หัวข้อ: การเข้าสะกด ด้วยลูกสะกด พระกรรมฐาน มีความจำเป็นต้องทำด้วยหรือป่าวคะ เริ่มหัวข้อโดย: Namo ที่ พฤศจิกายน 27, 2010, 09:17:06 am การเข้าสะกด ด้วยลูกสะกด พระกรรมฐาน ตอนที่ไปที่วัดพลับ หลวงพ่อพระครู ได้ให้เข้าสะกด พร้อมเพื่อน
อีกสองสามคน อยากถามพระอาจารย์ ว่า การเข้าสะกดควรทำกี่ครั้ง คะ มีจำเป็นต้องทำทุกครั้งหรือป่าวคะ เพราะเพื่อนที่ไปด้วย บ่นว่า อยากไปเข้าสะกดอีก :25: หัวข้อ: Re: การเข้าสะกด ด้วยลูกสะกด พระกรรมฐาน มีความจำเป็นต้องทำด้วยหรือป่าวคะ เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ พฤศจิกายน 27, 2010, 01:36:02 pm หลวงพ่อพระครู ท่านว่าอย่างไร ถามท่านหรือยัง
ควรปรึกษาท่านก่อน เพราถ้าถามอาตมานั้น ก็จะเป็นแนวคิดของอาตมา นะจ๊ะ ว่าแต่ เข้าสะกด แล้ว อารมณ์กรรมฐาน ก็น่าจะดีขึ้น น่าจะมีคำตอบในตัว เอาเป็นว่า ถ้ายังไม่ได้ รับคำตอบ เดี๋ยวพระอาจารย์ จะมาตอบให้อีกครั้ง เจริญพร ;) หัวข้อ: Re: การเข้าสะกด ด้วยลูกสะกด พระกรรมฐาน มีความจำเป็นต้องทำด้วยหรือป่าวคะ เริ่มหัวข้อโดย: whuchi ที่ มีนาคม 31, 2012, 05:55:39 pm อยากให้พระอาจารย์ ตอบเรื่องนี้ใหม่ คะ คิดว่ายังไม่เคลียร์ นะคะในคำตอบ คืออ่านแล้วก็ยังไม่เข้าใจอยู่ดีคะ คือเรื่องการสะกดเคยเข้าสะกดที่วัดพลับ หลวงพ่อท่านให้คนนำ้เีทียนตั้งเหนือบาตร และให้หลับตาฟังเสียงลูกสะกดร่วงหล่นในบาตร ในขณะที่ภาวนา คะ แต่ผลท่านก็บอกว่าผ่านสะกดแล้ว แต่ก็อดสงสัยไม่ได้ว่า ผ่านอย่างไร แต่ก้ไม่กล้าถาม สุดท้ายก็ได้ปฏิบัติมายังห้องพระสุขสมาธิ คะ
:25: :25: :smiley_confused1: หัวข้อ: Re: การเข้าสะกด ด้วยลูกสะกด พระกรรมฐาน มีความจำเป็นต้องทำด้วยหรือป่าวคะ เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ เมษายน 03, 2012, 07:52:43 am การเข้าสะกด พระกรรมฐาน ในกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ก็คือการที่ศิษย์สามารถฝึกภาวนาในฐานจิตได้ครบทั้ง 5 ฐานในพระธรรมปีติ เป็นต้นไป เพื่อเป็นการกำหนดสมาธิให้ราบ สามารถขจัดเสี้ยนหนามคือเสียง เพราะเสียง จัดเป็นเสี้ยนหนามของสมาธิ ในเบื้องต้น ครูอาจารย์สมัยก่อนใช้วิธีการเคาะไม้ ในปัจจุบันใช้ลูกสะกดตะกั่ว ปักเข้าไปเทียน ตั้งบนขา บนบาตร และใ้ห้ศิษย์ฝึกฟังเสียงลูกสะกดหล่นร่วง กระทบกับบาตร เพื่อสะกดความหวากลัว หวั่นไหวเมื่อเกิดเสียงใด เสียงหนึ่งเข้ามาแทรกแซงทางจิต ระหว่างที่ฝึกสมาธิ
จำเป็นต้องเข้าสะกดทุกคนหรือไม่ ก็ตอบว่า ไม่จำเป็นขึ้นอยู่ วินิจฉัย ของครูอาจารย์ในขณะนั้นเห็นสมควรอย่างไรก็ปฏิบัติไปตามครูอาจารย์กำหนดให้ ในขณะนั้น เจริญพร / เจริญธรรม ;) |