หัวข้อ: ยัน..ปฏิรูปกิจการพุทธฯ ต้องทำต่อ เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ กันยายน 30, 2015, 08:32:18 am (http://www.dailynews.co.th/images/1175660) ยัน..ปฏิรูปกิจการพุทธฯ ต้องทำต่อ "พระพรหมมุนี" แนะพระสงฆ์ สามเณร ปฏิรูปตนเองอยู่ในสมณ พระธรรมวินัย กฏหมายสงฆ์ ก่อน ปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนาจึงเกิดผลได้ดี ขณะที่"พระพรหมบัณฑิต"ชี้ถึงแม้สปช.ยุติบทบาท ก็ต้องเดินหน้าปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนาต่อ วันนี้ (29 ก.ย.) ที่วัดพระธาตุดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ มหาเถรสมาคม (มส.) ร่วมกับ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) จัดการประชุมเชิงวิชาการระดมความคิดเห็น เพื่อพัฒนากิจการคณะสงฆ์ในการปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนา ครั้งที่2 เขตพื้นที่การปกครองคณะสงฆ์หนเหนือ โดยมีพระพรหมมุนี(สุชินอคฺคชิโน)ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม กรรมการ มส.ในฐานะคณะทำงานติดตามแนวทางการปฏิรูปพระพุทธศาสนาของ มส.เป็นประธานเปิดการประชุม ans1 ans1 ans1 ans1 โดยพระพรหมมุนี กล่าวว่า การจัดประชุมระดมความคิดเห็นครั้งนี้เป็นครั้งที่2จากกำหนดการการจัดประชุมทั้งหมด3ครั้ง และเมื่อครบทั้ง3ครั้งแล้ว จะสรุปแนวทางการปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนาที่มาจากการระดมความคิดเห็นพระสงฆ์และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องเสนอต่อที่ประชุม มส.จากนั้นเมื่อ มส.พิจารณาแล้ว จะนำเสนอต่อ นายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่กำกับดูแล พศ. เพื่อเสนอต่อรัฐบาล และนำไปสู่การปฏิบัติต่อไป อย่างไรก็ตามอยากฝากไว้ด้วยว่า การจะปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนาได้ดี พระสงฆ์จะต้องปฏิรูปตัวเองด้วย คือ ต้องปฏิรูปสมณวิสัย ต้องอยู่ในกรอบ ในระเบียบตามพระธรรมวินัย และกฎหมายคณะสงฆ์ ทั้งนี้ ข้อเสนอในการปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนาที่เกิดขึ้นมานั้น ส่วนตัวมองว่าเป็นข้อเสนอที่นำเรื่องไม่ดีมาเป็นมาตรฐาน แต่เรื่องดีๆในคณะสงฆ์มีตั้งมากมาย กลับไม่นำมาเป็นมาตรฐาน :25: :25: :25: :25: ด้าน พระพรหมบัณฑิต(ประยูรธมฺมจิตฺโต)เจ้าอาวาสวัดประยุวงศาวาส อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร.)กรรมการมส.ในฐานะคณะทำงานติดตามแนวทางการปฏิรูปพระพุทธศาสนาของ มส. กล่าวว่า มีผู้สอบถามมาเยอะว่าขณะนี้สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ได้ยุติบทบาทไปแล้วการปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนาต้องดำเนินการต่อหรือไม่ ขอชี้แจงว่า รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวพ.ศ.2557แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่1พ.ศ.2558มาตรา39/2ระบุว่าเมื่อ สปช.สิ้นสุดลง กำหนดให้นายกรัฐมนตรีแต่งตั้งสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) ขึ้น โดยให้มีสมาชิก200คน เพื่อปฏิรูปด้านต่างๆ สืบต่อจากสปช. นั่นหมายความว่า แม้ สปช.จะยุติบทบาทลงตามรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวพ.ศ.2557แล้ว แต่ก็มีการตั้งสปท.ขึ้นมาดำเนินการต่อ ขณะเดียวกันเมื่อมีการไม่รับร่างรัฐธรรมนูญส่งผลให้ต้องมีการตั้งคณะกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาใหม่ ดังนั้น ตามแผนการปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนาที่เดิมกำหนดตามแผนงานว่าปี 2560ต้องส่งต่อแนวทางปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนาให้รัฐบาลชุดใหม่ ก็จำเป็นต้องเลื่อนออกไปด้วย. ขอบคุณภาพข่าวจาก : http://www.dailynews.co.th/education/351127 (http://www.dailynews.co.th/education/351127) |