หัวข้อ: เตือนเพ่งจอคอมพ์-มือถือเกิน 2 ชั่วโมง เสี่ยงโรคคอมพิวเตอร์วิชันซินโดรม เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ กันยายน 20, 2015, 08:49:56 am (http://mpics.manager.co.th/pics/Images/558000010982601.JPEG) เตือนเพ่งจอคอมพ์-มือถือเกิน 2 ชั่วโมง เสี่ยงโรคคอมพิวเตอร์วิชันซินโดรม สธ.เตือนเพ่งจอมือถือ คอมพิวเตอร์ นานเกิน 2 ชั่วโมง เสี่ยงโรคคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรมสูง ส่งผลปวดแสบตา ตามัว ตาแห้ง ปวดไหล่ ปวดหลัง แนะวิธีถนอมสายตา ยึดสูตร 20 - 20 - 20 นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า วิถีการทำงานในยุคสังคมดิจิตอลน่าเป็นห่วง โดยเฉพาะการใช้สายตาทำงานบนจอคอมพิวเตอร์หรือการติดต่อสื่อสารผ่านแท็บเล็ต หรือสมาร์ทโฟน หากใช้ระยะเวลานานติดต่อกันเกิน 2 ชั่วโมง หรือการทำงานที่ต้องอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ทุกวัน ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพหลายอย่างเรียกว่า อาการคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม หรือ ซีวีเอส (Computer Vision Syndrome : CVS) เช่น มีอาการแสบตา ปวดตา ตาแห้ง น้ำตาไหล ปวดศีรษะ ปวดคอ ปวดไหล่หรือปวดหลัง ระดับความรุนแรงของอาการจะเพิ่มมากขึ้นตามระยะเวลาที่ใช้สายตาอยู่หน้าจอ ได้ให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ความรู้แก่ประชาชน ใช้อุปกรณ์ดิจิตอลอย่างระมัดระวัง เพื่อถนอมสายตาให้ยืนยาว :41: :41: :41: :41: :41: นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวว่า สาเหตุของการเกิดอาการคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม นอกจากการใช้สายตากับหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานแล้ว ยังเกิดมาจากตำแหน่งการจัดวางคอมพิวเตอร์ที่ไม่เหมาะสม มีแสงสว่างหรือแสงสะท้อนจากจอคอมพิวเตอร์ที่มากเกินไป ระยะห่างระหว่างดวงตากับจอคอมพิวเตอร์ ท่านั่งทำงาน ที่ไม่เหมาะสม หรืออาจเกิดมาจากความผิดปกติสายตาของผู้ใช้คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ดิจิตอลเอง ที่ไม่ได้รับการแก้ไข วิธีการปฏิบัติป้องกันที่ดีที่สุด คือ 1.วางหน้าจอคอมพิวเตอร์ให้ห่างจากดวงตาประมาณ 20-28 นิ้ว และควรให้จุดกึ่งกลางกึ่งกลางของหน้าจออยู่ต่ำกว่าระดับสายตาในแนวราบประมาณ 4-5 นิ้ว 2.ปรับแสงสว่างหน้าจอให้พอเหมาะและไม่สว่างเกินไป อาจใช้กระจกกันแสงสะท้อนติดที่หน้าจอ เพื่อลดแสงสะท้อนเข้าดวงตา 3.ควรพักการใช้สายตาเป็นระยะ โดยใช้ “สูตรการพักสายตา 20 - 20 - 20” คือละสายตาจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ทุกๆ 20 นาที แล้วมองไปที่วัตถุที่อยู่ไกลอย่างน้อย 20 ฟุต นานประมาณ 20 วินาที :96: :96: :96: :96: "ขณะทำงานหน้าจอ ควรกระพริบตาให้บ่อยขึ้น เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวดวงตา สำหรับผู้ที่มีสายตาผิดปกติ เช่น สายตาสั้น ยาว หรือเอียง ควรตรวจและแก้ไขความผิดปกติสายตาโดยใส่แว่นตา หรือคอนแทคเลนส์ เพื่อให้สามารถมองเห็นภาพที่หน้าจอได้อย่างชัดเจน และลดการเพ่งมองที่หน้าจอ ป้องกันอาการปวดตาหรือแสบตาได้ หากมีข้อสงสัยสามารถโทรปรึกษาจักษุแพทย์" อธิบดี คร. กล่าว ขอบคุณภาพข่าวจาก http://manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9580000106092 (http://manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9580000106092) |