หัวข้อ: กลุ่มคัมภีร์กัจจายนะ ไวยากรณ์บาลี เริ่มหัวข้อโดย: sompong ที่ ธันวาคม 10, 2010, 02:42:40 pm (http://www.palisikkha.org/image_large/21.png)
14 คัมภีร์กัจจายนัตถทีปนี กลุ่มคัมภีร์กัจจายนะ ไวยากรณ์บาลี คือ วิชาว่าด้วยรูปคำและระเบียบในการประกอบรูปคำให้เป็นประโยค ไวยากรณ์นี้จัดว่าเป็นคัมภีร์ที่พิทักษ์พระพุทธศาสนาาไว้ให้ดำรงอยู่จนถึง ปัจจุบัน เพราะเป็นศาสตร์ที่ช่วยให้อนุชนรุ่นหลังเข้าใจภาษาบาลีที่ใช้จารึกพระไตร ปิฏก คัมภีร์ไวยากรณ์บาลี ๔ คัมภีร์ คือ กัจจายน ไวยากรณ์ โมคคัลลานไวยากรณ์ สัททนีตปกรณ์ และสัททสังคหะ มีสูตรทำตัวรูปเป็นเอกเทศ จึงเรียกว่า "บาลีไวยากรณ์ใหญ่" คัมภีร์สายกัจจายนไวยากรณ์ ที่อธิบายสูตรกัจจายนะ โดยไม่มีการจัดลำดับสูตรใหม่มีมากมายหลายคัมภีร์ เพื่อให้นักศึกษาค้นคว้าคัมภีร์กัจจายนะนี้อย่างสะดวก จึงได้ประวรรตและเรียบเรียงเนื้อหากลุ่มคัมภีร์นี้คือ ๑.คัมภีร์กัจจายนสุตตนิเทส รจนาโดยพระฉัปปทเถระ ชาวเมืองพุกาม ประเทศพม่า ใน พ.ศ.๑๙๙๐ สมัยพระเจ้าปรักกมพาหุที่ ๖ ครองราชย์อยู่ ๒.คัมภีร์กัจจายนวัณณนา รจนาโดยพระวิชิตาเถระ (พ.ศ. ๒๐๕๘-๒๑๒๔) คัมภีร์นี้ว่าด้วยการอธิบายความหมายของสูตร การสำเร็จรูปและกฏไวยากรณ์อื่นๆ พระวิชิตาวีเถระผู้รจนาได้อาศัยคัมภีร์นยาสะหรือมุขมัตตทีปนีและคัมภีร์สุ ตตนิเทศเป็นหลักในการรจนา ๓.คัมภีร์กัจจายนัตถทีปนี รจนาโดยพระอินทริยาภิวงศ์ โดยอาศัยคัมภีร์นยาสะหรือมุข มัตตทีปนี คัมภีร์สุตตนิเทศ คัมภีร์สัททนีติ คัมภีร์โมคคัลลานะ เป็นต้นเป็นหลักในการรจนา ๔.คัมภีร์กัจจายนสารมัญชรี รจนาโดยพระยสเถระ ชาวพม่า (๑๖๐๐-๑๗๐๐) คัมภีร์นี้แสดงกฏไวยากรณ์บาลีที่สำคัญๆจากคัมภีร์กัจจายนะเป็นคาถาประเภท อนุฏฐุภาฉันท์ ๗๒ คาถา พระคันธาสารภิวงศ์ ได้เรียบเรียงเนื้อหาใหม่โดยอาศัยฏีกาเก่า ฏีกาใหม่และโยชนาพร้อมกับนิสสยะต่างๆ โดยอาศัยคัมภีร์กัจจายนสารสรูปัตถทีปนีที่อธิบายความได้ละเอียดชัดเจนเป็น หลัก http://www.palisikkha.org/view_pali_yai.php?page=14&id_cai= (http://www.palisikkha.org/view_pali_yai.php?page=14&id_cai=) หัวข้อ: Re: กลุ่มคัมภีร์กัจจายนะ ไวยากรณ์บาลี เริ่มหัวข้อโดย: sompong ที่ ธันวาคม 10, 2010, 02:50:08 pm ติดต่อสั่งซื้อได้ที่ suchawan@hotmail.com
หรือ โทร. 081-3829381 หัวข้อ: Re: กลุ่มคัมภีร์กัจจายนะ ไวยากรณ์บาลี เริ่มหัวข้อโดย: sompong ที่ ธันวาคม 10, 2010, 02:52:10 pm (http://www.palisikkha.org/image_large/14.png)
07 สุโพธาลังการมัญชรี อลังการศาสตร์ ไม่เป็นเพียงอุปการะในการศึกษาวรรณกรรมสันสกฤษเท่านั้น แต่ยังมีประโยชน์ต่อการศึกษาพระไตรปิฎกอีกด้วย เพราะภาษาบาลีที่ใช้ในพระไตรปิฎกซึ่งเป็นพระพุทธพจน์หรือเป็นถ้อยคำพระ อรหันต์ผู้แตกฉานนิรุตติปฏิสัมภิทา ล้วนไพเราะสละสลวยด้วยหลักอลังการตามสมควร ผู้ที่เข้าใจหลักอลังการย่อมจะทราบซึ้งในอรรถรสของพระไตรปิฎก ที่มีการแต่งเสียงและความหมายไว้เป็นอย่างดี แม้ผู้ประสงค์จะแต่งกวีนิพนธ์ในภาษาบาลีต้องรู้จักวิธีแต่งเสียงและความ หมายอย่างถูกต้อง จึงจะแต่งบทประพันธ์ที่น่าชื่นชมแก่บุคคลทั่วไปได้ ผู้รจนาคัมภีร์นี้ คือ พระสังฆรักขิตเถระ พระเถระชาวลังกา ในราว พ.ศ. ๑๗๐๐ ท่านดำรงสมณศักดิ์ว่า มหาสามิ ซึ่งตรงกับตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชของไทย จึงปรากฎนามว่า สังฆรักขิตมหาสามิเถระ อลังการศาสตร์จึงเป็นหนึ่งในคัมภีร์พื้นฐานที่ควรศึกษาเล่าเรียนดังข้อความในคำลงท้ายของปริเฉทที่ ๓ แห่งคัมภีร์สุโพธาลังการ ว่า โย สทฺทสตฺถกุสโล กุสโล นิฆณฺฑุ- ฉนฺโท อลงฺกติสุ นิจฺจากตาภิโยโค โสยํ กวิตฺตวิกโลป กวีสุ สงฺขย- โมคยฺห วินฺทติ หิ กิตฺติมมนฺทรูปํ แปลว่า: ชนผู้ฉลาดในคัมภีร์ไวยากรณ์ ฉลาดใน นิฆัณฑุศษสตร์ ฉันทศาสตร์และ อลังการศาสตร์ กระทำความเพียรเป็นนิจศีล แม้เขาจะบกพร่องความเป็นกวี ก็หยั่งสู่ความนับในหมู่กวี ย่อมจะประสบเกียรติคุณหาน้อยไม่ ผู้รจนาคัมภีร์นี้ คือ พระสังฆรักขิตเถระ พระเถระชาวลังกา บ้านริมธารธรรม 27 หมู่ 1 ต.ไทยาวาส อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม 73120 โทร.081-943-2665 Email:wetban@hotmail.com |