หัวข้อ: อีก 30 ปีเศษ คนครึ่งโลกจะ ”สายตาสั้น” เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ มีนาคม 03, 2016, 09:05:07 pm (http://www.matichon.co.th/wp-content/uploads/2016/03/------1-2.jpg) อีก 30 ปีเศษ คนครึ่งโลกจะ ”สายตาสั้น” ทีมแพทย์นานาชาติใช้วิธีการตรวจสอบและวิเคราะห์ผลการศึกษาวิจัย 145 ชิ้นจากหลายประเทศ ครอบคลุมกลุ่มตัวอย่างมากถึง 2.1 ล้าน จากนั้นนำผลวิเคราะห์ที่ได้มาประเมินและคาดการณ์ถึงอนาคต ทำให้สามารถระบุได้ว่า ในปี 2050 หรืออีก 34 ปีข้างหน้า ประชากรราวครึ่งหนึ่งของจำนวนประชากรทั้งหมด หรือคิดเป็นจำนวนได้เกือบ 5,000 ล้านคนจะมีภาวะสายตาสั้น หรือที่ทางการแพทย์เรียกว่า โรคไมโอเปีย โดยที่ 1 ใน 5 ของจำนวนดังกล่าวจะมีความเสี่ยงสูงมากที่จะตาบอด รายงานดังกล่าวซึ่งตีพิมพ์เผยแพร่ผ่านวารสารวิชาการจักษุวิทยาประจำเดือนกุมภาพันธ์นี้ เปิดเผยว่า จากการตรวจสอบพบว่า ระหว่างทศวรรษ 1970 จนถึงต้นทศวรรษ 2000 จำนวนของผู้มีภาวะสายตาสั้นในสหรัฐอเมริกาและบางส่วนของเอเชียเพิ่มจำนวนขึ้นเกือบ 2 เท่าตัว โดยเฉพาะในหลายประเทศในเอเชียมีปริมาณผู้มีภาวะสายตาสั้นเพิ่มขึ้นจนน่าตกใจ ตัวอย่างเช่น ในผลการสำรวจชิ้นหนึ่งพบว่า วัยรุ่นในเกาหลีใต้มีภาวะสายตาสั้นมากถึง 96 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่ในสิงคโปร์ จีน และญี่ปุ่น สัดส่วนของวัยรุ่นที่มีภาวะสายตาสั้นอยู่ที่ระหว่าง 80-90 เปอร์เซ็นต์เช่นเดียวกัน :96: :96: :96: :96: ผลการศึกษาชิ้นใหม่ระบุว่า ในปี 2000 ประชากรบนโลกราว 1,406 ล้านคนจะมีอาการของโรคไมโอเปีย คิดเป็น 22.9 เปอร์เซ็นต์ของประชากรโลก โดยที่ 163 ล้านคนมีอาการหนักหรือ “ไฮ-ไมโอเปีย” ซึ่งก่อให้เกิดความเสี่ยงที่จะเป็นต้อหรือตาบอดได้ในที่สุด “เราคาดการณ์ไว้ว่า ภายในปี 2050 จะมีประชากรโลกราว 4,758 ล้านคนมีอาการภาวะสายตาสั้น หรือคิดเป็น 49.8 เปอร์เซ็นต์ของประชากรทั้งหมดบนโลก และมีผู้ที่มีภาวะ ไฮ-ไมโอเปีย มากถึง 938 ล้านคน” รายงานดังกล่าวสรุปไว้ ทีมวิจัยตั้งข้อสังเกตไว้ว่า ปัญหาภาวะสายตาสั้นหรือไมโอเปียเพิ่งจะกลายเป็นปัญหาใหญ่เมื่อเร็วๆ นี้ ดังนั้นจึงน่าจะเชื่อมโยงกับรูปแบบการใช้ชีวิตและพฤติกรรมของมนุษย์ที่เปลี่ยนแปลงไปในช่วงสองสามทศรรษหลัง โดยในรายงานทีมวิจัยระบุเอาไว้ว่า เหตุผลที่ทำให้เกิดภาวะสายตาสั้นระบาดไปทั่วโลกนั้น “มาจากปัจจัยแวดล้อม (ภาวะการเลี้ยงดู), การเปลี่ยนแปลงหลักๆ ในรูปแบบการใช้ชีวิต อันส่งผลโดยรวมทำให้มนุษย์มีกิจกรรมกลางแจ้งน้อยลง และเพิ่มการทำงานภายในอาคารแบบใกล้ๆ ตัวมากขึ้น” เป็นปัจจัยหลักที่ก่อให้เกิดการแพร่ระบาดดังกล่าวนอกเหนือจากปัจจัยอื่นๆ :41: :41: :41: :41: อย่างไรก็ตาม ทีมวิจัยก็ไม่สามารถชี้ชัดลงไปได้ว่า กลไกอะไรภายในร่างกายที่ทำให้เกิดสภาวะเปลี่ยนแปลงจนกลายเป็นปัญหาดังกล่าว แต่ตั้งข้อสังเกตไว้ว่า การใช้ชีวิตอยู่กับหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือสมาร์ทโฟนไม่ได้ทำให้สายตาสั้นมากขึ้น เนื่องจากภาวะสายตาสั้นเพิ่มขึ้นมากก่อนหน้าที่จะมีสมาร์ทโฟนเกิดขึ้นด้วยซ้ำไป แต่ข้อที่น่าสังเกตก็คือช่วงเวลาที่มีการเพิ่มของภาวะสายตาสั้นสูงสุด เป็นช่วงเวลาที่มนุษย์ใช้เวลาอยู่ภายนอกอาคารหรือกลางแจ้งน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ นายแพทย์โควิน ไนดู หนึ่งในทีมวิจัยระบุว่า มีการศึกษาวิจัยถึงทางป้องกันภาวะสายตาสั้นหลายๆ อย่างด้วยกัน แต่ที่ประสบผลมากที่สุดก็คือการให้เด็กๆ ออกไปใช้เวลาอยู่กลางแจ้งวันละ 2 ชั่วโมงหรือน้อยกว่านั้น เป็นการป้องกันภาวะสายตาสั้นได้ดี “เราสามารถใช้เวลาอ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือสมาร์ทโฟนนานๆ ได้ โดยที่ใช้เวลาสัก 2 ชั่วโมงต่อวันกลางแจ้งก็ยังคงเป็นการป้องกันภาวะสายตาสั้นได้” นายแพทย์ผู้นี้สรุป ขอบคุณภาพข่าวจาก http://www.matichon.co.th/news/56647 (http://www.matichon.co.th/news/56647) |