หัวข้อ: สำนักพุทธฯ เตรียมชี้แจง กรณีพระลิขิตคาด 10 ก.พ.นี้ เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ กุมภาพันธ์ 05, 2016, 08:08:46 pm สำนักพุทธฯ เตรียมชี้แจง กรณีพระลิขิตคาด 10 ก.พ.นี้ รองผอ.สำนักพุทธฯ เผยชี้แจงดีเอสไอเรื่องพระลิขิตกรณีพระธัมมชโยไปบางส่วนแล้ว เตรียมรวบรวมข้อมูลแถลงต่อสาธารณชน คาด 10 ก.พ.นี้ ระบุหน่วยงานไหนจะชี้พระปาราชิกได้ต้องถามคณะสงฆ์ก่อน ขณะที่อดีตผอ.ส่วนงานมหาเถรฯ ย้ำพระลิขิตจัดเป็นคำสอน ไม่ใช่คำสั่งจึงไม่ใช่กฏหมาย ไม่มีผลต่อการปฏิบัติ จากกรณีที่พ.ต.อ.ไพสิฐ วงศ์เมือง อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอได้ออกมาระบุว่าดีเอสไอได้ตรวจสอบพระลิขิตสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายกเกี่ยวกับกรณีพระธัมมชโยตามที่มีการร้องเรียนแล้วยืนยันว่า พระลิขิตมีผลตามกฎหมายพร้อมทั้งได้ทำหนังสือถึงสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ(พศ.)และมหาเถรสมาคม(มส.)สอบถามถึงการปฏิบัติหน้าที่ตามที่มีการร้องเรียนให้พระธัมมชโยต้องอาบัติปาราชิกจากคดียักยอกเงินและที่ดินตามพระลิขิตสมเด็จพระสังฆราชนั้น วันนี้( 5ม.ค.) :96: :96: :96: :96: นายชยพล พงษ์สีดา รองผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ(พศ.)กล่าวว่า พศ.ได้รับหนังสือดังกล่าวแล้วและก่อนหน้านี้ก็ได้มีการชี้แจงไปยังดีเอสไอแล้วบางส่วน เกี่ยวกับกรณีดังกล่าวอย่างไรก็ตามในส่วนของพศ.ได้ดำเนินการรวบรวมข้อมูลที่จะเตรียมชี้แจงต่อสาธารณชนโดยต้องขอหารือกับคณะทำงานและพระมหาเถระในกรรมการมส.อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งจะยังไม่ขอตอบอะไรในตอนนี้ดาดว่าอาจจะแถลงอย่างเป็นทางการอีกครั้งในช่วงหลังประชุมมส.ในวันที่ 10ก.พ.นี้ ผู้สื่อข่าวถามว่า กรณีที่ดีเอสไอระบุว่า พศ.และมส.เป็นเจ้าพนักงานและต้องปฏิบัติตามหน้าที่มิฉะนั้นจะมีความผิดตามมาตรา 157 แห่งประมวลกฎหมายอาญาได้ และพศ.จะดำเนินการอย่างไรกับเรื่องดังกล่าว นายชยพล กล่าวว่า พศ.ถือเป็นเจ้าพนักงานอยู่แล้วแต่ก็ต้องดูว่า มีอำนาจในเรื่องใด คำว่าละเว้นหรือไม่จะต้องมีอำนาจหน้าที่และไม่ดำเนินการ โดยจะต้องไปดูในเรื่องนั้นๆว่าพศ.มีอำนาจดำเนินการแค่ไหน ส่วนมส.ก็เช่นกันก็ต้องไปดูอำนาจหน้าที่ในเรื่องนั้นแค่ไหน การจะทำอะไรหากทำนอกอำนาจหน้าที่ไม่ได้อยู่แล้ว “ผมได้พูดคุยกับทางดีเอสไอไปบางส่วนแล้วโดยมีการซักถามเพื่อความเข้าใจว่าทางดีเอสไอยังไม่เข้าใจตรงไหนเพื่อที่พศ.จะได้ทำคำชี้แจงไปให้ทราบ ส่วนกรณีที่หน่วยงานราชการจะชี้ว่าพระรูปไหนปาราชิกนั้นก็ต้องให้ผู้ใช้กฏหมายและพระธรรมวินัยเป็นผู้ชี้คือ คณะสงฆ์ แต่หากหน่วยงานไหนเห็นแย้งก็ทำได้ก็ต้องมาถามผู้ใช้กฎหมายให้เป็นผู้ชี้ขาด”รองผอ.พศ.กล่าว :96: :96: :96: :96: ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับกรณีพระลิขิตสมเด็จพระสังฆราช เกี่ยวกับพระธัมมชโย สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติได้มีการชี้แจงผ่านสื่อมวลชนมาครั้งหนึ่งในช่วงเดือนกรกฎาคม 2558 ต่อผู้ตรวจการแผ่นดินกรณีพระพุทธอิสระเจ้าอาวาสวัดอ้อน้อยและนางวิรังรอง ทัพพะรังสี ประธานเครือข่ายมหาวิทยาลัยเพื่อการปฏิรูปประเทศ(มปปท.)ร้องเรียนขอให้ผู้ตรวจการแผ่นดินตรวจสอบกรณีพศ.ในฐานะเลขาธิการมหาเถรสมาคม(มส.)ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบด้วยกฎหมายไม่บรรจุวาระการประชุมเกี่ยวกับการปาราชิกของพระธัมมชโยซึ่งถือว่าไม่เป็นไปตามพระลิขิตของสมเด็จพระสังฆราช ซึ่งพศ.ได้ตอบผู้ตรวจการแผ่นดินไปว่าได้ตรวจสอบเอกสารรวมถึงกระบวนการพิจารณาทั้งหมดแล้ว และเรื่องต่างๆได้ยุติลงตั้งแต่กระบวนการชั้นต้นในระดับจังหวัดคือ คณะสงฆ์จังหวัดปทุมธานี จึงไม่มีการแจ้งเรื่องมายังสำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม จึงถือว่าพศ.ไม่ได้รับเรื่องจากเจ้าคณะจังหวัดปทุมธานีแล้วจะมีความผิดมาตรา 157ได้อย่างไร ส่วนทางเจ้าคณะจังหวัดปทุมธานีก็มีคำวินิจฉัยโดยคณะกรรมการพิจารณานิคหกรรมระดับจังหวัดก็มีคำสั่งและเหตุผลระบุไว้แล้วว่าทำไมถึงยุติเรื่องนี้ เนื่องจากผู้ร้องได้ถอนฟ้องต่อศาลอาญา ศาลจึงมีคำสั่งถอนฟ้องและจำหน่ายคดีออกจากสารบบ จึงทำให้กระบวนการพิจารณาชั้นต้นของเจ้าคณะจังหวัดปทุมธานีได้สิ้นสุดลงไปด้วย :41: :41: :41: :41: นายพิศาฬเมธ แช่มโสภา ผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดอ่างทองในฐานะอดีตผอ.ส่วนงานมหาเถรสมาคม(มส.)กล่าวว่า จากกรณีที่มีการการกล่าวอ้างว่าพระลิขิตสมเด็จพระสังฆราชเป็น“กฎหมาย” ที่มส.และคณะสงฆ์ต้องปฏิบัติตามนั้น ตนขอชี้แจงเกี่ยวกับเรื่องพระบัญชากับพระลิขิตว่าแตกต่างกันอย่างไร เพื่อไม่ให้เกิดความเข้าใจผิดและเกิดผลกระทบต่อสถาบันพระพุทธศาสนา โดยพระบัญชา คือ คำสั่งสมเด็จพระสังฆราชหรือผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชที่คณะสงฆ์ไทยต้องปฏิบัติตาม เช่น พระบัญชาแต่งตั้งเจ้าอาวาสพระอารามหลวง เจ้าคณะจังหวัด เจ้าคณะใหญ่ กรรมการมหาเถรสมาคม เป็นต้น ซึ่งการจะทรงมีพระบัญชาใดๆนั้น มีกฎเกณฑ์กำหนดตามมาตรา 8 แห่งพ.ร.บ.คณะสงฆ์พ.ศ.2505แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2535ว่า ทรงตราพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราชต้องไม่ขัดหรือแย้งกับกฎหมาย พระธรรมวินัย และกฎมหาเถรสมาคม นายพิศาฬเมธกล่าวต่อไปว่า ส่วนพระลิขิต คือ ข้อเขียนตามพระประสงค์ซึ่งจัดเป็นคำสอน ไม่ใช่คำสั่งจึงไม่เป็นกฎหมายไม่มีผลต่อการปฏิบัติ เช่น พระวรธรรมคติ พระโอวาท เป็นต้น แต่ปัจจุบันมีการกล่าวอ้างว่ามส.ขัดพระลิขิตสมเด็จพระสังฆราชจึงไม่เป็นความจริง เพราะพระลิขิตที่นำมากล่าวอ้างนั้นขัดกับกฎมส.เพราะกฎมส.ฉบับที่ 11พ.ศ.2521 ว่าด้วยการลงนิคหกรรม ซึ่งเกี่ยวกับระบบศาลของคณะสงฆ์ไทยและประกาศใช้เพื่อพิจารณาคดีที่เป็นอาบัติโดยเฉพาะ ได้แบ่งเป็น 3 ศาลเหมือนทางโลก คือ ชั้นต้น ชั้นอุทธรณ์ และชั้นฎีกา โดยในข้อ 26 ระบุว่า การพิจารณาวินิจฉัยลงนิคหกรรมชั้นฏีกาให้เป็นอำนาจของมส. ซึ่งสมเด็จพระสังฆราชทรงเป็นประธานกรรมการมส.โดยตำแหน่ง พระองค์จึงเปรียบเหมือนประธานศาลฎีกา ดังนั้นจะเป็นไปได้หรือไม่ที่ประธานศาลฎีกาจะมีคำตัดสินว่านาย ก. หรือนาย ข. ทำถูกหรือผิด ในขณะที่ศาลชั้นต้นยังไม่พิจารณา ขอบคุณข่าวจาก เดลินิวส์ วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 13:32 น. http://www.dailynews.co.th/education/377684 (http://www.dailynews.co.th/education/377684) หัวข้อ: Re: สำนักพุทธฯ เตรียมชี้แจง กรณีพระลิขิตคาด 10 ก.พ.นี้ เริ่มหัวข้อโดย: Admax ที่ กุมภาพันธ์ 08, 2016, 05:32:29 pm thk56 thk56 thk56
|