สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

กรรมฐาน มัชฌิมา => เกี่ยวกับ วัด พระสงฆ์ พระธาตุ พระเครื่อง => ข้อความที่เริ่มโดย: raponsan ที่ กุมภาพันธ์ 09, 2016, 08:35:46 pm



หัวข้อ: พระมหาพุทธพิมพ์ วัดเกษไชโย "คนก่อกรรมชั่วไว้มาก เข้าไปกราบไม่ได้"
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ กุมภาพันธ์ 09, 2016, 08:35:46 pm

(http://www.khaosod.co.th/online/2016/02/14549346371454935501l.jpg)

พระมหาพุทธพิมพ์ วัดเกษไชโย

 "พระมหาพุทธพิมพ์ วัดเกษไชโย" หรือ "หลวงพ่อโต" ประดิษฐาน ณ พระวิหาร วัดไชโยวรวิหาร หรือที่เรียกกันว่า "วัดเกษไชโย" ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 ต.ไชโย อ.ไชโย จ.อ่างทอง ชาวบ้านเรียกกันว่า "วัดไชโย" หรือ "วัดเกษไชโย"

 มาเริ่มปรากฏชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก ของบุคคลทั่วไปในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) มาสร้างพระพุทธรูปขนาดใหญ่โตขึ้น เพื่อเป็นอนุสรณ์ถึงสถานที่ที่ท่านเจริญวัย เรียกกันว่า "หลวงพ่อโต" เมื่อประมาณปี พ.ศ.2400-2405 ขณะนั้นดำรงสมณศักดิ์ที่ "พระเทพกวี"

  st12 st12 st12 st12

 ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) หรือที่เรียกกันติดปากว่า "สมเด็จโต" ท่านชอบสร้างพระพุทธรูปขนาดใหญ่โตสมนามของท่าน โดยก่อนหน้านี้ได้สร้างมาแล้วสององค์ คือ พระปางไสยาสน์ หรือ พระนอน ที่วัดสะตือ จ.พระนครศรีอยุธยา และพระยืน ที่วัดอินทรวิหาร เขตบางขุนพรหม

 ที่วัดไชโยแห่งนี้ แรกเริ่มเดิมที สมเด็จโตท่านสร้างเป็นพระพุทธรูปนั่งขนาดใหญ่มาก ก่อด้วยอิฐและดิน แต่ไม่นานนักก็ทลายลงมา จึงต้องสร้างขึ้นอีกครั้งให้มีขนาดเล็กลงมาแต่ก็ยังนับว่าใหญ่มากอยู่ จนสำเร็จเป็น "หลวงพ่อโต" พระพุทธรูปศิลปะรัตนโกสินทร์ ประทับนั่งขัดสมาธิราบ ขนาดหน้าตักกว้าง 8 วา 6 นิ้ว สูงสุดถึงยอดพระรัศมี 11 วา 1 ศอก 7 นิ้ว ก่ออิฐสอดินถือปูนขาว ไม่ปิดทอง และไม่ประณีตเกลี้ยงเกลานัก ประทับนั่งอยู่กลางแจ้ง ด้วยเหตุที่วัดตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา จึงสามารถมองเห็นองค์พระพุทธรูปขาวเด่นมาแต่ไกล


(http://www.khaosod.co.th/online/2016/02/14549346371454935511l.jpg)

 ปรากฏในพระราชหัตถเลขาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ว่า "...พระใหญ่ที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) สร้างนี้ รูปร่างหน้าตาไม่งามเลย...ดูที่หน้าวัด ปากเหมือนท่านขรัวโตไม่มีผิด ถือปูนขาวไม่ได้ปิดทอง ทำนองท่านไม่คิดจะปิดทอง จึงได้เจาะท่อน้ำไว้ที่พระหัตถ์..."

 ต่อมา เจ้าพระยารัตนบดินทร์ (บุญรอด กัลยาณมิตร) สมุหนายก มีศรัทธาสร้าง พระอุโบสถและพระวิหารวัดไชโย แต่เมื่อกระทุ้งรากพระวิหาร แรงสั่นสะเทือนทำให้องค์พระพังทลายลง ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 5 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐวรการ นายช่างฝีมือเยี่ยมสมัยนั้นมาช่วย

   :25: :25: :25: :25:

 ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกฐานะของวัดไชโยขึ้นเป็นพระอารามหลวง ตั้งแต่ปีต้นของการปฏิสังขรณ์นั้น แล้วพระราชทานนามพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นว่า "พระมหาพุทธพิมพ์" ทรงโปรดเกล้าฯ ให้มีงานฉลองพระอารามวัดไชโยเป็นงานใหญ่ 3 วัน 3 คืน ระหว่างวันที่ 5-7 ตุลาคม พ.ศ.2438 ต่อมาในปี พ.ศ.2531 ได้เริ่มปิดทององค์พระมหาพุทธพิมพ์ โดยดำเนินการ ภายใต้การควบคุมดูแลของกรมศิลปากร

 "พระมหาพุทธพิมพ์" หรือ "หลวงพ่อโต" นับเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวอ่างทองและจังหวัดใกล้เคียงให้ความเลื่อมใสศรัทธาอย่างมาก มักมีรูปไว้กราบไหว้บูชากันแทบทุกครัวเรือน ด้วยประจักษ์ในความศักดิ์สิทธิ์อย่างถ้วนทั่ว กล่าวกันว่า น้ำมนต์ของหลวงพ่อสามารถรักษาและแก้ไขโรคเคราะห์ต่างๆ ได้ และหลวงพ่อมักเข้าฝันผู้ที่เคารพบูชาเพื่อบอกกล่าวเตือนภัยต่างๆ


(http://www.khaosod.co.th/online/2016/02/14549346371454935521l.jpg)

นอกจากนี้ ยังเล่าขานกันต่อมาว่า ผู้ที่ก่อกรรมทำชั่วไว้มาก จะไม่สามารถเข้าไปกราบนมัสการหลวงพ่อโตได้ เนื่องจากเมื่อเข้าใกล้องค์พระ จะเห็นว่าหลวงพ่อโตกำลังจะล้มลงมาทับอีกด้วย

 ในกาลต่อมา วัดเกษไชโย ทั้งยังเป็นต้นกำเนิด "พระสมเด็จ วัดเกษไชโย" อันเลื่องชื่อเป็นที่แสวงหายิ่ง รวมทั้ง "เหรียญ พระมหาพุทธพิมพ์ ปี 2461" เหรียญพระพุทธที่ได้รับการ ยอมรับและยกย่องให้เป็นหนึ่งในสิบเหรียญพระพุทธยอดนิยมของประเทศ

ขอบคุณบทความและภาพจาก
http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=1454934637 (http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=1454934637)