สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

กรรมฐาน มัชฌิมา => ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน => ข้อความที่เริ่มโดย: รักหนอ ที่ พฤศจิกายน 29, 2010, 07:56:50 am



หัวข้อ: ขอคำแนะนำ กับกับการปฏิบัติ กรรมฐาน ที่ควรทำทุกวันด้วยคะ
เริ่มหัวข้อโดย: รักหนอ ที่ พฤศจิกายน 29, 2010, 07:56:50 am
ในรูปแบบ ของกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำัดับ

มีธรรมเนียมอย่างไร ในการปฏิบัติทุกวันคะ

  คือทุกครั้งโยม จะนั่งกรรมฐาน เลย คะ ( ผิดหรือป่าวคะ )

  :25:


หัวข้อ: Re: ขอคำแนะนำ กับกับการปฏิบัติ กรรมฐาน ที่ควรทำทุกวันด้วยคะ
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ พฤศจิกายน 29, 2010, 09:57:36 am
ข้อแนะนำขั้นตอนในการนั่งสมาธิ
๑.ต้องวัตรกรรมฐานทุกวัน ไม่ควรขาดการทำวัตรเกิน ๓ วัน
   คือ การสวดบททำวัตรแบบย่อ จะสวดแบบ แปล หรือ ไม่แปลก็ได้
   แต่หลวงปู่สมเด็จพระสังฆราช เป็นต้นในการแปล นะ ไม่ใช่มีการแปลในสมัย
   ปัจจุบัน

๒.เมื่อจะอาราธนานั่ง ให้กล่าวคำขอขมา ก่อนทุกครั้ง
   การกล่าวคำขอขมา ต่อพระรัตนตรัย มีความสำคัญมาก

๓.ให้อาราธนานั่งทุกครั้ง ควรนั่งให้ได้ ๑๕ นาที ถึง ๓๐ นาที
   กล่าวคำอธิษฐานการเจริญพระกรรมฐาน ในฐาน ให้ถูกต้อง
   อันนี้เป็นลำดับพระกรรมฐาน

๔.เมื่อเลิกนั่งภาวนาแล้ว ให้แผ่อุทิศส่วนกุศลด้วย จึงลุกจากที่นั่งได้
   การแผ่จิตอุทิศส่วนกุศล เป็นสิ่งทีต้องสร้างเพื่อความร่มเย็นและสันติสุข
   การแผ่เมตตา ทำให้สัตว์นรกได้ัพักแม้ ชั่วเสี้ยววินาทีก็มีคุณค่า

๕.นั่งแล้วรู้เห็นอะไร ห้ามคุยกันเอง ให้ไปแจ้งกรรมฐานกับอาจารย์
    หรือสอบ อารมณ์
    อันนี้เป็นเหตุผลที่บางครั้ง ก็ไม่สามารถ ตอบอารมณ์กรรมฐานแจ้งทางเว็บ
   ได้ต้องตอบเป็นการส่วนตัว

๖.เมื่อแจ้งกรรมฐาน พระสงฆ์ต้องห่มจีวรให้เรียบร้อย มีดอกไม้ธูปเทียนมา
   ด้วยเพื่อเคารพในพระกรรมฐานถ้าแจ้งกรรมฐานผ่านให้อาราธนานั่งองค์
   ต่อไป ถ้าแจ้งไม่ผ่านให้อาราธนานั่งองค์เดิม
   การเคารพต่อพระรัตนตรัย เป็นวิสัยของพระโสดาบัน แม้เราจะเป็นพระโยคาวจร ก็พึงสะสมนิสัย นี้ไว้


เป็นหลักปฏิบัติ ที่หลวงพ่อพระครูแนะนำไว้ดีแล้วจากหนังสือ

สมถะ วิปัสสนาจากพระไตรปิฏก ( โดย พระครูสิทธิสังวร )


หัวข้อ: Re: ขอคำแนะนำ กับกับการปฏิบัติ กรรมฐาน ที่ควรทำทุกวันด้วยคะ
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ พฤศจิกายน 29, 2010, 10:21:41 am
การบริภาษ พระอริยะ มีโทษ ๑๐ ประการ

๑.ผู้นั้นไม่บรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ  หรือที่บรรลุแล้วในคุณเบื้องต่ำ จะไม่บรรลุในเบื้องสูง
๒.เสื่อมจากธรรมที่บรรลุแล้ว มีโลกียฌาณเป็นต้น
๓.สัทธรรมของผู้นั้นย่อมไม่ผ่องแผ้ว
๔.เป็นผู้เข้าใจว่าตนได้บรรลุในสัทธรรมทั้งหลาย
๕.เป็นผู้ไม่ยินดีในการประพฤติพรหมจรรย์
๖.ต้องอาบัติเศร้าหมองอย่างใดอย่างหนึ่ง
๗.ย่อมเป็นโรคอย่างหนัก
๘.ถึงความเป็นบ้า  จิตฟุ้งซ่าน
๙.เป็นผู้หลงไหลทำกาลกิริยา
๑๐.เมื่อตายไปย่อมเข้าถึง ทุคติ อบายภูมิ

บุคคลใดด่าบริภาษเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย กล่าวโทษ