สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

เรื่องทั่วไป => forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน => ข้อความที่เริ่มโดย: raponsan ที่ กุมภาพันธ์ 29, 2016, 12:37:16 pm



หัวข้อ: ทำไมเวลาเศร้า จึงรู้สึกเจ็บหัวใจ
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ กุมภาพันธ์ 29, 2016, 12:37:16 pm
(http://p3.isanook.com/ca/0/ud/276/1380759/istock_000022631903_small600.jpg)

ทำไมเวลาเศร้า จึงรู้สึกเจ็บหัวใจ

หลายคนอาจเคยได้ยินคำพูดว่าอกหักแล้วเศร้า รู้สึกเจ็บเหมือนหัวใจสลาย ซึ่งฟังดูแล้วอาจจะคิดว่าเป็นคำพูดเกินจริง หรืออาจเป็นอุปาทานอย่างหนึ่งของคนอกหัก แต่ในทางวิทยาศาสตร์นั้นมีคำอธิบายของสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการดังกล่าว และอาการรู้สึกเหมือนหัวใจสลาย อาจเป็นอันตรายมากกว่าที่คุณคิด!

ก่อนจะพูดเรื่องอกหักคงต้องพูดเรื่องความรักเสียก่อน เนื่องจากในยามมีความรัก สมองจะหลั่งสารโดปามีน (Dopamine) ซึ่งทำให้คนเกิดความพึงพอใจ มีสมาธิ กับสารออกซิโทซิน (Oxytocin) ซึ่งมีหน้าที่ลดความเครียด คลายความกังวล และทำให้รู้สึกอบอุ่นกับคนที่มีความผูกพันด้วย และยังมีสารเอนดอร์ฟิน (Endorphine) ที่ทำให้คนรู้สึกมีความสุข ลืมความเจ็บปวด นั่นจึงทำให้คนเรารู้สึกดีเมื่อมีความรัก

 :91: :91: :91: :91:

ทว่าเมื่ออกหักผิดหวังจากรักขึ้นมา ฮอร์โมนความเครียดได้แก่ คอร์ติซอล (Cortisol) และอะดรีนาลีน (Adrenaline) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่กดการทำงานของสมอง โดยปกติแล้วจะหลั่งออกมาเมื่ออยู่ในสภาวะตึงเครียด หรือสภาวะที่รู้สึกว่าตนเองตกอยู่ในอันตราย จะหลั่งออกมาจากต่อมหมวกไตและส่งสัญญาณไปที่สมอง

ฮอร์โมนคอร์ติซอล มีผลทำให้กล้ามเนื้อของร่างกายต้องการเลือดไปหล่อเลี้ยงมากขึ้น ส่วนฮอร์โมนอะดรีนาลีน จะทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้นเพื่อสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกาย โดยปกติแล้วสารทั้งสองจะมีประโยชน์สำหรับการกระตุ้นร่างกายในทำงานด้วยประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อรับมือกับอันตราย เช่น ที่เราอาจเห็นคนแบกของหนักเกินกำลังเมื่อไฟไหม้

 :41: :41: :41: :41:

แม้ว่าสารทั้งสองทำให้ร่างกายเอาตัวรอดจากอันตรายภายนอกได้ดี แต่หากเป็นอันตรายภายในใจเราเอง ซึ่งเราไม่จำเป็นต้องใช้พลังงานเพื่อเอาตัวรอดแบบอันตรายภายนอก จะทำให้เจ็บปวดที่หัวใจ เพราะหัวใจทำงานหนักทั้งที่ร่างกายไม่ได้มีการใช้งานหนัก เป็นสาเหตุที่ทำให้เจ็บหัวใจเมื่อเสียใจหรืออกหัก

อาการดังกล่าว ในทางการแพทย์เรียกว่า "กลุ่มอาการหัวใจสลาย" (Broken Heart Syndrome) หรืออาจเรียกเล่น ๆ ว่า "โรคอกหัก" โดยมีรายงานการค้นพบครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1990 ในเอเชีย ซึี่งอาการนี้อาจทำให้คนถึงตายได้เหมือนกับโรคหัวใจ!

 :03: :03: :03: :03:

วิธีการบรรเทาอาการหัวใจสลายขั้นพื้นฐาน ได้แก่การทำให้สมองหลั่งสารเอนดอร์ฟินออกมา และวิธีการทำให้เอนดอร์ฟีนหลั่งก็ไม่ยากอย่างที่คิด แต่ใคร ๆ ก็สามารถทำได้ ได้แก่ การร้องไห้ การหัวเราะ การออกกำลัง การนั่งสมาธิ การได้ทำสิ่งที่ชอบ

ดังนั้นหากเกิดอาการหัวใจสลาย ก็อย่าจมอยู่กับมันนานนัก หลังจากร้องไห้ออกมาจนพาแล้ว ก็ลองยืนหยัดขึ้นมา จากนั้นก็ลองทำอะไรก็ได้ที่ตัวเองชอบ แล้วก็อย่าลืมดูแลรักษาสุขภาพของตนเองให้ดี บอกกับตัวเองเสมอว่า "ถึงจะไม่มีใครรัก ไม่มีใครดูแลเรา แต่อย่างน้อยเราก็ยังรักและดูแลตัวเองได้"


ข้อมูลจาก : วิชาการดอทคอม
อ้างอิง : adrenalfatigue.org/cortisol-adrenal-function/
www.heart.org/HEARTORG/Conditions/More/Cardiomyopathy/Is-Broken-Heart-Syndrome-Real_UCM_448547_Article.jsp#.Vrn2Kfl96Co (http://www.heart.org/HEARTORG/Conditions/More/Cardiomyopathy/Is-Broken-Heart-Syndrome-Real_UCM_448547_Article.jsp#.Vrn2Kfl96Co)
www.nhlbi.nih.gov/health/health-topics/topics/broken-heart-syndrome (http://www.nhlbi.nih.gov/health/health-topics/topics/broken-heart-syndrome)
www.tesh.com/story/love-and-relationships-category/the-science-behind-a-broken-heart/cc/13/id/1296 (http://www.tesh.com/story/love-and-relationships-category/the-science-behind-a-broken-heart/cc/13/id/1296)
รูปภาพจาก : istock
ที่มา : http://campus.sanook.com/1380759/ (http://campus.sanook.com/1380759/)