐานะอาณานิคม ตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 16มิชชันนารีชาวสเปนสามารถทำให้ชาวพื้นเมืองในหมู่เกาะฟิลิปปินส์ที่ยัง นับถือความเชื่อท้องถิ่น หันมานับถือ ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกได้ นับเป็นความเปลี่ยนแปลงความเชื่อ ทางศาสนาครั้งใหญ่อีกครั้งหนึ่งใน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปัจจุบัน ฟิลิปปินส์เป็นประเทศ เดียวในอาเซียนที่ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ ขณะที่ประชาชน ส่วนใหญ่ในมาเลเซีย อินโดนีเซีย และ บรูไนนับถือศาสนาอิสลาม ส่วนใน เมียนมาร์ ลาว กัมพูชา เวียดนาม และ ไทย ศาสนาพุทธยังคงเป็นศาสนาที่ ประชาชนส่วนใหญ่นับถือ เช่นเดียวกับ ที่ผู้คนในสิงคโปร์ได้ผสมผสาน หลักธรรมของศาสนาพุทธเข้ากับลัทธิ ขงจื้อ ความหลากหลายทางศาสนานี้ จึงถือเป็นอีกอัตลักษณ์หนึ่งของ อาเซียน ซึ่งประชาชนอาเซียนทุกคน ควรตระหนักและแสดงออกถึงความ เคารพซึ่งกันและกัน เพื่อให้บรรลุ เป้าหมาย การเป็นหนึ่งเดียวกัน ในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนใน ปี 2558 นี้ ขอบคุณบทความและภาพจาก www.komchadluek.net/nationzone/296/20150520/306/การเดินทางของศาสนาในอาเซียนการเดินทางของศาสนาในอาเซียน.html (http://www.komchadluek.net/nationzone/296/20150520/306/การเดินทางของศาสนาในอาเซียนการเดินทางของศาสนาในอาเซียน.html) |