หัวข้อ: พบ 3 โรคร้ายในพระสงฆ์ ครองแชมป์ 3 ปีซ้อน แพทย์แนะวิธีออกกำลังกายและอาหารใส่บาตร เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ สิงหาคม 07, 2015, 07:05:55 am (http://mpics.manager.co.th/pics/Images/558000009057301.JPEG) พบ 3 โรคร้ายในพระสงฆ์ ครองแชมป์ 3 ปีซ้อน แพทย์แนะวิธีออกกำลังกาย และอาหารใส่บาตร แพทย์ชี้ 3 โรครุมเร้าพระสงฆ์ สามเณร เหตุจากฉันอาหารที่มีรสจัด หวานจัด เค็มจัด มีแป้ง ไขมันสูง และขาดการออกกำลังกาย แนะควรเลือกอาหารใส่บาตร พร้อมแนะพระสงฆ์บริหารร่างกาย นายแพทย์สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า จากข้อมูลการรักษาผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลสงฆ์ ปีงบประมาณ 2555-2557 พบพระสงฆ์- สามเณรอาพาธด้วยโรค 3 อันดับแรก คือ โรคเกี่ยวกับระบบการย่อยและดูดซึมสารอาหาร ความดันโลหิตสูง และเบาหวาน นอกจากนี้ ยังพบโรคอื่นๆที่เป็นปัญหาสำคัญ เช่น ไขมันในเลือดสูง ปอดอุดกั้นเรื้อรัง ไตวายเรื้อรัง ข้อเข่าเสื่อม ต้อกระจก เป็นต้น สาเหตุเกิดจากหลายปัจจัย ได้แก่ การฉันภัตตาหารที่รสจัด เช่น หวานจัด เค็มจัด มีแป้งและไขมันสูง ขาดการออกกำลังกายหรือการบริหารร่างกาย ประกอบกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลให้การดำเนินชีวิตและการปฏิบัติศาสนกิจของพระสงฆ์ อาจมีความแตกต่างจากสมัยพุทธกาล เช่น การเดินบิณฑบาตในเมือง ในระยะทางที่สั้นลง รวมถึงการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน และการปฏิบัติศาสนกิจที่แตกต่างจากบุคคลทั่วไป ตามพุทธบัญญัติที่พระสงฆ์ควรอยู่ในอาการที่สำรวม เป็นผู้ดำรงอยู่ในศีล 227 ข้อ ทำให้พระสงฆ์มีข้อจำกัด ไม่สามารถออกกำลังกายเหมือนบุคคลทั่วไปได้ ส่งผลให้มีโอกาสเกิดโรคต่างๆ ได้ง่าย :96: :96: :96: :96: :96: แนวทางการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับพระสงฆ์ จำเป็นต้องสำรวมและเป็นที่ยอมรับของสังคม จึงควรเลือกสถานที่ที่เป็นส่วนตัว เช่น ในกุฏิ ห้องออกกำลังกายสำหรับพระสงฆ์ พื้นที่โล่งในเขตวัด มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก สำหรับการนุ่งห่ม อาจนุ่งสบง รัดประคด เพื่อให้กระชับรัดกุม ไม่จำเป็นต้องสวมจีวร เพื่อความสะดวกในการเคลื่อนไหว ถ้าเป็นการเดิน ควรเดินในทางราบเรียบ ไม่ชื้นแฉะ และควรสวมใส่รองเท้าที่เบาสบาย เพื่อป้องกันการบาดเจ็บที่ฝ่าเท้า เพราะการเดินด้วยเท้าเปล่า อาจทำให้เหยียบถูกของมีคมหรือก้อนกรวดบนพื้น โดยเฉพาะพระสงฆ์ที่อาพาธด้วยโรคเบาหวาน วิธีการออกกำลังกายที่พระสงฆ์สามารถทำได้โดยง่ายและเหมาะสมกับทุกวัย คือ การเดิน เช่นการเดินบิณฑบาต การเดินจงกรม ซึ่งควรเดินต่อเนื่อง 30 นาทีขึ้นไป หรือเดิน 10 -15 นาที 2-3 รอบ สะสมรวมกัน 30 นาที :25: :25: :25: :25: นอกจากนี้ ควรมีกิจกรรมอย่างอื่นร่วมด้วย เช่น การกวาดลานวัด หรือการขึ้นลงบันได ยกเว้นพระสงฆ์สูงอายุที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม ซึ่งก่อนและหลังการออกกำลังกาย ควรมีการอบอุ่นร่างกายและยืดเหยียดกล้ามเนื้อ เพื่อป้องกันการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ ช่วยลดความตึงและเพิ่มความยืดหยุ่นของข้อต่อและกล้ามเนื้อ และควรออกกำลังกายในช่วงที่ไม่หิวหรืออิ่มเกินไป ถ้าฉันภัตตาหารไปแล้วควรรอหลังอาหารอย่างน้อย 2 ชั่วโมง ทั้งนี้ หากมีอาการแน่นหน้าอก เหนื่อยมาก หอบ หายใจไม่ทัน วิงเวียนศีรษะ หน้าซีด คล้ายจะเป็นลม ควรหยุดออกกำลังกายทันที :sign0144: :sign0144: :sign0144: :sign0144: อธิบดีกรมการแพทย์กล่าวเพิ่มเติมว่า การทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ ควรคำนึงถึงอาหารเพื่อสุขภาพ โดยเลือกแต่อาหารที่มีประโยชน์ ไม่มีรสเค็มจัดหวานจัด หรือมันจัด แต่เน้นอาหารที่มีผักมากๆ ถูกต้องตามหลักโภชนาการ คือ • อาหารประเภทนม ควรเลือกถวายนมพร่องไขมัน เหมาะสำหรับพระสงฆ์ที่มีภาวะไขมันในเลือดสูง • อาหารประเภทข้าว ควรเลือกถวายอาหารประเภทข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีท เพราะจะให้ประโยชน์เรื่องใยอาหารและวิตามินบีรวม • อาหารประเภทเนื้อสัตว์ ควรเลือกเนื้อปลา หรือเนื้อสัตว์ไขมันต่ำ • อาหารประเภทผัก ควรเป็นผักหลากสีซึ่งจะมีวิตามินต่างกัน • อาหารประเภทผลไม้ ควรเลือกผลไม้ที่มีรสไม่หวานจัด เช่น ส้ม มะละกอ แตงโม แคนตาลูป ส้มโอ ฝรั่ง สับปะรด กล้วย แอปเปิ้ล แก้วมังกร เป็นต้น ที่สำคัญควรหลีกเลี่ยงการถวายอาหารที่ใช้น้ำมันจำนวนมากในการปรุง เช่น อาหารที่มีกะทิ อาหารที่ปรุงโดยการผัดน้ำมันมากๆ และอาหารทอด ควรงดเว้นหรือหลีกเลี่ยงการถวายขนมที่มีรสหวานจัด เพื่อให้พระสงฆ์ สามเณรมีร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 176 สิงหาคม 2558 โดย กองบรรณาธิการ http://manager.co.th/Dhamma/viewnews.aspx?NewsID=9580000087486 (http://manager.co.th/Dhamma/viewnews.aspx?NewsID=9580000087486) |