หัวข้อ: เอเชียติดสมาร์ทโฟนมากสุด ผู้ใช้วัยเด็กลงเรื่อยๆ เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ กันยายน 09, 2015, 07:03:23 pm (http://www.posttoday.com/media/content/2015/09/09/4878337DC8AD4181B41E6ED4E7EB57D9.jpg) เอเชียติดสมาร์ทโฟนมากสุด ผู้ใช้วัยเด็กลงเรื่อยๆ ผลศึกษาในเกาหลีใต้พบชาวเอเชียใช้สมาร์ทโฟน 2.5ล้านคน ขณะที่เยาวชนอายุ 11-12 ปี ถึง 72% มีสมาร์ทโฟนเป็นของตัวเอง โรคโนโมโฟเบีย หรือโรคติดโทรศัพท์มือถือ เป็นอาการที่เกิดจากความวิตกกังวลเนื่องจากไม่ได้ใช้โทรศัพท์มือถือที่ถูกพูดถึงในทั่วโลกกันมาสักพัก แต่สำหรับประเทศในภูมิภาคเอเชียที่เป็นต้นกำเนิดของไม้เซลฟี่หรืออีโมจิ นักจิตวิทยาได้ชี้ให้เห็นว่าจำนวนคนติดโทรศัพท์มือถือกำลังเพิ่มมากขึ้นเป็นอันดับต้นของโลกและมีแนวโน้มอายุน้อยลง ผลการศึกษาพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนของเด็กนักเรียน 1,000 คนในประเทศเกาหลีใต้ พบว่าเยาวชนอายุระหว่าง 11-12 ปี มีสมาร์ทโฟนเป็นของตัวเองถึง 72% และใช้เวลาอยู่กับอุปกรณ์ไฮเทคชิ้นนี้เฉลี่ย 5.4 ชม.ต่อวัน เท่ากับว่า 25% ของเด็กนักเรียนมีอาการติดสมาร์ทโฟน โดยชี้ว่าภาวะความเครียดเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้เสพติด โดยเฉพาะผู้ที่ท่องโลกโซเชียลผ่านสมาร์ทโฟนจะยิ่งมีอาการเสพติดง่ายขึ้น :49: :49: :49: :49: สมาร์ทโฟนได้หลอมรวมเข้ากับวัฒนธรรมในภูมิภาคเอเชียหลากหลายทาง ไม่ว่าจะเป็นกระแสถ่ายภาพอาหารลงโซเชียลเน็ตเวิร์ค หรือฟู้ดพอร์น (หมายถึง รูปอาหารที่ดูดี ยั่วน้ำลาย) หรืออย่างในประเทศญี่ปุ่น โทรศัพท์มือถือกลายเป็นวัฒนธรรมย่อยของสังคม จนมีคำเรียกเฉพาะของตัวเองว่า “วัฒนธรรมเคอิไต” ในเอเชียซึ่งมีจำนวนผู้ใช้สมาร์ทโฟนมหาศาลถึง 2,500 ล้านคน มักจะมีข่าวอุบัติเหตุที่เกี่ยวข้องกับโทรศัพท์มือถือให้เห็นกันอยู่บ่อยๆ อาทิ นักท่องเที่ยวชาวไต้หวันที่ก้มหน้าก้มตาเล่นเฟซบุ๊คเพลินจนเดินตกท่าเรือ หรือสาวจากมณฑลเสฉวนของจีน ที่เดินตกท่อระบายน้ำเพราะมัวแต่สนใจกับโทรศัพท์มือถือ :96: :96: :96: :96: แม้ข่าวเหล่านี้จะสร้างความขบขันให้ผู้ที่ได้พบเห็น ทว่า ประเทศสิงคโปร์กำลังเป็นห่วงเรื่องการอุปกรณ์ที่แทบจะกลายเป็นอวัยวะชิ้นที่ 33 เนื่องจากอายุของผู้ใช้งานเริ่มลดน้อยลงเรื่อยๆ ประเทศเล็กๆ แห่งนี้มีประชากรเพียง 6 ล้านคน แต่กลับมีส่วนแบ่งการตลาดของสมาร์ทโฟนสูงเป็นอันดับ 1 ของโลก เท่ากับฮ่องกงที่ 87% โดยทางรัฐบาลสิงคโปร์พยายามแก้ปัญหาการเสพติดสมาร์ทโฟนด้วยการเพิ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการเสพติดอุปกรณ์ดิจิทัลไว้ให้คำปรึกษาผู้ที่มีปัญหาดังกล่าว นอกจากนี้ ยังให้ความสนใจกับพฤติกรรมของเด็กๆ ในประเทศหลังการใช้สมาร์ทโฟน เนื่องจากระบบการศึกษาของที่นี่ครูผู้สอนจะสั่งการบ้านผ่านแอพพลิเคชั่นสื่อสารอย่าง WhatsApp :41: :41: :41: :41: ในประเทศเกาหลีใต้ นักเรียนหญิงวัย 19 ปีรายหนึ่งเสพติดโทรศัพท์มือถือจนถึงขั้นต้องเข้ารับการบำบัดตั้งแต่เดือน เม.ย. 2013 โดยเธอเผยว่า โทรศัพท์เป็นส่วนหนึ่งในชีวิตเธอ เพียงแค่คิดว่าไม่มีโทรศัพท์หัวใจจะเต้นแรงและมีเหงื่อออกตามนิ้วมือ ด้วยเหตุนี้หลายประเทศเริ่มให้ความสำคัญและพยายามออกกฎเพื่อควบคุมการใชสมาร์ทโฟนของเยาวชน อย่างในเกาหลีใต้ รัฐบาลออกกฎให้ผู้ใช้สมาร์ทโฟนที่อายุต่ำกว่า 19 ปี ต้องติดตั้งแอพพลิเคชั่นที่จับตาการใช้อินเทอร์เน็ตของเจ้าของโทรศัพท์ โดยพ่อแม่สามารถบล็อกเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสมได้ หากไม่ติดตั้งโทรศัพท์ก็จะใช้งานไม่ได้ :91: :91: :91: :91: :91: ส่วนในจีนซึ่งเป็นประเทศแรกๆ ที่จัดให้การเสพติดอินเทอร์เน็ตเป็นภาวะอาการซึมเศร้า ได้จัดตั้งแคมป์สำหรับเด็กที่อยากเลิกอาการเสพติดโทรศัพท์ในลักษณะคล้ายค่ายทหารในกรุงปักกิ่ง แต่ละคนจะต้องเวลาอยู่ที่แคมป์นี้ราว 3-4 เดือน ภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อปรับพฤติกรรม โดยถูกตัดขาดจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทุกชนิด ที่มา www.m2fnews.com (http://www.m2fnews.com) <http://www.m2fnews.com> http://www.posttoday.com/digital/387078 (http://www.posttoday.com/digital/387078) |