หัวข้อ: มส.เห็นคุณไอที ผลิตซอฟท์แวร์ เรียนธรรมศึกษา เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ ธันวาคม 31, 2015, 09:28:56 am (http://www.komchadluek.net/media/img/size_photo_slide/2015/12/30/adadhd8bhkd7f6haec5k6.jpg) มส.เห็นคุณไอที ผลิตซอฟท์แวร์ เรียนธรรมศึกษา สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ปฏิรูปงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้เข้ากับยุคไอที ผลิตซอฟท์แวร์คอมพิวเตอร์เรียนธรรมศึกษาถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ๓๐ ธ.ค.๒๕๕๘ ตามที่มหาเถรสมาคม ได้ประกาศระเบียบมหาเถรสมาคมว่าด้วยการเผยแผ่พระพุทธศาสนา พ.ศ. ๒๕๕๐ และมติมหาเถรสมาคม ครั้งที่ ๒๕/๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการเผยแผ่พระพุทธศาสนาแห่งชาติ ซึ่งมีเจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธชินวงศ์ เป็นประธานกรรมการนั้น ได้สนองงานด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนามาตามลำดับ ทั้งงานการเผยแผ่ด้านวิปัสสนาธุระ ผลิตพระวิปัสสนาจารย์ และการผลิตสื่อการเผยแผ่ธรรมะให้เข้ากับยุคสมัยใหม่ (http://www.komchadluek.net/media/img/size_content/2015/12/30/badadjjj9i6bbgak78gja.jpg) ซึ่งสอดคล้องกับระเบียบมหาเถรสมาคมว่าด้วยการเผยแผ่พระพุทธศาสนา พ.ศ. ๒๕๕๐ ข้อ ๕ ที่ระบุให้ศูนย์การเผยแผ่พระพุทธศาสนาแห่งชาติมีวัตถุประสงค์ เพื่อกำหนดนโยบายและแผนแม่บทการเผยแผ่พระพุทธศาสนา สนับสนุนส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรการเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้มีอุดมการณ์ความรู้ ความสามารถ ทักษะและวิธีการในการนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาไปอบรมสั่งสอนประชาชน ให้นำไปประยุกต์ใช้ในการประกอบสัมมาชีพและดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขสอดคล้องกับแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง และข้อ ๑๑.๗ ที่กำหนดหน้าที่ให้ศูนย์เผยแผ่พระพุทธศาสนาแห่งชาติ ดำเนินการผลิตสื่อการเรียนการสอน ตำราวิชาการ โสตทัศนศึกษา เป็นต้น (http://www.komchadluek.net/media/img/size_content/2015/12/30/8abeeaab8j6eh6k7eiaa7.jpg) พระราชรัตนมุนี เลขานุการเจ้าคณะใหญ่หนกลาง ในฐานะประธานคณะทำงาน กล่าวว่า โครงการส่งเสริมนักเผยแผ่ธรรมะในพระพุทธศาสนาเพื่อพัฒนาศักยภาพพระสงฆ์ไทย ศูนย์เผยแผ่พระพุทธศาสนาแห่งชาติมีวัตถุประสงค์ เพื่อเพิ่มพูนทักษะความรู้และส่งเสริมศักยภาพในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา จัดทำหลักสูตร คู่มือ และสื่อการศึกษาธรรมะด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ ฝึกอบรมและพัฒนาศักยภาพพระสงฆ์และสามเณรในการผลิตสื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนา และเพื่อให้พระสงฆ์สามารถมีเครื่องมือถ่ายทอดเทคนิค วิธีการให้พร้อมที่จะสามารถนำความรู้ไปพัฒนาการเทศน์และการบรรยายธรรมได้ ในปี ๒๕๕๘ นี้ ได้ผลิตสื่อโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนหลักสูตรธรรมศึกษา ฝึกอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับพระสงฆ์จำนวน ๑๒๐ รูป ตั้งแต่วันที่ ๒๔ – ๓๐ ธันวาคม ๒๕๕๘ (http://www.komchadluek.net/media/img/size_content/2015/12/30/aajbkka9jbiaj9jjib7da.jpg) โดยความร่วมมือของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตบาฬีศึกษาพุทธโฆส นครปฐม กำหนดพิธีมอบถวายโปรแกรมคอมพิวเตอร์ระบบ Install ธรรมศึกษาตรี – โท – เอก แก่พระสงฆ์ครูสอนศีลธรรม จำนวน ๗๐๐ รูป ในวันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๕๘ ณ วัดพิชยญาติการาม ซึ่งสนับสนุนงบประมาณการจัดกิจกรรมโครงการและการผลิตซอฟท์แวร์คอมพิวเตอร์ โดยสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ประจำปี ๒๕๕๘ ถวายพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว องค์เอกอัครพุทธศาสนูปถัมภก ให้ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน (http://www.komchadluek.net/media/img/size_content/2015/12/30/gfbbjbh9ad75abibbhbek.jpg) รศ.เวทย์ บรรณกรกุล ผู้ออกแบบและพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ธรรมศึกษา กล่าวถึงแนวคิดอันเป็นจุดเริ่มต้นในการออกแบบและผลิตสื่อการสอนพระพุทธศาสนาในรูปแบบซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ เกิดจากสภาพปัญหาการศึกษาของคณะสงฆ์ที่มีงานวิจัยหลายๆ ฉบับ กล่าวถึงไว้ เช่น ปัญหาการบริหารจัดการ ปัญหาด้านการเงินงบประมาณ ปัญหาด้านบุคลากร และปัญหาด้านหลักสูตรและการเรียนการสอน ประกอบกับเทคโนโลยีที่เจริญก้าวหน้าในปัจจุบัน รวมทั้งการก้าวเข้าสู่สังคมฐานความรู้ ตลอดจนการเรียนการสอนที่ต้องเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง จึงทำให้คอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทสำคัญยิ่งในการเรียนการสอนยุคใหม่ เนื่องจากคอมพิวเตอร์สามารถสอนเป็นรายบุคคล และอธิบายเรื่องเดียวกันซ้ำๆ โดยไม่เหน็ดเหนื่อย ผู้เรียนไม่เบื่อหน่าย และสามารถเรียนรู้ได้ตามศักยภาพของแต่ละคน (http://www.komchadluek.net/media/img/size_content/2015/12/30/gjab9dfbak9adgbi6kaeh.jpg) โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน “ธรรมศึกษา” นี้ ออกแบบและพัฒนาเนื้อหาครบทั้ง ๓ ชั้นตรี – โท –เอก จำนวน ๑๒ รายวิชา จัดทำเป็นระบบ Install ติดตั้งบนระบบฐานปฏิบัติการ Windows ซึ่งสมบูรณ์ด้วยภาพ เสียงคำอธิบายประกอบ วีดิทัศน์สรุปเนื้อหาบทเรียน หลังการเรียนมีข้อสอบวัดผลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งสามารถเรียนและสอบความรู้ธรรมและพระพุทธศาสนาได้ด้วยตนเอง (http://www.komchadluek.net/media/img/size_content/2015/12/30/8ie5b9ekib6696f5iabe8.jpg) อย่างไรก็ตาม รศ.เวทย์ กล่าวทิ้งท้ายว่า แม้ว่าสภาวการณ์ปัจจุบันคอมพิวเตอร์จะเข้ามามีบทบาทกับชีวิตประจำวันของคนเป็นอย่างมาก และการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการสอนถึงแม้จะมีข้อดีตรงความสะดวกสบาย หากสิ่งที่เป็นข้อจำกัดคงอยู่ที่การไม่ได้มีปฏิสัมพันธ์กับครูผู้สอน เพราะการเรียนการสอนที่สัมฤทธิ์ผลแท้จริงยังคงต้องใช้ครูบาอาจารย์เป็นผู้ถ่ายทอด เพราะคอมพิวเตอร์เป็นเพียงเครื่องมือที่ให้ความรู้ในสาขาวิชานั้นๆ แต่ไม่สามารถสั่งสอนหรือสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมให้คนเรียนได้ (http://www.komchadluek.net/media/img/size_content/2015/12/30/7b6facjcb9c9abfie9dgi.jpg) (http://www.komchadluek.net/media/img/size_content/2015/12/30/g6iaeac9gkbiccg5g76jd.jpg) (http://www.komchadluek.net/media/img/size_content/2015/12/30/cg8jaaea6a9a9b9ff9cb8.jpg) (http://www.komchadluek.net/media/img/size_content/2015/12/30/ce87debk8bi6b5gi79abj.jpg) ขอบคุณภาพข่าวจาก http://www.komchadluek.net/detail/20151230/219654.html (http://www.komchadluek.net/detail/20151230/219654.html) |