สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

เรื่องทั่วไป => forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน => ข้อความที่เริ่มโดย: raponsan ที่ กุมภาพันธ์ 24, 2016, 11:50:24 am



หัวข้อ: ปิดวาจา เพื่อสติ...วิถีเซน
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ กุมภาพันธ์ 24, 2016, 11:50:24 am


(http://www.dailynews.co.th/images/1251150?s=750x500)

ปิดวาจา เพื่อสติ...วิถีเซน

ปีใหม่ 2559 นี้ ขอให้ทุกท่านเดินหน้าชีวิตที่เปี่ยมไปด้วย “สติ” นะครับ ชีวิตอันปราศจากสติก็ไม่ต่างจากชีวิตที่ดำรงอยู่อย่างประมาท

พูดถึงสติแล้ว หนึ่งประเทศที่ผู้คนมีสติ มั่นคงมาก ๆ จนน่าสงสัยว่าทำอย่างไรคนจึงดูมีสติตลอดเวลา นั่นคือญี่ปุ่น จึงอยากจะนำเอาเรื่อง สติจากวิถีชีวิตคนญี่ปุ่นเข้ามาคุยกันอีกสักครั้ง .. ญี่ปุ่นนั้นเป็นสังคมพหุวัฒนธรรม ในแง่ความเชื่อของพวกเขา พวกเขาจะมีทั้ง ชินโต (ลัทธิบูชาเทพเจ้า) และ พุทธศาสนาแบบมหายาน แต่น่าสังเกตว่าชาวญี่ปุ่นจะกราบไหว้ทั้งสองแบบ ก็คงไม่ต่างจากเราที่ทั้งพุทธและพราหมณ์ ล้วนแต่เป็นวิถีชีวิตของพวกเรา

มีคำถามที่น่าสนใจว่า วิถีชีวิตของญี่ปุ่น ที่เนิบช้าและเปี่ยมไปด้วยสติ ได้รับอิทธิพลมาจาก พุทธแบบเซน หรือว่าอย่างไร .. ผมก็ตอบไม่ได้เหมือนกัน แต่รู้ได้ว่าการทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยความประณีตของชาวญี่ปุ่น เช่น การโค้งที่เนิบช้างดงาม หรือการทำสิ่งต่าง ๆ แบบไม่มีเสียง วางของต่าง ๆ แบบไม่มีเสียง ทุกอย่างเบา ด้านมารยาทถือเป็นการให้เกียรติคนรอบข้าง สิ่งเหล่านี้เป็นเหมือนการควบคุมสติ ไม่ปล่อยให้ สัญชาตญาณ หรือการทำอะไรแบบ เหวี่ยง ๆ แรง ๆ ใช้อารมณ์กำกับ ขึ้นมาอยู่เหนือมารยาทที่เปี่ยมไปด้วยสติ

 :25: :25: :25: :25:

พุทธวิถีเซนของมหายาน แตกต่างจาก เถรวาทของเรา ตรงที่สอนธรรมะและเสริมสติแบบไม่ต้องใช้การแสดงธรรมด้วยวาจาแบบยาว ๆ แต่ใช้การปฏิบัติให้เห็น การทำให้ผู้รับการแสดงธรรมด้วยการปฏิบัตินั้น ตระหนักเห็นธรรมและเสริมสติ

สิ่งหนึ่งที่น่าศึกษา คือ เรื่องของการปิดวาจา และการเน้นความเงียบของสังคมญี่ปุ่น สังคมนี้เป็นสังคมที่ไม่มีการแสดงออกด้วยคำพูดกันบ่อย ๆ ไม่มีการเชือดเฉือนกันทางคำพูดเยอะ ๆ เพราะเป็นสังคมที่พูดกันน้อย ไม่ค่อยกระทบกระทั่งกัน

ดังนั้นจะสังเกตว่า สังคมญี่ป่นไม่มีการแสดงออกซึ่งความขัดแย้งกันอย่างถึงพริกถึงขิง ไม่ใช่สังคมที่ตำหนิกันอย่างรุนแรงด้วยคำพูด เทียบกันแล้วก็เหมือนกับการปิดวาจา เวลาที่เราเจริญสติกันด้วยการไปถือศีลที่สถานปฏิบัติธรรม หากแต่เป็นสิ่งที่ทำกันเป็นประจำในชีวิตประจำวัน เพราะยิ่งพูด ความคิดยิ่งเตลิด ความคิดเตลิด ธรรมะก็กระเพื่อมเป็นผลไปด้วย

 st12 st12 st12 st12

อันที่จริงแล้ว การเจริญสติ ปฏิบัติธรรมนั้น ไม่จำเป็นต้องทำในสถานปฏิบัติธรรมหรือว่า ในวัด หากแต่สามารถทำได้ทุกที่ทุกเวลา และจะดีที่สุดคือการปฏิบัติในชีวิตประจำวัน

แน่นอนครับว่า พุทธแบบเถรวาท มีคุณค่าอเนกอนันต์ แต่การศึกษาพุทธและแนววิถีชีวิตที่เปี่ยมสติรูปแบบเซน ก็ทำให้เราเสริมสติได้เพิ่มเติมอีกมิติหนึ่งเช่นเดียวกัน จึงอยากจะฝากวิถีชีวิตดี ๆ แบบญี่ปุ่นมาให้ท่านผู้อ่านในวาระปีใหม่นี้ด้วยนะครับ.

ดร.วิทย์ สิทธิเวคิน


ขอบคุณภาพและบทความจาก : http://www.dailynews.co.th/article/371148 (http://www.dailynews.co.th/article/371148)