หัวข้อ: คิดเท่าไหร่ก็ไม่รู้ ต้องหยุดคิด จึงจะรู้ เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ ธันวาคม 27, 2015, 10:13:24 am (http://www.madchima.net/forum/gallery/30_27_12_15_10_18_02.jpeg) คิดเท่าไหร่ก็ไม่รู้ ต้องหยุดคิด จึงจะรู้ คำว่า “จิตไม่ว่าง” คือภาวะที่จิตใจของเรานั้น เต็มไปด้วยความคิด แม้ว่าเรานั่งเฉย ๆ ไม่มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งใด แต่สิ่งเร้าที่มากขึ้น คนเราในยุคตรรกะครองเมือง ในยุคที่ชอบใช้วาทกรรมในการแสดงความคิดเห็นและแสดงจุดยืน เอาชนะคะคานกันด้วยตรรกะและความคิดด้วยการใช้เหตุใช้ผลนั้นในแง่หนึ่งดูแล้วเป็นเสมือน สังคมที่มีภูมิปัญญามากขึ้น และเป็นสังคมที่เปิดกว้างให้ความเห็นต่าง การมีจุด ยืนที่เหนือกว่าผู้อื่น ยิ่งมีโลกโซเชียลมีเดียด้วยแล้ว คนแต่ละคนจะ “คิดดังขึ้น” ความคิดแต่ละความคิดจะมีพื้นที่ให้ยืนมากขึ้น :96: :96: :96: :96: ด้านหนึ่งเป็นแง่บวก เพราะทำให้คนเราใช้ความคิด มองมุมต่าง ๆ กันมากขึ้น และ มีการยอมรับความเห็นต่างของกันและกัน แต่อีกแง่หนึ่งคือ การใช้ความคิดเยอะ ๆ ยิ่งได้รับการต่อยอดว่าความคิดของเรา “มีตัวตน” และ “มีพื้นที่” อย่างน้อยก็ “พื้นที่ส่วนตัว” ที่น่าจะมีคนอื่นเข้ามารับฟัง และต่อยอด (ไม่งั้นจะเรียกว่า โซเชียลมีเดียทำไมหากว่ามันคิดอยู่แค่คนเดียว) เหล่านี้ทำให้เกิดภาวะที่เรียกว่า “จิตไม่ว่าง” คำว่า “จิตไม่ว่าง” คือภาวะที่จิตใจของเรานั้น เต็มไปด้วยความคิด แม้ว่าเรานั่งเฉย ๆ ไม่มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งใด แต่สิ่งเร้าที่มากขึ้น โดยเฉพาะความช่างคิด และความ “ซุกซนทางความคิด” ของเรานั้น มันทำให้ใจเราลอยไป ห่างจากภาวะความว่างทางจิตออกไปเรื่อย ๆ :25: :25: :25: :25: แต่เดิม หากว่าเราไม่มีสิ่งเร้า หรือสิ่งเร้าน้อย และเราไม่พาตนเองไปยังสิ่งเร้าต่าง ๆ ทางความคิด เราก็อาจจะไม่ได้คิด แต่ปัจจุบันนั่งอยู่เฉย ๆ มี สมาร์ทโฟนหนึ่งเครื่องเห็นกระทู้ก็ต้องแสดงความคิดเห็นจุดยืน หรือบางทีเปิดกระทู้โพสต์เองรอคนมาแสดงความคิดเห็นและมีการปะทะสังสรรค์กันตามความคิด ในด้านหนึ่งจิตใจคนเราไม่เหงาไม่ห่อเหี่ยว แต่อีกด้านปัจจุบันการที่คนเราจะตรึงใจของเราให้อยู่ กับปัจจุบันขณะนั้นมันยากยิ่งกว่าที่เคยผ่านมา คนเราทุรนทุรายมากหากว่าไม่ได้แสดงความคิดเห็นหรือว่ามีการบริโภคทางความคิด ans1 ans1 ans1 ans1 คำว่า “จิตว่าง” อันเป็นพื้นฐานของการเจริญสติให้อยู่กับ “ปัจจุบันขณะ” เป็นสิ่งที่มีความท้าทายมาก แม้แต่ในเวลาที่มนุษย์ยุคดิจิตอล โซเชียลมีเดีย พยายามที่จะภาวนาเจริญสติ เราก็ยัง “คิด” ในจิตใจของเราหากไม่ส่งจิตออกนอกไปคิดถึงอดีต หรือลุ้นอนาคตก็จะต้องคิดกับปัจจุบัน ขณะถามตนเองตลอดว่า “อย่างนี้เรียกว่าใช่แล้วหรือไม่” กลายเป็นการนั่งภาวนาแบบส่งจิตไปเช็กสภาวะธรรมตนเองตลอดเวลาว่า “ตกลงแล้วใช่หรือไม่” เพราะเรา “หวังมรรคผลทางธรรม” อันจะเกิดขึ้นจากการนั่งปฏิบัติภาวนา เคยฟังคำพระท่านสั่งสอนว่า “ถ้าลังเลสงสัย คือไม่ใช่” ไม่เคยเข้าใจครับ และอีกคำหนึ่ง “คิดเท่าไหร่ก็จะไม่รู้ หยุดคิดแล้วเมื่อนั้นแหละจะรู้” สองคำนี้หากตีความกันพื้น ๆ คือ ว่าครั้งใดก็ตามที่เราใช้ความคิดเพื่อหาความสงบ มันไม่มีสงบ เพราะการคิด โดยเฉพาะการหวังผลทางธรรมไม่เคยนำสู่ความสงบ และการ “รับรู้ตามความจริง” หากหยุดคิด และรับรู้ตามธรรมชาติของมันไป โดยไม่มีอิทธิพลของความคิดมาเกี่ยวข้อง เท่านั้นแหละ “ความรู้ธรรม” นั้นจะเกิดขึ้น st12 st12 st12 st12 แต่ท่ามกลางสังคมแบบที่เร้าให้คนเรามีความคิด และการหวังผลตลอดเวลา เร้าให้เราใช้ความคิดเยอะ ๆ แสดงจุดยืนเยอะ ๆ คิดดัง ๆ ให้ทุกคนได้ยิน เหมือนเป็นอุปสรรคในการรู้ การสงบ และการอธิษฐานจิต เพื่อการเข้าสู่ปัจจุบันขณะกล่าวคือ “สติ” อย่างแท้จริง อย่างไรก็ดี มองอีกแง่หนึ่งจริง ๆ การเข้าถึงปัจจุบันไม่ได้ยากมาก เพียงแต่เราต้องปลดพันธนาการจาก “ความคิด” เท่านั้นเอง. คอลัมน์ :จิตเหนืออารมณ์ โดย ดร.วิทย์ สิทธิเวคิน ขอบคุณบทความ : http://www.dailynews.co.th/article/364359 (http://www.dailynews.co.th/article/364359) |