สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

เรื่องทั่วไป => forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน => ข้อความที่เริ่มโดย: raponsan ที่ กันยายน 25, 2015, 09:59:02 pm



หัวข้อ: วิพากษ์ ร่าง พรบ. ธนาคารพระพุทธศาสนา
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ กันยายน 25, 2015, 09:59:02 pm

(http://www.komchadluek.net/media/img/size_photo_slide/2015/09/25/j5aaa5beeh6eeebfg667c.jpg)

วิพากษ์ ร่าง พรบ. ธนาคารพระพุทธศาสนา

'วิชา'นำวิพากษ์ร่างพรบ.ธนาคารพระพุทธศาสนา หวังเป็นแหล่งทุนช่วยผู้มีรายได้น้อยประกอบสัมมาชีพตามทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงได้อีกทาง

วันที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๕๘  แต่เวลา ๐๘.๐๐ น.เป็นต้นไป ศูนย์พุทธศาสนศึกษาญาณสังวร มูลนิธิ ๑๐๐ พระชันษา สมเด็จพระญาณสังวรานุสรณ์ในพระสังฆราชูปถัมภ์  จัดเสวนาพิเศษวิพากษ์"ร่างพรบ.ธนาคารพระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย" ที่ห้องบุญศิริ สถาบันพัฒนาสาธารณสุขอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล

ทั้งนี้ศูนย์พุทธศาสนศึกษาญาณสังวร  เป็นศูนย์ในสังกัดมูลนิธิ ๑๐๐ พระชันษา สมเด็จพระญาณสังวรานุสรณ์ ในพระสังฆราชูปถัมภ์ มูลนิธินี้ก่อตั้งขึ้นมาเพื่อส่งเสริมการศึกษาและการวิจัยทางพระพุทธศาสนาที่ได้มาตรฐานระดับชาติและระดับนานาชาติเพื่อสนองพระดำริของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เจ้าประคุณสมเด็จฯ ทรงเคยปรารภให้ศิษยานุศิษย์ช่วยกันผลิตตำราทางพระพุทธศาสนาเป็นภาษาต่างประเทศ

 :25: :25: :25: :25:

      เมื่อวัดบวรนิเวศวิหารและรัฐบาลได้จัดงานฉลองพระชันษา ๑๐๐ ปี สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ๓ ตุลาคม ๒๕๕๖ บรรดาศิษยานุศิษย์และพุทธบริษัทที่เคารพนับถือในพระองค์เห็นว่า
      การผลิตผลงานวิชาการทางพระพุทธศาสนาเพื่อเผยแพร่ไปยังสังคมนานาชาติ ก็เป็นอีกโครงการหนึ่งที่ทรงเคยพระดำริและปรารภให้ศิษยานุศิษย์ฟัง ซึ่งบรรดาศิษยานุศิษย์ควรจะสืบสานพระดำริเพื่อถวายพระเกียรติในพระองค์ จึงได้ชักชวนกันก่อตั้งมูลนิธิ ๑๐๐ พระชันษา สมเด็จพระญาณสังวรานุสรณ์ ในพระสังฆราชูปถัมภ์ ซึ่งต่อมา มูลนิธินี้ก็ก่อตั้งศูนย์พุทธศาสนศึกษาญาณสังวรขึ้นมา โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปฐมพงษ์ โพธิ์ประสิทธินันท์ได้รับการคัดเลือกจากกรรมการมูลนิธิให้เป็นผู้อำนวยการ 

     :25: :25: :25: :25: :25:

ประเด็นเรื่องธนาคารพระพุทธศาสนานี้ ที่จริงแล้ว เคยมีปรารภในหมู่ชาวพุทธมานานแล้วว่าสมควรจะมี เช่น เมื่อราว ๑๘ ปีแล้ว อาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพก็เคยปรารภว่าน่าจะมีสหกรณ์หรือธนาคารพระพุทธศาสนาเพื่อเพิ่มแหล่งเงินกู้แก่ชาวพุทธที่ตั้งมั่นอยู่ในหลักเบญจศีลเบญจธรรม เพื่อให้ชาวพุทธเหล่านี้สามารถนำไปลงทุนประกอบสัมมาชีพบนพื้นฐานของเศรษฐกิจพอเพียง หลังจากนั้นอีกหลายปี ก็มีชาวพุทธช่วยกันนำเสนอจนกระทั่งกรรมาธิการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎรได้จัดทำร่างขึ้นมา หลังจากนั้น คณะกรรมาธิการฯ ก็ได้ประชุมกันหลายครั้ง ผ่านการกลั่นกรองจากมหาเถรสมาคมแล้ว แต่ในที่สุด ขณะที่กำลังอยู่ในขั้นตอนนำเสนอสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ก็มีการยุบสภาไปเสียก่อน

มาถึงสมัยรัฐบาลคสช. พลตำรวจเอกพิชิต ควรเดชะคุปต์  ประธานคณะกรรมาธิการศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรมและการท่องเที่ยว ได้แต่งตั้งผศ.ดร.ปฐมพงษ์ โพธิ์ประสิทธินันท์ อาจารย์ภาควิชามนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลและผู้อำนวยการศูนย์พุทธศาสนศึกษาญาณสังวร มูลนิธิ ๑๐๐ พระชันษา สมเด็จพระญาณสังวรานุสรณ์ในพระสังฆราชูปถัมภ์ เป็นที่ปรึกษากิตติมศักดิ์กรรมาธิการ ศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรมและการท่องเที่ยว และเป็นหัวหน้าคณะทำงานพิจารณาศึกษาแนวทางการส่งเสริมพระพุทธศาสนาเพื่อความมั่นคงและยั่งยืนของคณะกรรมาธิการฯ ระหว่างนี้ก็มีคนนำร่างพรบ.ธนาคารพระพุทธศาสนามาให้คณะทำงานพิจารณา

 ans1 ans1 ans1 ans1

หลังจากคณะทำงานศึกษาร่างพระราชบัญญัติธนาคารพระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทยในรายละเอียดก็พบว่าเป็นร่างธนาคารที่มีประโยชน์ต่อสังคมไทยมากใน ๓ ประเด็นใหญ่ๆ กล่าวคือ:-

ประเด็นที่ ๑หากมีธนาคารพระพุทธศาสนาขึ้นมาก็จะเท่ากับว่ารัฐบาลไทยได้สร้างแหล่งเงินกู้ให้ประชาชนที่มีรายได้น้อยอีกแห่งหนึ่ง  เพื่อให้สามารถนำไปประกอบสัมมาชีพตามทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้อย่างดี ที่ผ่านมา แม้สังคมไทยจะส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียง แต่ทว่าก็เป็นเรื่องของปัจเจก ใครมีทุนและสามารถหาแหล่งเงินกู้ได้ก็ได้ทำ แต่ประชาชนอีกจำนวนมากไม่มีโอกาสจะได้เงินกู้ กล่าวอีกนัยว่าสังคมไทยยังไม่มีองค์กร ที่เป็นโครงสร้างทางสังคมที่จะสนับสนุนเงินกู้แก่ชาวพุทธที่ยากจนไปประกอบสัมมาชีพตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียงได้กว้างขวางเพียงพอ เนื่องจากสถาบันการเงินอื่นๆ มักมีมาตรฐานบริหารความเสี่ยงที่สูง ไม่ปล่อยสินเชื่อหากไม่มีหลักทรัพย์มั่นคงเพียงพอหรือมิฉะนั้น ก็เน้นกำไรสูงสุดมากเกินไป ถ้ามีธนาคารพระพุทธศาสนาขึ้นมาซึ่งบริหารโดยอาศัยหลักการของพระพุทธศาสนา ก็จะเพิ่มสถาบันการเงินอีกแห่งเพื่อให้ชาวพุทธที่ไม่ได้สินเชื่อจากสถาบันการเงินอื่นๆ มากู้ได้

    แต่ธนาคารพระพุทธศาสนานี้อาจกำหนดคุณสมบัติผู้กู้ที่แตกต่างจากสถาบันการเงินอื่นๆ กล่าวคือ
    ๑.ผู้กู้ต้องมีเบญจศีลเบญจธรรมอยู่ประจำ พร้อมทั้งอบรมสั่งสอนลูกหลานให้มีศีลธรรมอันดีด้วย
    ๒.ต้องมีความขยันหมั่นเพียร
    ๓.ต้องกู้ไปเพื่อประกอบสัมมาชีพบนพื้นฐานของเศรษฐกิจพอเพียงเท่านั้น ไม่ทำมาค้าขายที่เป็นมิจฉาวณิชชา

ถ้าหากธนาคารพระพุทธศาสนานี้เกิดขึ้นในสังคมไทย ก็จะเป็นการขยายฐานผู้ดำรงชีวิตบนพื้นฐานหลักเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบนแผ่นดินไทยให้กว้างขวางออกไป สร้างชุมชนเศรษฐกิจพอเพียงให้เข้มแข็งยิ่งขึ้นได้ หากรัฐบาลนี้ทำสำเร็จก็จะเป็นการเผยแพร่วิถีเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้กว้างขวางออกไปสู่ชุมชนคนมีรายได้น้อยในประเทศไทยได้เพิ่มมากขึ้น ส่วนการบริหารความเสี่ยงนั้น ธนาคารก็จะมีมาตรการในข้อบังคับของธนาคารเพื่อให้เกิด NPL ที่น้อยที่สุด

 :49: :49: :49: :49:

ประเด็นที่ ๒  มีสถาบันการเงินที่เข้ามาดูแลการใช้จ่ายเงินทองของพระภิกษุสามเณรเพื่อให้พระภิกษุสามเณรละเมิดอาบัติที่เกี่ยวกับเงินทองน้อยลงได้ ธนาคารจะมีมาตรการดูแลการฝากเงินทองของวัดหรือพระภิกษุสามเณรให้เป็นไปตามหลักพระธรรมวินัย กล่าวคือต้องมีไวยาวัจกรคอยประสานงานในการเบิกจ่าย

      หลักพระวินัย
     ๑.ห้ามมิให้พระภิกษุจับรัตนะ ๘ ประการคือมุกดา, มณี, ไพทูรย์, ประพาฬ, ทับทิม, บุษราคำ, สังข์, ศิลา ถ้ารูปใดจับเป็นอาบัติทุกกฎ
     ๒.ห้ามมิให้ภิกษุรับเองก็ดี ใช้ให้ผู้อื่นรับเองก็ดีซึ่งทองและเงิน หรือยินดีทองและเงินที่เก็บไว้เพื่อตนต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ ตามสิกขาบทที่ ๘ โกสิยวรรคที่ ๒ แห่งนิสสัคคียปาจิตตีย์,
     ๓.ห้ามมิให้ภิกษุทำมาหาเลี้ยงชีพด้วยอเสนา (การแสวงหาที่ไม่ควร) เช่น ใช้รูปิยะหรือเงินทองลงทุนเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ การเปิดร้านขายกาแฟหรือขนมปังในวัดก็ดีที่เป็นข่าว ต้องอาบัติทุกกฎ แม้อาบัตินี้จะเบาแต่หากต้องบ่อยๆ ก็เข้าข่ายอลัชชี คณะสงฆ์สามารถจับสึกได้เช่นกัน
    ๔.ห้ามมิให้พระภิกษุยักยอกทรัพย์ของผู้อื่นเกิน ๕ มาสก ผู้ใดละเมิดต้องอาบัติทุติยปาราชิก การมีไวยาวัจกรคอยประสานงานกับธนาคารเพื่อดูแลรายรับรายจ่ายของพระสงฆ์หรือแม้กระทั่งอำนวยความสะดวกให้พระสงฆ์ เดินทางไปต่างประเทศจะช่วยให้พระสงฆ์รักษาหลักพระธรรมวินัยได้มากขึ้นและดีกว่าที่พระสงฆ์จะเก็บเงินทองของวัดภายในวัดเองด้วย

     เพราะวัดเป็นสถานที่บำเพ็ญบุญกุศลจึงมีอุบาสกอุบาสิกาไปทำบุญบริจาคทานกันมาก ทั้งในรูปของเงิน ทรัพย์สินประเภทอสังหาริมทรัพย์ ถ้าพระสงฆ์ไม่มีรายละเอียดรายรับรายจ่ายชัดเจนก็จะเข้าข่ายผิดพระวินัยได้ง่ายๆ  ดังนั้น แต่ละวัดจึงต้องมีการแต่งตั้งคณะไวยาวัจกรขึ้นมาเพื่อคอยฝาก-ถอนเงินจากธนาคาร พร้อมกันนั้น ธนาคารก็จะให้คำแนะนำในการทำบัญชีแก่ไวยาวัจกรวัดต่างๆ ที่ฝากเงินไว้ด้วยเพื่อให้ปลอดภัยจากปัญหาทุติยปาราชิกที่อาจจะมีได้ ธนาคารจึงจะมีบทบาทสำคัญในการดูแลการใช้จ่ายเงินของพระภิกษุสามเณรให้อยู่ในกรอบของหลักพระธรรมวินัยได้ด้วย

 :sign0144: :sign0144: :sign0144: :sign0144:

ประเด็นที่ ๓ เพิ่มแหล่งทุนในการทำวิจัยทางพระพุทธศาสนาและสงเคราะห์ชาวพุทธที่ยากไร้ได้  คณะทำงานเห็นว่ารายได้จากการบริหารกิจการธนาคารควรแบ่งเป็น ๓ ส่วน กล่าวคือส่วนที่ ๑ (25%) เป็นเงินเดือนสำหรับพนักงาน, ส่วนที่ ๒ และ ๓ สำหรับไว้ขยายกิจการของธนาคารและส่วนที่ ๔ มีไว้เป็นทุนส่งเสริมการศึกษา วิจัย พัฒนาและเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้กว้างขวางออกไป รวมทั้งเพื่อสาธารณสงเคราะห์ เช่น สงเคราะห์ชาวพุทธที่ยากจนในท้องถิ่นธุรกันดาร โดยวิธีให้ทุนการศึกษาแก่บุตรหลานชาวพุทธ เป็นต้น

การที่กำหนดให้ธนาคารต้องแบ่งปันรายได้ ๒๕% สำหรับงานวิจัย งานเผยแผ่ งานพัฒนาทางพระพุทธศาสนาและสาธารณสงเคราะห์ จะทำให้สถาบันการศึกษาทางพระพุทธศาสนาเพิ่มแหล่งทุนสนับสนุนในการผลิตงานวิจัยต่างๆ เพื่อนำคำสอนของพระพุทธศาสนามาประยุกต์ใช้ให้เหมาะแก่กาลสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างต่อเนื่องด้วย และจะทำให้เกิดการพัฒนาปรับปรุงการเผยแผ่ให้เหมาะแก่สมัยมากย่ิงขึ้นด้วย

ส่วนประเด็นที่หลายคนตั้งขึ้นมาว่า มีบางมาตราที่ร่างพระราชบัญญัติธนาคารพระพุทธศาสนา มีความสอดคล้องกับพรบ.ธนาคารอิสลามหรือธนาคารอื่นๆ คณะทำงานเห็นว่าไม่ใช่ประเด็น เพราะธนาคารทุกธนาคารมีวัตถุประสงค์หลักๆ คล้ายกัน กล่าวคือเป็นสถานที่ให้ประชาชนออมทรัพย์และให้สินเชื่อเงินกู้ ดังนั้น พระราชบัญญัติธนาคารต่างๆ จึงต้องมีหลายๆ มาตราคล้ายคลึงกัน แต่ทว่ารายละเอียดนั้นจะแตกต่างกัน

 ask1 ask1 ask1 ask1

อย่างไรก็ดี แนวคิดข้างต้นนี้ เป็นคิดของคณะทำงานเท่านั้น เพื่อให้เกิดการรับฟังความเห็นจากบรรดาองค์กรอื่นๆ ทุกด้านและได้ร่างพระราชบัญญัติที่สมบูรณ์ ศูนย์พุทธศาสนศึกษาญาณสังวรจึงจัดเสวนาวิพากษ์ร่างพระราชบัญญัติธนาคารพระพุทธศาสนาขึ้น ในวันที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๕๘ นี้ ที่สถาบันพัฒนาสาธารณสุขอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

ซึ่งศูนย์ฯ ได้เรียนเชิญวิทยากร ๓ คนคือ นายวิชา มหาคุณจากสำนักงานป้องกันและปราบปราทุจริตแห่งชาติเพื่อมาพิจารณาในแง่มุมนักกฎหมาย, นายสามารถ มังสังเพื่อพิจารณาในแง่มุมหลักพระธรรมวินัยและนายเกรียงไกร ตั้งสุขเกษมสันติ์ เพื่อพิจารณาในแง่มุมสวัสดิการ 

โดยเชิญบรรดานักวิชาการจากสถาบันต่างๆ อาทิ มหาวิทยาลัยสงฆ์มหามกุฏฯ และมหาจุฬา, องค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก, พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย, ผู้แทนจากมหาเถรสมาคม, ผู้แทนจากแม่กองธรรมสนามหลวง, ผู้แทนจากแม่กองบาลีสนามหลวง, ผู้แทนจากพรรคการเมือง เป็นต้นเพื่อให้ร่างพรบ.นี้มีความสมบูรณ์ที่สุดก่อนจะนำเสนอไปยังรัฐบาลต่อไป

ขอบคุณภาพข่าวจาก
http://www.komchadluek.net/detail/20150925/214036.html (http://www.komchadluek.net/detail/20150925/214036.html)