หัวข้อ: สักกายทิฏฐิ พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวรรค เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ ธันวาคม 06, 2010, 08:54:05 am สักกายทิฏฐิ พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวรรค
โสดาปัตติมรรคอาสวะเหล่านั้นคือ กามาสวะ ภวาสวะ ทิฏฐาสวะ อวิชชาสวะ อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไป ณ ที่ไหน ทิฏฐิสวะทั้งสิ้น กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ เป็นเหุตให้สัตว์ไปสู่อบาย ย่อมสิ้นไปด้วยโสดาปัตติมรรค อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะ แห่งโสดาปัตตอมรรคนี้ สกทาคมมิมรรคอาสวะส่วนหยาบ ภวาสะ อวิชชาสวะ อันตั้งกันอยู่ร่วมกันกับกามาสวะนั้น ย่อมสิ้นไปด้วยสหทาคมิมรรค อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะแห่ง สหทาคามิมรรคนี้ อนาคามิมรรคกามาสวะทั้งสิ้น ภวาสวะ อวิชชาสวะ อันตั้งอยู่ร่วมกันกับกามาสวะนั้น ย่อมสิ้นไปด้วยอนาคามิมรรค อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะแห่งอนาคามิมรรคนี้ อรหัตมรรคภวาสวะ อวิชชาสวะ ย่อมสิ้นไปไม่มีส่วนเหลือด้วยอรหัตมรรค อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะแห่งอรหัตมรรคนี้ชื่อว่าฌาน เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าว่า ปัญญาในการตัดอาสวะขาด เพราะความบริสุทธิแห่งสมาธิอันเป็นเหตุไม่ฟุ้งซ่าน เป็นอานันตริกสมาธิฌาณ หัวข้อ: Re: สักกายทิฏฐิ พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวรรค เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ ธันวาคม 06, 2010, 08:55:42 am สักกายทิฏฐิ
ดูกรคหบดี ก็อย่างไรเล่า บุคคลจึงชื่อว่าเป็นผู้มีกายกระสับกระส่ายด้วย จึงชื่อว่าเป็นผู้มีจิตกระสับกระส่ายด้วย ดูกรคฤหบดี คือปุถุชนผู้มิได้สดับแล้วในโลกนี้ มิได้เห็นพระอริยะทั้งหลาย ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ มิได้รับแนะนำในอริยะธรรม มิได้เห็นสัตบุรุษทั้งหลาย ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ มิได้รับแนะนำในสัปปุริสธรรม ย่อมเห็นรูปโดยความเป็นตน ๑ ย่อมเห็นตนมีรูป ๑ ย่อมเห็นตนในรูป ๑ เป็นผู้ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นรูป รูปของเรา รูปนั้นย่อมแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป เพราะเวทนาแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงเกิดขึ้น ย่อมเห็นเวทนาโดยความเป็นตน ๑ ย่อมเห็นเวทนาในตน ๑ เป็นผู้ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นเวทนา เวทนาของเรา เมื่อเขาตั้งอยู่ ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นเวทนา เวทนาของเรา เวทนานั้นย่อมแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป เพราะเวทนาแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงเกิดขึ้น ย่อมเห็นสัญญาโดยความเป็นตน ๑ ย่อมเห็นตนมีสัญญา ๑ ย่อมเห็นสัญญาในตน ๑ ย่อมเห็นตนในสัญญา ๑ เป็นผู้ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่าเราเป็นสัญญา สัญญาของเรา เมื่อเขาตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นสัญญา สัญญาของเรา สัญญานั้นย่อมแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป เพราะสัญญาแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายสาสะจึงเกิดขึ้น ย่อมเห็นสังขารโดยความเป็นตน ๑ ย่อมเห็นตนมีสังขาร ๑ ย่อมเห็นสังขารในตน ๑ ย่อมเห็นตนในสังขาร ๑ เป็นผู้ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่าเราเป็นสังขาร สังขารเป็นเรา เมื่อเขาตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นสังขาร สังขารเป็นเรา สังขารของเรา สังขารนั้นย่อมแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป เพราะสังขารแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปิทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปยาสจึงเกิดขึ้น ย่อมเห็นวิญญาณโดยความเป็นตน ๑ ย่อมเห็นตนมีวิญญาณ ๑ ย่อมเห็นวิญญาณในตน ๑ ย่อมเห็นตนในวิญญาณ ๑ เป็นผู้ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นวิญญาณ วิญญาณของเรา วิญญาณนั้นย่อมแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป เพราะวิญญาณแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาสจึงเกิดขึ้น ดูกร คฤหบดี ด้วยเหตุอย่างนี้แล บุคคลจึงชื่อว่าเป็นผู้มีกายกระสับกระส่าย และเป็นผู้มีจิตกระสับกระส่าย ดูกรคฤหบดี ก็อย่างไรเล่า บุคคลแม้เป็นผู้มีกายกระสับกระส่าย แต่หาเป็นผู้มีจิตกระสับกระส่ายไม่ ดูกรคฤหบดี คืออริยสาวกในธรมวินัยนี้ ได้สดับฟังแล้ว ผู้เห็นพระอริยะทั้งหลาย ผู้ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ผู้ได้รับแนะนำดีแล้วในอริยธรรม ผู้เห็นสัตบุรุษทั้งหลาย ผู้ฉลาดในธรรมของสัตตบุรุษ ผู้ได้รับแนะนำดีแล้วในสัปปุริสธรรม ย่อมไม่เห็นรูปโดยความเป็นตน ๑ ย่อมไม่เห็นตนมีรูป ย่อมไม่เห็นรูปในตน ๑ ไม่เป็นผู้ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นรูป รูปของเรา เมื่ออริยะสาวกนั้นไม่ตั้งอยู่ด้วยดีด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นรูป รูปเป็นของเรา รูปนั้นย่อมแปรปรวน เป็นอย่างอื่นไป เพราะรูปแปปรวนเป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาสจึงเกิดขึ้นหามิได้ ย่อมไม่เห็นเวทนาโดยความเป็นตน ๑ ย่อมไม่เห็นตนมีเวทนา ๑ ย่อมไม่เห็นเวทนาในตน ๑ ย่อมไม่เห็นตนในเวทนา ๑ ไม่เป็นผู้ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นเวทนา เวทนาของเรา เมื่ออริยสาวกนั้นไม่ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นอย่างอื่นไป เพราะเวทนาแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาสจึงไม่เกิดขึ้น ย่อมไม่เห็นสัญญาโดยสความเป็นตน ๑ ย่อมไม่เห็นตนมีสัญญา ๑ ย่อมไม่เห็นสัญญาในตน ๑ ย่อมไม่เห็นตนในสัญญา ๑ ไม่เป็นผู้ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่าเราเป็นสัญญา สัญญาของเรา เมื่ออริยสาวกนั้นไม่อยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นสัญญา สัญญาเป็นเรา สัญญานั้นย่อมแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป เพราะสัญญาแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาสจึงไม่เกิดขึ้น ย่อมไม่เห็นสังขารโดยความเป็นตน ๑ ย่อมไม่เห็นตนมีสังขาริ ๑ ย่อมไม่เห็นสังขารในตน ๑ ย่อมไม่เห็นตนในสังขาร ๑ ย่อมไม่เห็นตนในสังขาร ๑ ไม่เป็นผู้ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นสังขาร สังขารเป็นเรา เมื่ออริยสาวกนั้นไม่ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นสังขาร สังขารเป็นเรา สังขารนั้นย่อมแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป เพราะสังขารแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาสจึงเกิดขึ้นหามิได้ ย่อมไม่เห็นวิญญาณโดยความเป็นตน ๑ ย่อมไม่เห็นตนในวิญญาณ ๑ ย่อมไม่เห็นวิญญาณในตน ๑ ย่อมไม่เห็นตนในวิญญาณ ๑ ไม่เป็นผู้ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นวิญญาณ วิญญาณเป็นของเรา เมื่ออริยสาวกนั้นไม่ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นวิญญาณ วิญญาณของเรา วิญญาณนั้นย่อมแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาสจึงไม่เกิดขึ้น ดูกรคฤหบดี อย่างนี้แล บุคคลแม้มีกายกระสับกระส่าย แต่หาเป็นผู้มีจิตกระสับกระส่ายไม่ ฯท่านพระสารีบุตรได้กล่าวคำนี้แล้ว นกุลปิตคฤหบดีชื่นชมยินดีภาษิตของท่านสารีบุตร ฉะนี้แล ฯ หัวข้อ: Re: สักกายทิฏฐิ พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวรรค เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ ธันวาคม 23, 2011, 01:16:47 pm โปรดทบทวน เรื่อง สักกายทิฏฐิ ก่อนที่จะเข้าใจผิด ใน มรรค และ ผล สักกายทิฏฐิ เห็นอย่างไร รุ้อย่างไร ละได้อย่างไร สิ้นเชิงได้แล้วอย่างไรขอให้ผู้ภาวนาทุกท่าน ทบทวน ในส่วนนี้กันก่อน ที่ จะเข้าใจผิด กันนะจ๊ะ
เจริญธรรม ;) Aeva Debug: 0.0005 seconds.Aeva Debug: 0.0004 seconds. หัวข้อ: สักกายทิฏฐิ 20 ตามที่ให้ได้ทบทวนครับ เริ่มหัวข้อโดย: ประสิทธิ์ ที่ ธันวาคม 26, 2011, 10:06:08 am สักกายะทิฐิ...มี ๒๐ ครับ...ดังนี้ครับ
รูป ๑.ย่อมเห็นรูปโดยความเป็นตนบ้าง ๒.เห็นตนว่ามีรูปบ้าง ๓.เห็นรูปในตนบ้าง ๔.เห็นตนในรูปบ้าง เวทนา ๕.ย่อมเห็นเวทนาโดยความเป็นตนบ้าง ๖.เห็นตนว่ามีเวทนาบ้าง ๗.เห็นเวทนาในตนบ้าง ๘.เห็นตนในเวทนาบ้าง สัญญา ๙.ย่อมเห็นสัญญาโดยความเป็นตนบ้าง ๑๐.เห็นตนว่ามีสัญญาบ้าง ๑๑.เห็นสัญญาในตนบ้าง ๑๒.เห็นตนในสัญญาบ้าง สังขาร ๑๓.ย่อมเห็นสังขารโดยความเป็นตนบ้าง ๑๔.เห็นตนว่ามีสังขารบ้าง ๑๕.เห็นสังขารในตนบ้าง ๑๖.เห็นตนในสังขารบ้าง วิญญาณ ๑๗.ย่อมเห็นวิญญาณโดยความเป็นตนบ้าง ๑๘.เห็นตนว่ามีวิญญาณบ้าง ๑๙.เห็นวิญญาณในตนบ้าง ๒๐.เห็นตนในวิญญาณบ้าง เมื่อรู้แล้วว่ามีอะไรบ้างเมื่อผัสสะกระทบสัมผัส..ก็ใช้สติปัฎฐาน ๔ โดย..การกำหนดรู้..นามรูป..ตามรู้ตามเห็น..อาการของสักกายทิฐิทั้ง ๒๐ แล้วเพียรละอาการเหล่านั้นบ่อยๆ...จิตจะค่อยๆมีอาการเหล่านี้น้อยลงๆๆๆ..จนละได้ในที่สุดครับ |