หัวข้อ: กระเพื่อมทัศนะ เมื่อพระถูกหวย ภาพชินตาและคำถาม เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ ธันวาคม 22, 2015, 08:41:08 am (http://www.matichon.co.th/online/2015/12/14506905121450690536l.jpg) กระเพื่อมทัศนะ เมื่อพระถูกหวย ภาพชินตาและคำถาม โดย พิมพ์ชนก พุกสุข เป็นข่าวน่ายินดีที่ชวนให้อิหลักอิเหลื่อระดับหนึ่ง สำหรับกรณีพระใน จ.เชียงใหม่ ถูกสลากกินแบ่งรัฐบาลรางวัลที่ 1 งวดประจำวันที่ 17 ธันวาคม 2558 รับเงินจำนวน 24 ล้านบาทไปนิ่มๆ ตามมาด้วยคำถามที่ว่า พระเล่นหวยได้ด้วยหรือ? ในเมื่อด้านหนึ่ง ใช่หรือไม่ว่าหวยคือรูปแบบหนึ่งของการเสี่ยงโชค แม้จะไม่มีท่าทีของการพนันเต็มรูปแบบอย่างจริงจังและผิดกฎหมายเท่าเล่นไพ่หรือเขย่าไฮโล แต่ก็อีกนั่นแหละที่ไม่ว่าจะหนักหรือเบาอย่างไร ถ้าไม่โกหกตัวเองกันเกินไปนักก็คงเห็นว่า อบายมุขก็ไม่วายเป็นอบายมุขอยู่นั่นเอง ดังนั้นแล้ว การที่พระสงฆ์ซื้อหวยนั้นเป็นเรื่องที่ทำได้หรือไม่ กระทั่งว่า สังคมเองรับได้แค่ไหน กับประเด็นนี้ พระมหาไพรวัลย์ วรวณฺโณ แห่งวัดสร้อยทอง มองว่า ถึงอย่างไรการที่พระเล่นหวยนั้นก็เป็นเรื่องผิดอย่างแน่นอน "โดยปกติแล้วพระต้องไม่เล่นการพนัน เพราะการเสี่ยงโชคเป็นอบายมุขอย่างหนึ่ง อะไรที่เป็นอบายมุข พระสงฆ์ก็ข้องเกี่ยวไม่ได้ ไม่ได้เลย" คำหลังนี้ถูกเน้นให้ชัดขึ้นด้วยน้ำเสียง "คือก่อนนี้ก็เคยมีกฎของมหาเถรสมาคม ว่าห้ามไม่ให้พระซื้อลอตเตอรี่ ซึ่งถ้ายึดตามกฎ การซื้อหวยก็เป็นการกระทำที่ไม่เหมาะอยู่แล้ว" :96: :96: :96: :96: ทว่า สิ่งหนึ่งซึ่งพระมหาไพรวัลย์เห็นว่าเป็นปัจจัยหนึ่งในเรื่องเหล่านี้คือ วัฒนธรรมของพระในสังคมต่างจังหวัด ซึ่งภาพพระซื้อลอตเตอรี่หรือเล่นหวยนั้นถือเป็นเรื่องปกติที่เห็นจนเจนตา "เพราะบางทีแม่ค้าพ่อค้าก็ไปขายลอตเตอรี่กันในวัดนั่นแหละ ซึ่งชาวบ้านบางส่วนก็รับได้ บางส่วนก็รับไม่ได้ คนที่ไม่เคยเห็นภาพพระซื้อลอตเตอรี่มาก่อนเขาก็คงตั้งคำถามว่าทำไมพระถึงซื้อได้ล่ะ" และหนึ่งในข้อกังขามากมายต่อกรณีนี้ หลายคนสงสัยว่าใช่หรือไม่ที่กฎเกณฑ์ในพระไตรปิฎกนั้นถูกบัญญัติไว้นับพันปีมาแล้ว เป็นไปได้ไหมที่ความเปลี่ยนแปลงของโลกจะทำให้คำสอนเหล่านั้นไม่ครอบคลุมต่อโลกสมัยใหม่ แน่นอนว่า คำตอบต่อคำถามนี้ของพระมหาไพรวัลย์ก็ยังเป็น "ไม่" เช่นเดิม ans1 ans1 ans1 ans1 "จะอ้างความเปลี่ยนแปลงไม่ได้ เพราะการพนันเป็นอบายมุขชัดเจน และหากอ้างว่าเป็นเพราะความเปลี่ยนแปลง อย่างนั้นต่อไปพระสงฆ์เล่นไพ่ได้ไหมเล่า" "มันเป็นการเสี่ยงโชค ซื้อลอตเตอรี่เพื่อได้เงิน ท่านซื้อท่านก็หวังจะถูกรางวัลนั่นแหละ แล้วการซื้ออย่างนี้ก็เป็นเหตุปัจจัยให้อยากซื้อทุกงวด เป็นการเสพติดการพนันไป แล้ว เวลาถูกรางวัลขึ้นมาก็มีข้อกังขาหลายอย่าง อย่างถ้าถูกรางวัลเป็นเงินล้านๆ จะจัดการอย่างไร ทำอย่างไร เป็นเหตุให้สึกลาเพศ ออกหรือเปล่า" ทั้งหมดทั้งมวลนี้ พระหนุ่มแห่งวัดสร้อยทองมองว่า หากถูกรางวัลเสียเงียบๆ ก็คงไม่มีใครรู้ แต่ทันทีที่เป็นข่าว ก็กลายเป็นพระถูกมองว่าเล่นอบายมุข "แล้วจะสอนคนอย่างไร จะไปสอนใครได้ สอนเขาอย่างหนึ่ง ตัวเองทำอีกอย่างหนึ่ง ญาติโยมพอทำบุญกับพระ เห็นพระก็เอาเงินไปซื้อหวย ก็จะเสื่อมศรัทธาเอา" :49: :49: :49: :49: :49: ขณะที่ สุรพศ ทวีศักดิ์ อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ศูนย์การศึกษาหัวหิน มองว่า ประการหนึ่งที่หวยหรือลอตเตอรี่ดูเป็นความผิดที่เบาบางมากกว่าการเล่นไพ่หรือการพนันในลักษณะอื่น ก็เพราะเป็นเรื่องถูกกฎหมายด้วยส่วนหนึ่ง เพราะนอกเหนือจากตัวลอตเตอรี่จะถูกกฎหมายเองแล้ว ในแง่กฎหมายเองก็ไม่มีกฎข้อใดห้ามพระซื้อลอตเตอรี่ แต่ในแง่วินัยสงฆ์นั้นก็ชัดเจนว่า พระสงฆ์นั้นก็สอนประชาชนให้ลด ละ เลิกอบายมุข หรือบอกกล่าวว่าการพนันเป็นสิ่งไม่ดี และการที่ห้ามคนอื่นแต่ตัวเองก็ทำนั้น คงไม่ใช่คำถามที่ยากเกินไปนักที่จะตอบว่าถูกควรหรือไม่ "อย่างหวย อย่างลอตเตอรี่ถูกกฎหมาย ก็อาจจะมองว่าไม่ผิด-ไม่ผิดในแง่กฎหมาย แต่ในแง่ศีลธรรมที่พระชอบสอน ก็จะมองในลักษณะที่ว่าเป็นการพนันอย่างหนึ่ง คืออันนี้กำลังมองว่าในจารีตของพระไทยมักสอนอย่างนั้น ว่าหวยไม่ดี เป็นการพนัน เป็นอบายมุข แต่ในความเป็นจริง โลกสมัยใหม่อาจไม่มองอย่างนั้นก็ได้ มองว่าเป็นการเสี่ยงโชคอะไรว่าไป ซึ่งเป็นเรื่องทางโลก" (http://www.matichon.co.th/online/2015/12/14506905121450690542l.jpg) แต่พระสงฆ์มองเป็นเรื่องการพนัน แต่ตัวเองกลับมาทำ มันก็ขัดกับสิ่งที่สอนคนอื่น.? "ในพระไตรปิฎกไม่ได้มีบัญญัติเรื่องหวยอยู่แล้ว แต่ไม่ได้หมายความว่าอะไรที่ไม่บัญญัติแล้วพระทำได้ทั้งหมด ไม่ได้ว่าทุกอย่างต้องไปหาคำตอบในพระไตรปิฎกทั้งหมดว่าบัญญัติยังไง โลกเปลี่ยน สังคมเปลี่ยน พระก็ต้องดูว่าทำอะไรลงไปแล้วสังคมยุคปัจจุบันรับได้หรือเปล่า" สุรพศยังเห็นประเด็นการดำเนินชีวิตของพระสงฆ์ที่มุ่งลด ละ เลิกกิเลส ตามอุดมคติของศาสนาด้วย "ทางด้านจิตใจมันควรสงบ แล้วถ้ามาฝักใฝ่เสี่ยงโชคเล่นหวยก็แยกไม่ออกว่าพระกับชาวบ้านต่างกันตรงไหน ปัญหาคือพระทำเหมือนฆราวาสได้หมด แล้วจุดแตกต่างอยู่ไหน ความแตกต่างที่ผมพูดถึงนั้นหายากขึ้นทุกทีในปัจจุบัน" :25: :25: :25: :25: ทว่า ข้อสังเกตอย่างหนึ่งที่นำมาสู่การถกเถียงในประเด็นอื่น นั่นคือเอาเข้าจริงแล้ว ภาพพระซื้อลอตเตอรี่หรือซื้อหวยนั้นเป็นเรื่องที่ชินหูชินตาชาวบ้าน โดยเฉพาะในแถบต่างจังหวัด การที่พระจะซื้อหวยจึงไม่ใช่เรื่องน่าตกอกตกใจหรือเป็นเรื่องที่ต้องนำมาใคร่ครวญในสังคมนั้นๆ มากนัก แม้ชาวบ้านเองจะผูกพันกับพระ กับวัดอย่างยิ่งก็ตาม ขณะที่กลุ่มคนเมือง ซึ่งมีแนวโน้มจะห่างจากวัดมากกว่าด้วยซ้ำ กลับเห็นเรื่องพระซื้อหวยเป็นปัญหา "อันนี้อย่างที่พูดว่าในแง่กฎหมาย การซื้อหวยมันไม่ผิด แต่ในแง่จริยธรรมก็เป็นเรื่องความเหมาะสมของพระ โดยส่วนตัวผมไม่ได้ตัดสินว่าพระผิดหรือถูก สมมุติพระทำอย่างนั้น ชาวบ้านไม่ว่าอะไร ก็เรื่องของเขา เป็นเสรีภาพของเขา แต่ผมจะบอกว่าในจารีตของพระไทยที่เป็นจารีตหลักๆ ก็เหมือนพระกำลังทำผิดจารีตของตัวเอง แต่ระดับชาวบ้านอีกเรื่องหนึ่ง ถ้าเขารับได้ก็ไม่มีปัญหา เป็นเรื่องที่สงฆ์ในวัดนั้นหรือชุมชนชาวบ้านนั้นเขาจะพิจารณาตัดสินกันเอง ถ้าชาวบ้านรับไม่ได้ก็มีสิทธิวิพากษ์วิจารณ์อยู่แล้ว" :sign0144: :sign0144: :sign0144: :sign0144: อีกคนที่ร่วมแสดงความคิดเห็นปิดท้าย ชาญณรงค์ บุญหนุน อาจารย์จากคณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ให้ความเห็นอย่างหนักแน่นและชัดเจนว่า พระสงฆ์ถึงอย่างไรก็ไม่ควรซื้อลอตเตอรี่ "อะไรที่เกี่ยวกับเงินไม่ควรอยู่แล้ว เพราะเป็นเรื่องของการซื้อขายด้วยเงินด้วยทอง มันเป็นอาบัติเล็กน้อย คือเขาอาจจะเป็นพระชาวบ้านธรรมดา เล่นหวยเป็นปกติ แต่คนรุ่นใหม่อาจซีเรียส ซึ่งถ้าไปอยู่ตามหมู่บ้านต่างๆ ชาวบ้านก็ไม่ถือสาหาความอะไร เขาไม่ซีเรียสว่าพระต้องเคร่งทุกกระเบียดนิ้ว เพราะมันปลงอาบัติในแง่เล็กๆ น้อยๆ ได้ ถ้าพระให้หวยเขาก็ชอบพระไปด้วย เขาเลยไม่ถือถ้าพระจะซื้อหวย" :97: :97: :97: :97: :97: ทั้งหมดนี้ ชาญณรงค์มองเป็นวัฒนธรรมมากกว่า "อันนี้อาจจะมีผลน่าสนใจตรงที่คนอาจจะมองว่าไม่เหมาะเพราะพระซื้อเยอะ ถ้าแบบซื้อเพื่อหวังรวย ถ้าลักษณะนี้ก็ซื้อขายด้วยเงินด้วยทอง มันผิดวินัยอยู่แล้ว และการพนันมันเป็นอาบัติเล็กน้อย คือชาวบ้านอาจจะมองว่ามันไม่เหมาะ แต่ตัวอาบัติเองมันไม่มาก แต่ทางพระอาจจะมองว่าไม่เหมาะ" แน่นอนว่าการที่พระถูกลอตเตอรี่นั้นสร้างแรงกระเพื่อมและคำถามบางประการในสังคม นำมาสู่ประเด็นหนึ่งที่ชาญณรงค์ตั้งข้อสังเกต "คนเมืองศึกษาธรรมะลักษณะที่ให้ความสำคัญกับความบริสุทธิ์ผุดผ่อง สะอาด สว่าง สงบ แล้วโดยทั่วไปคนเมืองค่อนข้างอุดมคติกับศาสนาพอสมควร เวลามองพระก็มองพระในระดับอุดมคติ แต่อย่างชาวบ้านที่เข้าวัดเป็นประจำก็ไม่ค่อยมองอย่างอุดมคติหรอก มองพระเป็นเหมือนปุถุชน ผิดก็อนุโลมได้ ทีนี้ การศึกษามันหล่อหลอมเราในเรื่องวิธีคิด เป็นเหมือนความกล่อมเกลาทางการศึกษาระยะหลังๆ ที่เน้นความเป็นอุดมคติ ให้ปฏิบัติสอดคล้องกับศาสนา" ans1 ans1 ans1 ans1 "แต่วัฒนธรรมเดิมของเราไม่ซีเรียสขนาดนั้น การศึกษาของเราเดิมมากับจารีต ไม่ได้อิงกับพระไตรปิฎก แต่การศึกษาสมัยใหม่ทำให้คนอ่านพระไตรปิฎกและศึกษาธรรมะมากขึ้น แง่หนึ่งคนจึงคาดหวังว่าพระจะดำรงความเป็นอุดมคติของศาสนาได้มากขึ้น" เป็นคำตอบจากมุมมองของอาจารย์จากคณะอักษรศาสตร์ต่อกรณีพระถูกลอตเตอรี่ตามที่เป็นข่าวมากน้อย ความคิดเห็นเหล่านี้ก็ย่อมตอบคำถามที่มีในสังคมได้ว่าในฐานะบรรพชิตซึ่งเดินเข้าสู่ทางธรรมแล้ว เหมาะสมหรือไม่ อย่างไร กับการที่นำตัวเองเข้าไปเกี่ยวกับอบายมุข แม้เพียงเล็กน้อยก็ตาม ขอบคุณภาพและบทความจาก http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1450690512 (http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1450690512) |