หัวข้อ: เหตุ อัปมงคล เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ พฤศจิกายน 24, 2015, 08:02:06 am เหตุ อัปมงคล ตำราสวัสดิมงคลบทหนึ่ง นักรบสมัยโบราณพร่ำสอนกัน...อนึ่ง ห้ามอย่าเอาผ้านุ่งเช็ดหน้า อย่าล้างหน้าด้วยกระบวยกะลา ให้ล้างหน้าด้วยขัน อย่าฆ่าสัตว์ที่ต้องปีเกิด จะเป็นการถอยอายุ (7 ความเชื่อของไทย พลูหลวง สำนักพิมพ์เมืองโบราณ พิมพ์ครั้งที่ 2 พ.ศ.2546) อาจารย์พลูหลวงอธิบายว่า ด้วยผ้านุ่งเป็นของต่ำ จะทำให้สง่าราศีเสีย เรื่องอัปมงคลที่โบราณถือกันมากอีกเรื่อง จะกินหมาก เมื่อหยิบใบพลูจะป้ายปูน ก็ต้องเด็ดปลายทิ้ง ถือว่าปลายเป็นหางหรือส่วนตีนของใบพลู เก็บผักตำลึงมาแกงก็จะเด็ดตีนทิ้ง คนโบราณท่านว่าจะทำให้คาถาเสื่อม กระบวย กะลา คนโบราณมักใช้ไว้ตักน้ำล้างเท้า ไม่นิยมใช้ล้างหน้า นักรบสมัยก่อนจะมีขันโลหะ เช่น ขันลงหิน หรือขันทองเล็กๆ ติดตัวไปรบ อาจารย์พลูหลวงเคยไปตรวจสมรภูมิสมัยอยุธยา ที่หนองสาหร่ายและแถบพนมทวน กาญจนบุรี ซึ่งเต็มไปด้วยกระดูกคน ช้าง ม้า นับเป็นร้อยๆพันๆ เจอขันลงหินและโลหะขนาดย่อมจำนวนมาก ชาวไร่แถบนั้นขุดพบพร้อมกระดูกปีหนึ่งๆ ได้จำนวนกองใหญ่ ทำให้ได้รู้ว่า นักรบผู้ใดสิ้นชีวิตก็จะเอาเครื่องใช้ไม้สอย รวมทั้งอาวุธฝังรวมไปด้วย :96: :96: :96: :96: การห้ามฆ่าสัตว์ปีที่เกิด...ก็คือ เกิดปีชวดห้ามฆ่าหนู เกิดปีฉลู ห้ามฆ่าวัว เกิดปีขาลห้ามฆ่าเสือ เกิดปีกุนห้ามฆ่าหมู เกิดปีระกาห้ามฆ่าไก่ คนเกิดปีจอได้เปรียบกว่าปีอื่น เพราะไม่กินหมาอยู่แล้ว สัตว์บางชนิด ท่านถือเป็นสัตว์ชนิดเดียวกัน เช่น กระรอก ปลาไหล พญานาค คนเกิดปีมะโรง ห้ามกินสัตว์เหล่านี้เด็ดขาด เหตุไฉน กระรอก ปลาไหล และพญานาค เป็นสัตว์ชนิดเดียวกัน “พลูหลวง” ศึกษาจากคัมภีร์อื่นประกอบกัน ตำนานอุรังคธาตุ เล่าถึงพญานาคแปลงกายเป็นกระรอกเผือก “วันหนึ่งภังคียนาคไปเที่ยวเล่นถึงเมืองขอมนคร ภังคียนาคจึงเนรมิตเป็นกระรอกด่อน แล้วขึ้นไปบนต้นงิ้วต้นหนึ่ง ใกล้กับพระราชฐาน มองเข้าไปในพระราชฐาน” กระรอกตัวนั้น ถูกนายพรานยิงตาย แล้วเอาเนื้อไปแบ่งให้ชาวเมืองกิน พญานาคผู้พ่อรู้ว่าลูกตาย จึงมาถล่มเมืองจมลง กลายเป็นหนองหานน้อย คนใดที่ไม่ได้กินก็ปล่อยให้รอดชีวิต พงศาวดารหลายเล่มว่าพญานาคถล่มเมือง บางเล่มว่าปลาไหลถล่มเมือง จึงถือเป็นสัตว์ชนิดเดียวกัน :41: :41: :41: :41: :41: คติของคนจีน คนเป็นโรคคางทูมคืออาการโรคของวัว วิธีแก้เคล็ด ให้คนเกิดปีขาลเอาพู่กันจุ่มหมึกจีน เขียนเป็นตัวหนังสือว่า “เสือ” ลงบนแก้ม ธรรมดาวัวย่อมกลัวเสือ คนเป็นโรคคางทูม ก็จะหายอย่างรวดเร็ว ตำราพิชัยสงครามไทย ถือว่าลักษณะกองทัพที่จะมีชัย 10 ประการ คือ คิดอ่านดี วางแผนดี ฤกษพานาทีดี ช้างม้ากล้าหาญดี ไม่ขาดอาหาร ไม่เป็นโรคภัยไข้เจ็บ ประกอบพิธีถูกต้อง เมื่อบุกเข้าเผาเมือง จึงจะมีชัยชนะ (ขาดไปสองข้อ น่าจะเกิดตอนคัดลอก) มีลักษณะกองทัพที่จะปราชัย เหตุที่ทำให้ปราชัย มี 10 ประการ... เหมือนกัน อำมาตย์เสนาบดีหมองใจกัน ทหารขัดกัน พระราชาและเสนาบดีมิปลงใจอันเดียวกัน ช้างม้ามิได้ฝึกปรือดี ขาดอาหารและอดอยาก มีโรคภัย ไพร่พลทะเลาะกัน ทหารไม่กล้า โหรให้ฤกษ์ฟั่นเฟือน และเหตุสุดท้าย เพราะถูกฝ่ายข้าศึกฝังอาถรรพณ์ ทั้ง 10 ข้อแห่งความมีชัยและความปราชัย พลูหลวงท่านว่าเป็นเพชรน้ำเอกของการพิชัยสงครามไทย ans1 ans1 ans1 ans1 ผมเป็นคนสมัยใหม่ ไม่ปักใจเชื่อเหตุปราชัยข้อสุดท้าย เพราะถูกฝ่ายข้าศึกฝังอาถรรพณ์ครับ...แต่เชื่อสนิทใจกับเหตุปราชัยข้อ เพราะขุนศึกทะเลาะกัน นี่ก็โล่งใจ...เมื่อได้ข่าวคดีราชภักดิ์ ไม่มีทุจริตคอร์รัปชัน แสดงว่า เค้าข่าวว่าทหารใหม่ทะเลาะกับทหารเก่า...เป็นแค่ข่าวลือ เมืองไทยของเรา นักการเมืองทะเลาะกัน เป็นเหตุให้ทหารยึดอำนาจบ่อยๆ ก็ยังพอประคองตัวอยู่ได้ วันใดที่ทหารเกิดทะเลาะกันเอง...รบกันเอง นี่แหละเรื่องอัปมงคล...ของจริง. คอลัมน์ : ชักธงรบ โดย กิเลน ประลองเชิง https://www.thairath.co.th/content/541108 (https://www.thairath.co.th/content/541108) |