หัวข้อ: มติมหาเถรฯอุ้ม "ธัมมชโย" "ไม่ต้องอาบัติ-ไม่ปาราชิก" เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ กุมภาพันธ์ 11, 2016, 09:47:48 am มติมหาเถรฯอุ้ม "ธัมมชโย" "ไม่ต้องอาบัติ-ไม่ปาราชิก" มติที่ประชุมมหาเถรสมาคม ยืนยัน "ธัมมชโย" ไม่อาบัติ-ไม่ปาราชิก เหตุคดีถือครองที่ดินจบในชั้นศาลชั้นต้นไปแล้ว โดยไม่มีการยื่นอุทธรณ์แต่อย่างใด เมื่อวันที่ 10 ก.พ. ที่อาคารสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ(พศ.) อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม มีการประชุมมหาเถรสมาคม(มส.)ในวาระปกติ โดยมีสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์(ช่วง วรปุญฺโญ) ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช เป็นประธาน โดยการประชุมครั้งนี้มีการพิจารณาวาระสำคัญ คือ คำชี้แจงที่ทางพศ.จะตอบกลับไปยังกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือดีเอสไอ หลังจากที่มีหนังสือสอบถามมายังพศ. และมส. กรณีที่ดีเอสไอได้ตรวจสอบพระลิขิต สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เกี่ยวกับกรณีพระราชภาวนาวิสุทธิ์ (ไชยบูลย์ ธมฺมชโย) ปัจจุบันดำรงสมณศักดิ์ที่ พระเทพญาณมหามุนี เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย และทางดีเอสไอยืนยันว่า พระลิขิตมีผลตามกฎหมาย จึงต้องการสอบถามมายังมส. และพศ. ถึงการปฏิบัติหน้าที่ตามที่มีการร้องเรียนให้เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ต้องอาบัติปาราชิกจากคดียักยอกเงินและที่ดินตามพระลิขิตสมเด็จพระสังฆราช :25: :25: :25: :25: ภายหลังการประชุมเกือบ 2 ชั่วโมง นายชยพล พงษ์สีดา รองผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาฯ แถลงผลการประชุมว่า มส.เห็นชอบคำชี้แจงที่ทางพศ.จะตอบกลับไปยังดีเอสไอเกี่ยวกับกรณีเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย โดยในคำชี้แจงดังกล่าวได้มีการอธิบายถึงขั้นตอนการดำเนินงานเกี่ยวกับกรณีเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายตั้งแต่เกิดเรื่อง รวมทั้งเรื่องพระลิขิตสมเด็จพระสังฆราช ซึ่งเรื่องพระลิขิตนั้นทางมส.ในยุคนั้นได้หารือกัน และได้มีมติที่จะสนองตามพระลิขิต แต่การดำเนินงานจะต้องเป็นไปตามกฎหมาย พระธรรมวินัย และกฎมหาเถรสมาคม โดยหารือกันว่าจะมีการดำเนินการอย่างไร ขณะเดียวกันในตอนนั้นก็มี นายมาณพ พลไพรินทร์ และนายสมพร เทพสิทธา ยื่นร้องเรียนต่อเจ้าคณะภาค 1 ในขณะนั้นพอดี แต่เจ้าคณะภาค 1 พิจารณาว่าผู้ที่มาร้องเรียนมีวาจาเชื่อถือไม่ได้ จึงไม่รับคำร้อง :96: :96: :96: :96: แต่ มส. มีการพิจารณาว่ากรณีดังกล่าวสามารรับคำร้องไว้และดำเนินการตามขั้นตอนของคณะสงฆ์ พร้อมทั้งมีการหารือข้อกฎหมายกับทางรัฐบาลด้วย แต่เจ้าคณะภาค 1 ก็ไม่ยอมดำเนินการตาม มส.จึงมีมติปลดเจ้าคณะภาค 1 รูปดังกล่าว และตั้งเจ้าคณะภาค1 รูปใหม่มาดำเนินการ และหยิบคำร้องดังกล่าวมาพิจารณาดำเนินการช่วงต้นปี 2543 ขณะเดียวกันในขณะนั้นก็มีการดำเนินการตามกฎหมายบ้านเมืองด้วย เนื่องจากทางกรมการศาสนา(ศน.)ได้มีการไปยื่นฟ้องต่อกองปราบปราม และเมื่อมีการดำเนินการทางกฎหมายทางโลก ขั้นตอนของคณะสงฆ์ต้องหยุดดำเนินการก่อน st12 st12 st12 st12 st12 นายชยพล กล่าวต่อไปว่า ต่อมาเมื่ออัยการถอนฟ้องคดีเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายเมื่อปี2549 ทางคณะสงฆ์ก็หยิบกรณีดังกล่าวมาพิจารณาต่อ ขณะเดียวกัน นายมาณพ ก็ขอถอนฟ้อง และเมื่อมีการพิจารณาคุณสมบัติของ นายสมพร ก็พบว่า คำร้องไม่สมบูรณ์ จึงไม่รับคำร้อง และมีการแจ้งไปยัง นายสมพร ให้รับทราบแล้ว ซึ่ง นายสมพร ก็ไม่ได้ยื่นอุทธรณ์ภายใน 30 วัน จึงถือว่ากระบวนการสิ้นสุดตั้งคณะผู้พิจารณาชั้นต้นแล้ว และมส.ไม่มีอำนาจที่จะหยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมาพิจารณาด้วยตัวเอง ทั้งนี้การดำเนินการดังกล่าวทั้งหมดคณะสงฆ์ดำเนินการตามกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 11(พ.ศ.2521) ว่าด้วยการลงนิคหกรรม ส่วนในการประชุมครั้งนี้ มส.ไม่ได้มีมติว่า เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายปาราชิก หรือไม่ปาราชิก แต่มีมติเห็นชอบข้อชี้แจงที่ทางพศ.จะตอบไปยังดีเอสไอ ส่วนเรื่องพระลิขิตนั้น ทางพศ.เองก็ยังไม่เคยได้รับต้นฉบับ จึงเห็นว่าไม่ควรนำออกมาเผยแพร่ แต่ในขณะที่เกิดเรื่อง มส.ให้ความสำคัญกับเรื่องพระลิขิตมาก มีการนำเรื่องพระลิขิตเข้าหารือในการประชุม จนออกมาเป็นมติมส. มากกว่า 100 ครั้ง และจะนำมติดังกล่าวแจ้งไปยังดีเอสไอด้วยภายในวันที่ 12ก.พ.นี้ ask1 ans1 ask1 ans1 เมื่อถามว่าแบบนี้ถือว่าเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายปาราชิกหรือไม่ นายชยพล กล่าวว่า กระบวนการพิจารณาจบแค่คณะผู้พิจารณาชั้นต้น และยังไม่ถึงขั้นตอนที่จะพิจารณาว่าต้องอาบัติปาราชิกหรือไม่. ขอบคุณภาพข่าวจาก : http://www.dailynews.co.th/education/378831 (http://www.dailynews.co.th/education/378831) หัวข้อ: Re: มติมหาเถรฯอุ้ม "ธัมมชโย" "ไม่ต้องอาบัติ-ไม่ปาราชิก" เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ กุมภาพันธ์ 11, 2016, 10:07:58 am (http://mpics.manager.co.th/pics/Images/559000001544701.JPEG) มส.อุ้ม"ธัมมชโย"อ้างคดียุติแล้ว หลังเจ้าคณะปทุมฯ-เจ้าคณะภาคไม่รับฟ้องตั้งแต่ปี 42 "สมเด็จช่วง"นั่งหัวโต๊ะประชุมมหาเถรสมาคม(มส.) สรุปกรณี"ธัมมชโย"ยุติแล้ว หลังจากเจ้าคณะจังหวัดปทุมธานีและเจ้าคณะภาคไม่รับฟ้องตามกฎนิคหกรรม เมื่อปี 42 และผู้ฟ้องไม่ยื่นอุทธรณ์ ทำให้ไม่มีการพิจารณาว่าปาราชิกหรือไม่ ส่วนคดีทางโลก อัยการก็ถอนฟ้องไปแล้ว อ้างเคยประชุมเรื่องนี้นับ 100 ครั้ง หลังมีพระลิขิตสังฆราช ไม่ได้ละเว้นปฏิบัติหน้าที่ เตรียมส่งหนังสือแจงดีเอสไอภายใน 12 ก.พ.นี้ วันนี้ (10 ก.พ.)ที่อาคารสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม ได้มีการประชุมคณะกรรมการมหาเถรสมาคม(มส.)โดยมีสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์(ช่วง วรปุญฺโญ) ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชเป็นประธานการประชุมโดยใช้เวลาการประชุมกว่า 2 ชั่วโมง นายชยพล พงษ์สีดา รองผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ(พศ.) แถลงผลประชุม มส.ว่า ที่ประชุม มส.ได้เห็นชอบร่างหนังสือชี้แจงกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) กรณีการตอบสนองพระลิขิตของสมเด็จพระสังฆราช และข้อกล่าวหาคดียักยอกทรัพย์ของพระเทพญาณมหามุนี (พระธัมมชโย) เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ซึ่งก่อนหน้านี้ พศ.และผู้แทน มส.ได้หารือกับ ดีเอสถึง 2 ครั้ง โดยร่างหนังสือชี้แจงมีสาระโดยสรุปว่า พศ.และ มส.ยืนยันได้ตอบสนองต่อพระลิขิตของสมเด็จพระสังฆราช กรณีพระธัมมชโยอย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะมีการตีความว่า พระลิขิต เป็นพระบัญชาหรือพระดำริก็ตาม ซึ่งจากการตรวจสอบข้อมูลพบว่า ในช่วงปี 2542 - 2544 มส.ได้มีการประชุมหารือในเรื่องดังกล่าวนับ 100 ครั้ง :96: :96: :96: :96: นายชยพล กล่าวว่า การดำเนินคดีทางสงฆ์ใช้กฎนิคหกรรมฉบับที่ 11 ตาม พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2535 หากเปรียบในคดีทางโลกจะเริ่มต้นจากศาลชั้นต้น โดยมีเจ้าคณะจังหวัดปทุมธานี รองเจ้าคณะภาค และเจ้าคณะภาค ร่วมกันพิจารณา ในปี 2542 ที่มีการยื่นฟ้องคดีทางสงฆ์กล่าวหาพระธัมมชโย ในขณะนั้นดำรงสมณศักดิ์ที่พระราชภาวนาวิสุทธิ์ ซึ่งคณะพิจารณาของศาลชั้นต้นทางสงฆ์ไม่รับคำร้องของผู้ยื่นฟ้องคดี 2 คน คือ นายสมพร เทพสิทธา และนายมาณพ พลไพรินทร์ เนื่องจากคำร้องไม่สมบูรณ์และศาลชั้นต้นทางสงฆ์ได้เปิดโอกาสให้อุทธรณ์ภายใน 30 วัน แต่ผู้ยื่นฟ้องคดีไม่มายื่นอุทธรณ์และได้ถอนฟ้องไป 1 คน ทำให้การพิจารณาคดีในทางสงฆ์ต้องยุติลง และไม่มีการพิจารณาไปถึงกระบวนการที่ชี้ชัดว่า พระธัมมชโยอาบัติ ปาราชิก หรือไม่ ดังนั้น คดีทางสงฆ์จึงไปไม่ถึงการพิจารณาในขั้นศาลอุทธรณ์ทางสงฆ์ คือเจ้าคณะใหญ่หนกลาง และไม่ถึงขั้นศาลฎีกาทางสงฆ์ คือ มส. ขณะที่ผู้ยื่นฟ้องคดีทางสงฆ์ก็ได้มีการยื่นฟ้องคดีทางโลกพร้อมกันไปด้วย แต่ในเวลาต่อมาผู้ร้องขอถอนฟ้องทำให้อัยการถอนฟ้องคดี ส่งผลให้คดีทางโลกสิ้นสุดลงไปด้วย เพราะฉะนั้น ถ้าหากจะมีการฟ้องร้องพระธัมมชโยอีกจะต้องเป็นข้อกล่าวหาในคดีอื่นๆ ที่เป็นคดีใหม่ ไม่ใช่กรณีข้อกล่าวหายักยอกที่ดิน โดยผู้ที่ต้องการฟ้องคดีทางสงฆ์จะต้องไปยื่นฟ้องที่เจ้าคณะจังหวัดปทุมธานี เพราะเป็นเจ้าคณะปกครองโดยตรง st12 st12 st12 st12 สำหรับกรณีที่ดีเอสไอ มองว่า มส.ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา 157 หรือไม่ กรณีของพระธัมมชโยยืนยันว่า พศ.และมส.ดำเนินงานเรื่องนี้อย่างเต็มที่แล้ว ส่วนการมองว่าละเว้นการปฏิบัติหน้าที่หรือไม่ขึ้นอยู่กับความคิดของแต่ละฝ่าย อย่างไรก็ตาม ทาง พศ.จะส่งหนังสือชี้แจงดีเอสไอโดยเร็วที่สุด หรืออย่างช้าไม่เกินวันที่ 12 ก.พ.นี้ ขอบคุณภาพข่าวจาก http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9590000014931 (http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9590000014931) |