หัวข้อ: ยลเสน่ห์วิถีชาวมอญ-สืบสานวัฒนธรรมแก่เก่า งานบุญเดือนสิบ "ลอยเรือสะเดาะเคราะห์" เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ กันยายน 21, 2015, 09:21:21 pm (http://www.banmuang.co.th/uploads/news/img/l/26908_th.jpg) ยลเสน่ห์วิถีชาวมอญ-สืบสานวัฒนธรรมแก่เก่า งานบุญเดือนสิบ "ลอยเรือสะเดาะเคราะห์" รับสิ่งดีงาม สังขละบุรี อำเภอสุดแดนภาคตะวันตกของจังหวัดกาญจนบุรี มีมนต์เสน่ห์ที่ทำให้หลายคนหลงไหล ที่มีทิวเขาเขียวชอุ่มเรียงรายสลับซับซ้อนยาวจนสุดลูกหูลูกตา สร้างธรรมชาติให้มีความสวยงาม ท่ามกลางวิถีชีวิตของชาวไทย เชื้อสายมอญ ที่ดำรงชีวิตอยู่อย่างเรียบง่าย และยังคงรักษาขนบธรรม ประเพณีวัฒนธรรมอันแก่ของบรรพบุรุษ สืบทอดรักษาไว้จนถึงลูกหลานในปัจจุบัน นอกจากสะพานไม้อุตตะมาณุสรณ์หรือสะพานมอญ ที่มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วประเทศและทั่วโลกแล้ว อำเภอสังขละบุรี ยังมีประเพณีดั้งเดิมของชุมชนชาวไทยเชื้อสายมอญ ที่สืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบันนี้นั่นคือ ประเพณีงานบุญเดือนสิบลอยเรือสะเดาะเคราะห์ st12 st12 st12 st12 นางสาวอรัญญา เจริญหงษ์ษา เลขานุการวัฒนธรรมตำบลหนองลู อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี กล่าวถึงประเพณีลอยเรือสะเดาะเคราะห์ ชาวไทยรามัญ อำเภอสังขละบุรีนี้ กำหนดจัดขึ้นเป็นเวลา 3 วัน ในวันขึ้น 14-15 ค่ำ และแรม 1 ค่ำ เดือน10ของทุกปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการบูชาเทวดาที่อยู่ในน้ำ ในป่าและบนบก อีกทั้งเป็นการสืบสานประเพณีดั๋งเดิมของบรรพบุรุษ ตลอดทั้งเป็นการเผยแพร่ประเพณีลอยเรือสะเดาะเคราะห์ให้แก่ชุมชน ประชาชนและนักท่องเที่ยวได้ศึกษาเรียนรู้ โดยประเพณีดังกล่าว ซึ่งกิจกรรมที่น่าสนใจ อาทิเช่น การเจริญพระพุทธมนต์โดยพระสงฆ์ การบูชาเรือนำธงกระดาษและอาหารคาวหวาน 9 อย่าง ไปบูชาเรือ การสะเดาะเคราะห์ต่ออายุ โดยการนำธูป เทียน ตามกำลังวันเกิดไปไหว้และสะเดาะเคราะห์ ซึ่งจะมีการเผาธูปเทียนในวันสุดท้ายของงาน มีการเล่นโคม ปล่อยโคม การตักบาตรน้ำตาลทราย น้ำผึ้ง การเลี้ยงอาหารคาวหวานแก่ผู้มาร่วมงาน จากนั้นนำเรือไปลอยในแม่น้ำ บริเวณที่มีแม่น้ำสามสาย คือ แม่น้ำซองกาเรีย แม่น้ำบิคลี่และแม่น้ำรันตี ไหลมาบรรจบกัน บริเวณนี้เรียกว่า"สามประสบ" โดยใช้เรือยนต์ลากเรือไมไผ่ที่ใช้ทำพิธีลอยเรือสะเดาะเคราะห์นี้ ออกไปกลางอ่างน้ำ จากนั้นก็ผูกเรือไว้กับขอนใหญ่กลางอ่างเก็บน้ำ ถวายเรือและเครื่องเซ่นไหว้ให้กับเทวดาผู้ปกปักรักษาชาวมอญ เป็นอันเสร็จพิธีลอยเรือสะเดาะเคราะห์ของชาวมอญ ซึ่งประเพณีลอยเรือสะเดาะเคราะห์นี้ ยังคงมีไว้ให้เห็นที่อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรีนี้เท่านั้น (http://www.banmuang.co.th/uploads/news/img/galleryL/26908_1442822662_2_th.jpg) ประเพณีลอยเรือสะเดาะเคราะห์ของชาวมอญ อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรีนี้..เริ่มจากบรรพบุรุษชาวมอญที่เมืองสังขละบุรี สืบทอดกันมา เมื่อครั้งพระเจ้าธรรมเจดีย์ ขึ้นครองราชย์ปกครองอาณาจักรมอญ เมืองหงสาวดี พระองค์ทรงเห็นพระภิกษุสามเณรในเมืองหงสาวดีมีความประพฤติย่อหย่อนต่อพระธรรมวินัย พระพุทธศาสนาในเมืองมอญเกิดมลทินด่างพร้อย จึงมีพระราชประสงค์จะสังคายนาพระพุทธศาสนาในเมืองมอญเสียใหม่ เพื่อชำระหมู่พระภิกษุสงฆ์ในเมืองมอญให้มีความบริสุทธิ์ จึงมีพระราชโองการรับสั่งให้พระภิกษุสามเณรในเมืองมอญลาสิกขาเสียหมดทั้งประเทศ แล้วส่งชีปะขาวถือศีล8คณะหนึ่ง ซึ่งก็คืออดีตพระเถระผู้ทรงพระไตรปิฏก ทรงความรู้ ตั้งมั่นในศีล เดินทางไปยังประเทศศรีลังกา เพื่อให้ไปถือการอุปสมบทเป็นพระภิกษุใหม่จากคณะสงฆ์ในประเทศศรีลังกา เสร็จแล้วจึงเดินทางกลับมาเป็นอุปัชฌาย์ให้แก่คนมอญในเมืองหงสาวดี ประเทศมอญใหม่อีก :25: :25: :25: :25: คณะของปะขาวนี้ เมื่อเดินทางไปถึงประเทศศรีลังกา ได้รับการอุปสมบทแล้ว ก็เดินทางกลับ ระหว่างทาง มีเรือสำเภาลำหนึ่งในจำนวน 2 ลำ โดนพายุพัดให้หลงทิศทาง ส่วนอีกลำหนึ่งเดินทางกลับถึงเมืองหงสาวดีโดยปลอดภัย เมื่อทราบถึงพระกรรณของพระเจ้าธรรมเจดีย์ พระองค์จึงมีรับสั่งให้ทำเรือจำลองขึ้นมา พร้อมบรรจุของเซ่นไหว้บวงสรวงเหล่าเทวดา ประกอบด้วย ข้าวตอก ดอกไม้ ธูป เทียน ฉัตร ธง ผลไม้ ขนมชนิดต่างๆอย่างละ 1,000 ชิ้น ทำพิธีสะเดาะเคราะห์ โดยทรงระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย บวงสรวง บูชาเหล่าเทวดาทุกหมู่เหล่า ช่วยปัดเป่าให้เรือสำเภาลำที่หลงทิศนั้น กลับมาอย่างปลอดภัย หลังจากที่พระองค์ทรงทำพิธีสะเดาะเคราะห์แล้ว อีกไม่กี่วันเรือสำเภาที่พลัดหลงก็เดินทางกลับมาถึงเมืองหงสาวดีอย่างปลอดภัย ตั้งแต่บัดนั้นมา คนชาวมอญจึงถือเอาเหตุการณ์นี้ ทำพิธีลอยเรือสะเดาะเคราะห์ โดยถือในกลางเดือนสอบของทุกๆปี มาตราบเท่าปัจจุบัน (http://www.banmuang.co.th/uploads/news/img/galleryL/26908_1442822662_1_th.jpg) สำหรับในปีนี้ วันจัดงานกับวันที่ 26-27-28 กันยายน 2558 จังหวัดกาญจนบุรี ร่วมกับอำเภอสังขละบุรีและการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานกาญจนบุรี จึงขอเชิญชวนนักท่องเที่ยวและผู้สนใจ เดินทางไปเที่ยวชมงานประเพณีลอยเรือสะเดาะเคราะห์นี้ ณ บริเวณลานหน้าเจดีย์พุทธคยา วัดวังก์วิเวการาม ต.หนองลู อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรีในวันดังกล่าว เพื่อได้มีโอกาสได้สัมผัสกับประเพณีอันศักดิ์สิทธิ์ของชาวมอญที่ได้อนุรักษ์รักษาและสืบทอดกันต่อๆมาเป็นเวลานับร้อยปีแล้ว นอกจากจะได้อิ่มบุญกันแล้ว ยังได้ซึมซับวัฒนธรรมและความศรัทธาได้ไม่มากก็น้อยเลยทีเดียว ขอบตุณภาพข่าวจาก http://www.banmuang.co.th/news/region/26908 (http://www.banmuang.co.th/news/region/26908) |